ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พี่หมอ มศว เล่าเรื่อง (Ultimate Version)

    ลำดับตอนที่ #26 : บันทึกไม่ลับนักศึกษาแพทย์ ตอน "ย้อนรอย...นครพิงค์" (อัพแล้ว 100%)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.12K
      1
      27 พ.ค. 52

    เรื่องโดย ~หมูสนาม~  นิสิตแพทย์ มศว MD20
    เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2552
               เรื่องราวของตอนนี้ย้อนไปสมัยที่EXTERNแบงค์ยังเป็นแค่นิสิตแพทย์ปี 5 และได้เลือกลงวิชาเลือก(Electiveฝึกงาน)ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ณ จังหวัดเชียงใหม่
    PS.อ่านเรื่องราวของตอนนี้ย้อนได้ในตอนที่ 17 บันทึกไม่ลับนักศึกษาแพทย์ ตอน “เดินทางลัดฟ้า…สู่นครเชียงใหม่”
            เรื่องนั้นเกิด ณ กลางดึกของกลางคืน…คืนหนึ่ง…ขณะที่นิสิตแพทย์แบงค์กำลังอยู่เวรดึกกับนิสิตแพทย์ปิ้น และนิสิตแพทย์เชอรี่ ที่Wardอายุรกรรม
             หว้อ…หว้อ… เสียงไซเรนของรถพยาบาลดังขึ้นเป็นระยะๆ เป็นเสียงที่ได้ยินกันจนคุ้นหูแล้ว เนื่องจากโรงพยาบาลนครพิงค์แห่งนี้เป็นถึงโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ รถพยาบาลที่วิ่งเข้าออกก็ต้องเยอะเป็นธรรมดา วันนี้ก็คงเป็นเหมือนทุกวัน
              จริงๆแล้วนิสิตแพทย์แบงค์ก็ไม่ได้สนใจกับเสียงไซเรนนี้เท่าไรนัก เพราะ หน้าที่ของนิสิตแพทย์แบงค์วันนี้ก็คือดูแลคนไข้สามสิบเตียงที่นอนอยู่ในWardอายุรกรรม ส่วนเรื่องฉุกเฉินก็ให้คุณหมอที่อยู่ที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน(ER)ดูแลไปก่อนแล้วกัน ถ้ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับอายุรกรรม เขาก็คงเรียกเอง…. พูดไม่ทันขาดคำโทรศัพท์ก็ดังขึ้น
            กรี้ง…กริ้ง ขอให้น้องนิสิตแพทย์อายุรกรรมไปที่ERด่วนเลยค่ะ”
            …โดนตามจนได้…ต้องเป็นเคสคนไข้ที่หน้าสนใจแน่ๆเลย…อาจารย์ถึงตามด้วยตนเอง
            เมื่อไปถึงก็พบว่าคนไข้ถูกบุรุษพยาบาลเข็นจากรถพยาบาลเข้ามาอยู่ใน ER เรียบร้อยแล้ว คนไข้เป็นลุงแก่ๆ อายุน่าจะประมาณ 60 ปี สภาพดูแย่มาก มีอาการดังนี้
            - เรียกไม่รู้สึกตัว น้ำลายฟูมปาก
           - เหงื่อออกท่วมตัว น้ำตา น้ำมูกไหลตลอดเวลา
           - ตัวเริ่มเขียว ที่แปลกไปกว่านั้นเห็นกล้ามเนื้อแขนขาของคุณลุงขยับได้เองเป็นลูกคลื่น และดูรูม่านตาพบว่ารูม่านตาเล็กเท่ารูเข็ม
           - ค่าความดันเลือดยังไม่ตกมาก ประมาณ 110/70 mmHg แต่อัตราการเต้นของหัวใจค่อนข้างต่ำเหลือประมาณ 50 ครั้งต่อนาที ค่าความอิ่มตัวของOxygenวัดจากปลายนิ้วเหลือเพียง 68 %
            ถ้าเป็นน้อง…น้องจะทำอย่างไรกับคนไข้คนนี้ระหว่าง
    A.         เจาะเลือด ส่งLabทางห้องปฏิบัติการทุกอย่างเท่าที่นึกได้เพื่อสืบหาสาเหตุที่ทำให้คนไข้เกิดอาการในครั้งนี้ แล้วค่อยทำการรักษา
    B.         ใส่ท่อช่วยหายใจ และรักษาเบื้องต้นไปก่อนโดยที่ยังไม่รู้ว่าคนไข้ถูกวินิจฉัยว่าป็นโรคอะไร
           คำตอบก็คือข้อ B คนไข้แย่แล้วเขียวซะขนาดนี้ หากเรารอผลทางห้องปฏิบัติการมาคนไข้ก็คงลงหลุมไปแล้วครับ>_< เพราะฉะนั้นเราจึงต้องรักษาภาวะฉุกเฉินของคนไข้ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเมื่อคนไข้ได้ทำตามข้อA ไปก็ค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับ
            อย่างที่พี่เคยพูดไปการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์นั้น 80 % นั้นได้มาจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก อีก 20%นั้นถึงเป็นการวินิจฉัยจากผลทางห้องปฏิบัติการ อย่างคนไข้คนนี้ ประวัติก็คงไม่ได้เท่าไรเนื่องจากคนไข้มาก็น้ำลายฟูมปากแล้ว แต่เคสนี้จากแค่การตรวจร่างกาย จริงๆแล้วก็สามารถวินิจฉัยโรคได้เลยว่าได้รับสารพิษบางอย่างมา คือยาฆ่าแมลง เพราะผลที่ได้จากการตรวจร่างกายและอาการของคนไข้เข้าได้กับกลุ่มอาการได้รับสารพิษชนิดนี้(รายละเอียดไว้เข้ามาเรียนหมอแล้วจะรู้เองนะ^_^)
            หลังจากคนไข้พ้นจากสภาวะวิกฤติแล้วก็ถูกส่งต่อมาที่Ward อายุรกรรมซึ่งเป็นWardที่นิสิตแพทย์แบงค์กับนิสิตแพทย์ปิ้น และนิสิตแพทย์เชอรี่อยู่นั้นเอง
          Ward อายุรกรรมชาย ที่หน้าเตียงคนไข้
            “เชอรี่ เธอว่าคุณลุงไปโดยยาฆ่าแมลงมาได้อย่างไร” นิสิตแพทย์ปิ้นถามขึ้น
            “เอ่อนั้นสินะ แก่ขนาดนี้ไม่น่ากินยาฆ่าตัวตายเลย” นิสิตแพทย์เชอรี่แสดงความเห็น
            “เอ่อนั้นเด่…แก่ๆขนาดนี้ไม่น่าคิดสั้นเลย” นิสิตแพทย์ปิ้นให้ความคิดสนับสนุน

    พังงาบ
    …พังงาบ…พังงาบ… ลุงคนไข้ก็นอนอยู่ตรงนั้นขณะที่บทสนทนากำลังดำเนินไป
            “เห้ย! เราว่าลุงแกต้องโดนวางยาแน่เลย”
            “จริงด้วย อาจจะเป็นอย่างที่พูดก็ได้นะ”
            “ไม่ใช่แค่อาจจะ ต้องใช่แน่ๆเลย ลุงแกต้องถูกวางยาเอามรดก” นิสิตแพทย์ปิ้นย้ำอีกครั้งด้วยเสียงอันดัง
    ขณะนั้นเองลุงคนไข้ก็…พังงาบ…พังงาบ…พังงาบ…

            เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าไม่ควรเอาเรื่องของคนไข้มาพูดลับหลัง โดยเฉพาะต่อหน้าอย่างในกรณีนี้ยิ่งไม่ควรทำอย่างมาก ถึงแม้คนไข้จะอยู่ในสภาพไม่ได้สติก็ตาม...

           แพทย์ต้องรักษาความลับของคนไข้นะครับและจะพูดอะไรก็ต้องมีหลักฐานอย่าซี้ซั้วพูดนะครับ อันนี้ถือเป็นบทเรียนแล้วกัน ^_^ ไปก่อนล่ะครับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×