ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~-~ บทความ ดีดี ~-~

    ลำดับตอนที่ #33 : การเคี้ยวอาหาร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.2K
      0
      10 ธ.ค. 49

    การเคี้ยวอาหาร

    เคี้ยวมาก จะช่วยให้สมองปราดเปรียวมากขึ้น นักการเมืองชาวอังกฤษท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า
    “อาหาร 1 คำ ต้องเคี้ยวอย่างน้อย 3-12 ที ไม่ว่าอาหารนั้นจะอ่อนแค่ไหนก็ตาม ถ้าคุณไม่มีความอดทนขั้นนี้ ก็อย่าไปหวังว่าจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้”

    มีอาจารย์ท่านหนึ่งป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารตั้งแต่เด็ก สร้างความกลัดกลุ้มทรมานแก่เขามาก
    หลังจากเขาทดลองเคี้ยวอาหารคำละ 100 ทีแล้ว ปรากฏว่า เขาหายจากโรคกระเพาะอาหารในเวลา 1 สัปดาห์
    การเคี้ยวอาหารมิเพียงเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น ยังเกี่ยวพันกับสมรรถนะของสมองอย่างแนบแน่นด้วย
    การเคี้ยวอาหารจะกระตุ้นให้ต่อมน้ำลาย (SALIVARY GLAND)
    และต่อมใต้หู (PAROTID GLAND) หลั่งฮอร์โมนออกมา
    ขณะเดียวกัน อาการเคี้ยวซึ่งทำให้ฟันบนกับฟันล่างกระทบกันก็จะกระตุ้นสมองใหญ่ด้วย
    การกระตุ้นนี้จะทำให้สมองใหญ่ปราดเปรียวยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มพลังแห่งการวินิจฉัย การขบคิดและสมาธิ
    คนที่กินอาหารอ่อนนุ่มบ่อย ๆ หรือเคี้ยวอาหารไม่ค่อยได้หรือเคี้ยวน้อยไป สมองก็จะอ่อนแอด้วย
    ข้างล่างนี้คือผลที่ได้จากการทดลองจำนวนทีที่เคี้ยวอาหารสำหรับประกอบการพิจารณา
    ผู้ที่สนใจจะทดลองดูก็ได้

    ผลที่ได้จากการเคี้ยวอาหาร
    การเคี้ยวอาหาร 30 ที
    ผลที่ได้จากการกินอาหารแต่ละคำ ควรเคี้ยวอย่างน้อยที่สุด 30 ที
    จะช่วยให้เหงือกแข็งแรง และช่วยรักษาอาการขี้หงุดหงิดจิตใจไม่สงบ
    การเคี้ยวอาหาร 50 ที
    จะช่วยลดการกลัดกลุ้มเจ้าอารมณ์ อย่างน้อยที่สุดช่วยให้ลืมเรื่องไม่น่าอภิรมย์ได้ในเวลากินอาหาร
    นอกจากนี้ ยังลดความอ้วนได้ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำที่เกินจำเป็นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
    การเคี้ยวอาหาร 60 ที
    เหมาะสำหรับอาหารที่มีใยหรือกากมากหรือย่อยสลายลำบาก ช่วยลดอาการท้องผูก
    กระตุ้นสมรรถนะของสมองใหญ่ ช่วยให้สมองแล่นมากขึ้น
    การเคี้ยวอาหาร 80 ที
    ช่วยให้ประสาทสัมผัสไวขึ้น สามารถจำแนกรสธรรมชาติและสารปรุงอาหารที่มีพิษในอาหารได้อย่างรวดเร็ว
    นอกจากนี้ยังช่วยให้เลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
    การเคี้ยวอาหาร 100 ที
    ช่วยให้หนักแน่นมากขึ้น สามารถวินิจฉัยและจัดการปัญหาต่าง ๆ อย่างสงบเยือกเย็น
    กินน้อยแต่ร่างการดูดซึมสารอาหารได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยลดการอยากอาหารประเภทเนื้อ หรือระคายต่อร่างกายได้ด้วย
    การเคี้ยวอาหาร 150 ที
    ถ้ายืนหยัดเคี้ยว 150 ที ต่ออาหารหนึ่งคำ กระเพาะอาหารและลำไส้จะมีสมรรถนะสูงขึ้น
    นอกจากนี้ ยังช่วยให้หายจากโรคเรื้อรังบางอย่างโดยไม่ต้องรักษา
    ขณะเดียวกันก็ช่วยให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดังใจ
    การเคี้ยวอาหาร 200 ที
    ถ้ายืนหยัดเคี้ยว 200 ที ต่ออาหาร 1 คำได้ทุกมื้อแล้ว จะหายจากโรคกระเพาะเรื้อรัง และโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลอย่างรวดเร็ว
    ขณะเดียวกันก็ช่วยให้คาดการณ์และวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ได้แม่นยำมากขึ้น

    ถ้าผู้ที่เป็นมารดาเอาแต่ป้อนอาหารที่อ่อนเหลวและมีคุณค่าอาหารค่อนค้างสม่ำเสมอแก่เด็กแล้ว
    เด็กโตขึ้นก็จะติดนิสัยเลว ๆ ที่ชอบกลืนอาหารโดยไม่เคี้ยว และไม่มีทางได้สัมผัสความรู้สึกอิ่มในการกินอาหาร
    ท้ายที่สุดก็จะติดความเคยชินชอบกินอาหารมากเกินไป นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กอ้วนเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

    เคยมีคนสำรวจเด็กอายุระหว่าง 1-5 ขวบ จำนวน 39,000 คน ผลปรากฏว่า
    เด็กที่ขบเคี้ยวอาหารค่อนข้างแข็งไม่เป็นมีจำนวนถึง 550 คน พูดง่าย ๆ ก็คือ
    เด็กทุก 75 คน จะมีเด็ก 1 คน ขบเคี้ยวอาหารไม่เป็น
    อีกทั้งนี่เป็นปรากฏการณ์ทั่วไปในประเทศต่าง ๆ ของโลกทุกวันนี้

    ผลการสำรวจของ ดร. ดับเบิลยู เอ พูลเลอรส์ นายแพทย์ชาวอเมริกันพบว่า
    ชาวเอสกิโมและชาวอินเดียนามีอาการขากรรไกรล่างไม่แข็งแรง
    เนื่องจากการกินอาหารกระป๋องและอาหารรสหวานมากไปเป็นเวลายาวนาน
    ทั้งที่เดิมทีพวกเขามีฟัน เหงือกและขากรรไกรที่แข็งแรงมาก
    เนื่องจากต้องเคี้ยวอาหารดั้งเดิมของพวกเขาซึ่งมักมีเอ็นเหนียวอยู่ด้วย
    ถ้าเคี้ยวอาหารไม่ถูกหลัก มิเพียงจะทำให้ฟันผุเท่านั้น
    แม้แต่สมอง อวัยวะภายใน เอว แขนขาก็จะพลอยได้รับผลกระทบอย่างหนัก
    หนังสือโภชนาการชีวิตและความเสื่อมของร่างกายซึ่งเขียนโดยนายแพทย์ท่านหนึ่งได้เตือนผู้อ่านอย่างจริงใจว่า
    ความเคยชินที่ไม่ถูกต้องในการกินอาหารทำให้เกิดโรคจิตและโรคในส่วนศีรษะได้ง่าย
    ข้อความที่แฝงความหมายลึกซึ้งและจริงใจนี้มิได้ขยายความเกินจริงอย่างเด็ดขาด
    นอกจากนี้ยังกล่าวกันว่า การเคี้ยวมีสมรรถนะช่วยขจัดพิษด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×