ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ยุทธการสะท้านโลก

    ลำดับตอนที่ #8 : เมื่อมองโกลบุกญี่ปุ่น(ตอนแรก)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 644
      7
      10 ต.ค. 56

    ปี 1259, หลังจัดตั้งเมืองหลวงใหม่สำเร็จที่ปักกิ่ง  กุบไลข่านซึ่งบัดนี้ได้ประกาศตัวเป็นมหาข่านปกครองจักรวรรดิมองโกลอันกว้างใหญ่ ได้มองมายังประเทศหมู่เกาะเล็กๆประเทศหนึ่ง  ญี่ปุ่น   ซึ่งในตอนนั้นญี่ปุ่นอำนาจในการปกครองอยู่ในมือของ ตระกูล “โฮโจ “  ปี 1266 ทูตที่เชิญสารจากมองโกลก็มาถึง โดยมีผู้รับสาส์นคือโฮโจ โทะกิมุเนะ ผู้สำเร็จราชการ โดยมีเนื้อความในราชสาสน์ว่า

     “ในนามของโอรสแห่งสวรรค์  มหาข่านแห่งมองโกลผู้ยิ่งใหญ่  ได้ส่งสารถึงจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นเนื่องด้วยประเทศเล็กๆนี้อยู่ห่างไกล มิได้มีพรมแดน ติดกับดินแดนแห่งอื่น และประเทศนี้เป็นมิตร  ตั้งแต่ปู่ย่าตายายของฉัน   ภายใต้คำสั่งของสวรรค์ดินแดนนับไม่ถ้วนจากระยะอันห่างไกลยอมสยบต่อฉัน ความสัมพันธ์ของเราคือ เสมือนพ่อและลูกชาย
      ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกับ Goryeo (หมายถึงเกาหลีซึ่งถูกยึดครองในปี1259  -1270)  และบางครั้งกับจีนตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ   แต่ญี่ปุ่นไม่เคยส่งทูต นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของฉัน มันน่ากลัวว่า  อาณาจักรแห่งนี้ ก็ยังไม่ทราบถึงเรื่องนี้   ดังนั้นฉันจึงส่งจดหมายที่เขียนด้วย ตัวอักษรของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นี่ การแสดงความปรารถนาของเรา   ในแสดงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตร เราคิดว่าทุกประเทศเป็นสมาชิกของครอบครัวหนึ่ง ของเรา  เรามีวิธีการใช้มือขวาของเรา   ตามที่เราเข้าใจ   ไม่มีใครอยากจะใช้กำลังทหาร “

    (สรุปง่ายๆ   พวกบ้านนอก พี่ใหญ่คับฟ้านะ รู้รึเปล่า   เพราะงั้น  ยอมเป็นของพี่ดีๆนะน้อง ไม่งั้นจะเจ็บตัว)





    ภาพราชสานส์  จากทางมองโกล 

    มหาข่านแห่งมองโกลกุบไลหลักเรียกร้องให้ญี่ปุ่นกลายเป็น
    เมืองขึ้นและยอมส่งส่วย  เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง  แต่ทว่า  ทูตกลับมาโดยไม่ได้รับคำตอบใดๆจากญี่ปุ่น

     ครั้งที่สองเมื่อ ปี 1268 การเจรจา ก็ยังไม่ได้รับคำตอบเช่นเดิม มองโกลก็หมดความอดทน   กุบไล ข่าน มีความปรารถนาอย่างมากที่จะทำสงครามกับญี่ปุ่น แต่ก็พบว่าจักรวรรดิมองโกลยังขาดแคลนทรัพยากรและงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดตั้งกองเรือรบในเวลานั้น จนกระทั่งภายหลังจากมองโกลดำเนินนโยบายกลืนชาติเกาหลีโดยการที่ราชธิดาของกุบไลข่านได้อภิเษกสมรสกับรัชทายาทแห่งโครยอ การต่อเรือและจัดตั้งกองเรือรบจึงเริ่มขึ้นในชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลี ในขณะเดียวกันมองโกลก็เรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนนอยู่เนืองๆ มองโกล ส่งทูตไปอีกสี่ครั้งเมื่อวันที่  7 มีนาคม 1269  17 กันยายน 1269  กันยายน 1271 และพฤษภาคม 1272  แต่ทว่าสี่ครั้งหลังนั้นไมได้รับอนุญาติ  ให้อยู่แต่ที่บริเวณชายแดน

    ญี่ปุ่นในขณะนั้นปกครองโดย "ชิกเก็ง" (ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน) ที่มาจากตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นตระกูลที่กุมอำนาจบริหารประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1203 ในนามของโชกุนแห่งรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ซึ่งขณะนั้นมีโชกุนคือ เจ้าชายโคะเระยะซุ  ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจสั่งระดมพล  โดยตั้งเตรียมรับที่ คิวชูซึ่งใกล้กับเกาหลีที่สุด 

    และในปี 1274 กองทัพเรือก็ออกเดินทาง  โดยมีทหารมองโกลประมาณ 15,000 และทหารจีน 8,000 ทหารเกาหลี  300  เรือรบขนาดใหญ่ 300 เรือรบขนาดรอง 400-500

     


    เรือรบของทางมองโลก



    ทันทีที่เข้าเขตของญี่ปุ่น  พวกเขาเริ่มต้นนโยบายข่มขวัญของมองโกล  ด้วยการ ทำลายเกาะ  Tsushima  และเกาะ Iki จากนั้นก้จับเชลยผู้หญิง เจาะมือแล้วแขวนไว้บนเรือเพื่อเป็นการข่มขวัญข้าศึก  วันที่ 19  พฤจิกายน  มองโกลก็ยกพลขึ้นบกที่ อ่าว ฮาคาตะ ซึ่งห่างเป็นระยะทางสั้น ๆ จากDazaifu  ศุนย์กลางการปกครองของคิวชู  ในวันรุ่งขึ้น  ทหารมองโกลก็  พบกับทหารของญี่ปุ่นที่ตั้งรับอยู่ 1หมื่น  ในการปะทะกันครั้งแรกนั้น  ทหารญี่ปุ่นสู้อย่างสิ้นหวัง เมื่อ  เจอกับยุทธวิธีและอาวุธที่พวกเขาไม่เคยเจอมาก่อน  มองโกลเปิดยุทธวิธีด้วยถล่มด้วย  ธนูติดระเบิด  และธนูอาบยาพิษ  ระเบิดมือเซรามิกซึ่งถูกเหวี่ยงด้วยสลิง  เมื่อเข้าใกล้กได้ก็เจอกับทหารหอกและโล่ห์  ที่ประกอบเป็นขบวนฟาลังซ์  ขณะที่ญี่ปุ่นประเพณีการรบยังเปนแบบตะลุมบอนสู้กัน   ตัวต่อตัว  ในที่สุดทหาร 1หมื่นก็แตกพ่าย  ถอยหนีเข้าไปส่วนในของเกาะ  เพื่อรอกำลังเสริม






    ภาพวาดแสดงทหารมองโกล กำลังโจมตีทหารญี่ปุ่น

     

    แม่ทัพมองโกล  หลังได้รับชัยชนะ มองเห็นความเสี่ยงที่จะตั้งพักแรมบนแผ่นดินศัตรู  จึงสั่งให้เรือลอยลำอยู่ในทะเล  จาก(การวิเคราะห์ของนักประวัติศาตร์เชื่อว่าลูกธนูของมองโกลหมดจึงไม่สามารถตามต่อไปลึกมากไปกว่านี้ได้  ครั้งจะพักพลอยู่บนหัวหาดก็เสี่ยงเกินไป)

    หินป้องกันผนัง, ( Genko Borui ) ในฮากาตะ

    และเมื่อกำลังเสริมมาถึงและกองทัพมองโกลเตรียมยกพลขึ้นฝั่ง ในตอนรุ่งสาง พายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงอย่างมหาศาลก็ได้มาถึง ณ ที่นั้น และได้พัดทำลายกองเรือมองโกลเสียหายไปอันมาก ทหารมองโกลต่างกระโดดหนีเอาชีวิตรอด ทหารจำนวนหลายพันจมน้ำเสียชีวิต ที่รอดชีวิตก็ว่ายน้ำหนีตายขึ้นฝั่งฮะกะตะ แต่ก็ถูกกองทัพซามุไรสังหารเสียชีวิตและบางส่วนถูกจับเป็น

    เชลย อย่างไรก็ตาม เรือของญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและมีความคล่องตัวสูงซึ่งรอดจากพายุก็ได้ขึ้นโจมตีเรือรบมองโกลที่เหลือ

    ภายหลังจากการรุกราน กองเรือพันธมิตรของมองโกลที่เหลืออยู่ก็กลับไปยังโครยอ และชาวญี่ปุ่นได้เทิดทูนว่าพายุลูกนั้นว่าเป็นพายุที่เทพเจ้าบันดาลมาปกป้องญี่ปุ่น และตั้งชื่อให้ว่า "คะมิกะเซะ" (วายุเทพ)

    ลูกระเบิดเซรามิกที่งมได้จากทะเล 





     
    อ่าวฮากาตะที่มองโกลยกพลขึ้นบกในปัจจุบัน


    แม้ว่าครั้งนี้มองโกลจะพ่ายยับเยิน  แต่ทว่า  สงครามครั้งใหม่จะมาถึง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×