ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัตินักวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : ความหมายของคำว่าวิทยาศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.73K
      6
      14 เม.ย. 52


    วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน

    วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    1. วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science)
    2. เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์
      ขั้นพื้นฐานที่ได้จากการค้นพบในธรรมชาติ ได้แก่ ข้อเท็จจริง หลักการ กฎ ทฤษฎี ได้แก่วิชาการต่างๆ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ เราเรียกนักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่า นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้แก่ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เป็นต้น

    ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ที่มีชื่อเสียง เช่น

      • อาร์คีเมเดส ผู้ค้นพบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
      • เซอร์ ไอแซก นิวตัน ผู้ตั้งกฎของความโน้มถ่วง กฎการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทฤษฎีเกี่ยวกับการหักเหของแสง
      • ชาลส์ ดาร์วิน ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แอลเบริ์ต ไอน์สไตน์ ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์
    1. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (applied science) หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    2. เป็นการนำความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เรียก
      นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้ว่านักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย วิศวกร แพทย์ เภสัชกร เกษตรกร เป็นต้น ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
      ที่มีชื่อเสียง เช่น
      • ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กาลิเลโอ กาลิเลอิ ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แบบหักเห
      • หลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้คิดทำเซรุ่มสำหรับฉีดแก้พิษงู และพิษสุนัขบ้า
      • โจเซฟ ลิสเตอร์ ผู้ริเริ่มการใช้สารระงับเชื้อ
      • มาร์เคเซ กูลีเอลโม มาร์โคนี ผู้ประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุโทรเลข วิลเบอร์ และออร์วิล ไรต์ ผู้สร้างเครื่องร่อนพร้อมทั้งปรับปรุงพัฒนาเป็นเครื่องบิน
      • ทอมัส แอลวา เอดิสัน ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า


    เครดิต ติ๊ดติ้ววว   http://www.geocities.com/ganyanee/lesson1.htm
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×