ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #1 : สาธารณรัฐแอลเบเนีย

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.06K
      6
      16 ม.ค. 50



     
    สาธารณรัฐแอลเบเนีย
    Republic of Albania


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน ทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีอาณาเขตติดต่อเซอร์เบีย ทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับกรีซ ทิศตะวันตกติดกับทะเลอาเดรียติคและทะเล Lonian

    พื้นที่ 28,750 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 77 เป็นภูเขา

    เมืองหลวง กรุงติรานา (Tirana) จำนวน 206,000 คน

    เมืองสาคัญ Durres เมืองท่าริมฝั่งทะเลอาเดรียติค Shkoder ตั้งใกล้พรมแดนยูโกสลาเวีย Vlore เมืองท่าตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลอาเดรียติค Korce ตั้งอยู่ด้านตะวันออกตอนใต้ของประเทศ Elbasan ตั้งอยู่ใจกลางประเทศ

    ประชากร 3.33 ล้านคน (กรกฎาคม 2541) ชาวแอลเบเนีย (95%) ชาวกรีก (3%)

    ภาษาราชการ ภาษาแอลเบเนียและภาษากรีก

    ศาสนา อิสลาม (70%) คริสต์นิกายออโธดอกซ์ (20%) โรมันแคทอลิก (10%)

    วันชาติ 28 พฤศจิกายน

    สกุลเงิน 1 lek (L) = 100 qindars / 152.28 lek = 1 เหรียญสหรัฐ (มกราคม 2541)

    GDP 2.88 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2541)

    การเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 10 (ปี 2541)

    รายได้ประชาชาติต่อหัว 830 เหรียญสหรัฐ

    ภาวะเงินเฟ้อ ร้อยละ 50 (กุมภาพันธ์ 2541)

    อัตราว่างงาน ร้อยละ 14 (ตุลาคม 2540)

    ประธานาธิบดี นาย Rexhep Meidani (24 กรกฎาคม 2540)

    นายกรัฐมนตรี นาย Pandeli Majko (ตุลาคม 2541)

    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Paskal Milo (ตุลาคม 2541)

    การเมืองการปกครอง
    ระบบการปกครอง แอลเบเนียมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) และมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสภา มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปีแอลเบเนียมีระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 155 คน โดย 115 ที่นั่งจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และ 40 ที่นั่งจะมีการจัดสรรกันตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับการเลือกตั้งเข้ามา สมาชิกจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีแอลเบเนียแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 26 เขต (districts) ในแต่ละเขตบริหารโดยสภาประชาชนของท้องถิ่น โดยสมาชิกสภาจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี รัฐธรรมนูญสังคมนิยมของแอลเบเนียปี 1976 ได้ถูกยกเลิกเมื่อเดือนเมษายน 2534 และใช้ basis law แทน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 ร่างรัฐธรรมนูญได้ถูกคัดค้านในการลงประชามติ ปัจจุบันแอลเบเนียยังไม่มีรัฐธรรมนูญถาวร

    การเมือง แอลเบเนียได้รับเอกราชจากตุรกีในปี 2456 แต่ถูกยึดครองโดยอิตาลีและเยอรมัน ระหว่างปี 2483-2488 จนกระทั่งในปี 2489 พรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนีย หรือ The Communist - led National Liberation Front (NLF) เข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวีย (เดิม) เป็นผู้สนับสนุน พรรค NLF (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคกรรมกรในปี 2492) นำโดยนาย Enver Hoxha ได้ล้มระบอบกษัตริย์ลง และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนียขึ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2490 ปัจจุบันแอลเบเนียมีนาย Pandeli Majko เป็นนายกรัฐมนตรี และคาดว่าจะทำให้แอลเบเนียกลับคืนสู่เสถียรภาพ เนื่องจาก นาย Majko เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดไม่รุนแรงซึ่งอาจสามารถประสานข้อขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน และนาย Majko เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากนานาประเทศเพราะมีนโยบายที่นำไปสู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยและการค้าเสรีมากขึ้น โดยพยายามแก้ไขระบบเพื่อขจัดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาคอร์รัปชั่น และการลักลอบค้าสินค้าผิดกฎหมายซึ่งได้รับการตำหนิจากประชาคมระหว่างประเทศ และหากสถานการณ์โคโซคลี่คลายก็จะยิ่งทำให้แอลเบเนียมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจะได้ใช้ทรัพยากรและเวลาที่ทุ่มเทให้กับการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยไปพัฒนาประเทศในด้านอื่น

    เศรษฐกิจการค้า
    เศรษฐกิจ แอลเบเนียนับเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรป เศรษฐกิจอาศัยเกษตรกรรมเป็นหลัก ประชาชนสองในสามมีอาชีพเป็นกสิกรอยู่ในชนบท โดยแต่เดิมนั้น แอลเบเนียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบ แต่ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำและประสบปัญหาการขาดแคลนตลาดในการ ส่งออก วัตถุดิบที่สำคัญเช่นโครเมียม ทองแดง และนิเกิ้ล โดยเฉพาะตลาดในยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศและมีจำนวนประมาณร้อยละ 12-15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ก็ลดต่ำลงเนื่องจากภาวะความแห้งแล้งในช่วงปี 2532-2535 ที่ผ่านมา และกระบวนการผลิตขาดประสิทธิภาพ ประกอบกับความต้องการของตลาด ในต่างประเทศลดต่ำลง ในด้านการเกษตรก็อยู่ในสถานะที่เลวร้ายเช่นกัน เนื่องจากสภาวะความแห้งแล้งดังกล่าว แอลเบเนียผลิตข้าวสาลีได้ประมาณ 500,000 ตันต่อปี และข้าวโพดในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ยัง ไม่พอเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตรก็ขาดแคลนและล้าสมัย ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรจึงมาจากแรงงาน (โดยเฉพาะสตรี) เป็นส่วนใหญ่ แต่แรงงานขาดสิ่งจูงใจ ในการทำงาน ค่าจ้างแรงงานก็ต่ำมาก อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันแอลเบเนียเริ่มดำเนินการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของตน อย่างจริงจัง โดยเมื่อกลางปี 2535 รัฐบาลได้นำแผนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจแบบมหภาคมาใช้ ซึ่งรวมถึง การพยายามที่จะควบคุมด้านการเงินและการคลังของประเทศ การให้วิสาหกิจและอุตสาหกรรมขนาดย่อมพึ่ง ตนเองด้านการเงิน การให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและกิจการ และการสนับสนุนการลงทุนจากต่าง ประเทศ นอกจากนี้ ก็ดำเนินนโยบายเปิดประเทศและขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เศรษฐกิจได้ ฟื้นตัวในปี 2536 สำหรับชาวแอลเบเนียส่วนใหญ่ การปฎิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้จำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวน มาก ทำให้แอลเบเนียต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารเป็นมูลค่า ถึง 1.0พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในปี 2534 และ 2535 เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ การฟื้นตัวครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากรายได้ ของประชาชนจำนวนร้อยละ 5 ที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ ส่วนมากในประเทศกรีซและอิตาลี กล่าวกันว่า แอลเบเนียจำเป็นจะต้องใช้เงินทุนถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการเยียวยาและบูรณะเศรษฐกิจของตน ซึ่งในเรื่องนี้ หลายประเทศได้ให้ความช่วยเหลือบริจาคเงินแก่แอลแบแนีย เยอรมันตะวันตกได้เสนอให้ความ ช่วยเหลือในด้านอุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ มูลค่าประมาณ 15 ล้านมาร์คเยอรมัน เพื่อเป็นสื่อสัญญาณ ที่ดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต ส่วนอิตาลีก็แสดงความประสงค์จะให้ความช่วยเหลือกับแอลเบเนีย

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแอลเบเนีย
    ความสัมพันธ์ทวิภาคี ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับแอลเบเนียเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2525 และได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบลเกรดมีเขตอาณาครอบคลุมถึงแอลเบเนีย เอกอัครราชทูตคนแรกของไทยได้ยื่นพรราชสาสน์ตราตั้งต่อประมุขประเทศแอลเบเนียเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 ปัจจุบันสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เป็นผู้ดูแลแอลเบเนียสืบแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุเบลเกรด สำหรับแอลเบเนียนั้นได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตแอลเบเนียประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและแอลเบเนียดำเนินไปด้วยความราบรื่น แต่ยังไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและยังไม่มีความตกลงใดๆ ระหว่างกัน แต่ขณะนี้แอลเบเนียได้ส่งร่างความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ และร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า มาให้ฝ่ายไทยพิจารณา ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแอลเบเนีย ซึ่งรัฐบาลใหม่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากนานาประเทศ เนื่องจากมีนโยบายที่นำไปสู่การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยและการค้าเสรีมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมให้ไทยและแอลเบเนียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในด้านต่างๆ ระหว่างกันเพิ่มขึ้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×