ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาล - ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาล นิยาย ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาล : Dek-D.com - Writer

ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาล

ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลของรัชกาลต่างๆ

ผู้เข้าชมรวม

1,448

ผู้เข้าชมเดือนนี้

10

ผู้เข้าชมรวม


1.44K

ความคิดเห็น


0

คนติดตาม


2
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  9 ม.ค. 50 / 08:43 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

     

     

     ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ


    ตราราชวงศ์จักรี


    ตราประจำรัชกาลที่ ๑

    "มหาอุณาโลม" เป็นตรางา 
    ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่ตรงกลาง 
    ("อุ" มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง") 
    ตรามหาอุณาโลมนี้ หมายถึงตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้อมด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคล ทางพระพุทธศาสนา

     
    ตราประจำรัชกาลที่ ๒

    "ครุฑจับนาค" เป็นตรางา 
    ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ


    ตราประจำรัชกาลที่ ๓

    "มหาปราสาท" เป็นตรางา 
    ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ทับ" ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระลัญจกรเป็นรูปปราสาท

     
    ตราประจำรัชกาลที่ ๔

    "พระมหาพิชัยมงกุฎ" เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฎ (ตามพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชรข้างหนึ่ง (พระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชร หมายถึง พระฉายา เมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาณ) 
    อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์ และดาราศาสตร์)


    ตราประจำรัชกาลที่ ๕

    "พระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว" เป็นตรางา 
    ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์)  เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง  ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง 
    อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (เป็นการเจริญรอยจำลอง พระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ ๔)

     
    ตราประจำรัชกาลที่ ๖

    "มหาวชิราวุธ" เป็นตรางา 
    ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. รูปวชิราวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง (รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์ คือ วชิราวุธ ซึ่งหมายความถึงศัตราวุธของพระอินทร์)

    ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน 


    ตราประจำรัชกาลที่ ๗

    "พระไตรศร" เป็นตรางา  ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๗ ซม. รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์
    คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต 
    (เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และของพระอิศวร ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ "ประชาธิปกศักดิเดชน์" คำว่า "เดชน์" แปลว่า "ลูกศร") เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตรีศูร  อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีบังแทรกตั้งอยู่ ๒ ข้าง มีลายกนกแทรกอยู่ระหว่างพื้น

    ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน 

     
    ตราประจำรัชกาลที่ ๘

    "รูปพระโพธิสัตว์" เป็นตรางา 
    ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง ๗ ซ.ม. รูปพระโพธิสัตว์ประทับบน
    บัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น
    รองรับตั้งฉัตร บริวาร ๒ ข้าง  (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต) เป็นสัญลักษณ์ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลความหมายว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน

    ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน 


    ตราประจำรัชกาลที่ ๙

    "พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์" เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๖.๗ ซ.ม. 
    รูปพระที่นั่งอัฎทิศ ประกอบด้วยวงจักร  กลางวงจักรมีอักขระ "อุ" รอบๆ มีรัศมี 
    (วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จประทับที่นั่งอัฎทิศ)
    แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน

    ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน 

     

    อ้างอิง :

    กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. ฉัตรแก้วเก้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา 2540.

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×