ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #3 : สาธารณรัฐอาร์เมเนีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.51K
      0
      16 ม.ค. 50



     
    สาธารณรัฐอาร์เมเนีย
    Republic of Armenia


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ข้อมูลฟื้นฐาน
    อาร์เมเนียเป็นประเทศในกลุ่ม CIS ซึ่งประกาศเอกราชหลังจากการการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
    ชาวอาร์เมเนียมีเหตุต้องอพยพถิ่นฐานหลายครั้งในประวัติศาสตร์ เนื่องจากถูกรุกรานจากชนชาติต่างๆ จึงทำให้ปัจจุบันมีประชากรเพียง 3 ล้านคนในอาร์เมเนีย แต่อีก 8 ล้านคน กระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ อาทิ รัสเซีย (2.5 ล้าน) ตะวันออกกลาง (1 ล้าน) สหรัฐฯ (7 แสน) ยุโรป (5.2 แสน) ละตินอเมริกา (3.6 แสน) ออสเตรเลีย (7 หมื่น) และแคนาดา (5 หมื่น) โดยในไทยมีชาวอาร์เมเนีย ประมาณ 40-50 คน ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจอัญมณี รองเท้า และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในช่วงทศวรรษที่ 90 อาร์เมเนีย ได้เข้าเป็นสมาชิก Council of Europe และ มีการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งนำมาสู่ความมั่นคงและเจริญเติบโตของประเทศในระดับหนึ่ง แต่ชาวอาร์เมเนียส่วนมากยังมีความเป็นอยู่ที่ยากจน เศรษฐกิจอาร์เมเนียและรายได้ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมเจียระไนเพชรและบรั่นดี ซึ่งอาร์เมเนียมีชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญ
    อาร์เมเนียมีข้อพิพาทกับอาเซอร์ไบจานในเรื่องดินแดนนากอร์โน-คาราบัคและมีความขัดแย้งกับตุรกีในประเด็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียในสมัยอาณาจักรออตโตมัน เมื่อปีค.ศ.1915 ทำให้ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับทั้งสองประเทศและชายแดนกับประเทศทั้งสองถูกปิด นอกจากนี้ อาร์เมเนียไม่มีทางออกทะเลและเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมกับอิหร่านและจอร์เจียยังไม่ทันสมัย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของ อาร์เมเนียเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม อาร์เมเนียยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย โดยรัสเซียเห็นว่าการสนับสนุนและรักษาความเป็นพันธมิตรกับอาร์เมเนีย เป็นแนวทางเดียวที่จะกีดกันตุรกีให้อยู่นอกเขต Trans-Caucasus และเป็นการกดดันอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ในทะเลสาปแคสเปียนกับรัสเซีย อาร์เมเนียเป็นสมาชิก Euro-Atlantic Partnership Council และ Council of Europe และมีนโยบายต่างประเทศแบบ complementarity approach คือ มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับรัสเซียและสหรัฐฯ สำหรับภูมิภาคเอเชีย อาร์เมเนียมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น
    ที่ตั้ง อยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขา Transcaucasus ระหว่างทะเลดำและ
    ทะเลสาบแคสเปียน(ไม่มีทางออกทะเล)
    ทิศเหนือ จรดพรมแดนจอร์เจีย ทิศใต้จรดพรมแดนอิหร่าน
    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดพรมแดนอาร์เซอร์ไบจาน ทิศตะวันตกจรด
    พรมแดนตุรกี
    ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดเขตนากิเชวันของอาร์เซอร์ไบจาน

    พื้นที่ 29,800 ตารางกิโลเมตร ประมาณร้อยละ 80 เป็นเทือกเขา
    เป็นประเทศขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มสาธารณรัฐ Transcaucasus

    เมืองหลวง กรุงเยเรวาน (Yerevan : 1.2 ล้านคน)

    ประชากร 2,976,372 (July 2006 est.)
    สัญชาติ อาร์เมเนีย

    กลุ่มเชื้อชาติ ชาวอาร์เมเนีย ร้อยละ 93 ที่เหลือได้แก่ ชาวอาเซอรี
    ชาวเคิร์ด ชาว Yezid ชาว Assyrian ชาวยิว และชาวกรีก

    ภาษาราชการ ภาษาอาร์เมเนีย และภาษารัสเซีย

    ศาสนา คริสต์นิกายอาร์เมเนียน อพอสโตลิก 94% อื่น ๆ 6%
    สกุลเงิน Drams (457.69 Dram = 1 USD)

    เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง (ช้ากว่าไทย 2 ชั่วโมง)

    วันชาติ 21 กันยายน (วันเดียวกับวันประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียตใน
    ปี 2534)
    ภูมิอากาศ แห้งแบบภาคพื้นทวีป หน้าหนาวหนาวเย็น หน้าร้อนร้อนจัด
    มีฝนตกหนักบริเวณภูเขา

    ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ ทองแดง อลูมิเนียม

    การเมืองการปกครอง
    ระบบการเมือง สาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข อยู่
    ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนเดียวกันจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระ มีอำนาจในการบริหารประเทศ และเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจำนวน 25 คน ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ

    เขตการปกครอง แบ่งเป็น 10 จังหวัด และ 1 เมือง (Yerevan)

    ประธานาธิบดี นาย Robert Kocharian (30 มีนาคม 2541)

    นายกรัฐมนตรี นาย Andranik Markaryan (20 พฤษภาคม 2543)

    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Vartan Oskanian (20 เมษายน 2541)

    สถาบันทางการเมือง - ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว คือ สภาแห่งชาติ มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาทุก ๆ 4 ปี มี 131 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นแบบเขตเดียวคนเดียว (one-mandate electoral districts) จำนวน 75 ที่นั่ง และแบบบัญชีรายชื่อ (party lists) จำนวน 56 ที่นั่ง โดยมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2542 และกลุ่มพันธมิตร Miasnutyun (unity) ซึ่งประกอบด้วยพรรค Republican (HHK) และพรรคประชากรอาร์เมเนีย (HZhK) ได้คะแนน
    สูงสุด
    - ฝ่ายบริหาร
    1. ประธานาธิบดีเป็นประมุข อยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ประธานาธิบดี คนเดียวกันจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระ มีอำนาจในการบริหารประเทศ และเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจำนวน 25 คน ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ

    *ผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุด 30 มีนาคม 2541 นาย Robert Kocharian ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนร้อยละ 59.5
    *ในเดือนมีนาคม 2546 นาย Robert Kocharian ได้รับชัยชนะอีกครั้ง

    2. นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอชื่อคณะ
    รัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี โดยคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรี 25 คน (21 กระทรวง)
    - ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกา (9 คน)
    ศาลรัฐธรรมนูญ (9 คน)

    พรรคการเมืองและชื่อหัวหน้าพรรค
    Agro-Industrial Party [Vladimir BADALYAN]; Armenia Party [Myasnik MALKHASYAN]; Armenian National Movement or ANM [Alex ARZUMANYAN, chairman]; Armenian Ramkavar Liberal Party or HRAK [Harutyun MIRZAKHANYAN, chairman]; Armenian Revolutionary Federation ("Dashnak" Party) or ARF [Levon MKRTCHYAN]; Democratic Party [Aram SARKISYAN]; Justice Bloc (comprised of the Democratic Party, National Democratic Party, National Democratic Union, the People's Party, and the Republic Party) [Stepan DEMIRCHYAN]; National Democratic Party [Shavarsh KOCHARIAN]; National Democratic Union or NDU [Vazgen MANUKIAN]; National Revival Party [Albert BAZEYAN]; National Unity Party [Artashes GEGHAMYAN, chairman]; People's Party of Armenia [Stepan DEMIRCHYAN]; Republic Party [Aram SARKISYAN, chairman]; Republican Party or RPA [Andranik MARGARYAN]; Rule of Law Party [Samvel BALASANYAN]; Union of Constitutional Rights [Hrant KHACHATURYAN]; United Labor Party [Gurgen ARSENYAN]

    สมาชิกภาพองค์การระหว่างประเทศ ACCT (observer), AsDB, BSEC, CE, CIS, EAPC, EBRD, FAO, IAEA, IBRD, ICAO, ICCt (signatory), ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITU, MIGA, NAM (observer), OAS (observer), OIF (observer), OPCW, OSCE, PFP, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WCO, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WToO, WTO

    เศรษฐกิจการค้า
    ข้อมูลเศรษฐกิจปี 2548
    GDP 4.9 พันล้าน USD
    อัตราการเจริญเติบโต 14 %
    GDP per capita 1,137 USD
    อัตราเงินเฟ้อ 0.6 %
    อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเพชรเจียรระไน อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อาหารสำเร็จรูป
    ทรัพยากรธรรมชาติ ทองแดง อลูมิเนียม
    ตลาดนำเข้าที่สำคัญ รัสเซีย เบลเยี่ยม สหรัฐฯ อิสราเอล อิหร่าน
    ตลาดส่งออกที่สำคัญ เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร อิสราเอล รัสเซีย อิหร่าน
    สินค้านำเข้าที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ยาสูบ อาหาร เพชร ปิโตรเลียม
    สินค้าออกที่สำคัญ เพชร แร่ธาติ อาหาร พลังงาน (2547)

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอาร์เมเนีย
    ความสัมพันธ์ทางการทูต
    หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงปลายปี 2534 สาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งเคยรวมเป็นสหภาพโซเวียตได้แยกตัวออกเป็นอิสระและประกาศตัวเป็นเอกราช รวม 12 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซ และมอลโดวา ซึ่งไทยได้ให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ต่อมา ประเทศเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States) หรือ CIS
    ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐอาร์เมเนีย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 โดยทั้งสองฝ่ายยังมิได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในเมืองหลวงของกันและกัน ฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก มีเขตอาณาครอบคลุมอาร์เมเนีย และต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2542 ไทยได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำอาร์เมเนีย โดยมีนายอาร์ทัวร์ มครัตชยาน (Artur Mkrtchyan) สัญชาติอาร์เมเนีย ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐอาร์เมเนีย
    เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2541 รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้อาร์เมเนียเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย โดยมีนายโนแรร์ เดอ เคโวเคียน (Norair Der-Kevorkian) สัญชาติอังกฤษ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์อาร์เมเนียประจำประเทศไทย
    ไทยและอาร์เมเนียได้ลงนามใน Joint Action Plan (ค.ศ.2005-2007) ระหว่างกัน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการเกษตรและการศึกษา โดยอาร์เมเนียส่งต้นองุ่น 28 ต้น 10 สายพันธุ์มาให้ก.เกษตรฯ เพาะพันธุ์ และสถาบันการศึกษาไทย ได้เสนอรับนักศึกษาอาร์เมเนียมาศึกษาในไทยด้วย
    การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ
    การเยือนของฝ่ายไทย
    - นายสวนิต คงสิริ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะผู้แทนกระทรวงฯ เยือนอาร์เมเนียเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2542 โดยได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วยการปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-อาร์เมเนีย (Protocol on Consultations between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Armenia) กับนาย Armen Baibourdian รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 และได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนาย Vartan Oskanian รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย นาย Vladimir M. Movsisyan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรอาร์เมเนีย นาย Galik R. Arzumanyan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลังและเศรษฐกิจ และนาย Aram Vardanyan ประธาน สหภาพผู้ผลิตและนักธุรกิจอาร์เมเนีย
    รมว.กต. ขณะดำรงตำแหน่ง TTR เดินทางเยือนอาร์เมเนีย เมื่อวันที่ 17-22 มี.ค. ค.ศ.2003 และดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ผช.รมต.ฯ เดินทางเยือนอาร์เมเนีย เมื่อวันที่ 7-9 ก.ย. ค.ศ.2005
    การเยือนของฝ่ายอาร์เมเนีย
    - นาย Vartan Oskanian รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 1 เดินทางเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่ 21-24 พฤษภาคม 2540 เพื่อเยี่ยมเยียนชาวอาร์เมเนียในประเทศไทย และหารือประเด็นทวิภาคีไทย-อาร์เมเนีย กับ นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
    - นาย Ashot Melki-Shahnazarian เอกอัครราชทูตสัญจรแห่งอาร์เมเนียเข้าพบหารือประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคี และแจ้งความคืบหน้ากรณีดินแดนนากอร์โน-คาราบัค กับนายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2541 ณ วังสราญรมย์
    - นาย Armen Baibourdian รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2542 เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือประเด็นทวิภาคีไทย-อาร์เมเนียกับ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยระหว่างการเยือน นาย Baibourdian ได้มีโอกาสพบหารือกับนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยในโอกาสเดียวกันนี้ นาย Baibourdian ได้มอบร่างความตกลงทวิภาคี 2 ฉบับ คือ ความตกลงว่าด้วยการเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ราชการ และพิเศษ ระหว่างกัน (Agreement Concerning the Mutual Exemption of Visas of Diplomatic and Official/Service or Special Passports) และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-
    อาร์เมเนีย (Agreement on Agricultural Cooperation) ให้ฝ่ายไทยพิจารณา
    - นาย Vartan Oskanian รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 10 (UNCTAD X) ในปี 2543 ที่ประเทศไทย
    - นาย Tatoul Markarian รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย เดินทางเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน หาลู่ทางการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน และร่วมลงนามในอนุสัญญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับอาร์เมเนีย รวมทั้งมอบสารจากนาย Vartan Oskanian รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ เยือนอาร์เมเนีย
    ทั้งนี้ นอกจากการเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และหารือกับ ฯพณฯ ดร. ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการฯ แล้ว นาย Markarian ยังได้พบหารือกับ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย นอกจากนี้ได้หารือกับ น.พ. วินัย สวัสดิวร รองอธิบดีกรมการแพทย์ เรื่องความร่วมมือในการผลิตยา “Armenicum” ซึ่งเป็นยารักษาโรค AIDs ที่อาร์เมเนียค้นพบ และหารือกับนายอภิชัย การุณยวาณิชย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องความร่วมมือในการทำฝนเทียม
    นรม. Andranik Margaryan ได้เดินทางเยือนไทยในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 9-13 มิ.ย. ค.ศ.2005 ซึ่งเป็นการเยือนครั้งแรกระดับหัวหน้ารัฐบาลระหว่างสองประเทศ นอกจากนี้ ปธน.Robert Kocharyan ได้แสดงความประสงค์ที่จะเดินทางเยือนไทยด้วย
    ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
    ไทยกับอาร์เมเนียไม่มีปัญหาทางการเมืองหรือข้อขัดแย้งใดๆ ความสัมพันธ์ระหว่างกันราบรื่น แม้ว่าจะมีการปฏิสัมพันธ์ไม่มากนัก ไทยและอาร์เมเนียได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพระหว่างสมาชิกรัฐสภาไทย-อาร์เมเนีย (Thaialand-Armenia Parliamentarians Friendship Group) ขึ้น ซึ่งจะเป็นกลไกที่ช่วยขยายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไปสู่มิติด้านนิติบัญญัติและการเมืองได้เป็นอย่างดี
    ในกรอบของความสัมพันธ์พหุภาคี ซึ่งอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียมีประเด็นพิพาทในเรื่องดินแดน Nargorno-Karabakh ซึ่งเป็นประเด็นที่ยืดเยื้อและไม่สามารถหาข้อยุติได้ และทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกข้อพิพาทดังกล่าวขึ้นต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ที่ผ่านมาไทยได้ดำเนินนโยบายต่อสองประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว โดยการรักษาความเป็นกลาง และให้ความสำคัญกับทั้งสองประเทศเท่าเทียมกัน และพยายามส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาเพื่อยุติข้อขัดแย้งโดยสันติ

    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

    ความสัมพันธ์ทางการค้า

    ภาพรวมการค้าไทย-อาร์เมเนีย
    การค้าระหว่างไทยกับอาร์เมเนียยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และมีความไม่แน่นอน โดยอาร์เมเนียเป็นประเทศคู่ค่าลำดับสุดท้ายของไทยในกลุ่ม CIS มูลค่าการค้าสูงสุดปรากฏในปี 2542 คือ 6 แสนดอลลาร์สหรัฐ ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) การค้าของไทยกับอาร์เมเนียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 4 แสนดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 เป็น 582,750 ดอลลาร์สหรัฐ ปี 2542 หลังจากนั้นมูลค่าการค้าเริ่มลดลง โดยในปี 2543 มีมูลค่าการค้า 464,533 ดอลลาร์สหรัฐ และสำหรับในปี 2544 มีมูลค่าการค้าลดลงเหลือ 357,148 ดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยโดยรวม ทั้งนี้ ไทยเกินดุลการค้าอาร์เมเนียเป็นมูลค่า 336,982 ดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุเนื่องมาจากไทยมีการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นอย่างมากคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.6 ของการส่งออกโดยรวมของไทยไปอาร์เมเนียในปี 2544 เมื่อเทียบกับปี 2543 ซึ่งไทยขาดดุลถึง 3 แสนดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากไทยมีการนำเข้าสินแร่โลหะอื่นๆและเศษโลหะเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 90.3 ของการนำเข้าโดยรวมในปี 2543
    อนึ่ง การค้าระหว่างไทยกับอาร์เมเนียในปี 2544 มีมูลค่า 4 แสนดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นมูลค่าการส่งออก 3 แสนดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
    มูลค่าการค้ารวม (ปี48) 2.6 ล้าน USD (ไทยส่งออก 2.2 ล้าน USD นำเข้า 4 แสน USD ได้ดุล 1.8 ล้าน USD)
    การส่งออก
    การส่งออกของไทยไปอาร์เมเนียในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 36,800 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2541 เป็น 582,750 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2542 และมีมูลค่าลดลงอย่างมากเป็น 100,173 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2543 สำหรับในปี 2544 มีมูลค่าการส่งออก 347,065ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยโดยรวม หรือลดลงร้อยละ 23.12 เมื่อเทียบกับปี 2543

    สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 78.6 ของยอดส่งออกรวมของไทยในปี 2544 ตาข่ายจับปลา (สัดส่วนร้อยละ 18.4) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (สัดส่วนร้อยละ 2.4) เลนส์ (สัดส่วนร้อยละ 0.3) กล้วยไม้ เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

    -สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังอาร์เมเนีย ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ตาข่ายจับปลา เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ กระดาษและเยื่อกระดาษ เครื่องกีฬา เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทออื่นๆ ยานพาหนะและส่วนประกอบ ตู้เย็น ผ้าผืน เป็นต้น

    การนำเข้า
    การนำเข้าของไทยจากอาร์เมเนียในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2541-2544) มีมูลค่าน้อยมาก คิดเป็นมูลค่า 47,808 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2541 สำหรับปี 2542 ไม่ปรากฎมูลค่าการนำเข้า และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 364,360 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2543 สำหรับในปี 2544 มูลค่าการนำเข้าลดลงเป็น 10,083 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 97.2 เมื่อเทียบกับปี 2543

    สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นและเศษโลหะ ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 90.2 จากยอดรวมการนำเข้าทั้งหมดในปี 2544 ผลิตภัณฑ์โลหะ (สัดส่วนร้อยละ 5.7) ยาง ยางสังเคราะห์ รวมทั้งเศษยาง (สัดส่วนร้อยละ 3.8) สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง (สัดส่วนร้อยละ 0.2) แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ของเล่น เครื่องเล่นกีฬา และเครื่องเล่นเกม เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

    - สินค้าจากอาร์เมเนียที่มีศักยภาพที่ไทยอาจพิจารณานำเข้า ได้แก่ สินแร่โลหะอื่นๆและเศษโลหะ ผลิตภัณฑ์โลหะ ยาง ยางสังเคราะห์รวมทั้งเศษยาง สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี ของเล่น เครื่องเล่นกีฬา เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม กระดาษ กระดาษแข็ง เป็นต้น

    ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
    - สินค้าของแต่ละฝ่ายยังไม่เป็นที่รู้จักของตลาด เนื่องจากนักธุรกิจของแต่ละฝ่ายยังขาดโอกาสในการพบปะเพื่อสร้างความรู้จักซึ่งกันและกัน รวมทั้งขาดการประชาสัมพันธ์และการประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและการค้าทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน
    - ระบบการผลิตของอาร์เมเนียยังคงใช้เทคโนโลยีที่ล้าหลังของอดีตสหภาพโซเวียต จึงทำให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำและไม่สามารถผลิตเพื่อการส่งออกได้ นอกจากนี้ อาร์เมเนียยังประสบปัญหาโดยทั่วไปในลักษณะเดียวกันกับประเทศ CIS อื่นๆคือการขาดแคลนเงินทุน อาร์เมเนียจึงสนใจที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อนำมาปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่มากกว่าที่จะค้าขายกันอย่างเดียว
    - อาร์เมเนียเป็นประเทศขนาดเล็ก จำนวนประชากรเพียง 3.8 ล้านคน และประชาชน มีอำนาจการซื้อจำกัด ไม่มีทางออกทะเล ตลาดมีขนาดเล็ก และถูกปิดล้อมโดยประเทศที่มีกรณีพิพาทระหว่างกัน และโดยรัฐมุสลิมที่มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับอาร์เมเนียเกือบรอบด้าน คือ อาเซอร์ไบจาน ตุรกี และอิหร่าน นอกจากนี้ระบบการขนส่งของประเทศยังไม่ทันสมัยและเพียงพอจึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
    มกราคม 2550

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×