ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติความเป็นมาของจังหวัดในภาคเหนือ

    ลำดับตอนที่ #16 : จังหวัดอุทัยธานี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 659
      2
      6 ม.ค. 50

    " อุทัยธานีเมืองชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก
    มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ "
    ข้อมูลทั่วไป :

    จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและและภูเขาสูง สภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางธรรมชาติ จนทำให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน

    ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองในสมัยทวารวดี ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัย ท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า (อำเภอหนองฉาง) แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญ จึงเรียกว่า "เมืองอู่ไทย" ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย ต่อมาเกิดน้ำแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทาง เมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาชาวกะเหรี่ยงชื่อ "พะตะเบิด" เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทย โดยขุดทะเลสาบขังน้ำไว้ใกล้เมืองและเป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยคนแรก ชื่อเมือง จึงเรียกเพี้ยนเป็น "เมืองอุไทย" ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอก ในการสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน

    อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีหลายแห่งที่น่าเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึก เช่น หน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา ผลไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสาน ซึ่งสามารถติดไม้ติดมือกลับไปเป็นของฝาก


    การเดินทาง :

    ทางรถยนต์
    1. จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำเภอมโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ 305 กิโลเมตร

    2. จากถนนสาย 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เลี้ยวซ้ายตรงทางแยกท่าน้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 206 ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาตามถนนสาย 333 ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ผ่านหน้าโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 222 กิโลเมตร

    3. จากถนนสาย 32 ผ่านจังหวัดอยุธยา เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานจังหวัดอ่างทอง มาตามถนนสายในผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรพยา เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอวัดสิงห์ ผ่านวัดท่าซุง ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 283 กิโลเมตร

    รถโดยสารประจำทาง
    บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-อุทัยธานีทุกวัน จากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ ตั้งแต่เวลา 04.30-17.50 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 936-3660, 936-3666 สถานีเดินรถ อุทัยธานี โทร. (056) 511-914, 512-859

    นอกจากนี้จากจังหวัดอุทัยธานี สามารถเดินทางไปยังจังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี และนครปฐม

    ทางรถไฟ
    ต้องโดยสารรถไฟไปลงที่สถานีนคร สวรรค์ แล้วต่อรถประจำทางมายัง อุทัยธานีอีกประมาณ 50 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง โทร. 223-7010, 223-7020

    ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
    อำเภอทัพทัน 19 กิโลเมตร
    อำเภอสว่างอารมย์ 33 กิโลเมตร
    อำเภอหนองขาหย่าง 10 กิโลเมตร
    อำเภอหนองฉาง 22 กิโลเมตร
    อำเภอลานสัก 54 กิโลเมตร
    อำเภอห้วยคต 45 กิโลเมตร
    อำเภอบ้านไร่ 80 กิโลเมตร

    ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังจังหวัดใกล้เคียง
    จังหวัดนครสวรรค์ 50 กิโลเมตร
    จังหวัดชัยนาท 42 กิโลเมตร


    อาณาเขตและการปกครอง :

    ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวัดสิงห์และอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยมี แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

    จังหวัดอุทัยธานีแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอลานสัก อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอหนองฉาง อำเภอทัพทัน อำเภอบ้านไร่ อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอห้วยคต

    ที่มา www.tourthai.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×