ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เฮฮาประสาสามก๊ก

    ลำดับตอนที่ #62 : เฮ่ๆ อย่าพึ่งข้ามไปนะ คุยกันก่อน!?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 800
      3
      21 ธ.ค. 55

    คุยกันก่อน... เกร็ดเล็กๆ ก่อนอ่านตอนต่อไป(สำคัญกว่าที่คิดแน่ๆ)
    ด้วยความที่เพื่อนทราบกันดีว่าบทความเรื่อง "เฮฮาประสาสามก๊ก" นี้เป็นบทความเชิงประวัติศาสตร์ที่เอาฮาเป็นหลัก แต่ก็จริงจังกับความเป็นไปได้ทั้งหมดในประวัติศาสตร์เช่นกัน และจากการที่นั่งอ่านกันมาเกินครึ่งร้อยตอนแล้วย่อมทราบกันดีว่า สามก๊กจริงๆ เริ่มเมื่อโจผีสถาปณาตัวเองเป็นฮ่องเต้ และทำให้เล่าปี่ตาร้อนเป็นตามบ้าง และสามก๊กก็จบลงที่สุมาเอี๋ยนรวมแผ่นดินสำเร็จ แต่สมัยที่ปีศาจตั๋งโต๊ะอาละวาดจนถึงปีที่เหี้ยนเต้ต้องเสียบัลลังก์ให้พระพี่เมียชื่อน่ากลัวอย่างโจผีนั้น เราเรียกว่า "ยุคขุนศึก" หรือ "Dynasty Warriors" เพราะเป็นยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย คนฆ่ากันเป็นประจำวันยันประจำเดือนจนประจำปี แต่ละคนล้วนตั้งตนเป็นใหญ่ไม่ขึ้นกับเหี้ยนเต้ทั้งสิ้น เพราะงั้นผมจึงมั่นใจว่าความคิดที่โจโฉยึดเหี้ยนเต้ไว้เป็นเครื่องต่อรองเป็นเรื่องไร้สาระเพราะตอนนั้นเหี้ยนเต้ไม่มีอำนาจห่าอะไรทั้งสิ้น และการที่โจโฉกุมเหี้ยนเต้ไปก็ไม่ได้มีประโยชน์เลย มีแต่เป็นภาระ แถมโดนด่าสาดเสียเทเสียทั้งขึ้นทั้งร่องด้วย แล้วการที่โจโฉมีเหี้ยนเต้ในมือก็ใช่ว่าจะทำให้คนกลัวซะเมื่อไหร่ ตรงกันข้าม หากใครอยากมีความชอบธรรมในการกำจัดโจโฉที่กำลังเป็นที่รักของประชาชนก็ล้วนเอาเหี้ยนเต้มาเป็นข้ออ้างล้มโจโฉทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้ทำให้ผมสรุปว่าโจโฉเลี้ยงเหี้ยนเต้ไว้ด้วยเหตุผลเดียวคือ "สงสาร" และบางครั้งก็แอบสงสัยด้วยว่าโจโฉอาจจะ "ไม่ได้ความจงรักภักดีห่าเหวอะไรทั้งสิ้น"
     
    อันหลังนี้คือเฉพาะกรณีที่เหี้ยนเต้ไม่เคยคิดร้ายอะไรกับโจโฉจริงๆ นะ เพราะหากเหี้ยนเต้คิดร้ายหรือคิดทำร้ายแล้วโจโฉยังเลี้ยงไว้ก็แปลว่าโจโฉเป็นจอมตงฉินที่จงรักภักดีสุดๆ แล้วครับ
     
    เตียวสงมีความรู้ความสามารถมากมายจริงหรือไม่ ผมไม่ทราบแน่ชัด เพราะนิยายเหมือนจะจงใจเชิดชูเตียวสงเพื่อหมิ่นโจโฉเท่านั้นเอง รวมทั้งเชิดชูว่าการกระทำของข่งเบ้ง-เล่าปี่เป็นการกระทำอันฉลาด ส่วนโจโฉนั่นโง่ที่ขับไล่คนดีไปให้พ้น แต่ในเรื่องจริงนั้นโจโฉไล่เตียงสงไปเพราะเห็นว่าการกระทำของเตียวสงในการขายแผนที่เสฉวนให้ตนนั้นรับไม่ได้ เพราะขณะนั้นบ้านเมืองเสฉวนก็สงบสุขดี ไม่มีอะไรที่จะทำการทรยศเจ้านายแบบนี้ ซึ่งต่างจากพวกที่ปรึกษาและขุนศึกของโจโฉที่เป็นศัตรูกันแล้วมาสวามิภัก เพราะตอนนั้นทั้งหมดล้วนตกอยู่ในสถานการณ์เป็นภัย ซึ่งโดยธรรมดาก็ต้องรักษาตัวเองให้ปลอดภัยก่อน จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับและให้อภัยกันได้ แต่กับกรณีเตียงสงนี้มันผิด โจโฉไม่ต้องการเป็นมิตรกับคนแบบนี้จึงสั่งลงโทษและไล่ไป ความจริงเรื่องนี้ก็เป็นที่ตะลึงพรึงเพริดสำหรับพวกลูกน้องโจโฉเกือบทั้งหมด เพราะพวกเค้าเคยคิดว่าโจโฉใช้งานคนโดยไม่เลือกดีเลว แล้วไฉนจึงไม่เอาเตียวสง ฉะนั้นการใช้คนแบบไม่เลือกนั้น เล่าปี่-ข่งเบ้งท่าจะเหนือกว่า แต่จะยังไงก็ตาม เตียวสงก็โดนเล่าเจี้ยงกำจัดไปในฐานที่ทรยศ
    ข่งเบ้งชั่งอุส่าห์จัดสรรเวลามานั่งเขียนตำราพิชัยสงครามได้เป็นปึกๆ ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะมีเวลาเหลือเฟือปานนั้น เนื่องจากเป็นคนสนใจทุกเรื่องตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ นั่งเก้าอี้ทีก็ควบทีละหลายๆ ตัว ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมอายุสั้น สุมาอี้เห็นดังนั้นจึงไม่คิดจะออกรบ ปล่อยให้คลั่งตายไปเอง เพราะเห็นแล้วเป็นคนนั่งเฉยๆ ไม่เป็น ซึ่งการที่เฮียเบ้งมีอุส่าห์กันเจียดเวลามานั่งเขียนตำราพิชัยสงครามนี้นับว่าแปลกมาก เพราะไม่เหมือนกับโจโฉที่นั่งทำสบายๆ เนื่องจากโจโฉไม่ใช่นายกรัฐมนตรีที่มีงานล้นมือเหมือนข่งเบ้ง พักจากรบและงานบริหารจึงมีเวลาหายใจ ในนิยายบอกว่าเพราะเตียวสงหมิ่นไว้ โจโฉจึงเผาตำราตัวเองโดยไม่ตรวจสอบก่อน แน่นอนว่านิยายแต่งมาออกจะเป็นหมิ่นโจโฉในที แต่หากพิจารณาอีกด้านกลับกลายเป็นว่าโจโฉเป็นคนปล่อยวาง เรื่องนี้มีในเกร็ดพงศาวดารเหมือนกัน เรื่องแรกบอกว่าโจโฉเขียนเสร็จก็นั่งอ่านผลงานตัวเองอย่างมีชื่นชมก่อนจะจัดการเผาทิ้ง(เฮ้ย!) ผู้คนก็ตกใจว่าทำไมทำแบบนั้น โจโฉก็บอกว่ามันไม่สำคัญอะไรนักหรอก เค้าก็แค่อยากลองเขียนเท่านั้นเอง(เขียนมาแล้วเผานี่จะเขียนให้เปลืองหมึกเปลืองกระดาษทำไมฟะ?) ส่วนเกร็ดอีกอันหนึ่งบอกว่าโจโฉยังทำไม่เสร็จหรอก แต่ครั้งหนึ่งเค้าไปเยี่ยมเยียนประชาชนแล้วได้พบเจอกับเด็กกำพร้าในความดูแลของเจิ้งหวุนซึ่งรับเด็กพวกนี้เป็นลูกบุญธรรมทั้งหมด เมื่อสอบถามไปแล้วพบว่าเด็กๆ เหล่านี้กว่าครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่ต้องเสียพ่อแม่ไปเพราะกองทัพของเค้าทั้งสิ้น ด้วยความขมขื่นใจทำให้โจโฉถึงกับเผาตำราทิ้ง ไม่ทราบว่าจะเชื่ออันไหนดีเหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันคือ บางส่วนยังโดนเผาไม่หมด และได้สุมาอี้กู้คืนออกมาจากกองขี้เถ้า ทำให้บางส่วนของตำรานี้ยังตกทอดมายังคนรุ่นหลังบ้าง
    สุมาอี้มีสายสัมพันธ์อันดีกับโจโฉ ทำงานให้โจโฉแบบถวายหัว และเคยเสี่ยงตายเพื่อโจโฉจนเกือบจะตายจริงๆ มาแล้วสองครั้ง ขบถตังสินครั้งหนึ่ง ส่วนอีกครั้งที่ฮั่นจง รอบสองนี้ไม่เคยลงให้อ่าน แต่จะเล่าตามที่ทราบมาคือโจโฉโดนเล่าปี่ที่ไม่ทราบว่ามาจากไหนฉุดขึ้นม้าไปต่อหน้าต่อตา สุมาอี้จึงควบม้าตามไปแย่งคืน(ผลคือโจโฉไม่ได้โดนฉีกเป็นสองซีกไม่ แต่กลับสู่อ้อมกอดสุมาอี้แบบปลอดภัย) ทว่าระหว่างชิงตัวเจ้านายกลับมา สุมาอี้โดนเล่าปี่เสียบกลางอากาศ ต้องนอนป่วยเกือบเดือน และหลังจากนั้นอีกสิบหกวันโจโฉก็สั่งถอนทัพ... แต่พงศาวดารหลวงกลับไม่บันทึกลงไปให้แจ่ม ซ้ำยังบิดเบือนให้คนคิดว่าจิ้งจอกตัวนี้ไม่ยอมมารับราชการจนโจโฉต้องบังคับขู่เข็นสารพัดนั้น นักประวัติศาสตร์เห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องแก้ข่วยเขินเพื่อไม่ให้สุมาอี้มีภาพลักษณ์เดียวกับโจโฉในฐานะจอมกังฉิน แต่เมื่อพิจารณาจากทั้งหมดแล้ว ใครว่าไงก็แล้วแต่.. แต่ผมเห็นได้ว่าเจ้าจิ้งจอกเก้าหาง-ชงต๊ะคงมีหัวใจให้โจโฉจริง เพราะหากไม่แล้วก็คงหาเหตุผลที่สุมาอี้คุงจะทำถึงเพียงนั้นไม่ได้เลย โดยเฉพาะตอนที่ขาดสะพายแล่งนี่มันคุ้มที่จะเสี่ยงแน่เหรอ รู้ได้ยังไงว่าตัวเองจะรอดตายต่อให้หัวโถเป็นเทวดาจริงๆ ก็เหอะ! ไอ้คนที่ลงทุนเพื่อนายท่านเพียงนี้เห็นแต่เซบาสเตียนคนเดียว แต่เซบาสเตียนมันเป็นซาตานนะ ไม่ตายง่ายๆ อยู่แล้วล่ะ แต่กับสุมาอี้ที่เป็นคนธรรมดานี่... สรุปแล้วถ้าไม่รักเจ้านายจริงคงทำไม่ได้  แต่หลังโจโฉตายผมไม่รับประกันความชื่อสัตย์ครับเพราะคนเรามันเปลี่ยนกันได้(ฮา) ตอนนั่งชมคลิปที่สาวจีนทำออกมา(พวกเธอนิยมวายกันไม่น้อย) พบว่ามีคนจับสองคนนี้วายกันสี่-ห้าคลิป
    นอกจากคลิป "ชงตะ/เมิ่งเต๊อะ" แล้วยังมีหลิวเสีย(เหี้ยนเต้)/เฉาเชา(โจโฉ) หลุดมาด้วย มาจากเรื่องเทพเจ้ากวนอูที่ตัดต่อให้สองคนนี้วายกันโดยปริยาย(กูก็น่ามึนจริงๆ จะไปสนทำไมว่าเค้าตัดต่อออกมาแบบไหน) เพื่อนเราเคยขอให้เขียนเรื่องนี้บ้างเหมือนเพราะมัน "จอมใจจักรพรรดิเอามากๆ" ผมก็เขียนตามที่อยากได้ แต่แค่แทรกๆ ไม่วิเคราะห์เพราะมันเป็นอะไรที่มองไม่ค่อยเห็นภาพ แม้จะดูคลิปไปแล้วก็ยังนึกไม่ออกว่าคู่นี้มันจะสปาร์คกันโดยวิธีไหน โจโฉมันก็เป็นแมวร่านสวาทที่หน้าหม้อกับสาวๆ มากเกินกว่าจะไปจับกดผู้ชายได้ เหี้ยนเต้ก็ไม่น่าจะอยากจับกดผู้ชายคนหนึ่งที่อายุคราวพ่อแม้ว่ามันจะเป็นน้องแมวที่น่ารักแค่ไหนก็ตาม และเมื่อนึกภาพความสัมพันธ์ทำนองนั้นไม่ออก ก็เลยพลอยนึกไม่ออกว่าเหี้ยนเต้จะลุ่มหลงโจโฉจนยอมทำให้โจโฉได้สารพัดจริงๆ หรือ? เพราะหากไม่เคยมีอะไรๆ กันไม่น่าจะหลงใหลกันขนาดนั้นได้ แต่ข่งหยงทำไมกล้ากล่าวเสียดสีโจโฉเป็นเชิงนัยยะเช่นนั้นล่ะ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มันพาดพิงเหี้ยนเต้ด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าหมอนี่ชอบพูดถึงโจโฉในเรื่องที่ผิดปกติซึ่งหากให้ขยายความก็คือเรื่องนี้นี่แหละ คำถามคือข่งหยงไม่มีสามัญสำนึกซักนิดหรือว่าไม่ควรพูดถึงฮ่องเต้แบบนั้น แท้จริงแล้วข่งหยงไม่ได้เห็นความสำคัญของพระองค์เลยด้วยซ้ำสินะ แต่ในฐานะทายาทข่งจื้อ เรื่องแบบนี้มันแปลกเกินไป เพราะงั้นตอนนี้ผมจะขอเปิดประเด็นเรื่องนี้ไว้ ณ ที่นี่เลยนะครับ ซึ่งผมจะยังไม่เขียนเป็นบทวิเคราะห์ทันที แต่ผมจะขอให้เพื่อนๆ เอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นถกปัญหากัน เพื่อที่ผมจะใช้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาการวิเคราะห์เรื่องนี้ทีหลัง
     
    ส่วนประเด็นถัดมาคือการฆ่าตัวตายของโจเจียง ความสงสัยของผมเกิดขึ้นเมื่อโจเจียงฆ่าตัวตายแบบไร้คำตอบสำหรับคนอื่น ที่สงสัยเพราะว่าแม้โจผีจะเป็นคนไม่ค่อยเอาพี่เอาน้อง(ซึ่งเพราะอาจจะกลัวโดนชิงอำนาจ) แต่ตามนิสัยก็ไม่ใช่คนใจไม้ไส้ระกำเท่าไหร่ อันที่จริงเป็นคนใจดีกว่าที่คิดด้วยซ้ำไป และโจเจียงก็เป็นนักรบ ไม่น่าที่จะกลัวพี่ชายจนถึงขนาดชิงฆ่าตัวตายก่อน ความจริงโจเจียงควรจะใจเด็ดพอที่จะแสดงความยินดีด้วยซ้ำ ผมจึงสงสัยว่าเรื่องการตายนี้อาจจะมีเงื่อนงำบางอย่าง ด้วยเหตุง่ายๆ คือโจโฉตายหลังจากพึ่งกลับจากฮั่นตงมาไม่กี่เดือน... และโจเจียงควรจะไปศึกนี้ด้วย เพราะมันไม่มีเหตุผลที่จะปล่อยให้พ่อซึ่งอายุหกสิบห้าไปตลอนๆ ทำศึกเองโดยไม่มีลูกเคียงข้าง หรือหากไม่ได้ไปจริงๆ เมื่อโจโฉกลับมาก็ต้องอยู่ใกล้ชิดกับโจเจียงอยู่แล้วเพราะโจเจียงควรจะยกทัพเข้ามาหนุนเพื่อรักษาความปลอดภัยหลังจากปราบขบถเว่ยเฟิงครั้งแรก ไม่ได้มีแค่โจผีคนเดียวแน่ๆ ซึ่งเรื่องนี้คือเรื่องที่ผมจะกล่าวถึงในตอนถัดไปนี้ครับ ผมคิดว่าโจเจียงเป็นลูกที่ดีนะคงไม่ทรยศพ่อหรอก แต่  มันเกิดอะไรกันแน่
     
    ตอนหน้าเราจะมาตามหาเงื่อนงำการตายของโจเจียงกันครับ บางทีเรื่องนี้อาจจะตอบคำถามบางอย่างที่ผมคาใจมานานด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×