ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคม

    ลำดับตอนที่ #4 : ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา กับ ประเทศตะวันตก

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.07K
      19
      14 ธ.ค. 53


    ชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือต้องการเครื่องเทศ พริกไทย และในขณะเดียวกันเพื่อต้องการเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วยโดยประเทศต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาได้แก่
    1. ประเทศโปรตุเกส เข้ามา พ.ศ.2054 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 
    2. ประเทศสเปนเข้ามาในพ.ศ.2141 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  
    3. ประเทศฮอลันดาเข้ามา พ.ศ.2147 ในสมัยตอนปลายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    4. ประเทศอังกฤษ เข้ามาในพ.ศ.2155 สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 
    5.ประเทศเดนมาร์ก เข้ามาในพ.ศ.2164 สมัยตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม 
    6. ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในพ.ศ.2205 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส 
    โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.2504 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ด้วยการส่งฑูตชื่อดอาร์เต้ เฟอร์นันเดส มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาส่วนทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งทูตไปมะละกาและพระราชสาสน์ไปถวายกษัตริย์ของโปรตุเกสต่อมาในพ.ศ.2059 ไทยกับโปรตุเกสได้ทำสนธิสัญญาสัมพันธไมตรี และการค้าต่อกัน โดยให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าและเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆของไทย เช่นมะริด ตะนาวศรี ปัตตานี และนครศรีธรรมราช เป็นต้น สำหรับสินค้าของโปรตุเกสที่ทางกรุงศรีอยุธยามีความสนใจมากเป็นพิเศษคือปืนไฟ กระสุนปืน และดินปืน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สนพระทัยในอาวุธและยุทธวิธีของโปรตุเกสมากจนสามารถแต่งตำราพิชัยสงครามได้
    ได้เชิญชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสาในไทยและช่วยไทยรบกับพม่าที่เมืองเชียงกราน จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้โปรด ฯ ให้ชาวโปรตุเกสสามารถตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้เรียกว่า "หมู่บ้านโปรตุเกส " ตลอดทั้งได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้สร้างโบสถ์ในคริสต์ศาสนาด้วย         
    ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสเริ่มเสื่อมลงเมื่อตะวันตกชาติอื่นได้เข้ามายังดินแดนแถบนี้ เช่นฮอลันดา ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของโปรตุเกสและทางกรุงศรีอยุธยาก็ยินดีติดต่อการค้าด้วยจนกระทั่งหลังสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมอำนาจของโปรตุเกสก็ลดบทบาทสำคัญจนไม่มีความสำคัญในที่สุด


    ความสัมพันธ์กับฮอลันดา
    ฮอลันดาปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยตอนปลายรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งหลังโปรตุเกสประมาณเกือ บหนึ่งศตวรรษ การเข้ามาติดต่อของฮอลันดานั้นจะแตกต่างกับโปรตุเกสคือฮอลันดา นั้นสนใจเฉพาะด้านการค้าโดยไม่ได้สนใจในเรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา
    สำหรับสินค้าที่ชาวฮอลันดาต้องการจากอยุธยามากเช่น เครื่องเทศ พริกไทย หนังกวาง และช้าว ฯลฯ
    ตลอดสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นไทยกับฮอลันดามีความผูกพันธ์กับเป็นอย่างดี ในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งราชฑูตไปฮอลันดาเพื่อเจรจาด้านการค้าและดูแลศึกษาความเจริญของฮอลันดา
    ในพ.ศ.2150 และได้เข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งฮอลันดาครั้งตอนขากลับทางกษัตริย์ฮอลันดาได้ฝากปืนใหญ่และอาวุธอื่นๆ มาถวายแด่สมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเป็นไปด้วยดี
    จนกระทั่งในพ.ศ.2176 ฮอลันดาได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไทยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าฮอลันดาในการผูกขาดการค้าหนังสัตว์จากไทย  ต่อมาในสมัยพระเจ้าปราสาททองความผูกพันธ์ที่มีต่อกันเริ่มมีปัญหาเนื่องจากฮอลันดาไม่ช่วยไทยปราบกบฏ และทำให้พระเจ้าปราสาททองต้องเข้มงวดกับฮอลันดามากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะให้ไทยค้าขายอย่างอิสระแต่ฮอลันดาพยายามจะผูกขาดการค้ากระทั่งฮอลันดาต้องใช้กำลังกองทัพเรือมาบีบบังคับไทยเกี่ยวกับการค้าความบาดหมางใจกันระหว่างไทยกับฮอลันดามีขึ้นอย่างรุนแรงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทางฮอลันดาได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย
    และเรียกร้องสิทธิพิเศษต่างๆ จากไทยมากมาย เช่นฮอลันดามีสิทธิในการค้าขายที่นครศรีธรรมราช ถลาง และหัวเมืองอื่นๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษในการพิจารณาพิพากษาคดึคือ ชาวฮอลันดากระทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นต้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฮอลันดาทำให้ไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมากแต่ก็ทำให้เราสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้  
    ต่อมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมฮอลันดาเกิดมีปัญหากับอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องการค้า จนทำให้ทั้งสองประเทศได้มีการรบพุ่งกันขึ้นทางเรือ ผลปรากฏว่าฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และได้เลิกติดต่อค้าขายกับอยุธยาแต่อิทธิพลของฮอลันดาเริ่มเสื่อมลงในตอนกลางสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะทางกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเป็นการคานอำนาจฮอลันดา จนกระทั่งสมัยพระเพทราชาได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปและมีการติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์กับอยุธยาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ.2112

    ความสัมพันธ์กับอังกฤษ
    อังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการค้าและสินค้าที่อังกฤษนำเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง คือผ้าชนิดต่าง ๆ โดยในพ.ศ.2155 ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมทางอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาและทางอยุธยาให้การต้อนรับอย่างดีพร้อมกับให้ตั้งสถานีการค้าและบ้านเรือนในกรุงศรีอยุธยาได้แต่การค้าของอังกฤษตลอดระยะเวลานั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงถอนตัวออกจากกรุงศรีอยุธยา ประกอบกับในระยะหลัง ๆมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงกับมีการสู้รบกันที่เมืองมะริดทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกับอังกฤษต้องสิ้นสุดลงในพ.ศ.2230 

    ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส
    สำหรับชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาชุดแรกคือกลุ่มของสังฆราชเบริต  ชื่อ  เเดอลาบ๊อตลัมแปต์กับบาดหลวงอีก 2 องค์ โดยมีความประสงค์สำคัญของคณะนี้ คือ ต้องการที่จะใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้รับการต้อนรับพระนารายณ์อย่างดี
    จนกระทั่งในพ.ศ.2233 ฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา และเพื่อต้องการเป็นมิตรกับฝรั่งเศสสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงส่งฑูตไปฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2223แ ต่ไปไม่ถึงเพราะเรืออับปางเสียก่อน อีกสามปีต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งฑูตไปอีกคือ ขุนพิชัยวาทิตและขุนพิชิตไมตรี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี
    เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการตอบแทนและเป็นการส่งเสริมให้ศาสนาคริสต์แพร่หลายมากขึ้นถึงกับเข้าเฝ้าและทูตให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนา 
    ในพ.ศ.2228 ฝรั่งเศสได้ส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยาอีก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงให้การต้อนรับอย่างดีโดยให้ออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน ) เป็นผู้แสดงบทบาทสำคัญในการที่จะให้ฝรั่งเศสเผยแพร่ศาสนาคริสต์และขยายการค้าซึ่งเป็นที่พอใจของฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง แต่การที่ทูลให้สมเด็จพระนารรายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนานั้นไม่เป็นผลสำเร็จ 
    ต่อมาในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งฑูตไทยซึ่งมีออกพระวิสุทธสุนทร(โกษาปาน) เป็นหัวหน้าคณะฑูตไทยไปฝรั่งเศสพร้อมกับการกลับไปของคณะฑูตเดอโชมองต์ได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสนาน 8 เดือน และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซายส์ตลอดทั้งได้ศึกษาถึงความเจริญในด้านต่างๆ ของฝรั่งเศสและเมื่อคณะฑูตไทยกับฝรั่งเศสได้ส่งทหารจำนวนถึง 636 คนพร้อมฑูตที่มีเดอลาบูแบร์เป็นหัวหน้าคณะและในการมาครั้งนี้จะเห็นว่าฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีอำนาจในกรุงศรีอยุธยาด้วยการสนับสนุนของออกญาวิไชเยนทร์ 
    ใน พ.ศ.2231 ฑูตฝรั่งเศสได้เดินทางกลับโดยมีขุนนางผู้น้อยกลุ่มหนึ่งของไทยเดนิทางไปด้วย แต่กองทหารฝรั่งเศสยังอยู่ในไทยบริเวณเมืองบางกอก และเมืองมะริด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่างของทหารฝรั่งเศสและออกญาวิไชเยนทร์เป็นสิ่งที่ขุนนางไทยไม่พอใจจึงได้ต่อต้านฝรั่งเศสและกำจัดออกญาวิไชเยนทร์ในการติดต่อกับฝรั่งเศสทำให้ไทยเราได้นำความเจริญในด้านต่างๆ เข้ามาหลายด้านเช่นด้านวิทยาศาส ตร์ได้เรียนรู้การแพทย์สมัยใหม่และสร้างหอดูดาวที่พระราชวังจันทรเกษมพระนครศรีอยุธยา เป็นต้นด้านการทหารมีการสร้างป้อมแบบตะวันตกด้านการศึกษาตั้งโรงเรียนที่กรุงศรีอยุธยาของบาดหลวง และได้ส่งนักเรียนไปทยเไปเรียนที่ฝรั่งเศสด้านสถาปัตยกรรมมีการสร้างพระราชวังแบบไทยผสมฝรั่งเศสที่ลพบุรี       
    ความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในระยะหลังไม่ค่อยราบรื่น และมีการสู้รบกันขึ้นระหว่างคนไทยกับทหารฝรั่งเศสและเป็นระยะเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตในพ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชาข้นครองราชย์ และขับไล่ทหารฝรั่งเศสได้สำเร็จทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีของทั้งสองประเทศเสื่อมลงเป็นลำดับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×