ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #89 : คนไทยทิ้งแผ่นดิน?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 831
      5
      24 เม.ย. 57

    ตำนาน 'คนไท' ทิ้งแผ่นดิน
    มีเรื่องเล่ามากมายเหลือเกินเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคนไทย ว่าคนไทยมาจากไหน  แน่นอนว่าสมัยเด็กๆ ผมก็ปวดหัวไม่น้อยสำหรับทฤษฎีการอพยพของบรรพบุรุษ บ้างก็ว่ามาจากมณฑลยูนาน, บ้างก็ว่ามาจากเทือกเขาอันไต บ้างก็ว่ามาจากชวา(ตอนนั้นทฤษฎีนี้น่าสนใจมาก เพราะโครงสร้างดีเอ็นเอของคนไทยกับคนชวาเหมือนกันมาก) แต่ก็มีคนมากมายที่พยายามแย้งว่าคนไทยอยู่ในดินแดนรูปขวานนี้มานานแสนนานแล้ว ทำให้ผมเกิดความสงสัยมันมีปัญหาอะไรนักหนาถ้าคนไทยจะเป็นผู้อพยพเข้ามาตั้งรกรากบนแผ่นดินนี้  เพราะคนไทยอยู่มาจนป่านนี้คงไม่มีใครจะไล่ออกจากแผ่นดินได้
     
    ในประวัติศาสตร์สามก๊กได้กล่าวถึงตำนานคนไทยทิ้งแผ่นดินไว้อย่างน่าสนใจ(ขอย้ำว่าประวัติศาสตร์ครับ ไม่ใช่แค่นิยาย) โดยกล่าวว่าเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองทางใต้ที่ต้องการปลดแอกจากจีนโดยฉวยโอกาสขณะที่บ้านเมืองกำลังจราจล พวกเขาได้เล่าเกี่ยวกับการทำสงครามของชาวจีนในตอนนั้นและระบุถึง "แม่ทัพโจโฉ แม่ทัพเล่าปี่ และแม่ทัพซุนกวน"
     
    สำหรับ มล. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แสดงความเห็นว่า, คนไทยเหล่านี้คือพวกเบ้งเฮ็กนั่นเอง และชื่อที่ถูกต้องควรเป็นเม็งเฮก  ฟังดูน่าสนใจครับ เพราะถ้าพิจารณาจากประเพณีของพวกเขา  พวกเขาน่าจะเป็นคนลาวนี่เอง  แต่ก็มีคนเสนอความเห็นที่แตกต่างเช่นกันว่า "เบ้งเฮ็กไม่ใช่คนไทย" ซึ่งข้อนี้ผมก็ไม่มีปัญหาเพราะต่างคนต่างคิด เพียงแต่ บางคนอาจจะไม่รู้ว่า หากว่ากันตามหลักมนุษยวิทยาและภาษาศาสตร์ คนไทยก็คือคนลูกหลานของคนลาวนั้นเอง(ทำให้คิดตะหงิดๆ เกี่ยวกับคนไทยบางคนที่ชอบดูถูกประเทศเพื่อนบ้าน)
     
    สำหรับผม... เบ้งเฮกหรือเม็งเฮกและคนของเขาเป็นคนไทยหรือไม่ ผมคิดว่าพวกเขาอาจจะไม่ใช่บรรพบุรุษของชาวไทยในปัจจุบัน--อย่างน้อยที่สุด, ครึ่งประเทศ  แต่เขาเป็นบรรพบุรุษของคนไทในกลุ่มล้านนา-ล้านช้างแน่นอน ซึ่งตั้งรกรากอยู่ตามตอนใต้ของจีน  และตามปกติย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเขาจะมีการแต่งงานข้ามเผ่าถ้าพูดภาษาเดียวกันรู้เรื่อง เพื่อเหตุผลการเมืองและการรวมกลุ่มให้เป็นปึกแผ่นในการต่อสู้กับแผ่นดินใหญ่ ฉะนั้น เป็นเรื่องปกติที่เลือดของเขาจะถูกสืบสายลงมายังคนรุ่นหลังที่ยังคงอยู่ในถิ่นเดิม-ตลอดจนทางภาคเหนือและลุ่มแม่น้ำโขง  ลักษณะประเพณี-วัฒนธรรม และนิสัยของพวกเขาก็สอดคล้องกับลักษณะของลูกหลานพวกเขา
     
    แต่สำหรับคนไทยในภาคกลางและภาคใต้ ชัดเจนว่าพวกเขาอาจมาจากชวาและมอญ(ตามรหัสพันธุกรรมที่ปรากฏ) และประเพณีหลายอย่างก็สอดคล้องกัน และเมื่อพวกเขามาเจอกันในแผ่นดินเดียวกัน(แผ่นดินรูปขวาน) จึงเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลายสิ่ง หนึ่งในนั้นคือรูปแบบทางภาษา ถ้าเราสังเกต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความฟุ่มเฟือยอย่างยิ่ง(สำหรับเพื่อนที่มีอุดมการณ์แบบชาตินิยม  อ่านแล้วอย่าพึ่งโกรธจนกระทืบจอคอมโดยคิดว่าเป็นหน้าผม เดี๋ยวท่านจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นและอาจเสียชีวิตเนื่องจากไฟช๊อต) มีคำหลายต่อหลายคำที่เกิดจากการผสมระหว่างหลายภาษา  ถ้าเราเปิดใจและศึกษาประเทศของเราอย่างจริงจัง เราจะพบว่า แท้จริงแล้วประเทศไทยซึ่งเราชอบอ้างว่ามีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครนั้น แท้จริงแล้วอาจจะถือว่าไม่มีเอกลักษณ์ก็ได้ เพราะเอกลักษณ์ของเราเกิดจากการผสมสิ่งที่ได้จากเพื่อนบ้านให้เหมาะกับเรา เช่นภาษานั้นชัดเจนมาก มันเต็มไปด้วยคำเขมร-มอญ-ลาว-ชวา เป็นไปหมด แค่เราพูดหนึ่งประโยค เราพูดภาษาของชาวบ้านออกมาด้วย เช่นบทความที่ผมกำลังพิมพ์ตอนนี้ มีภาษาไทยจริงๆ แค่หนึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง
     
    ง่ายๆ "ตัดสิน" ตัด--คำไทย สิน--คำมอญ หรือ "เดิน" เป็นคำเขมร "พร้อมกัน" เป็นคำเขมร  ยิ่งถ้าเราพูดคำราชาศัพท์ยิ่งเกือบไม่มีคำไทยหลุดออกมาซักคำ
     
    เอาล่ะ  เรื่องราวของเบ้งเฮ็กในตอนที่เป็นใหญ่ในดินแดนของตนได้ปรากฏในฐานะผู้ซึ่งเป็นบันไดสำหรับข่งเบ้งในการไต่ขึ้นไปสู่การเป็นมังกรมหัศจรรย์ เพราะข่งเบ้งต้องชนะติดต่อกันเจ็ดครั้งรวดและมีคนตายในสงครามครั้งมากมายจนข่งเบ้งถึงกับหลั่งน้ำตาราวกับน้ำล้างกระจกรถ  ที่แปลกกว่านั้นก็คือ เบ้งเฮ็กนี้ก็ดื้อด้าน เอาคนมากมายขนาดนั้นไปตายซ้ำแล้วซ้ำอีก
     
    แต่ผมก็อดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามเช่นกัน... เมื่อผมอ่านประวัติศาสตร์โรมาเนีย ปรากฏว่าในปี1476 พระเจ้าแดร็กคิวล่าทรงนำกองทัพที่มีเพียงสามร้อยคน(รวมพระองค์เอง)เข้าง้างอำนาจของสุลต่านเมห์เหม็ตซึ่งเป็นอดีตคนรัก(คนรักจริงๆ ครับ เพราะตามหลักฐานที่ปรากฏในออตโตมาน แดร็กคิวล่าถูกสุลต่านข่มขืนมานับครั้งไม่ถ้วน ตั้งแต่เด็กจนโต จนตาย!?) และจบลงที่ความตายไม่ต่างอะไรกับวีรกรรมของพระเจ้าลีโอไนดัสกับทหารสปาต้าสามร้อยนาย แดร็กคิวล่าทรงมีเหตุผลชัดเจนในการปลดแอกประเทศคือ เพื่อปกป้องประชาชนของพระองค์ไม่ให้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทาสและทุกข์ทรมาณเหมือนกับพระองค์
     
    บางคนคนอาจจะคิดว่าเบ้งเฮ็กนี่ดื้อรั้น แต่ถ้ามองอีกมุม นี่เป็นหนทางเดียวที่จะปกป้องประชาชนหรือไม่? เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าขงเบ้งดำเนินนโยบายทางการเมืองกับชนเผ่าไทอย่างไร เบ้งเฮ็กไม่ใช่แค่ผู้นำที่นำคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียว แต่เขาได้ปลุกระดมหมู่บ้านข้างเคียงจนลุกขึ้นสู้ ทำให้ผมรู้สึกว่าการกระทำของทางการเสฉวนต้องสร้างความเจ็บช้ำระกำใจให้กับคนไทในตอนนั้นไม่น้อย
    ในความจริง ข้อมูลเกี่ยวกับสงครามระหว่างข่งเบ้งและชนเผ่าไม่ได้มีมากมายอะไร แต่ในนิยายได้ระบายสีมันอย่างน่าสนใจ และแน่นอน, ข่งเบ้งตระหนักว่าเขาคงไม่อาจบรรลุสวรรค์ชั้นฟ้า เพราะเขาฆ่าคนมากเกินไป  ในความเป็นจริงการฆ่าคนเกือบเป็นเรื่องปกติในยุคโบราณ บ้านเมืองมีขื่อมีแปรแล้วไง? พวกมึงก็ฆ่ากันเหมือนเดิม
     
    จนบางทีสงสัย... ฆ่าคนแล้วบาปจริงๆ หรือ ศาสนากำหนดให้มันบาป เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบ
     
    มนุษย์ก็เป็นสัตว์จำพวกหนึ่ง ซึ่งสัญชาตญาณความเป็นสัตว์ออกชัดเมื่อต้องแย่งชิงบางสิ่ง  ในที่สุด ผู้ชนะก็ตามทำลายผู้แพ้จนราบคาบ  ส่วนผู้แพ้ ถ้าไม่ตายก็เป็นฝ่ายไป  มันคงไม่แปลกถ้าคนไทยกลุ่มนั้นจะต้องทิ้งถิ่นฐาน เพราะพวกเขามีทางเลือกสองทาง คือ ยอมรับการปกครองของจ๊ก หรือ หนีไปเพราะไม่อาจรับการครอบครองของจ๊กเหนือตน
     
    เพียงแต่ มันเป็นคนเพียงไม่กี่กลุ่มที่เลือกที่จะไป... ไม่ใช่ทุกเผ่าซึ่งมีเกือบร้อยเผ่า

    ตอนหน้าเป็นตอนสุดท้ายแล้วนะครับ ผมคงคิดถึงบทความนี้มาก เพราะตั้งแต่เขียนบทความมาไม่เคยมีบทความไหนมีแฟนเยอะและโพสเยอะขนาดนี้มาก่อน TT_TT
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×