ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รักษ์ภาษาไทยใช้ให้ถูก

    ลำดับตอนที่ #7 : ประเภทของโวหาร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 20.72K
      33
      12 เม.ย. 50

    โวหารมีหลายประเภท ที่ใช้ในงานวรรณกรรมและในแบบเรียนซึ่งเป็นโวหารสำคัญ

    มี 5 ประเภทคือ

    1.       อุปมาโวหาร

    2.       บรรยายโวหาร

    3.       พรรณนาโวหาร

    4.       เทศนาโวหาร

    5.       สาธกโวหาร

    ลักษณะของโวหารต่างๆมีการให้ความหมายไว้มากมาย ในทำนองเดียวกันแม้จะต่างกันบ้างในบางจุด แต่หลักใหญ่ใจความล้วนเหมือนกัน ซึ่งในที่นี้จะยกมาพอเข้าใจ แต่หากต้องการศึกษาโดยละเอียดก็สามารถทำได้โดยใช้เว็บค้นหา หรือ คลิกที่นี่ หากต้องการดูตัวอย่าง แต่เป็นเว็บบอร์ด

     

                    โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคำที่สละสลวย เหมาะสม สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด หรือจินตนาการของผู้เขียน เพื่อให้งานเขียนนั้นมีความสมบูรณ์

     

                    บรรยายโวหาร หรืออธิบายโวหาร

    คือการอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นหรือพบเห็นอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ

     

                    พรรณนาโวหาร

    คือการเขียนเรื่องราวอย่างละเอียด เน้นความไพเราะในการใช้ถ้อยคำสร้างจินตานาการ มองเห็นภาพพจน์

                   

                    เทศนาโวหาร

    คือการเขียนเพื่อชี้แจง สั่งสอน ชักจูงให้เห็นคล้อยตาม ชี้ให้เห็นคุณโทษ การเขียนจะต้องใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีน้ำหนัก เพื่อจูงใจให้ผู้อ่านเลื่อมใสศรัทธา

                    หลักการเขียนเทศนาโวหาร

    -          อธิบายเหตุผล

    -          ยกตัวอย่างประกอบให้เห็นจริง

    -          เขียนเฉพาะเรื่องที่ปฏิบัติได้จริง

    -          เลือกเรื่องที่ผู้อ่านสนใจ

     

    สาธกโวหาร

    คือการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นจริง เห็นและเข้าใจชัดเจนขึ้น มักใช้คู่กับเทศนาโวหาร

     

                    อุปมาโวหาร

    คือการกล่าวเปรียบเทียบโดยกล่าวถึงสิ่งหนึ่ง แต่สื่อความหมายไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง หรืออาจนำส่างหนึ่งมาเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งโดยใช้คำ  เช่น  ดัง เหมือน  เช่น  ดุจ  คล้าย  เป็นต้น

     

    นี่คือโวหารต่างๆที่สำคัญตัวอย่างและการใช้ลงลึกในประเด็นนิยายจะตามมาในตอนต่อๆไป


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×