ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้

    ลำดับตอนที่ #1 : สาธารณรัฐอาร์เจนตินา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.82K
      1
      14 ม.ค. 50



     
    สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
    Argentine Republic


     
    ข้อมูลทั่วไป
    1. ข้อมูลทั่วไป

    ที่ตั้ง อยู่ทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนติดกับชิลี ปารากวัย โบลิเวีย อุรุกวัย
    บราซิล และมหาสมุทรแอตแลนติก
    ภูมิอากาศ โดยทั่วไปมีอุณหภูมิแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ภาคเหนือและใต้ของประเทศ
    ภาคเหนือ อากาศกึ่งร้อนกึ่งอบอุ่น
    (ฤดูร้อน 23-37 เซลเซียส / ฤดูหนาว 5-22 เซลเซียส)
    ภาคใต้ อากาศหนาวและฝนตก
    (ฤดูร้อน 10-21 เซลเซียส / ฤดูหนาว ต่ำกว่า 0 เซลเซียส)
    บริเวณใต้สุดของประเทศมีลักษณะอากาศแบบ
    แอนตาร์กติกซึ่งเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี
    ทั้งนี้ บริเวณที่ราบแปมปัส (Pampas plains) มีอากาศอุ่นและชื้น
    อุณหภูมิเฉลี่ย 23 องศาเซลเซียส ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมีนาคม และ 12 องศาเซลเซียส ตั้งแต่มิถุนายน ถึง กันยายน
    พื้นที่ 2.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5 เท่าของประเทศไทย มีขนาดใหญ่
    เป็นอันดับ 2 ในอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8
    ของโลก
    ประชากร ประมาณ 39.44 ล้านคน (2548)
    เมืองหลวง กรุงบัวโนสไอเรส (Buenos Aires)
    เมืองสำคัญ Federal District, CÓrdoba, Santa Fe, Mendoza, Tucumán
    ภาษา ภาษาสเปน เป็นภาษาราชการ
    ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 92 โปรแตสแตนท์ ร้อยละ 2 ยิว ร้อยละ 2
    และอื่นๆ ร้อยละ 4
    เชื้อชาติ ผิวขาว (ส่วนใหญ่มีเชื้อสายสเปนและอิตาเลียน) ร้อยละ 97
    และอื่นๆ (เมสติโซ ? ผิวขาวผสมชาวอินเดียนแดงพื้นเมือง ชาวอินเดียนแดงพื้นเมือง และกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ชาวผิวขาว) ร้อยละ 3
    อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 97.1
    หน่วยเงินตรา เปโซ (Argentine Peso: ARS): 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 3.04 เปโซ
    (ณ วันที่ 13 ม.ค.2549)
    เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 10 ชั่วโมง
    วันชาติ 25 พฤษภาคม (25 พฤษภาคม 2353 หรือ Revolution Day)
    วันประกาศเอกราช 9 กรกฎาคม 2359 (วันประกาศอิสรภาพจากสเปน)
    วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 1 พฤษภาคม 2396 (มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดเมื่อสิงหาคม 2537)
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 169.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    โครงสร้าง GDP เกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ร้อยละ 11
    เหมืองแร่ ร้อยละ 5.8
    อุตสาหกรรม ร้อยละ 24
    การก่อสร้าง ร้อยละ 3.3
    ไฟฟ้าและน้ำ ร้อยละ 1.7
    การค้า ร้อยละ 54.1
    อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8 (2548)
    รายได้ประชาชาติต่อหัว 4,288 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    หนี้สินต่างประเทศ 125 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 12 (2548)
    อัตราการว่างงาน ร้อยละ 11 ( 2548)
    มูลค่าการส่งออก 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง น้ำมันดิบ น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด ปศุสัตว์/เนื้อ
    มูลค่าการนำเข้า 27.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
    สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องมือสื่อสาร
    อุปกรณ์ในสำนักงาน ผลิตภัณฑ์พลาสติก และ
    เครื่องคอมพิวเตอร์
    ระบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
    การแบ่งเขตบริหาร แบ่งเป็น 23 จังหวัด (Provinces) และ 1 เขตเมืองหลวงสหพันธ์
    (Federal Capital)
    ประมุขและหัวหน้ารัฐบาล -นาย Néstor Carlos Kirchner ประธานาธิบดีจากพรรค Frente Para la
    Victoria (Peronist) ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2546 (ครบวาระการดำรง
    ตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2550) โดยมีนาย Daniel Osvaldo Scioli ดำรง
    ตำแหน่งรองประธานาธิบดี
    -ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี สามารถลงสมัครเป็นสมัย
    ที่สองได้
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Jorge Enrique TAIANA

    ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
    1) วุฒิสภา (Senate) มีสมาชิก 72 คน มาจากการเลือกตั้งจาก
    แต่ละจังหวัดและเขตเมืองหลวงสหพันธ์ เขตละ 3 คน มีวาระ 6 ปี
    2) สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) มีสมาชิก 257 คน
    มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่งทุกสองปี
    ฝ่ายตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูง (Supreme Court) จำนวน
    9 คน โดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
    พรรคการเมืองสำคัญ พรรค Peronist (Justicialist Party) ของประธานาธิบดี Kirchner
    พรรค Radical Civic Union (UCR) และ พรรค Union of the Democratic Centre เป็นต้น



    การเมืองการปกครอง
    2. นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน

    นโยบายการเมือง
    - ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
    - แก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
    - สร้างความโปร่งใสของภาครัฐ
    - ปรับปรุงและให้ความสำคัญกับระบบการให้บริการของภาครัฐ
    - ทบทวนแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อความต้องการของ
    คนส่วนใหญ่มากขึ้น

    นโยบายเศรษฐกิจ
    - การเปิดเสรีการค้า
    - การมีบทบาทสำคัญในกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR)
    - ส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
    - นโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญคือ ส่งเสริมการส่งออกและวิสาหกิจ
    ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้ง การเพิ่มความหลากหลายของสินค้าจากเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นสินค้าด้านเกษตรกรรม ให้มีสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น และกำลังพิจารณาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (center of distribution) 25 เมืองทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการส่งออกซึ่งนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียน

    นโยบายต่างประเทศ
    - เน้นการบูรณาการและสร้างความเป็นพันธมิตรและการร่วมมือใน MERCOSUR
    และภูมิภาคอเมริกา โดยเฉพาะการมีบทบาทนำในการกระชับความร่วมมือและเสริมสร้างอำนาจต่อรองของกลุ่ม MERCOSUR
    - ดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่จริงจัง กว้างขวาง และ
    รอบคอบ
    - การขยายตลาดและความร่วมมือไปยังเอเชีย โดยเฉพาะจีน เพื่อลดการพึ่งพิง
    ตลาดดั้งเดิม (สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป)
    - กระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ โดยไม่เลือกระบอบการปกครอง
    - ยืนยันการคัดค้านการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ของสหราชอาณาจักร
    โดยสันติวิธี

    3. สถานการณ์ที่สำคัญ

    3.1 สถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี
    ประธานาธิบดี Kirchner ยังคงมีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง พรรค Peronist มีเสียง
    ข้างมากในรัฐสภา แต่ประสบปัญหาการแตกแยกภายในพรรค ทำให้นาย Kirshner ต้องบริหารประเทศอย่างยืดหยุ่น เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มการเมืองของอดีตประธานาธิบดี Carlos Menem และ
    ของอดีตประธานาธิบดี Eduardo Duhalde ควบคู่ไปกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น
    การดำเนินนโยบายเสรีทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐ การปราบปรามการ
    ฉ้อราษฎร์บังหลวง และการโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงในบางกรณี ทั้งนี้ เพื่อรักษาระดับความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล
    3.2 การเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ (Midterm legislative elections)
    อาร์เจนตินาได้จัดการเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2548 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนครึ่งหนึ่ง (127 จาก 257 ที่นั่ง) และวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งในสาม (24 จาก 72 ที่นั่ง) มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 70.99 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยพรรค Frente para la Victoria (Front for Victory) ของนาย Kirchner ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และจากผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ นาย Kirchner ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคมากขึ้น โดยมีเสียงข้างมากในวุฒิสภา
    (42 จาก 72 ที่นั่ง) และเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร (109 จาก 257 ที่นั่ง) ทั้งนี้ นาย Rafael Bielsa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ
    กรุงบัวโนสไอเรส โดยได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับ 3
    การที่พรรค Front for Victory (ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของพรรค Peronist) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แสดงถึงการสนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ต่อนาย Kirchner และนโยบายต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เช่น การสนับสนุนรัฐสภาให้กดดันผู้พิพากษาศาลสูงสุด 3-4 คนที่ประธานาธิบดี Menem แต่งตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองให้ลาออก การปรับเปลี่ยนผู้นำทางทหารที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศ รวมทั้งนโยบายการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับ IMF และประเทศเจ้าหนี้
    3.3 การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
    อาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อปี 2543 ? 2545 หลังจาก
    เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุสำคัญมาจากภาวะชะงักงันของเงินทุน
    ต่างประเทศ การขาดดุลการคลัง และดุลการค้า และความพยายามของรัฐบาลที่จะรักษาระดับอัตรา
    แลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ระดับ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของ
    อาร์เจนตินายังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการระงับการจ่ายหนี้สินต่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ

    เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการ
    ขยายตัวของการส่งออกและการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัว
    อย่างต่อเนื่องของการส่งออกนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลจากการลดค่าเงินเปโซ ซึ่งทำให้อาร์เจนตินาได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลอาร์เจนตินาสามารถผลักดันนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการว่างงาน และการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าภายในประเทศ ล่าสุดนิตยสารด้านการเงินระหว่างประเทศ ชื่อ ?International Finance Corporation?
    ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารโลก ได้จัดลำดับให้อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดอันดับ 77 ของโลก
    ในการดำเนินธุรกิจ
    สำหรับประเด็นการชำระหนี้ IMF เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ประธานาธิบดี Kirchner
    ได้ตัดสินใจชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อ IMF ทั้งหมด โดยใช้เงินคงคลัง (reserves) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาชำระหนี้ที่มีต่อ IMF ซึ่งประธานาธิบดี Kirchner แถลงว่าการได้ดุลบัญชีเงินคงคลังและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อาร์เจนตินาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนกำหนด และการชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะทำให้อาร์เจนตินามีอิสรภาพที่จะตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ IMF กำหนดไว้ในการเจรจาชำระหนี้ครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก
    3.4 การตรวจพบวัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินา
    เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SENASA)
    ของอาร์เจนตินาได้ประกาศการตรวจพบวัวจำนวน 70 ตัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในฟาร์มแห่งหนึ่งที่เมือง San Luis del Palmar ของจังหวัด Corrientes ที่ตั้งทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา โดยผู้เชี่ยวชาญของ SENASA คาดว่าจะมีวัว 3,000 ตัวในบริเวณดังกล่าวที่อาจได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ วัวทั้ง 70 ตัวที่ติดเชื้อจะถูกกำจัดและ SENASA กำลังเร่งดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประกาศดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางการชิลีและบราซิลได้ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากอาร์เจนตินาชั่วคราว และเร่งดำเนินมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและอุรุกวัยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวที่สำคัญ ทั้งนี้ ได้เคยเกิดการแพร่ระบาดของโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2544 ส่งผลให้อาร์เจนตินาซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายสำคัญของโลกต้องสูญเสียการส่งออกจำนวนมาก แต่หลังจากที่ได้พยายามควบคุมโรคและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัว อาร์เจนตินาสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อวัวของอาร์เจนตินาในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 เท่าของมูลค่าการส่งออกในปี 2544
    3.5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ
    -อาร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยส่งทหารไปร่วมปฏิบัติภารกิจ 7 แห่ง ได้แก่ เฮติ ไซปรัส โคโซโว ตะวันออกกลาง คองโก ซาฮาราตะวันตกและติมอร์ตะวันออก อาร์เจนตินามีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่จะร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 2 แห่ง คือ Training Center for Blue Helmets (CAECOPAZ) ควบคุมโดยกองทัพอาร์เจนตินา และ Training Center for Members of Peace Missions Abroad (CENCAMEX) ควบคุมโดยกองกำลังตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) และศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Tribunals for the Former Yugoslavia)
    -อาร์เจนตินาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC สำหรับปี 2548 ? 2549 โดยดำรงตำแหน่งประธาน UNSC (ซึ่งจะหมุนเวียนทุกเดือนโดยเรียงตามตัวอักษรประเทศ) ในเดือนมกราคม 2548 และเดือนเมษายน 2549
    -อาร์เจนตินาเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ African Union ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2545
    และให้ความสำคัญในการร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับแอฟริกา โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สันติภาพและการพัฒนา หน่วยงานของอาร์เจนตินา 2 แห่ง คือ Fund for Cooperation and Development (FO-AR) และ White Helmet ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในแอฟริกา อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในด้านการเกษตร เหมืองแร่ในประเทศต่างๆ อาทิ อังโกลา และโมซัมบิก การฝึกสอนฟุตบอล การส่งทหารและแพทย์ไปร่วมในคณะรักษาสันติภาพที่โกตดิวัวร์และคองโก เป็นต้น
    -อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับประเทศ
    พัฒนาแล้วในกรอบ G20 และ WTO เพื่อให้สหรัฐฯ และ EU ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งหมด












    เศรษฐกิจการค้า
    สถานการณ์ที่สำคัญ
    3.1 สถานะทางการเมืองของประธานาธิบดี
    ประธานาธิบดี Kirchner ยังคงมีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง พรรค Peronist มีเสียง
    ข้างมากในรัฐสภา แต่ประสบปัญหาการแตกแยกภายในพรรค ทำให้นาย Kirshner ต้องบริหารประเทศอย่างยืดหยุ่น เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มการเมืองของอดีตประธานาธิบดี Carlos Menem และ
    ของอดีตประธานาธิบดี Eduardo Duhalde ควบคู่ไปกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น
    การดำเนินนโยบายเสรีทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐ การปราบปรามการ
    ฉ้อราษฎร์บังหลวง และการโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงในบางกรณี ทั้งนี้ เพื่อรักษาระดับความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาล

    3.2 การเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ (Midterm legislative elections)
    อาร์เจนตินาได้จัดการเลือกตั้งกลางวาระของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2548 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนครึ่งหนึ่ง (127 จาก 257 ที่นั่ง) และวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งในสาม (24 จาก 72 ที่นั่ง) มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 70.99 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยพรรค Frente para la Victoria (Front for Victory) ของนาย Kirchner ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น และจากผลการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ นาย Kirchner ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคมากขึ้น โดยมีเสียงข้างมากในวุฒิสภา
    (42 จาก 72 ที่นั่ง) และเป็นพรรคใหญ่ที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร (109 จาก 257 ที่นั่ง) ทั้งนี้ นาย Rafael Bielsa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ
    กรุงบัวโนสไอเรส โดยได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับ 3
    การที่พรรค Front for Victory (ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของพรรค Peronist) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แสดงถึงการสนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ต่อนาย Kirchner และนโยบายต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมาในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เช่น การสนับสนุนรัฐสภาให้กดดันผู้พิพากษาศาลสูงสุด 3-4 คนที่ประธานาธิบดี Menem แต่งตั้งเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองให้ลาออก การปรับเปลี่ยนผู้นำทางทหารที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงที่รัฐบาลทหารปกครองประเทศ รวมทั้งนโยบายการเจรจาอย่างแข็งกร้าวกับ IMF และประเทศเจ้าหนี้

    3.3 การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
    อาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงที่สุดเมื่อปี 2543 – 2545 หลังจาก
    เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี สาเหตุสำคัญมาจากภาวะชะงักงันของเงินทุน
    ต่างประเทศ การขาดดุลการคลัง และดุลการค้า และความพยายามของรัฐบาลที่จะรักษาระดับอัตรา
    แลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ระดับ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของ
    อาร์เจนตินายังได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการระงับการจ่ายหนี้สินต่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ

    เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการ
    ขยายตัวของการส่งออกและการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัว
    อย่างต่อเนื่องของการส่งออกนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลจากการลดค่าเงินเปโซ ซึ่งทำให้อาร์เจนตินาได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลอาร์เจนตินาสามารถผลักดันนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการว่างงาน และการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าภายในประเทศ ล่าสุดนิตยสารด้านการเงินระหว่างประเทศ ชื่อ “International Finance Corporation”
    ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารโลก ได้จัดลำดับให้อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดีที่สุดอันดับ 77 ของโลก
    ในการดำเนินธุรกิจ
    สำหรับประเด็นการชำระหนี้ IMF เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ประธานาธิบดี Kirchner
    ได้ตัดสินใจชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อ IMF ทั้งหมด โดยใช้เงินคงคลัง (reserves) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาชำระหนี้ที่มีต่อ IMF ซึ่งประธานาธิบดี Kirchner แถลงว่าการได้ดุลบัญชีเงินคงคลังและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อาร์เจนตินาสามารถชำระหนี้ได้ก่อนกำหนด และการชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะทำให้อาร์เจนตินามีอิสรภาพที่จะตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ IMF กำหนดไว้ในการเจรจาชำระหนี้ครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งการประกาศดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก

    3.4 การตรวจพบวัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินา
    เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SENASA)
    ของอาร์เจนตินาได้ประกาศการตรวจพบวัวจำนวน 70 ตัวติดเชื้อโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในฟาร์มแห่งหนึ่งที่เมือง San Luis del Palmar ของจังหวัด Corrientes ที่ตั้งทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา โดยผู้เชี่ยวชาญของ SENASA คาดว่าจะมีวัว 3,000 ตัวในบริเวณดังกล่าวที่อาจได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ วัวทั้ง 70 ตัวที่ติดเชื้อจะถูกกำจัดและ SENASA กำลังเร่งดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อย่างไรก็ดี การประกาศดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางการชิลีและบราซิลได้ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากอาร์เจนตินาชั่วคราว และเร่งดำเนินมาตรการป้องการการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและอุรุกวัยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวที่สำคัญ ทั้งนี้ ได้เคยเกิดการแพร่ระบาดของโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2544 ส่งผลให้อาร์เจนตินาซึ่งเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายสำคัญของโลกต้องสูญเสียการส่งออกจำนวนมาก แต่หลังจากที่ได้พยายามควบคุมโรคและฉีดวัคซีนป้องกันโรคในวัว อาร์เจนตินาสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อวัวของอาร์เจนตินาในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3 เท่าของมูลค่าการส่งออกในปี 2544

    3.5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ
    -อาร์เจนตินามีบทบาทที่แข็งขันในสหประชาชาติโดยเฉพาะการสนับสนุนการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) เพื่อให้มีระบบการตัดสินใจที่โปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยส่งทหารไปร่วมปฏิบัติภารกิจ 7 แห่ง ได้แก่ เฮติ ไซปรัส โคโซโว ตะวันออกกลาง คองโก ซาฮาราตะวันตกและติมอร์ตะวันออก อาร์เจนตินามีศูนย์ฝึกอบรมสำหรับทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่จะร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ 2 แห่ง คือ Training Center for Blue Helmets (CAECOPAZ) ควบคุมโดยกองทัพอาร์เจนตินา และ Training Center for Members of Peace Missions Abroad (CENCAMEX) ควบคุมโดยกองกำลังตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดา (International Criminal Tribunal for Rwanda) และศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (International Tribunals for the Former Yugoslavia)
    -อาร์เจนตินาได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC สำหรับปี 2548 – 2549 โดยดำรงตำแหน่งประธาน UNSC (ซึ่งจะหมุนเวียนทุกเดือนโดยเรียงตามตัวอักษรประเทศ) ในเดือนมกราคม 2548 และเดือนเมษายน 2549
    -อาร์เจนตินาเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ African Union ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2545
    และให้ความสำคัญในการร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกับแอฟริกา โดยเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สันติภาพและการพัฒนา หน่วยงานของอาร์เจนตินา 2 แห่ง คือ Fund for Cooperation and Development (FO-AR) และ White Helmet ได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในแอฟริกา อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในด้านการเกษตร เหมืองแร่ในประเทศต่างๆ อาทิ อังโกลา และโมซัมบิก การฝึกสอนฟุตบอล การส่งทหารและแพทย์ไปร่วมในคณะรักษาสันติภาพที่โกตดิวัวร์และคองโก เป็นต้น
    -อาร์เจนตินาเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับประเทศ
    พัฒนาแล้วในกรอบ G20 และ WTO เพื่อให้สหรัฐฯ และ EU ยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งหมด

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอาร์เจนตินา
    4. ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทยกับอาร์เจนตินา

    4.1 ด้านการทูต
    ไทยและอาร์เจนตินาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์
    2498 โดยไทยเปิดสถานอัครราชทูตเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2498 และได้ยกฐานะเป็นสถานเอกอัครราชทูต
    เมื่อ 15 กรกฎาคม 2503 และมีเขตอาณาครอบคลุมอีก 3 ประเทศ คืออุรุกวัย ปารากวัยและโบลิเวีย
    โดยมี นายอสิพล จับจิตรใจดล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน
    อาร์เจนตินาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทยเมื่อปี 2498 โดยมี นาย Felipe Frydman
    ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน

    การฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อาร์เจนตินา
    ปี 2548 เป็นปีแห่งการครบรอบ 50 ปีของการสถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-
    อาร์เจนตินา โดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอาร์เจนตินาประจำประเทศไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อฉลองวาระพิเศษดังกล่าว ได้แก่ การจัดทำตราไปรษณียากรที่ระลึก โดยพิมพ์ภาพรำกลองยาว และการเต้นรำแทงโก้ ซึ่งเป็นศิลปะประจำชาติของทั้งสองประเทศบนตราไปรณียากรดังกล่าว รวมทั้ง
    ได้จัดโครงการ Football Clinic โดยการเชิญนาย Ubaldo Matildo Fillol ซึ่งเป็นอดีตผู้รักษาประตูทีมชาติ
    อาร์เจนตินา ชุดที่ชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2530 มาเป็นผู้ฝึกสอนทักษะทางด้านกีฬาฟุตบอล
    ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนกีฬาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งนักเรียนในโครงการยุวทูตความดีของกระทรวงการต่างประเทศ ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเป็นเวลา 1 เดือน นอกจากนี้ ยังได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย
    4.2 ด้านเศรษฐกิจ
    อาร์เจนตินาเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทยในลาตินอเมริกา รองจากบราซิล และเม็กซิโก
    โดยในปี 2548 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 656.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ร้อยละ 0.29 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยกับประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมาร้อยละ 44 อย่างไรก็ดีไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้า 385.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 270.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ากว่าร้อยละ 90 เป็นสินค้าปฐมภูมิประเภทวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อป้อนอุตสาหกรรมของไทยเพื่อการผลิตและส่งออก ในขณะที่สินค้าส่งออกของไทยมีความหลากหลายทั้งสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าปฐมภูมิด้านการเกษตร
    สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอาร์เจนตินาในปี 2548 ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
    (รวมถึงกากพืชน้ำมัน) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ ด้ายและเส้นใย นมและผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์โลหะ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป
    หมายเหตุ ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากเมล็ดทานตะวันจากอาร์เจนตินาเป็นอันดับหนึ่งจากการนำเข้าของทั่วโลกและ นำเข้ากากพืชน้ำมันจากอาร์เจนตินาเป็นอันดับสองจากการนำเข้าทั่วโลกรองจากบราซิล
    สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาร์เจนตินาในปี 2548 ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ

    สถิติการค้า
    (มูลค่า:ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
    2545 2546 2547 2548
    มูลค่าการค้า 363.5 535.2 455.9 656.4
    การส่งออก 15.4 40.4 96.6 270.7
    การนำเข้า 348.1 494.8 359.4 385.7
    ดุลการค้า -332.8 -454.4 -262.8 -115.1
    ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

    4.3 ด้านการท่องเที่ยว
    ในปี 2547 มีชาวอาร์เจนตินาเดินทางมาประเทศไทย 3,477 คน ลดลงจากปี 2547 จำนวน502 คน

    4.4 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
    ประเทศไทยและอาร์เจนตินามีพื้นฐานและโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พัฒนามาจาก
    ภาคเกษตรกรรม และเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก จึงมีจุดยืนร่วมกันในการเรียกร้องให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาดสินค้าเกษตรจากประเทศกำลังพัฒนาและลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรของตนลง นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีความร่วมมือใกล้ชิดในกรอบ G20 WTO และ UN และ
    เวทีความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia- Latin America Cooperation ? FEALAC)

    5. ความตกลงทวิภาคี
    1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ ลงนามเมื่อ 20 ตุลาคม 2524
    2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าอาร์เจนตินา
    ลงนามเมื่อ 7 มิถุนายน 2534
    3. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ ลงนามเมื่อ
    16 พฤษภาคม 2539
    4. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ลงนามเมื่อ 7 มิถุนายน 2539
    5. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า ลงนามเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2540
    6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านปราบปรามยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
    ลงนามเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2540
    7. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2543
    8. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ระหว่าง
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติ La Plata (ลงนามเมื่อ 28 ธันวาคม 2543)
    ความตกลงที่อยู่ในระหว่างการจัดทำ
    1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขอนามัย
    2. ความตกลงด้านกีฬา
    3. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน
    4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร
    5. ความตกลงด้านวัฒนธรรม
    ความตกลงที่รอการลงนาม
    1. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา
    6. การเยือน
    6.1 การเยือนอาร์เจนตินา

    ระดับพระบรมวงศานุวงศ์
    - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการ
    ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2539
    - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือน
    ระหว่างวันที่ 26-30 มีนาคม 2543 และระหว่างวันที่ 12-18 พฤศจิกายน 2548

    ระดับรัฐมนตรี
    - พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 19-21
    ตุลาคม 2524
    - น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมตัวแทนภาคเอกชน
    13 คน ระหว่างวันที่ 27 - 30 มกราคม 2537
    - นายมารุต บุนนาค ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เดือนมีนาคม 2538
    - ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2539
    - นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย ระหว่างวันที่ 21-24 กรกฎาคม 2545
    6.2 การเยือนไทย

    - นาย Arturo Frondizi ประธานาธิบดี เยือนไทยเมื่อปี 2504
    - นาย Guido Di Tella รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ
    ระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2539
    - นาย Carlos Saul Menem ประธานาธิบดี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
    ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2540
    - นาย Horacio Aldo Chighizola รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ระหว่างวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2544


    กองลาตินอเมริกา
    กรกฎาคม 2549




    4.1 ด้านการทูต 5. ความตกลงทวิภาคี ความตกลงที่อยู่ในระหว่างการจัดทำ ความตกลงที่รอการลงนาม 6. การเยือน 6.1 การเยือนอาร์เจนตินา ระดับพระบรมวงศานุวงศ์ ระดับรัฐมนตรี 6.2 การเยือนไทย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×