ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมบทความการเมือง

    ลำดับตอนที่ #104 : ตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมกษัตริย์ของสเปญจึงทรงต่อต้านการรัฐประหาร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 231
      0
      19 ม.ค. 53

    โดย Pegasus
    11 สิงหาคม 2552

    ในข้อเขียนของ ผู้ใช้นามปากกาว่า socialism ได้ยกประเด็นที่กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ของสเปญทรงแสดงพระองค์ไม่สนับสนุนการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร ทำให้การรัฐประหารครั้งนั้นล้มเหลว และทำให้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นรุ่งเรืองในประเทศ สเปญนับแต่นั้นมา ในความคิดคำนึงของ socialism ดูเหมือนจะมีความรู้สึกว่าในประเทศอื่นๆที่มีระบอบการปกครองคล้ายคลึงกัน นั้น พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยพระองค์อื่นจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจใน ลักษณะเดียวกันได้หรือไม่

    ก่อนอื่นขอนำข้อเขียนของ socialism เฉพาะที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ทรงยุติการยึดอำนาจด้วยพระองค์เองดังนี้

    ฯลฯ
    การ ก่อการร้ายของกลุ่ม ETA ที่เรียกร้องเอกราชแก่แคว้นบาสก์ วิกฤตเศรษฐกิจ การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับแคว้นปกครองตนเอง ตลอดจนกรณีเหล่าขุนศึกสมัยฟรังโก้ไม่เต็มใจปรับตัวตามนโยบายเปลี่ยนผ่านสู่ ประชาธิปไตย ปัจจัยเหล่านี้เป็นชนวนให้ทหารกลุ่มหนึ่งที่ยังภักดีต่อระบอบฟรังโก้คิดก่อ การรัฐประหาร วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๘๑

    ในขณะที่ Leopoldo Calvo Sotelo นายกรัฐมนตรีคนใหม่กำลังแถลงนโยบายต่อสภาโดยมีการถ่ายทอดสดออกทางโทรทัศน์ กองกำลังทหารราว ๒๐๐ นายนำโดยพันโท Antonio Tejero ได้เข้ายึดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเอาปืนยิงขึ้นฟ้าและสั่งให้ผู้ที่อยู่ในสภาหมอบลงกับพื้น

    ความ ตั้งใจเดิม คณะผู้ก่อการรัฐประหาร ซึ่งมีพลเอก Alfonso Armada อดีตเลขานุการของฆวน คาร์ลอส เป็นมันสมอง และพันโท Antonio Tejero เป็นฝ่ายคุมกำลัง ต้องการยึดอำนาจและจัดตั้ง “รัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อความสมานฉันท์” เพื่อจัดการปัญหาก่อการร้ายของกลุ่ม ETA โดยเชิญชวนนักการเมืองระดับแกนนำทั้งฝ่ายซ้ายและขวาเป็นรัฐมนตรี

    แต่ พันโท Antonio Tejero รับไม่ได้กับโผรายชื่อที่มีฝ่ายซ้ายรับตำแหน่งรัฐมนตรีสำคัญหลายคน ในระหว่างการเจรจาต่อรอง พันโท Antonio Tejero ก็ตัดสินใจเข้ายึดอำนาจทันที จากนั้นไม่นาน พลโท Jaime Milans del Bosch แม่ทัพภาคที่ ๓ ก็นำกองกำลังออกมาบนท้องถนนในเมืองบาเลนเซียและประกาศกฎอัยการศึก

    ราว สามทุ่ม โฆษกคณะรัฐประหารแถลงว่ากำลังจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การสนับสนุนของ กษัตริย์ ตี ๑ ของวันถัดไป การแทรกแซงทางการเมืองครั้งสำคัญของกษัตริย์ในประวัติศาสตร์สเปนก็เกิดขึ้น เมื่อฆวน คาร์ลอส ตัดสินใจแถลงผ่านโทรทัศน์และวิทยุ ไม่สนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้และเรียกร้องให้กองทัพและประชาชนร่วมมือกัน ปกป้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ๑๙๗๘

    พระองค์ยืนยันว่าทหารมีหน้าที่ ป้องกันรัฐบาลที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่มี เงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น เมื่อขาดแรงสนับสนุนจากฆวน คาร์ลอส รัฐประหารก็ไม่สำเร็จ บรรดาผู้เข้าร่วมกลายเป็นกบฏโดนลงโทษจำคุก โดยเฉพาะแกนนำอย่างพลเอก Alfonso Armada และพันโท Antonio Tejero ศาลตัดสินให้จำคุก ๓๐ ปี
    ฯลฯ
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2008, 09:55:13 AM โดย Socialism »



    ประ เทศสเปญ เป็นประเทศที่อยู่ในระบอบการปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมานาน ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเมื่อเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตที่จำเป็นสำหรับการทำมาหา กินและการทำธุรกิจสมัยใหม่ของประชากรภายในประเทศแล้ว การทำให้ผ่านพ้นระบอบเผด็จการจึงกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สเปญก็ไม่มีข้อยกเว้น

    เมื่อ กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ทรงเห็นว่าการกลับไปสู่การใช้อำนาจเผด็จการอีก จะทำให้ประเทศล้มละลาย พระองค์จึงต้องแสดงให้เห็นว่าไม่ทรงสนับสนุนวิถีทางเช่นนี้เป็นธรรมดา อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญของสเปญและประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศได้มีการ บัญญัติในประเด็นสำคัญที่ทำให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิบัติพระองค์เช่นไร สำหรับการรักษาและจรรโลงระบอบประชาธิปไตย

    ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเป็น เหตุผลสำคัญที่ทำให้กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส ทรงออกมาต่อต้านการยึดอำนาจในครั้งนั้นและทำให้ความพยายามยึดอำนาจเปลี่ยน แปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยไปเป็นระบอบเผด็จการไม่อาจเกิดขึ้นได้อีก ต่อไปในสเปญ โดยเหตุผลดังกล่าวมีบัญญัติไว้ดังที่คัดเลือกมาจากรัฐธรรมนูญของสเปญแล้วโดย จะขอแสดงภาษาอังกฤษไว้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อนจากนั้นจะอธิบายความใน ภายหลัง ดังนี้

    Spain - Constitution
    Title II The Crown
    Article 56 [Head of State]


    (1) The King is the Head of State, the symbol of its unity and permanence. He arbitrates and moderates the regular functioning of the institutions, assumes the highest representation of the Spanish State in international relations, especially with the nations of its historical community, and exercises the functions expressly attributed to him by the Constitution and the laws.

    (2) His title is that of "King of Spain" and he may use the others which belong to the Crown.

    (3) The person of the King is inviolable and is not subject to responsibility. His acts shall always be in the manner established in Article 64 and shall lack validity without that countersignature, except as provided for by Article 65 (2).

    Article 61 [Oath]

    (1) The King, on being proclaimed before the Parliament, will swear to faithfully carry out his functions, to obey the Constitution and the laws and ensure that they are obeyed, and to respect the rights of citizens and the Autonomous Communities.

    (2) The Prince heir, when coming of age, and the Regent or Regents when they assume their functions, will swear the same oath as well as that of loyalty to the King.
    Article 62 [Competences]

    It is incumbent upon the King:

    a) to approve and promulgate laws;
    b) to convoke and dissolve the Parliament and to call elections under the terms provided for in the Constitution;
    c) to convoke a referendum in the cases provided for in the Constitution;
    d) to propose the candidate for the President of the Government and to appoint him, or when required, to terminate his functions under the terms provided in the Constitution;
    e) to appoint and dismiss the members of the Government at the proposal of its President;
    f) to issue the decrees approved in the Council of Ministers, confer civilian and military positions, and award honors and distinctions in accordance with the law;
    g) to be informed of the affairs of state and for this purpose preside over the sessions of the Council of Ministers when he
    deems it appropriate at the request of the President of the Government;
    h) to exercise supreme command of the Armed Forces;
    i) to exercise the right of clemency pursuant to a law, which cannot authorize general pardons;
    j) to be the High Patron of the Royal Academies.

    Article 64 [Countersignature]

    (1) The actions of the King shall be countersigned by the President of the Government and, when appropriate, by the competent ministers. The nomination and appointment of the President of the Government and the dissolution provided for in Article 93 shall be countersigned by the President of the House of Representatives.

    (2) The persons who countersign the acts of the King shall be responsible for them.



    กฎหมาย รัฐธรรมนูญสเปญที่เลือกมานี้ จะปรากฎในรัฐธรรมนูญของประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งสิ้น มีผิดแผกแตกต่างกันก็เพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เพียงแต่ว่าสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน

    ก็ เนื่องจากรัฐธรรมนูญของไทยทุกครั้งมาจะร่างโดยนักกฎหมายคนเดิมๆหรือกลุ่ม เดิมๆที่ไม่ได้เป็นการร่างขึ้นจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง แม้แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ก็ตามที

    โดยเฉพาะในหมวดสำคัญได้แต่ เรื่องของระบอบการปกครองทั้งที่เกี่ยวกับอำนาจของประชาชนและสถาบันพระมหา กษัตริย์ แต่เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนือขอบเขตของบทความนี้จึงเพียงแต่นำมาพูดถึง ให้ระลึกได้เท่านั้น

    เฉพาะในส่วนของพระมหากษัตริย์สเปญนั้น ก่อนขึ้นครองราชย์พระองค์จะต้องเสด็จไปกล่าวคำสัตย์ ปฏิญญานต่อหน้ารัฐสภาว่า พระองค์จะเคารพต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สร้างหลักประกันว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเกิด รวมถึงการเคารพต่อสิทธิของพลเมืองและชุมชนที่เป็นอิสระในการปกครองตนเอง

    และ แม้ว่ากษัตริย์ของสเปญจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่า นั้นแต่ก็ทรงได้รับมอบหมายพระราชกรณียกิจหลายประการเหมือนประเทศอื่นๆที่ เป็นระบบ constitutional monarchy ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไป ในทาง limited monarchy มากกว่า

    ประเด็นสำคัญต่อมาคือ ทุกการกระทำของพระองค์จะต้องมีนายกรัฐมนตรี(หัวหน้าฝ่ายบริหาร) หรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงนามร่วมด้วยและรับผิดชอบแทนพระองค์ในกิจกรรม นั้นๆ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือการยุบสภาต้องมีลายมือชื่อของประธานรัฐสภากำกับ ด้วยเสมอ

    ต้องเข้าใจก่อนว่า การลงรายมือชื่อร่วมในทุกพระราชกรณียกิจไม่ว่าจะทรงงานใดๆก็ตาม ก็เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงพ้นจากการว่าร้ายและการกล่าวโทษ โดยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับผิดชอบแทน ในขณะเดียวกันถ้าพระมหากษัตริย์ทรงงานหลุดออกไปจากวิถีทางของประชาธิปไตย หรือนโยบายของรัฐบาลที่เป็นเสียงข้างมาก นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีก็จะไม่ลงชื่อร่วมทำให้การนั้นๆเป็นโมฆะไม่มีผล อะไร เป็นหลักประกันว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และจะทรงงานตามความต้องการของประชาชน เนื่องจากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายค้านใน รัฐสภา และอาจถูกลงโทษทางการเมืองได้หากดำเนินการไม่ถูกต้อง การทักท้วงจากฝ่ายการเมืองต่อพระมหากษัตริย์ในเรื่องที่ความเห็นไม่ตรงกัน จึงเกิดขึ้นได้และเป็นทางออกที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ได้ยืนนานตาม ความเห็นของคนยุโรป

    ดังนั้นคำถามที่ว่าทำไมกษัตริย์สเปญทรง ต่อต้านการรัฐประหาร ก็เพราะว่าพระองค์ทรงให้คำสัตย์ไว้กับรัฐสภาแล้วว่าพระองค์จะเคารพต่อรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งนัยก็คือการปกป้อง และรักษาระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง เนื่องจากการยึดอำนาจก็จะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และสถาปนาระบอบเผด็จการขึ้นแทน

    ส่วนคำถามต่อไปคือพระมหา กษัตริย์ในประเทศอื่นๆจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างเดียวกันได้หรือไม่ คำตอบก็คงจะเป็นที่ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆ มีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างจากรัฐธรรมนูญของประเทศในยุโรปที่มีการปกครองระบอบเดียวกันมาก น้อยเพียงใด

    ถ้ารัฐธรรมนูญได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราช กรณียกิจต้องปกป้องรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์พระองค์ใดก็คงจะทรงงานเช่นเดียวกับกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส เพราะปกติพระมหากษัตริย์ตรัสแล้วไม่เคยคืนคำ เป็นราชประเพณีของทุกๆประเทศเช่นเดียวกัน ดังนั้น socialism ผู้เขียนบทความข้างต้นก็ควรไปศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆว่าได้มีการ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ก่อนขึ้นครองราชต้องให้คำสัตย์ ปฏิญานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อหน้าประชาชนได้แก่ รัฐสภาไว้ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ เป็นต้น

    รัฐธรรมนูญของสเปญยังมี ประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ โดยเฉพาะสเปญเป็นประเทศที่อาจถือได้ว่ามีระบอบการปกครองแบบเผด็จการมายาวนาน สมควรที่จะได้ทำความเข้าใจกับเรื่องของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ลงในประเทศนี้

    นอกเหนือจากพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอสที่ได้ทรงแสดงพระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เข้มแข็ง และเป็นแบบอย่างสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขไว้อย่างดียิ่ง


    มองสองมุม-การที่กษัตริย์ฆวน คาร์ลอส แห่งราชอาณาจักรสเปน ทรงแถลงทางโทรทัศน์ไม่สนับสนุนการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 มีมุมมองที่แตกต่างกัน คือในมุมหนึ่งมีการตีความว่าพระองค์ทำตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ขณะที่อีกมุมเห็นว่าไม่เกี่ยว แต่เป็นเพราะทัศนคติของกษัตริย์สเปนต่อประชาธิปไตยมากกว่า ไทยอีนิวส์พร้อมนำเสนอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาโดยครบทุกมุม

    โดย ปิยะบุตร แสงกนกกุล
    ที่มา บอร์ดชุมชนฟ้าเดียวกัน
    12 สิงหาคม 2552

    ขอ ชี้แจงความผิดพลาดในบทความเกี่ยวกับฆวน คาร์ลอสที่เผยแพร่ในไทยอีนิวส์เรื่อง ตอบข้อสงสัยที่ว่าทำไมกษัตริย์ของสเปญจึงทรงต่อต้านการรัฐประหาร

    บทความชิ้นนี้เขียนโดยคุณ Pegasus ผมอ่านดูแล้ว มีความผิดพลาดหลายประการ ขออนุญาตชี้แจง ดังนี้

    ๑.

    " และแม้ว่ากษัตริย์ของสเปญจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าทรงเป็นเพียง สัญลักษณ์เท่านั้นแต่ก็ทรงได้รับมอบหมายพระราชกรณียกิจหลายประการเหมือน ประเทศอื่นๆที่เป็นระบบ constitutional monarchy ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไป ในทาง limited monarchy มากกว่า"

    ข้อความนี้ ผิดครับ ทั้งสเปน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เป็น คอนสติติวชั่น โมนาร์ขี้ เหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่ว่าสเปนเป็นคอนสติติวชั่น โมนาร์ขี้ และ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เป็นลิมิเต็ต โมนาร์ขี้

    ๒.

    คำ ว่า ลิมิเต็ต โมนาร์ขี้ หรือที่ภาษาไทยแปลกันว่า ปรมิตาญาธิปไตย ก็คือ ระบอบที่มีอำนาจน้อยกว่า แอบโซลูท โมนาร์ขี้ แต่ยังคงมีอำนาจทางการเมือง "โดยตรง-โดยแท้" อยู่บางประการ เช่น ไม่ลงนามในร่างกฎหมายได้ เสนอร่างกฎหมายได้ ให้ดูกรณีของลิคเตนสไตน์ ร่าง รธน ของรัชกาลที่ ๗ หรือรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสยุค “Restauration” ในรัชสมัยของ หลุยส์ที่ ๑๘ ที่เรียกว่า Charte ลงวันที่๔ มิถุนายน ๑๘๑๔ เป็นตัวอย่าง

    แต่ผู้เขียนบทความนี้ บอกว่า

    "ไม่ถึงขนาดเป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริงเท่านั้นแบบของอังกฤษและญี่ปุ่นที่จะไปในทาง limited monarchy มากกว่า"

    จึงผิดในสาระสำคัญอย่างยิ่ง

    ๓.

    กรณี ของสเปน ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบทรัฐธรรมนูญเท่าไร แน่นอน ตัวบทรัฐธรรมนูญเขียนไว้เรื่องกษัตริย์ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญจริง ซึ่งก็เป็นการดี

    แต่ความสำคัญของสเปนอยู่ที่บริบทการเมืองของสเปน และทัศนคติในทางประชาธิปไตยของฆวน คาร์ลอส ทัศนคติปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เพื่อให้อยู่กับสังคมประชาธิปไตยให้ได้มากกว่า

    ถาม ว่า หากรัฐธรรมนูญเขียนหน้าที่ของกษัตริย์ในการ พิทักษ์ รธน. ไว้ แต่ฆวน คาร์ลอส อยู่เฉยๆ ไม่แทรกแซง หรือยิ่งไปกว่านั้น ออกมาลงนามหรือประกาศในที่สาธารณะว่า "ขอให้ประชาชนชาวสเปนจงพร้อมใจกันอยู่ในความสงบ เพื่อให้คณะรัฐประหารได้ฟื้นฟูชาติต่อไป" ก็ย่อมทำได้แน่นอน

    ในระยะแรก พวกทหารคิดมาเสมอว่า ต้องเชื่อและเคารพฆวน คาร์ลอส เพราะเป็นผู้ที่นายพล ฟรังโก้ นายของพวกเขา มอบอำนาจให้เป็นประมุขต่อ

    ดังนั้น เหตุการณ์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๘๑ บทบาทสำคัญจึงอยู่ที่ตัวกษัตริย์เอง มิใช่ ตัวรัฐธรรมนูญ

    ๔.

    คุณ Pegasus หยิบยกท่อนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับการไม่ยอมรับรัฐประหารของฆวน คาร์ลอส โดยบอกว่าเขียนโดยคุณ socialism

    ผม อ่านแล้ว นี่ผมเขียนนี่หว่า ไม่ทราบเหมือนกันว่า socialism คือ ใคร แต่ผมเข้าใจว่า คงเปิดเว็บบล็อกแล้วเอาบทความที่เขาเห็นว่าน่าสนใจไปแปะ แต่คงลืมอ้างว่าใครเขียนเท่านั้นเอง

    ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ยึดติด ถือเอาเป็นสำคัญเท่าไรกับเรื่องต้องอ้างว่าเป็นงานของผม

    ใครอ่านงานผม แล้วจุดประกายคิดต่อ เขียนงานใหม่ๆได้โดยมีกลิ่นคล้ายๆงานของผมอยู่ก็ดี

    ใครฟังการพูด อ่านงานเขียนของผมแล้วเอาไปพูดกระจายต่อโดยไม่อ้างว่ารู้มาจากผมก็ดี

    หรือ ใครเอาไปแปะทั้งหมดโดยไม่อ้างก็ดี

    สำหรับ ผมแล้ว ผมไม่ว่าอะไรเลยครับ ตรงข้ามกับขอบคุณด้วย เพราะ จุดประสงค์ของผม คือ การเผยแพร่สื่อสารไปให้เยอะๆ เมื่อข้อความไปถึงผู้รับสาร ก็น่าจะถือว่าสำเร็จตามวัตุประสงค์แล้ว ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า ต้องบอกว่า "สาร" นี้เป็นของใคร ใครเป็นเจ้าของ เริ่มต้นมาจากใคร

    แต่กรณีนี้ ผมต้องชี้แจง เพราะเป็นการเอางานของผมไปอธิบายต่อแบบผิดพลาด

    ๕.

    คุณ Pegasus ผู้เขียนบอกว่า ให้คุณ socialism ไปศึกษามาให้ดีว่า

    " ดังนั้น socialism ผู้เขียนบทความข้างต้นก็ควรไปศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆว่าได้มีการ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ก่อนขึ้นครองราชต้องให้คำสัตย์ ปฏิญานที่จะเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อหน้าประชาชนได้แก่ รัฐสภาไว้ในลักษณะเดียวกันหรือไม่ "

    พอดีคนเขียนบทความเรื่องฆวน คาร์ลอสไม่เอารัฐประหารนั้น คือ ผม ไม่ใช่คุณ socialism ผมก็ต้องขอชี้แจง(หมายเหตุไทยอีนิวส์:ปิยะบุตรเขียนบทความชื่อ เมื่อฆวน คาร์ลอส ปฏิเสธรัฐประหาร ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 )

    ผมเห็นว่ากษัตริย์เอ็นดอร์ส สนับสนุน หรืออยู่เฉยๆ ไม่ต่อต้านรัฐประหาร ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการปฏิญาณตนว่าจะรักษา ปชต. และ รธน.

    โอ เคล่ะ เขียนไว้ใน รธน. มันก็ดีกว่าชัดเจน แต่ต่อให้ รธน. เขียนบังคับให้กษัตริย์ต้องปฏิญาณตนเช่นนั้น หากกษัตริย์จะรับรอง รปห. ล่ะครับ มีแซงชั่นอะไรมั้ย

    อย่างที่ผมบอก ความสำคัญอยู่ที่บริบทการเมือง ทัศนคติของกษัตริย์ อำนาจของกษัตรยิ์ในความเป็นจริงของแต่ละประเทศ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×