ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พี่หมอ มศว เล่าเรื่อง (Ultimate Version)

    ลำดับตอนที่ #67 : เมื่อโทชิ “ToShi ShibaDog” โดนฝังไมโครชิพ : What is microchip for dog?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 150
      0
      6 ก.ย. 57

     

     
    วันนี้ โทชิ “ToShi ShibaDog” จะมาแชร์ประสบการณ์การไปฝังไมโครชิพสุนัขกันครับ ไมโครชิพนั้นมีข้อดีหลายอย่างเลยนะครับ เดี๋ยว โทชิจะเล่าให้ฟังเอง
     
     
              ก่อนโทชิจะพาไปดู เรามารู้ก่อนว่าฝังไมโครชิพมีขั้นตอนที่เราต้องเตรียมการหลายอย่าง
     
    อันดับแรก อายุของสุนัขถึงเกณฑ์ในการฝังไมโครชิพหรือยัง ?
              เนื่องจากไมโครชิพมีขนาดเล็ก จึงสามารถฉีดในสัตว์ที่มีขนาดเล็กได้อย่างปลอดภัย ลูกสุนัขอายุสัด 30-45 วันก็สามารถทำได้ วันที่ตัดสินใจพาโทชิไปฝังไมโครชิพนั้น อายุได้ 3 เดือนพอดี ฝังได้สบายๆครับ
     
    อันดับสอง สถานที่ติดตั้งไมโครชิพ
              ไม่ใช่ทุกสถานพยาบาลสัตว์จะติดตั้งไมโครชิพได้ทุกที่ เราต้องติดตั้งไมโครชิพกับสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ติดตั้งเท่านั้น เพื่อให้เรามั่นใจว่าสัตว์เลี้ยงของเราได้รับการติดตั้งไมโครชิพที่ได้มาตรฐาน และติดตั้งอย่างปลอดภัยโดยสัตวแพทย์ผู้ชำนาญการ
     
     
              ศูนย์ติดตั้งนั้นกระจายตามอยู่ตามที่ต่างๆทั่วกรุงเทพรวมถึงต่างจังหวัด เช็คศูนย์ติดตั้งใกล้บ้านได้ทางลิงค์นี้ครับ http://www.pettracthai.com/service.html
     
     
             โทชิได้เลือกไปติดตั้งที่ เศรษฐกิจสัตวแพทย์ เพราะประวัติการฉีดวัคซีนก่อนโทชิย้ายบ้านมาอยู่กับเจ้านายใหม่อยู่ที่คลีนิกนี้ เจ้านายโทชิอยากมาเอาประวัติเดิมเพื่อย้ายไปคลีนิกใกล้บ้านและบังเอิญคลีนิกนี้เป็นศูนย์ติดตั้งพอดี เยี่ยมไปเลยครับ
     
    อันดับสาม เตรียมเอกสาร ได้แก่
    1.สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสุนัข
    2.สำเนาทะเบียนบ้านที่สุนัขอาศัยอยู่
    3.สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของบ้าน(กรณีที่เจ้าของสุนัขไม่ใช่เจ้าของบ้าน)
    4.หนังสือรับรองทะเบียนตัวสุนัข หรือใบเพ็ด(ถ้ามี)
    5.สมุดวัคซีน 
     
     
              เอาล่ะเริ่ม Story กันเลย
     
     
                  โทชิตื่นนอนแต่เช้า มาเล่นกับเจ้านายตามปกติ จู่ๆเจ้านายก็หอบหิ้วโทชิขึ้นมาบนรถ โทชิรู้สึกดีใจว่า เย้!! เจ้านายจะพาโทชิไปเที่ยววันนี้
     
     
    สักพักพอเจ้านายหยิบสมุดวัคซีนขึ้นมา...โทชิก็รู้ว่าสงสัยจะไม่ใช่ไปเที่ยวแล้ว

     
     
     
    หลังขับรถอยู่นาน ก็มาถึงจุดหมายคือเศรษฐกิจสัตวแพทย์ ตอนที่มานั้นมีน้องหมาตัวอยู่มารับบริการอยู่ก่อนหน้าแล้ว โทชิจึงต้องรอคิวก่อนครับ
     
     
     
    มีพี่โกลเด้นตัวใหญ่กำลังตัดแต่งขนอยู่
     
     
     
    ระหว่างโทชิรอตรวจมีน้องลาบราดอร์ อายุน่าจะใกล้เคียงกับโทชิมาเล่นด้วย สงสัยอยากเป็นเพื่อนกันกระดิกหางใหญ่เลย
     
     
    สักพักก็มีพี่เจ้าของไซบีเรี่ยนสองตัวเดินมาถามว่า
     
    ทำไมไซบีเรี่ยนของน้องสีแปลกจัง? ” โทชิไม่ใช่ไซบีเรี่ยนนะฮับ โทชิเป็น ชิบะ อินุ
     
     
                หลังรอไม่นานก็ถึงคิวของโทชิ เจ้านายบอกโทชิว่าไม่ต้องกลัวนะเพราะ ไมโครชิพนั้นมีขนาดเล็กมาก ขนาดพอๆเมล็ดข้าวสาลีเอง แถมคุณหมอจะใช้เครื่องมือที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อ ฝังไมโครชิพลงไปที่ชั้นใต้ผิวหนังระหว่างหัวไหล่ทั้งสองข้าง....
     
     
     
     เอ๋! เดี๋ยวก่อนนะเจ้านาย ทำไมเข็มมันใหญ่น่ากลัวจังเลย
     
     
     
     
    เอาหล่ะขึ้นเขียงแล้ว ทำไงดีโทชิยังทำใจไม่ได้
     
     
    โทชิ...กลัวจังเลยครับ
     
     
     
    แฮ่กๆ...เจ้านายช่วยโทชิด้วย
     
               คุณหมอใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ไมโครชิพก็ถูกฝังลงไปที่ชั้นใต้ผิวหนังของโทชิเป็นที่เรียบร้อย ผิดคาดโทชิไม่ร้องเลยซักแอะ แต่มาร้องตอนโดนป้อนยาถ่ายพยาธิ เห้ยทำไมของยากทำได้ ของง่ายมางอแงซะงั้น
     
     
    ถ้า X-ray จะเห็นไมโครชิพฝังอยู่ดังภาพ ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dogilike.com/content/tip/684/
     
     
     
    จากนั้นคุณหมอจะให้บัตรใบรับรองการฝังไมโครชิพ และส่งเรื่องไปยังศูนย์ข้อมูล ใช้ระยะเวลาประมาณสองสัปดาห์ก็จะมีใบรับรองตัวเต็มส่งมาถึงที่บ้าน
     
     
    ใบรับรองตัวเต็มส่งมาถึงที่บ้าน
     
     
     
              หากสัตว์เลี้ยงของเรามีอยู่ในฐานข้อมูลแล้ว เพียงเอาเพียงเราเอาเลขไมโครชิพใส่ตรวจสอบทางเวป http://www.pettracthai.com/  ข้อมูลของสัตว์เลี้ยงเราก็จะขึ้นมาหมดเลย ทั้งชื่อสัตว์เลี้ยง ชื่อเจ้าของ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อกลับ
     
              ประโยชน์ของการฝังไมโครชิพคือ
    1.การยืนยันความเป็นเจ้า
                ลองคิดดูสมมติถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณหนีเที่ยวหลุดออกไปนอกบ้าน แล้วมีพลเมืองดีพบเห็นและนำสัตว์เลี้ยงไปตรวจที่คลีนิกที่มีเครื่องอ่านข้อมูล ข้อมูลของสัตว์เลี้ยงเราก็จะขึ้นมาหมด ซึ่งช่วยในการติดตามหาเจ้าของได้
     
                หรืออีกกรณี ถ้าสัตว์เลี้ยงหลุดไป แล้วมีคนหวังดีอุปการะเลี้ยงไปเรียบร้อย แล้วเราไปเจอทีหลังแล้วเขาอ้างว่านั้นเป็นสุนัขของเขา ไม่ยอมคืนสุนัขให้ เราก็มีสิ่งยืนยันว่านี่เป็นสุนัขของเราจริงๆอย่างที่เขาเถียงไม่ขึ้น เพราะหลักฐานว่าเราเป็นเจ้าของที่แท้จริงมันชัดเจนทางกฎหมาย
     
    2.การซื้อขายไม่ผิดตัว
                ถ้าคุณเป็นผู้ซื้อหรือขายสุนัข หากระบุเลขไมโครชิพซึ่งตรวจสอบได้การซื้อขายย่อมเป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่มีซื้อขายผิดตัว
     
    3.การพัฒนาสายพันธุ์
                 การฝังไมโครชิพทำให้เกิดความแน่นอนในการยืนยันสายพันธุ์
     
    4.การขึ้นทะเบียนสุนัข(ใบเพ็ด)
                ตอนเราเอาสุนัขไปขอขึ้นทะเบียนกับสมาคมเพาะพันธุ์สุนัขแห่งประเทศไทย ในรายละเอียดข้อมูลที่ต้องกรอกจะมีช่องให้ใส่เลขไมโครชิพเพื่อยืนยันตัวตนของสุนัขด้วย
     
             สิ่งสำคัญที่เราควรต้องรู้เกี่ยวกับไมโครชิพก็คือรหัสและหมายเลขของไมโครชิพในปัจจุบันที่มีด้วยกันทั้งหมด 15 หลัก ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 1784/11785 และแต่หมายเลขแต่ละหลักนั้นมีความสำคัญที่เราเองควรจะรับรู้เอาไว้ด้วยเช่นกัน
             สำหรับไมโครชิพระบบ ISO จะมีตัวเลข 15 หลัก โดย 3 หลักแรก จะระบุถึงประเทศ หรือบริษัทที่เป็นเจ้าของ ซึ่งรหัสประเทศไทยคือ 764 ซึ่งแต่ละประเทศก็จะใช้รหัสไม่เหมือนกัน แต่ในประเทศของเราตอนนี้ยังไม่ได้ใช้ตามรหัสที่ระบุ เนื่องจากของเราเองยังไม่มีหน่วยงานราชการใดที่รับผิดชอบ และสามารถออกหมายเลขของไม่โครชิพได้ ตอนนี้จึงจำเป็นที่จะต้องใช้หมายเลข 3 ตัวแรกเป็นรหัสของบริษัทที่ขึ้นทะเบียนผู้ผลิตไว้กับ ICAR ไปก่อน เพื่อไม่ให้หมายเลขของไมโครชิพออกมาซ้ำกัน ซึ่งปัจจุบันรหัสเริ่มต้นของ เพ็ทแทรคไทย คือ 900.012 XXX XXX XXX
            ส่วนหมายเลขอีก 12 หลักที่เหลือ จะเป็นเลขที่ถูกกำหนดขึ้นและเรียงตามกัน เพื่อไม่ให้ซ้ำ นั่นคือความหมายของ ไมโครชิพระบบ ISO ในอนาคตประเทศไทย คงใช้ไมโครชิพระบบ ISO ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทางกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง คงได้นำมาใช้ทั้งหมด ซึ่งในตอนนี้ที่เรานำมาใช้ และที่สมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัขใช้ ให้ความมั่นใจได้ว่า เป็นไม โครชิพระบบ ISO ที่เป็นสากล สามารถอ่านได้ทุกที่ ทั้งการนำสุนัขเข้ามาจากประเทศอื่นๆ เราสามารถอ่านได้และรู้ว่าสุนัขมาจากประเทศไหน
    ที่มา http://www.pettracthai.com/
             
     
                การฝังไมโครชิพไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะในต่างประเทศเขาก็ทำมากันเป็นสิบๆปีแล้ว โทชิหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ
    ToShi
    >>CLICK<<ที่ ToShi เพื่อไปสารบัญ

     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×