ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    น่ารู้รอบตัว เรื่องคณิตศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #19 : e กับการออกดอก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 751
      0
      25 มิ.ย. 50

    จากที่กล่าวมาว่าตัวเลข e เกี่ยวข้องกับความงอกงาม

    ถามว่า “ดอกอะไร โตเร็วที่สุด ?” ชาวยุทธจักรลูกหนี้ทั้งหลายคงพร้อมใจตอบเป็นเสียงเดียวว่า
    “ดอกเบี้ย ! ”



    ค่า e และดอกเบี้ย เกี่ยวพันกันอย่างมาก ขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมครับ




    ภาพประกอบ : น้องลานนา (ตัวอย่างเป็นรูปธรรม ก็ต้องเป็นรูปธรรมที่ดูดีหน่อยครับ)



    สมมติว่าน้องลานนา มาขอยืมเงินผมหนึ่งบาท เป็นเวลาหนึ่งปี จะไปลงทุนออกเทป (สมมติครับ อย่าซีเรียส) ผมสวมบทบาทเจ้าหนี้หน้าเลือด คิดดอกเบี้ยร้อยละร้อย แสดงว่าสิ้นปี น้องลานนา (ถ้าไม่หนีหนี้ผมไปซะก่อน) จะต้องจ่ายเงินต้นผมหนึ่งบาท ดอกเบี้ยอีกหนึ่งบาท รวมเป็น 2 บาท




    ผมเขี้ยวกว่านี้ได้อีก โดยคิดดอกเท่าเดิม แต่คราวนี้ผมคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกครึ่งปี แสดงว่าหกเดือนผ่านไป ผมเริ่มคิดดอกเบี้ย แต่ผมสัญญากับน้องเขาว่าดอกยังเป็นร้อยละร้อย ต่อปี ดังนั้นผ่านมาครึ่งปี ผมคิดดอกเบี้ยได้แค่ร้อยละห้าสิบ แสดงว่าครึ่งปีผ่านไป น้องลานนาจะติดเงินผมอยู่ 1.50 บาท




    สิ้นปี ผมคิดดอกเบี้ยอีกร้อยละห้าสิบของ 1.50 บาท ดังนั้นผมจะได้ดอกเบี้ยสิ้นปีอีก 0.75 บาท รวมกับของเก่า 1.50 บาท เป็นทั้งหมด 2.25 บาท




    ถ้าคิดในรูปยกกำลัง จะได้
    = 2.25 บาท ทำนองเดียวกัน ถ้าผมคิดดอกเบี้ย n งวด ในหนึ่งปี แต่ละครั้ง ดอกเบี้ยเท่ากัน แต่ต้องเป็นร้อยละร้อยต่อปี
    เงินที่จะได้ในหนึ่งปีคือ บาท

    ถ้าเก็บดอก 3 งวด แทนค่าเข้าในสูตร จะได้เงินปลายปี หรือประมาณ
    2.37 บาท

    ถ้ากำเริบขึ้นมา คิดดอกเบี้ยรายเดือน คือ 12 งวดต่อปี น้องลานนาต้องจ่าย ประมาณ
    2.61 บาท



    ดอกเบี้ยต่อปีเท่าเดิม แต่ยิ่งแบ่งงวดทบต้นมากเท่าไร ยิ่งคิดเป็นเงินปลายปีได้มากขึ้น ถ้าผมจะขอคิดดอกเบี้ย เป็นรายวัน รายชั่วโมง หรือ เป็นรายวินาที น้องลานนามิต้องหมดเนื้อหมดตัว
    ใช้หนี้ผมหรือ ?


    ภาพประกอบ จาคอบ แบร์นูลลี




    จาคอบ แบร์นูลลี ตั้งคำถามทำนองนี้ เมื่อสามร้อยปีที่แล้ว และสรุปว่า


    ถ้าเราแทน n ในสูตรด้วยค่าอสงไขย หรือ พูดแบบคณิตศาสตร์ก็ว่า ให้ลิมิตของ n เข้าสู่อนันต์แทนเข้าไปในสูตร
    จะได้ค่าคงตัวออกมาค่าหนึ่ง




    ซึ่งคุณเบอร์นูลลี คำนวณมาประมาณว่าไม่เกิน 3 ดังนั้น ไม่ว่าเจ้าหนี้หน้าเลือด จะคิดเป็นกี่ล้านงวดในหนึ่งปี
    น้องลานนาผู้น่ารัก ก็จะจ่ายไม่เกิน 3 บาท



    ต่อมา คนจึงรู้ว่า เจ้าค่าคงตัวที่คุณเบอร์นูลลี คำนวณออกมา ที่แท้ก็คือค่า e นั่นเอง




    สิ่งที่คุณแบร์นูลลี คิดขึ้น เป็นที่มาของนิยาม



    แสดงว่าน้องลานนาไม่ต้องจ่ายถึง 3 บาทด้วยซ้ำ แค่ e บาท หรือ 2.718 เศษๆ ก็พอ




    จากนิยามข้างต้น เรายังเล่นแร่แปรธาตุได้ต่อ คราวนี้ ถ้า 1 บาท คิดดอกเบี้ย x บาทต่อปี
    แต่คิดเป็นอสงไขยงวด สูตรก็จะเปลี่ยนเป็น



    นักคณิตศาสตร์คำนวณได้


    = ex




    คนชอบเลขหลายคนบอกว่าสมการนี้น่ารัก น่าศึกษา จะน่าเอ็นดูพอ ๆ กับน้องลานนาหรือไม่ ก็แล้วแต่ใครจะคิดล่ะครับ



    ผู้เขียน: ดร. กิตติกร นาคประสิทธิ์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×