ทรัพยากรป่าไม้ - ทรัพยากรป่าไม้ นิยาย ทรัพยากรป่าไม้ : Dek-D.com - Writer

    ทรัพยากรป่าไม้

    เรื่องราวเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมด และวิธีอนุรักษ์ป่าไม้

    ผู้เข้าชมรวม

    15,512

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    15.51K

    ความคิดเห็น


    13

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  23 ก.ย. 50 / 18:28 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ทรัพยากรป่าไม้

       

      นิยามของป่าไม้

      ป่า ตามพระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ. ) ป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน

      ป่าไม( forest ) หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น  ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ  ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ  มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

      Allen ( 1950 )ได้ให้คำจำกัดความของป่าไม้ไว้ดังนี้ ป่าไม้ คือ สังคมของต้นไม้และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่มีการใช้ประโยชน์จากอากาศ น้ำ และวัตถุแร่ธาตุต่างๆ ในดินเพื่อการเจริญเติบโตจนถึงอายุขัยและมีการสืบพันธุ์ของตนเอง ทั้งให้ผลผลิตและบริการที่จำเป็นอันจะขาดเสียมิได้ต่อมนุษย์

      ตอนปลายศตวรรษที่ 13 ในยุโรป ป่าไม้ หมายถึง พื้นที่ที่พระมหากษัตริย์ได้สงวนไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับล่าสัตว์ของส่วนพระองค์ ส่วนสิทธิในการตัดไม้และการก่อสร้าง แผ้วถางป่าเพื่อการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ยังเป็นของประชาชนทั่ว ๆ ไปอยู่

      ปัจจุบันองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามคำว่าป่าไม้ หมายถึงบรรดาพื้นที่ที่มีพฤกษชาตินานาชนิดปกคลุมอยู่โดยมีไม้ต้นขนาดต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการทำไม้ในพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม สามารถผลิตไม้หรือมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศ หรือต่อระบบของน้ำในท้องถิ่น 

      นอกจากนี้พื้นที่ที่ได้ถูกตัดฟัน  แผ้วถางหรือโค่นเผาไม้ลง  และมีเป้าหมายที่จะปลูกป่าขึ้นในอนาคต    ก็นับรวมเป็นพื้นที่ป่าไม้ด้วย  แต่ทั้งนี้มิได้นับเอาป่าละเมาะ  หรือหมู่ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่นอกป่า หรือต้นไม้สองข้างทางคมนาคม  หรือที่ยืนต้นอยู่ตามหัวไร่ปลายนา  หรือที่ขึ้นอยู่ในสวนสาธารณะให้เป็นป่าไม้ด้วย

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ประเภทของป่าไม้

      ป่าไม้ในภาคต่าง ๆ ของโลกพอจะจำแนกออกได้ตามความแตกต่างขององค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น และประวัติความเป็นมาแต่ดั้งเดิมของแต่ละภาคเป็นประเภทใหญ่ๆ ซึ่งแต่ละประเภท  ก็มีขึ้นอยู่ในหลายท้องที่  กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป  ลักษณะและชนิดของพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ก็แตกต่างกันไป  มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

       

      1. ป่าศูนย์สูตร     ( equatorial rainforest )      จะมีต้นไม้ที่สูงขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น     แสงแดดไม่สามารถส่องลงมาถึงพื้นดินได้ ต้นไม้ส่วนมากจะมีเปลือกเรียบ  ส่วนล่างของต้นไม้ที่อยู่ติดกับพื้นดินไม่มีกิ่ง   ลำต้นตรงเพื่อที่จะชูก้านเพื่อรับแสงแดด  เป็นป่าไม้ที่มีใบกว้างไม่ผลัดใบและจะพบไม้เลื้อยหรือไม้เถาพันหรือเกาะตามกิ่งก้านของต้นไม้เต็มไปหมด     บริเวณป่าศูนย์สูตรที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำอะเมซอนในประเทศบราซิล  ลุ่มน้ำคองโกในประเทศคองโก    เกาะสุมาตราไปจนถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้

       

      2. ป่าร้อนชื้น ( tropical rain forest ) มีลักษณะคล้ายป่าศูนย์สูตร จะปรากฏอยู่ระหว่างละติจูด            10 - 23.5 องศาเหนือและใต้ และจะปรากฏอยู่ด้านหน้าของภูเขาที่ตั้งรับลมประจำที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง ปริมาณน้ำฝนจะผันแปรไปบ้างในบางฤดูแต่ก็ไม่ถึงกับขาดแคลนน้ำ จึงทำให้สภาพเป็นป่าดงดิบ ชนิดของต้นไม้มีน้อยกว่าป่าศูนย์สูตร

       

      3. ป่ามรสุม ( monsoon forest ) เป็นป่าไม้ที่มีไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ ในป่าชนิดนี้บริเวณพื้นดินจะมีไม้เล็กๆ ขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากแสงแดดสามารถส่องผ่านทะลุไปถึงพื้นดินได้  ในพื้นที่แคบ ๆ อาจจะมีพันธุ์ไม้อยู่ถึง        30 - 40 ชนิด ซึ่งมักจะเป็นป่าไม้ที่ผลัดใบในช่วงที่ปริมาณน้ำฝนและความเข้มของแสงดวงอาทิตย์ลดลง  ซึ่งก็คือช่วงฤดูแล้ง

       

      4. ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบ ( temperate rainforest ) เป็นป่าไม้ในเขตอบอุ่นที่มีใบเขียวตลอดปี มีพันธุ์ไม้น้อยชนิด  แต่ละชนิดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดและความสูงของต้นไม้เท่ากับป่าศูนย์สูตร  ไม้ที่สำคัญ เช่น โอ๊ก

       

      5. ป่าไม้อบอุ่นผลัดใบ ( temperate deciduous forest ) เป็นป่าไม้ที่มีใบเขียวชอุ่มในฤดูร้อนแต่จะผลัดใบในฤดูหนาว  ต้นไม้มีลำต้นสูงและมีใบขนาดใหญ่  ในช่วงฤดูหนาวบริเวณพื้นดินจะมีไม้พุ่มและพืชเล็กๆ เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว  แต่เมื่อถึงฤดูร้อนเมื่อต้นไม้ผลิใบเต็มต้นแล้ว พืชเหล่านี้จะค่อยๆ มีปริมาณลดลงและตายไปในที่สุด

       

      6. ป่าสน ( needle leaf forest ) เป็นป่าไม้ที่มีลำต้นตรง  กิ่งสั้นใบเล็กกลมคล้ายเข็มเย็บผ้า  เป็นป่าไม้ที่มีต้นไม้ขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่นและมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี  บริเวณพื้นดินไม่มีต้นไม้เตี้ยๆ หรือไม้พุ่มขึ้นหรือจะมีอยู่บ้างก็เพียงเล็กน้อย  ป่าชนิดนี้จะมีพันธุ์ไม้ 1 - 2 ชนิด ซึ่งเป็นป่าไม้ตระกูลสนทั้งสิ้น  ซึ่งจะขึ้นปกคลุมติดต่อกันเป็นผืนเดียวกัน  สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

           6.1 ป่าไม้สนในเขตหนาว ( cool coniferous forests ) ขึ้นอยู่ทางซีกโลกเหนือในท้องที่ที่มีอากาศหนาวเท่านั้น มีลักษณะเป็นแถบกว้าง แผ่กระจายอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ตั้งแต่อะแลสกา   จนถึง แคนาดา  แถบกลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวีย ไปจนถึง ไซบีเรีย  เนื้อที่ป่าส่วนใหญ่อยู่ในไซบีเรีย  ป่าชนิดนี้มีไม้เนื้ออ่อนหรือไม้ในตระกูลสนเขา               ( conifer ) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น  แต่ละท้องที่มีพรรณไม้เพียงไม่กี่ชนิด  ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดปานกลางและมีความเติบโตไล่เลี่ยกัน

           6.2 ป่าไม้ผสมโซนอบอุ่น ( temperate mixed forests ) ขึ้นอยู่ทางตอนกลางของซีกโลกเหนือเกือบทั้งหมด  คือ ในยุโรปตอนกลาง อเมริกาเหนือ  และเอเชีย พรรณไม้ในป่าชนิดนี้มีมากกว่าป่าสนในเขตหนาว มีทั้งป่าไม้เนื้ออ่อน ( soft wood ) ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลไม้สนเขา  และป่าไม้เนื้อแข็ง

       

      7. ป่าไม้เนื้อแข็งไม่ผลัดใบ ( evergreen hardwood forest ) จะมีเป็นต้นไม้เตี้ยๆ ลำต้นขนาดเล็ก         ใบแข็ง และต้นมีกิ่งตั้งแต่ใกล้พื้นดินจนถึงยอด  ลำต้นมีเปลือกหนาและขรุขระ  จะมีลักษณะคล้ายกับป่าไม้ผสมกับป่าละเมาะ ( scrub forest ) ซึ่งจะมีป่าไม้จริงๆ เพียง 25 – 60% นอกนั้นจะเป็นป่าละเมาะซึ่งประกอบด้วยพุ่มไม้เตี้ย ๆ

       

      8. ป่าสะวันนา (savanna woodland) จะเป็นป่าไม้ที่มีไม้ขึ้นอยู่ห่างๆ บริเวณช่องว่างระหว่างต้นไม้ใหญ่ๆ จะมีไม้พุ่มหรือหญ้าหยาบๆ ขึ้นอย่างหนาแน่น ป่าชนิดนี้บางทีเรียกว่า "สวนธรรมชาติ" ( park land ) ทั้งนี้เพราะพื้นที่โล่งเตียน ต้นไม้มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์นำมาปลูกไว้ มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้งจึงทำให้ต้นไม้ขึ้นไม่หนาแน่น

       

      9. ป่าหนามและป่าพุ่มเขตร้อน ( thornbush and tropical scrubs ) เป็นต้นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและไม้พุ่ม ไม้เหล่านี้สามารถทนต่อสภาพความแห้งแล้งที่ยาวนาน และมีฤดูฝนสั้นๆ  ส่วนป่าหนามนั้นจะเป็นไม้พุ่มที่มีหนาม และจะผลัดใบในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ

       

      10. ป่ากึ่งทะเลทราย ( semidesert woodland ) เป็นพืชพรรณที่ทนต่อความแห้งแล้ง ส่วนมากเป็นพวกไม้พุ่มตามพื้นดินของป่าชนิดนี้จะมีวัชพืชหรือพืชต้นเล็ก ๆ ขึ้นอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย

       

      11. พืชพรรณในทะเลทราย ( desert vegetation ) มักจะพบพืชที่มีใบเล็กๆ พืชที่มีหนามหรือพืชที่มีลำต้นสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้ รวมทั้งมีพวกหญ้าแข็งๆ ขึ้นปะปนอยู่เป็นหย่อมๆ นอกจากนี้ยังมีพืชล้มลุกที่ขึ้นในช่วงที่มีฝนตกซึ่งมีมากมายหลายชนิด

       

      12. ป่าในเขตอากาศหนาว ( cold woodland ) เป็นพืชพรรณที่พบได้ในอากาศแถบขั้วโลกหรือเขตอากาศแบบทุนดรา  ต้นไม้ที่ขึ้นมาขนาดเล็กมาก  ต้นเตี้ยขึ้นอยู่ห่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่มเตี้ยๆ พื้นดินเบื้องล่างปกคลุมด้วยมอสส์

       

      ชนิดป่าในประเทศไทย

                              ป่าไม้ของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ( evergreen forest ) กับป่าไม้ผลัดใบ ( deciduous forest )

       

      1. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ( evergreen forest ) ป่าประเภทนี้มีประมาณ 30% ของเนื้อที่ป่าทั้งประเทศ สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 4 ชนิด ดังนี้

          1.1 ป่าดิบเมืองร้อน ( tropical evergreen forest ) เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี  มีปริมาณน้ำฝนมาก  ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา  ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง  มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้  แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ  ได้ดังนี้

                  1.1.1 ป่าดิบชื้น ( tropical rain forest ) ป่าชนิดนี้โดยทั่วไปเรียกว่าป่าดงดิบเป็นป่าที่มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ  และมากที่สุดแถบชายฝั่งภาคตะวันออก  เช่น  ระยอง  จันทบุรี  และที่ภาคใต้    ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าภาคอื่นๆ  ลักษณะทั่วไปมักเป็นป่ารกทึบ  ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด  ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นวงศ์ยาง  มีลำต้นสูงใหญ่ตั้งแต่ 30 - 50 เมตร  พื้นป่ามักรกทึบประกอบด้วยไม้พุ่ม  ปาล์ม  หวาย  เถาวัลย์

       

                  1.1.2 ป่าดิบแล้ง  ( dry evergreen forest )  มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ    ของประเทศ        ตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ      500      เมตร           และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง            1,000 - 1,500 มิลลิเมตร   พันธุ์ไม้ที่สำคัญ  เช่น  ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียน

                  1.1.3 ป่าดิบเขา  ( hill evergreen forest )  เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล  ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป  ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ  และบางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น  ที่ทุ่งแสลงหลวง  จังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์ เป็นต้น  มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 - 2,000 มิลลิเมตร   พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น  ก่อสีเสียด  ก่อตาหมูน้อย  อบเชย  กำลังเสือโคร่ง เป็นต้น  บางทีก็มีสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย  ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์น  กล้วยไม้ดิน  มอสส์ต่างๆ  ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร

          1.2 ป่าสน ( coniferous forest ) ป่าสนมีกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ตามภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  เพชรบูรณ์  และที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย  ศรีสะเกษ  สุรินทร์                  และอุบลราชธานี  มีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป  บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา  ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น  สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ประเทศไทยมีสนเขาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น  คือ สนสองใบและสนสามใบ  และพวกก่อต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่  พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง ๆ

          1.3 ป่าพรุ ( swamp forest ) คือ ป่าที่อยู่ตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอและตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป  ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี แบ่งเป็นย่อย ๆ ได้ 2 ชนิดคือ

                  1.3.1 ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด ( fresh water swamp forest ) ป่าประเภทนี้อยู่ถัดจากชายฝั่งทะเลเข้ามา จะมีน้ำท่วม หรือชื้นแฉะตลอดปี  ดินมักเป็นทราย หรือโคลนตมพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ เช่น  สำโรง        กะเบาน้ำ  กันเกรา เป็นต้น

                  1.3.2 ป่าชายเลน  ( mangrove swamp forest )  ป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง เช่น  ตามชายฝั่งตะวันตกตั้งแต่ระนอง ถึง สตูล แถบอ่าวไทยตั้งแต่สมุทรสงครามถึงตราด  และจากประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงนราธิวาส           ไม้ที่สำคัญ    เช่น   แสม       ไม้โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่  เป็นต้น

          1.4 ป่าชายหาด ( beach forest ) เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด  ทรายและโขดหิน     พันธุ์ไม้จะต่างจากที่ที่น้ำท่วมถึง  ถ้าชายฝั่งเป็นดินทรายก็มีสนทะเล  พืชชั้นล่างก็จะมีพวกตีนนก  และพันธุ์ไม้เลื้อยอื่นๆ อีกบางชนิด  ถ้าเป็นกรวดหรือหิน  พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกระทิง  หูกวาง  เป็นต้น

       

      2. ป่าผลัดใบ ( deciduous forest ) แบ่งได้ 3 ชนิด คือ

          2.1 ป่าเบญจพรรณ ( mixed deciduous forest ) ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในภาคเหนือ  ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนภาคใต้ไม่ปรากฏว่ามีอยู่  ป่าชนิดนี้มักจะมีไม้สักขึ้นอยู่ปะปนอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคเหนือและทางภาคกลางบางแห่ง  ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีป่าเบญจพรรณอยู่น้อย  ลักษณะของป่าเบญจพรรณ  โดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนมากพื้นที่ป่าไม่รกทึบมีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มากในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบและมีไฟไหม้ป่าอยู่ทั้งปี  มีพันธุ์ไม้ขึ้นคละกันมากชนิด เช่น  ไม้สัก  แดง  ประดู่  มะค่าโมง  ชิงชัน  ตะแบก เป็นต้น  พืชชั้นล่างก็มีพวกหญ้า  พวกกก  ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ เช่น  ไผ่ป่า  ไผ่รวก  ไผ่นวล เป็นต้น  จัดว่าเป็นป่าเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก

          2.2 ป่าแพะ หรือป่าแดง หรือป่าโคก หรือป่าเต็งรัง ( deciduous dipterocarp forest ) ป่าชนิดนี้มีอยู่มากทางภาคเหนือ  ภาคกลาง  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนภาคใต้และชายทะเลด้านตะวันออกไม่ปรากฏว่ามีอยู่  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับว่ามีมากที่สุด  คือ ประมาณ 70 - 80% ของป่าชนิดต่าง ๆ  ที่มีอยู่ในภาคนี้ทั้งหมด  ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปทั้งที่ราบและที่เขาสูง  ดินมักเป็นทรายและลูกรัง  ซึ่งจะมีสีค่อนข้างแดง  ในบางแห่งจึงเรียกว่า ป่าแดง  ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีป่าขึ้นตามเนินที่เรียกว่า โคก  จึงเรียกว่า ป่าโคก ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นอยู่กระจัดกระจาย  พื้นป่าไม่รกทึบ  มีหญ้าชนิดต่างๆ และไม้ไผ่ขึ้นอยู่โดยทั่วไป  พันธุ์ไม้ในป่านี้ได้แก่  เต็ง  รัง  พะยอม  มะขามป้อม  เป็นต้น

          2.3 ป่าหญ้า ( savanna forest ) เป็นป่าที่เกิดหลังจากที่ป่าชนิดอื่นๆ ถูกทำลายไปหมด  ดินเสื่อมโทรมต้นไม้ไม่อาจเจริญเติบโตต่อไปได้  พวกหญ้าจึงเข้ามาแทนที่พบได้ทุกภาคในประเทศ  หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา  แฝกหอม  เป็นต้น  อาจมีต้นไม้ขึ้นบ้าง เช่น  กระโดน  กระถินป่า  ประดู่  ซึ่งเป็นพวกทนทานไฟป่าได้ดี

       

      พรรณไม้ที่สำคัญ

      ป่าดงดิบหรือป่าดิบหรือป่าดิบชื้น ( tropical evergreen forest )

      ลักษณะของป่าดงดิบทั่วไป มักเป็นป่าทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ชั้นบนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลยาง ( Dipterocarpaceae ) มักมีลำต้นสูงตั้งแต่ 30 ถึง 50 เมตร  และมีขนาดใหญ่มาก  ถัดลงมาก็เป็นต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง  ซึ่งสามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้  รวมทั้งต้นไม้ในตระกูลปาล์ม ( Palmaceae ) ชนิดต่างๆ พื้นป่ามักรกทึบ  และประกอบด้วยไม้พุ่ม  ไม้ล้มลุก  ระกำ  หวาย ไม้ไผ่ต่างๆ บนลำต้นมีพันธุ์ไม้จำพวก epiphytes เช่น  พวกเฟิร์น  และมอสขึ้นอยู่ทั่วไป  เถาวัลย์ในป่าชนิดนี้มากกว่าในป่าชนิดอื่นๆ

      ในภาคเหนือ   ต้นไม้ชนิดที่สำคัญในป่าชนิดนี้มี
      1. Anisoptera cochinchinensis Laness.           กะบาก
      2. Artocarpus lakoocha Roxb.                         มะหาด
      3. Baccaurea sapida Muel.
      Arg.                      มะไฟ

      4. Bischofia javanica Blume.                           เติม
      5. Cedrela toona Roxb.                                     ยมหอม
      6. Cinnamomum iners Blume.                          อบเชย
      7. Dipterocarpus alatus Roxb.                         ยางขาว
      8. Dipterocarpus costatus Gaertn.f.                ยางปาย
      9. Hopea ferrea
      Pierre.                                      ตะเคียนหนู

      10. Hopea odorata Roxb.                                 ตะเคียนทอง
      11. Lagerstroemia calyculata Kurz.               ตะแบก
      12. Mangifera coloneura Kurz.                       มะบ่วงป่า
      13. Michelia champaca Linn.                          จำปาป่า
      14. Protium serratum Engl.                               มะแฟน
      15. Sandoricum indicum Cav.                          กระท้อน
      16. Schoutedia hypoleuca
      Pierre.                    แดงดง
      17. Semecarpus spp.                                           รัก

      และริมลำห้วยมักมีต้นชมพู่ป่า ( Syzygium spp. ) และดำดง ( Diospyros spp. ) ขึ้นอยู่มาก       ไม้พื้นล่าง ( undergrowth ) ที่มีในป่าชนิดนี้มี  ไม้ไผ่ ( bamboo ) หลายชนิด เช่น  ไม้ฮก ( Dendrocalamus brandisii Kurz. ) ไม้เฮี้ย ( Cephalostachyum virgatum Kurz. ) ไม้ไร่เครือ ไม้ไผ่คลาน ( Dinochloa macllelandi Labill. ) เป็นต้น

      นอกจากนั้นก็มีไม้ในตระกูลปาล์มต่างๆ เช่น  ต๋าวหรือลูกชิด ( Arenga pinnata Merr. )   เต่าร้าง                ( Caryota urens Linn .) และค้อ ( Livistona speciosa Kurz. ) เป็นต้น รวมทั้งเฟิร์นหรือกูด  เฟิร์นต้น และหวาย    ( Calamus spp. )

       

      ในภาคกลาง ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าดงดิบในภาคนี้ มีสภาพคล้ายคลึงกับป่าดงดิบในภาคเหนือ  แต่ไม้ยาง โดยเฉพาะยางขาว  มักจะขึ้นอยู่เป็นหมู่  เป็นพวกล้วนๆ และมีจำนวนมากกว่าในภาคเหนือ  ส่วนไม้ไผ่ที่มีโดยทั่วไปมักเป็นไม้ไผ่หนามหรือไผ่ป่า ( Bambusa arundinacea Wild. ) ในภาคนี้มีป่าดงดิบอีกชนิดหนึ่งที่ถือว่าเป็น sub - type ของป่าดงดิบ  และบางทีเรียกกันว่า ป่าดงดิบแล้ง ( dry evergreen forest ) ซึ่งมีอยู่มากในบางตอนของจังหวัดนครสวรรค์ ( ป่าหัวหวาย ตาคลี ) และจังหวัดสระบุรี - ลพบุรี ( ป่าดงพญาเย็น, ป่าพุแค ) เป็นต้น  พันธุ์ที่มีในป่าชนิดนี้  นอกจากไม้ยางขาว  ไม้ตะแบก  และไม้มะค่าโมง  ซึ่งเป็นไม้สำคัญแล้วก็มีไม้ขนาดกลางและขนาดเล็ก  ซึ่งมีใบค่อนข้างหนา  แข็ง เช่น กะเบากลัก ( Hydnocarpus Kurzii Warb. ) คงคาเดือด          ( Arfeuillear arborescens Pierre. )  เทียนขโมย ( Diospyros spp. )  และแก้ว ( Murraya exotica Linn. ) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก  ในตอนใต้ของภาคกลาง  ในจังหวัดราชบุรี  เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์  ตามเชิงเขาตะนาว-ศรี  ก็มีป่าชนิดนี้อยู่เช่นกัน  และมีไม้พลวง ( Memecylon spp. )  ไม้หว้า ( Syzygium spp. ) ไม้มะเกลือ                 ( Diospyros mollis Griff. )   ไม้จำพวกตะโก ( Diospyros spp. )   ไม้เกตุ ( Manilkara hexandra Dubard. ) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก  ต้นไม้ในป่าชนิด dry evergreen นี้มีทั้งชนิดผลัดใบและไม่ผลัดใบ

       

      ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าดงดิบที่มีสภาพคล้ายคลึงกับป่าดงดิบในจังหวัดภาคกลางและภาคเหนือ รวมทั้งบางตอน  ก็มีป่าดงดิบแล้งด้วย  และในป่าบางป่า เช่น  ป่าดงบางอี่ จังหวัดนครพนม  ก็มีไม้พะยูงขึ้นอยู่มาก

       

       

       

       

       

       

       

       

      ในภาคตะวันออกหรือภาคจันทบุรี ต้นไม้ที่สำคัญมี
      1. Ailanthus Fauveliana Pierre.                       มะยมป่า
      2. Amoora polystachya Hook. F.                     ตาเสือ
      3. Anisoptera spp.                                               กะบาก
      4. Artocarpus lakoocha Roxb.                         มะหาด
      5. Dipterocarpus alatus Roxb.                         ยางขาว
      6. Dipterocarpus baudii Korth.                       ยางขน
      7. Dipterocarpus costatus Gaertn. f.               ยางปาย
      8. Dipterocarpus dyeri
      Pierre.                          ยางกล่อง
      9. Dipterocarpus gracilia Bl.                           ยางเสียน
      10. Dipterocarpus turbinatus Gaertn f.         ยางแดง
      11. Heritiera sp.                                  ชุมแพรก
      12. Hopea ferrea
      Pierre.                                    ตะเคียนหิน
      13. Hopea odorata Roxb.                                 ตะเคียนทอง
      14. Hopea recopei
      Pierre.                                 ชันภู่
      15. Irvingia malayana Oliver.                          กะบก
      16. Lagerstroemia calyculata Kurz.               ตะแบก
      17. Lagerstroemia speciosa Pers.                    อินทนินน้ำ
      18. Phobe paniculata Nees                               สทิด
      19. Sandoricum koetjape Merr.                       กระท้อน

      นอกจากนี้ในจังหวัดจันทบุรี  และตราด  ยังมีต้นยาง  ขนุนนก ( Palaquium obovatum Engl. ) ซึ่งยางเรียกว่า Gutta - percha เอาไปใช้หุ้มห่อสายเคเบิลใต้น้ำ  ต้นรง ( Garcinia Hansburyii Hook. f. ) ซึ่งเอายางไปใช้ทำรงและผสมสี  และต้นสำโรงหรือพุงทะลาย ( Sterculia lychnophora Hance. )  ซึ่งผลใช้รับประทานและส่งเป็นสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  ไม้พื้นล่างในป่าดงดิบของภาคนี้มีแน่นทึบและมีเป็นจำนวนมาก  ที่สำคัญมีหวาย ( Calamus spp. ) ต่างๆ  ระกำ ( Zalacca wallichiana Mart. )   กระวาน ( Amomum krervanh Pierre. ) เร่ว ( Amomum villosum Lour. )  พันธุ์ไม้จำพวกข่า Alpinia spp. ปาล์ม และเฟิร์นต่างๆ

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      ในภาคใต้ มีต้นไม้ในตระกูลยาง ( Dipterocarpaceae ) ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใน genusDipterocarpus ที่สำคัญมี

      1. Dipterocarpus alatus Roxb.                         ยางขาว
      2. Dipterocarpus chartaceus Sym.                 ยางวาด
      3. Dipterocarpus costatus Gaertn. f.               ยางปาย
      4. Dipterocarpus gracilia Bl.                           ยางเสียน
      5. Dipterocarpus grandiflorus
      Blanco.           ยางยูง
      6. Dipterocarpus kerrii Craib.                          ยางมันหมู
      ส่วนต้นไม้อื่นๆ ที่สำคัญที่อยู่ในตระกูล Dipterocarpaceae ก็มี
      7. Anisoptera spp.                                               กะบาก
      8. Balanocarpus heimii King.                          ตะเคียนชันตาแมว

      9. Cotyleloboum lanceolatum Craib.              เคี่ยม
      10. Hopea odorata Roxb.                                 ตะเคียนทอง

      11. Hopea ferrea Pierre.                                    ตะเคียนหิน, เหลาตา
      12. Hopea Pierrei Hance.                  ตะเคียนทราย
      13. Parashorea stellata Kurz.                          โกเบ้
      14. Shorea curtisii Dyer.                                   สะยาแดง
      15. Shorea leprosula Miq.                                 มารันตี
      16. Shorea talura Roxb.                                    พะยอม
      สำหรับไม้ในตระกูลอื่น ที่สำคัญมี
      17. Afzelia bakeri Prain.
      18. Artocarpus lanceifolia Roxb.                    ขนุนปาน
      19. Artocarpus lakoocha Roxb.                       มะหาด
      20. Calophyllum floribundum Hook. f.         ตังหน
      21. Cinnamomum spp.                                       จ๋วง
      22. Dyera costulata Hook. f.                            เยลูตง
      23. Syzygium spp.                                                หว้า
      24. Fagraea fragrans Roxb.                             กันเกรา
      25. Lagerstroemia speciosa Pers.                    อินทนินน้ำ
      26. Litsae grandis Hook. f.                               ทัง
      27. Mesua ferrea Linn.                                       บุนนาก
      28. Schima noronhae Reinw.                           มังตาล
      29. Vatica spp.                                                     พันจำหรือสัก

      สำหรับต้นเยลูตง  สะยาชนิดต่างๆ และตะเคียนชันตาแมวนี้มีเฉพาะในตอนใต้ของภาค  ไม้พื้นล่างในป่าดงดิบภาคนี้  มีแน่นทึบ  และมีพันธุ์ไม้คล้ายๆ ป่าดงดิบจังหวัดจันทบุรี  สำหรับไม้ไผ่นับว่ามีน้อย  โดยเฉพาะในป่าที่เป็นป่า Climax

       

      ปัจจัยที่ก่อให้เกิดป่าไม้ชนิดต่าง

      การที่ป่าไม้ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันนั้น มีอิทธิพลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น  ปัจจัยเกี่ยวกับภูมิอากาศ ( climate factors ) ปัจจัยที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ( topographic factors ) ปัจจัยที่เกี่ยวกับดิน ( edaphic factors ) ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ( biotic factors ) และปัจจัยที่เกี่ยวกับไฟป่า ( forest fire factors )

       

      1. แสงสว่าง ( light ) พืชแต่ละชนิดมีความต้องการแสงในการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหารที่แตกต่างกัน  ดังตัวอย่างพืชชนิด white pine เติบโตได้ดีที่ความเข้มแสง 700 ลักซ์ (lux) เมื่อลองปรับความเข้มของแสงที่ 1830 ลักซ์  ทำให้พืชชนิดนี้ตาย  ความแตกต่างกันของระยะเวลาการสัมผัสแสงก็มีผล  เช่น  พืชบางชนิดชอบพื้นที่ที่รับแสงได้ในระยะเวลาที่กลางวันเท่ากับเวลากลางคืน  แต่เมื่อนำไปปลูกในพื้นที่ที่กลางวันมีระยะเวลายาวกว่าตอนกลางคืนทำให้ไม่ออกดอกแพร่พันธุ์ต่อไปไม่ได้

       

      2. อุณหภูมิ ( temperature ) อุณหภูมิมีผลต่อกลไกของพืช คือ  การคายน้ำ  ต้นไม้แต่ละชนิดสามารถขึ้นและเจริญเติบโตได้ดีในระดับอุณหภูมิที่พอเหมาะ  อุณหภูมิที่เย็นเกินไปหรือร้อนเกินไปจะทำให้พืชไม่สามารถขึ้นอยู่ได้ เช่น  ในแถบขั้วโลกต้นไม้ขนาดใหญ่ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้คงมีแต่พืชเล็กๆ  และตะไคร่น้ำเท่านั้น  ซึ่งมีผลทำให้เกิดเป็นเขตป่าประเภทต่างๆ เช่น  ป่าเขตหนาว  เขตอบอุ่น  หรือเขตร้อนซึ่งมีชนิดพืชที่แตกต่างกัน

       

      3. ความชื้นในบรรยากาศและปริมาณน้ำฝน ( atmospheric moisture and rain ) ในพื้นที่ป่าดงดิบเขตร้อน ( tropical evergreen forest ) มักมีความชื้นและปริมาณน้ำฝนสูงและสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล  ตรงข้ามกับพื้นที่ซึ่งแห้งแล้งและมีปริมาณฝนตกน้อย  สภาพของป่าอาจเป็นทุ่งหญ้าหรือทะเลทรายซึ่งจะไม่มีพืชพรรณชนิดเดียวกับที่พบในป่าดงดิบเขตร้อน

       

      4. สภาพภูมิอากาศ ( climate ) ในพื้นที่ที่มีช่วงระยะของฤดูกาลที่แตกต่างกันจะมีพรรณพืชที่แตกต่างกัน เช่น  ในพื้นที่ซึ่งมีช่วงฤดูแล้งที่ยาวนานกว่าฤดูฝน  พืชที่สามารถขึ้นอยู่ได้จะมีจำนวนน้อยและมักเป็นพืชที่มีขนาดเล็กๆ ซึ่งสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี  เช่น  หญ้าหรือต้นตะบองเพชร  ส่วนต้นไม้ใหญ่ๆ จะมีความต้องการความชุ่มชื้นมาก จึงต้องขึ้นในบริเวณพื้นที่ที่ฤดูฝนยาวนานกว่าฤดูแล้ง  และหากมีฤดูกาลที่ไม่สม่ำเสมอในแต่ละปีก็จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ป่านั้นๆ

       

       

       

      5. สภาพภูมิประเทศ ( site ) สภาพพื้นที่มีผลต่อพืช เช่น  พื้นที่บางแห่งมีความลาดชันสูงมากต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ไม่ได้  บางแห่งมีสภาพเป็นทะเลทราย  ที่น้ำท่วมขัง  สภาพพื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดสภาพของป่าให้แตกต่างกัน   ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี เช่น  ป่าพรุ  จะมีพืชที่ขึ้นได้ดีในดินที่มีความเป็นกรดสูง

       

      6. สภาพของดิน ( soil ) ดินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพืช เพราะเป็นแหล่งอาหารที่พืชใช้ในการเจริญเติบโตและเป็นที่ยึดเกาะของพืชทำให้พืชมีระบบรากที่แตกต่างกัน  สภาพของดินที่มีความแตกต่างกันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

       

      7. สิ่งมีชีวิต การเข้ามาเกี่ยวข้องของมนุษย์และสัตว์มีผลต่อพืช โดยเฉพาะมนุษย์  ความสามารถของมนุษย์มีมาก เนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีในการปรับสภาพแวดล้อม  การหักร้างเพื่อปรับพื้นที่จากป่าไม้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วจากการใช้เครื่องมือทุ่นแรง  สัตว์บางชนิดโดยเฉพาะพวกแมลงยังมีการทำลายป่าไม้ด้วย เช่นมอดป่าจะเป็นศัตรูสำคัญในการทำลายต้นไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น  ไม้สัก

       

      8.  ไฟป่า  เป็นปัจจัยที่ควบคุมให้ป่าบางชนิดคงอยู่   หรืออาจทำให้ป่าบางชนิดเปลี่ยนแปลงไปได้     โดยเฉพาะป่าไม่ผลัดใบจะคงอยู่ได้ต้องมีไฟป่าทุกปี  หรือ 2 - 3 ปีต่อครั้ง  ไฟป่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยเกิดจากฝีมือมนุษย์  ป่าที่ขึ้นทดแทนจะต้องใช้เวลานานจึงจะเปลี่ยนสภาพป่าเป็นป่าชนิดอื่นได้

       

      9. การแก่งแย่งแข่งขันกันในสังคมพืช ต้นไม้ใหญ่บางชนิดต้องการแสงสว่างมาก  ซึ่งขณะที่ยังเป็นลูกไม้เล็กๆ อยู่   ถ้าหากมีต้นไม้อื่นขึ้นอยู่เบียดเสียดหนาแน่น  ลูกไม้ของต้นไม้ชนิดนั้นก็จะไม่สามารถเจริญเติบ

      โตได้   ทำให้ต้นไม้ชนิดนั้นถูกกำจัดออกไปจากป่านั้น    เมื่อมีการแก่งแย่งมากขึ้น   ก็มีผลทำให้สภาพป่าเปลี่ยน

      แปลงไปด้วย

       

      ความสำคัญและประโยชน์ของป่าไม้

      1. เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของวัฏจักร น้ำ  ออกซิเจน  คาร์บอนและไนโตรเจนในระบบนิเวศ ทำให้เกิดความสมดุลแห่งระบบด้วยการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุและสสารในระบบนิเวศ

       

      2. ป่าช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ  เมื่อฝนตก น้ำฝนบางส่วนจะถูกต้นไม้ในป่าดูดซับไว้  แล้วค่อยๆ ปลดปล่อยให้ไหลลงสู่ผิวดิน  อีกส่วนหนึ่งจะซึมลงสู่ดินชั้นล่าง  สามารถลดการพังทลายของดินได้  ลดการกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์  ป้องกันการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และสามารถลดความรุนแรงของการเกิดภาวะ      น้ำท่วม  เนื่องจากต้นไม้ช่วยชะลอการไหลของน้ำบนผิวหน้าดิน  และการมีป่าไม้ปกคลุมดินจะช่วยป้องกันการกัดเซาะได้ดีกว่าปลูกพืชชนิดอื่น ๆ

       

       

      3. ช่วยปรับสภาพบรรยากาศ    เนื่องจากป่าไม้ช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินไว้    ร่มเงาของป่าช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ตกกระทบผิวดินโดยตรง    บริเวณป่าไม้จะมีน้ำที่เกิดจากการระเหยจากใบและลำต้น    กลายเป็นไอน้ำในอากาศจำนวนมาก    อากาศเหนือป่าไม้จึงมีความชื้นมาก    เมื่ออุณหภูมิอากาศลดลง    ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกิดเป็นเมฆจำนวนมาก                สุดท้ายก่อให้เกิดฝนตกลงมาในป่าที่มีต้นไม้

      หนาแน่นและส่งผลให้พื้นที่ใกล้เคียงได้รับน้ำฝน  และทำให้สภาพอากาศที่ชุ่มชื้นแม้กระทั่งในฤดูร้อน  ดังนั้นพื้นที่ที่มีป่าไม้มาก  เช่น  เขาใหญ่  ดอยอินทนนท์  ภูกระดึง  เขาหลวง  จะเห็นว่ามีเมฆปกคลุมอยู่บนภูเขาและจะมีฝนตกมากกว่าบริเวณข้างล่าง

       

      4. ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  ในบริเวณที่ป่าไม้มีความสมบูรณ์ต้นไม้มีรากลึกและชอนไชอยู่ในดิน อินทรียวัตถุจากต้นไม้และสัตว์ป่าจะช่วยปรับโครงสร้างของดินให้มีรูพรุนที่สามารถเก็บกักน้ำได้ดี  น้ำฝนที่ผ่านต้นไม้จะลงสู่ดินในแนวดิ่งแล้วค่อยๆ ไหลซึมกระจายไปตามรากที่แตกแขนงออกไปตามอนุภาคดิน  รูพรุน

      ที่อยู่ในดินเฉพาะรูพรุนขนาดเล็กในเม็ดดินนั้นสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่า  น้ำหนักของเม็ดดินแห้งถึง 3 - 10 เท่า  และน้ำที่กักเก็บไว้นั้น  จะค่อยๆ ปลดปล่อยสู่ชั้นน้ำใต้ดินเพื่อลงสู่แหล่งน้ำลำธาร  ป่าจึงเปรียบได้กับฟองน้ำขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ  ถ้าป่าเกิดในที่สูง  น้ำที่กักเก็บไว้จะค่อยๆ ซึมลงมารวมกันตามหุบเขา  เกิดธารน้ำเล็กๆ มากมาย  และกำเนิดแม่น้ำลำธารที่สามารถมีน้ำใช้ได้  ทุกฤดูกาล เป็นต้น

       

      5. ป่าไม้เป็นแหล่งปัจจัยสี่ ป่าไม้เป็นแหล่งผลิต / ผู้ผลิต  ปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพของมนุษย์     เมือง / ชุมชนเกษตรกรรม  และอุตสาหกรรมที่สำคัญและหาสิ่งอื่นมาทดแทนมิได้  ป่าไม้มีความผูกพันต่อความเป็นอยู่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ได้แก่  การนำไม้มาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน  ที่อยู่อาศัย  เครื่องตกแต่งบ้าน  ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหาร  ซึ่งในเรื่องอาหารมนุษย์ที่ได้รับจากป่าโดยตรง  เช่น  ได้ส่วนของผล เมล็ด  ใบ  ดอก  ลำต้นเป็นอาหาร  และได้รับน้ำผึ้ง  หรือเนื้อสัตว์ป่าโดยทางอ้อม  สมุนไพรหรือยาแผนโบราณที่ใช้รักษาโรค  ส่วนใหญ่ได้มาจากผลิตภัณฑ์ของป่าไม้  ได้มีการนำสมุนไพรจากป่ามาดัดแปลง  สกัดเอาส่วนที่สำคัญ  จากเปลือก  ดอก  ผล  เมล็ด  ราก  นำมาใช้ในการผลิตยารักษาโรคที่ออกมาในรูปของยาเม็ด  ยาน้ำ หรือแคปซูล  เช่น  เปลือกต้นซิงโคน่า  นำมาสกัดทำยาควินินเพื่อรักษาโรคมาลาเรีย

      6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า   ป่าไม้จัดว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหลบภัยที่สำคัญที่สุดของสัตว์ป่า       ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญต่อมนุษย์  เช่น     เป็นอาหาร    ยารักษาโรค    ช่วยขจัดแมลงและประดับป่าไม้ให้เกิดความงดงาม  การทำลายพื้นที่ป่าจึงเสมือนทำลายสัตว์ป่าด้วย

       

      7. เป็นแนวป้องกันลมพาย  เมื่อลมพายุพัดมาปะทะพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางความเร็วและลมพายุจะลดลง  ดังนั้นลมพายุที่พัดผ่านแนวป่าไม้ จะมีความเร็วน้อยกว่าพัดผ่านที่โล่งแจ้ง  ช่วยลดความเสียหายของสิ่งก่อสร้าง  ป่าไม้จึงเป็นกำแพงธรรมชาติที่ช่วยป้องกันความรุนแรงของลมพายุได้

      8. ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ  ธรรมชาติของป่าไม้จะเต็มไปด้วยสีสัน  ความเขียวชอุ่ม  ร่มเย็น ก่อให้เกิดความสบายตาเมื่อพบเห็น  ความสดสวยงดงามของดอกไม้  ความชุ่มชื้น  น้ำในลำธารที่ใสสะอาด ความเงียบสงบจากเสียงรบกวนของชุมชน  ความน่าชมและน่ารักของสัตว์ป่า  ทำให้เขตป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์  ในช่วงวันหยุดต่างๆ จะพบเห็นประชาชนทั้งในท้องถิ่นและในเมืองจำนวนมากเดินทางไปเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจในเขตอุทยานแห่งชาติ  วนอุทยาน  สวนพฤกษศาสตร์ สวนป่า  และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น  ป่าไม้จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างหนึ่งไปด้วย

       

      9. ช่วยลดมลพิษทางอากาศ  เนื่องจากป่าไม้เป็นตัวช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปใช้ในการสังเคราะห์อาหาร  แล้วปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนมาให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลก สมดุลระหว่างคาร์บอนไดออก-

      ไซด์และออกซิเจนในอากาศจึงเกิดขึ้น  และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  พืชในตระกูลสูงสามารถดูดกลืนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  แล้วเปลี่ยนแปลงให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปล่อยออกสู่บรรยากาศแล้ว จึงดึงกลับมาใช้ในการสังเคราะห์อาหารในเวลากลางวัน  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าต้นไม้มีประโยชน์มาก ในการช่วยกำจัดคาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ  ในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีแต่ป่าคอนกรีตและไม่ค่อยมีต้นไม้  อากาศในเมืองจึงมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง  การปลูกต้นไม้มากๆ จะช่วยลดปริมาณก๊าซทั้งสองชนิดนี้ลงได้

      เนื่องจากป่าไม้สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประชาชนได้ทั้งทางตรง และทางอ้อมดังที่กล่าวมาแล้ว การทำลายป่าถือว่าเป็นการทำลายผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน  ป่าไม้เมื่อถูกทำลายลงแล้วยากที่จะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้  ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของเราเองและต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม  โปรดช่วยดูแลรักษาป่าเพื่อให้ป่านั้นๆ มีอยู่และเอื้ออำนวยประโยชน์ตลอดไป

       

      สาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้

      ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง  โดยในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 171 ล้านไร่  หรือร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ  และลดลงเหลือ 81 ล้านไร่  หรือร้อยละ 25.3 ของพื้นที่ประเทศ  ในปี พ.ศ. 2541 และจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณพื้นที่ป่า ทำให้พื้นที่ป่าในปี         พ.ศ. 2543  มีพื้นที่เท่ากับ 106 ล้านไร่  หรือร้อยละ 33.1 ของพื้นที่ประเทศ 

      อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2547  พื้นที่ป่าในประเทศไทยกลับลดลงเหลือ 105 ล้านไร่  หรือร้อยละ 32.5 ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มการลดลงของพื้นที่ป่าที่มีอย่างต่อเนื่องในอนาคต  โดยพื้นที่ที่มีปัญหาการลดลงของป่าไม้มากที่สุดในปัจจุบัน  คือ  พื้นที่ภาคเหนือ  ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคใต้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น  นอกจากนั้นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน  การลดลงของพื้นที่ป่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน  การตัดไม้เพื่อการค้า  รวมทั้งนโยบายของรัฐที่เน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่  การให้สัมปทานการทำไม้  การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ และการเกิดไฟป่า  อาจกล่าวได้ว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมลง  สามารถสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคตได้ดังนี้

       

      1. การทำไม้  ความต้องการไม้เพื่อกิจการต่างๆ เช่น  เพื่อทำอุตสาหกรรมโรงเลื่อย  โรงงานกระดาษ  สร้างที่อยู่อาศัยหรือการค้า       ทำให้ต้นไม้ถูกลอบตัด       และตัดต้นไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย     ทั้งอนุญาตผูกขาดทั้งสัมปทานระยะยาว    ขาดระบบการควบคุมที่ดี   ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมุ่งแต่ตัวเลขปริมาตรที่จะทำออก      โดยไม่ระวังดูแลพื้นที่ป่า      ไม่ติดตามผลการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทานว่า            ได้ดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโตอย่างปลอดภัยหรือไม่          จนในที่สุดได้มีพระราชกำหนด       วันที่    13  ธันวาคม พ.ศ. 2531  ประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ (ป่าบก) ทั่วประเทศไทย  เมื่อเกิดกรณีกระทู้ขึ้นมาและกล่าวโทษว่า   การทำไม้เป็นเหตุทำลายป่า  เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติเช่นนั้นขึ้น

       

      2. การเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ความจำเป็นที่ต้องการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าไม้ในเขตภูเขาจึงเป็นเป้าหมายของการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การบุกรุกพื้นที่ป่าอาจกระทำโดยราษฎรสามารถบุกรุกเข้าครอบครองพื้นที่หลังการทำไม้ได้อย่างง่ายดาย จากการเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   หรือเกษตรกรเหล่านี้ทำการเกษตร    โดยขาดการวางแผน   ในการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเหตุให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้น  ต้องขายที่ดินแล้วอพยพเข้าป่าลึกไปเรื่อยๆ หรือการขายที่ดินผืนใหญ่  ในราคาสูงขึ้นผิดปกติให้แก่นักลงทุนที่สนองนโยบายการท่องเที่ยวด้วยการสร้างรีสอร์ท สนามกอล์ฟ  ยิ่งเป็นเหตุซ้ำเติมให้พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกมากขึ้น

       

      3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก  เช่น  มันสำปะหลัง  ปอ ฯลฯ       โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเกษตรกรรมเพาะปลูก เนื่องจาก

           (1)  พื้นที่ขรุขระไม่สะดวกในการขุดไถพรวน

           (2)  พื้นที่ลาดเอียง และดินง่ายต่อการเกิดกษัยการ

           (3)  ชั้นดินบาง

      หลังจากการเพาะปลูกได้ไม่นาน  พื้นดินที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นทุ่งหญ้าไม่สามารถปลูกพืชได้อีก      ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกด้วยการบุกรุกป่าเพิ่มมากขึ้นอีก  กรณีของการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำก็เช่นกัน  ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนถูกบุกรุกและทำลายลงกว่าครึ่งในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

       

      4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า  กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลายๆ ป่า  ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา  บางแห่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เองยังไม่สามารถชี้แนวเขตได้ถูกต้อง         ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลา  และมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน  ซึ่งช่วงระยะนี้เองการบุกรุกพื้นที่ป่าก็ดำเนินไปเรื่อยๆ กว่าจะรู้แพ้รู้ชนะป่าก็หมดสภาพไปแล้ว

       

       

      5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ  อาทิ  เขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  เส้นทางคมนาคม  การสร้างเขื่อนขวาง  ลำน้ำ จะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์  ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย  เช่น  การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองแสง  อันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วย  สัตว์นานาชนิดนับแสนไร่  ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง  หรือการตัดถนนสายใหม่ บางสายจำเป็นต้องตัดผ่านพื้นที่ป่าไม้  ทำให้สูญเสียไม้และพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก  เป็นการสูญเสียระหว่างการสร้างถนนและหลังจากการสร้างถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว

       

      6. ไฟไหม้ป่า  ประเทศไทยมักเกิดไฟไหม้ป่าในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี  เพราะในฤดูร้อนพวกวัชพืชในป่าหรือจากการผลัดใบของต้นไม้  ใบไม้จะแห้งแล้งและติดไฟง่าย การสูญเสียป่าไม้เกิดขึ้นทุก ๆ ปีในภาคเหนือ  ภาคกลาง  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ไฟป่าอาจเกิด จากการกระทำของคนหรือจากธรรมชาติ  ผลเสียของไฟไหม้ป่าทำลายทรัพยากรป่าไม้ คือ

           (1)   ทำลายต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่

            (2)  ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ  ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง  เนื่องจากฮิวมัสถูกทำลายและบางครั้งเกิดการพังทลายของดินตามมาด้วย

           (3)  ทำให้โรคพืชระบาดกับต้นไม้ได้ง่าย  เนื่องจากบางส่วนของต้นไม้ถูกทำลาย  โรคเห็ด  รา แมลงเจาะไชเป็นไปได้ง่ายขึ้น

           (4)   ต้นไม้ที่หยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว จะถูกต้นไม้อื่นเบียดบังแสงจนทำให้ต้นไม้แคระแกร็นไม่มีประโยชน์

           (5)    ความชื้นในดินถูกทำลาย  เนื่องจากพืชคลุมดินถูกทำลายพืชขาดแคลนน้ำ

       

      7. การทำเหมืองแร่  แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่  มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน  จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง  เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง  การระเบิดหน้าดินเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุเกิดผลทำลายป่าไม้บริเวณใกล้เคียงโดยไม่รู้ตัว

       

      8. การทำลายของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง  สัตว์ทำลายป่าไม้โดย

           (1) กัดกินใบ กิ่ง รากเหง้าหรือหน่อของพืช

           (2) การเหยียบย่ำ จะทำให้ต้นอ่อนของพืชถูกทำลาย  ดินบริเวณโคนต้นไม้ถูกย่ำจนแน่น  โครงสร้างของดินเสียไป  ทำให้พืชเจริญเติบโตช้า  ความเสียหายในประเทศไทยในข้อนี้มีไม่มากนัก  จะมีอยู่บ้างเล็กน้อยในบริเวณจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งมีการเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก

       

       

       

       

       

      9. การทำลายของเชื้อโรคและแมลง  ต้นไม้ในป่าเป็นจำนวนมากที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคและแมลง      จะเกิดการเหี่ยวเฉาแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต  บางชนิดต้องสูญพันธุ์  เช่น  แมลงจำพวกมอดป่า นับว่าเป็นศัตรูป่าไม้ที่สำคัญในเมืองไทย  ได้ทำลายสวนป่าสักในเขตจังหวัดลำปาง  แพร่  สุโขทัย  และจังหวัดอื่น ๆ ให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

       

      10. ความตระหนักและความร่วมมือของประชาชนต่อการอนุรักษ์ยังมีน้อย เนื่องจากยังมีการลักลอบตัดไม้ เพื่อนำไปก่อสร้างบ้านเรือนหรือใช้สอยอื่นๆ หรือเพื่อการเกษตร หรือการเผาพื้นที่ป่าที่มีปรากฏให้เห็นได้เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้การนิยมเครื่องเรือนที่ผลิตมาจากไม้ที่มีค่า เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ชิงชัง ฯลฯ ทำให้ผู้ผลิตต้องเร่งแสวงหาไม้เพื่อสนองความต้องการของประชาชนผู้ซื้อมากขึ้น

       

      ผลกระทบของการทำลายป่าไม้

      1. ทรัพยากรดิน

          1.1 การชะล้างพังทลายของดิน  ปกติพืชพรรณต่างๆ ของต้นไม้  ไม้พุ่ม  วัชพืชต่างๆ  ทุกส่วนของต้นไม้มีบทบาท  ในการช่วยสกัดกั้นไม่ให้ฝนตกถึงดินโดยตรง  ความต้านทานการไหลบ่าของน้ำ  ช่วยลดความเร็วของน้ำที่จะพัดพาหน้าดินไป  มีส่วนของรากช่วยยึดเหนี่ยวดินไว้ทำให้เกิดความคงทนต่อการพังทลายมากยิ่งขึ้น  แต่หากพื้นที่ว่างเปล่าอัตราการพังทลายของดินจะเกิดรุนแรง การสูญเสียดินจะเพิ่มขึ้น

          1.2 ดินขาดความอุดมสมบูรณ บริเวณพื้นดินที่ไม่มีวัชพืชหรือป่าไม้ปกคลุม  การพัดพาดินโดยฝนหรือลมจะเกิดขึ้นได้มาก  โดยเฉพาะบริเวณผิวหน้าดิน

       

                      2. ทรัพยากรน้ำ

          2.1 น้ำท่วมในฤดูฝน  การกระทำใดๆ ที่รบกวนดิน  เช่น  การตัดไม้ทำลายป่า  ไฟป่า  การชักลากไม้  ทำให้ผิวดินแน่น  จำนวนรูพรุนขนาดใหญ่ลดลง  การซึมน้ำผ่านผิวดินลดลง  ก่อให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าผิวดินเพิ่มมากขึ้นจนระบายน้ำไม่ทัน  จะกลายสภาพเป็นอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างได้ไม่มากก็น้อย

          2.2 ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง การแผ้วถางทำลายป่าต้นน้ำเป็นบริเวณกว้างทำให้พื้นที่ป่าไม้ไม่ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ ทำให้เกิดการระเหยของน้ำจากผิวดินสูง แต่การซึมน้ำผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บน้ำภายในดินน้อยลง ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลำธารมีน้อย ลำธารจะขอดแห้ง ความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำปรากฏให้เห็นในปลายปี 2534 - 2536 และต้นปี 2535 - 2537 และปี 2536 ได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับการเกิดสภาวการณ์ขาดแคลนน้ำอย่างกว้างขวาง โดยขอให้ทุกคนประหยัดการใช้น้ำพร้อมกับข้อเสนอ แนะวิธีการใช้น้ำในทุกรูปแบบ เพื่อลดการสูญเสียของน้ำที่ใช้อุปโภค บริโภค

          2.3 คุณภาพน้ำเสื่อมลง  คุณภาพน้ำทั้งทางกายภาพ  เคมี และชีวภาพล้วนด้อยลง  ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง  หรือทำลายพื้นที่ป่า  การปนเปื้อนของดินตะกอนที่น้ำพัดพาด้วยการไหลบ่าผ่านผิวหน้าดินหรือในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากนี้  การปราบวัชพืชหรืออินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในแนวทางเดินของน้ำ  ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและสร้างความสกปรกต่อน้ำได้ไม่มากก็น้อย  และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นทวีคูณซึ่งต่างไปจากพื้นที่ต้นน้ำที่มีป่าปกคลุม  น้ำจะมีคุณภาพดีไหลสม่ำเสมอและมีปริมาณมากพอ ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้  ตะกอนที่อยู่ในแหล่งน้ำหรือลงสู่ทะเล จะทำให้น้ำอยู่ในสภาพขุ่นข้น ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งมีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงไม่สามารถส่องไปได้  เป็นการขัดขวางขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ  ส่งผลกระทบต่อทางประมงในทางอ้อม

       

      3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม

          3.1 ไม่มีราคาแพง  จากการสำรวจความต้องการใช้ไม้ในประเทศ พบว่ามีการใช้ไม้สูงและไม่เพียงพอกับความต้องการ  ผู้ที่ต้องการใช้ก็ต้องลักลอบตัดฟันไม้ในป่า  เมื่อมีความต้องการมากขึ้น  ราคามักจะแพงจึงเป็นเหตุให้เกิดอาชีพขึ้นมาใหม่คือ  การลักลอบตัดต้นไม้มาขาย

          3.2 การอพยพย้ายถิ่น  เนื่องจากพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย  พื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์หรือจากฝนตกหนักพร้อมๆ กับการเกิดการพังทลายของดินลงมาจากพื้นที่ป่าถูกทำลาย  พัดพาบ้านเรือนสิ่งของต่างๆ          และทำลายชีวิตมนุษย์อย่างเตรียมตัวไม่ทัน  การอพยพไปอยู่ถิ่นใหม่จึงเกิดขึ้น  เนื่องจากถิ่นเก่าไม่ปลอดภัยต่อการดำรงอยู่ดังเหตุเกิดในภาคใต่ดังเหตุเกิดในภาคใต้อาชีพขึ้นมา ้บริเวณพื้นที่ ต.กระทูน อ. พิปูน ต. คีรีวงค์ อ. ลานสกา จ. นครศรีธรรมราช   การเกิดภัยแล้งจนต้องอพยพมาหางานทำในถิ่นอื่น

       

      4. การเมือง

          4.1 การปิดป่า  เป็นนโยบายหนึ่งที่รัฐบาลได้กระทำเพื่อป้องกันการทำลายพื้นที่ป่า  ทำให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยกล่าวกันว่ายิ่งปิดป่าก็จะถูกลักลอบตัดฟันไม้ยิ่งขึ้น

          4.2 การหาเสียงกับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้ราษฎรทำกิน  จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายจนเกิดสภาพเสื่อมโทรม  การโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ได้ให้คำมั่นสัญญากับราษฎรไว้ว่า  ถ้าตนเองได้เป็นผู้แทนแล้วจะพยายามหาหนทางให้ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทำกิน เมื่อได้รับการเลือกตั้งก็วิ่งเต้นเพื่อให้ราษฎรได้มีสิทธิ์ตามที่ตนเองได้รับปากไว้  นับว่าเป็นปัญหาการเมืองระดับประเทศที่สำคัญ

          4.3 ต้องซื้อไม้จากต่างประเทศ  แม้ว่าพื้นที่ป่าดังเดิมที่เคยใช้ประโยชน์อย่างอุดมสมบูรณ์ได้ถูกทำลายลง  ต้นไม้ที่จะนำมาใช้ประโยชน์หมดไป  แต่ความต้องการใช้ไม้เพื่อกิจการต่างๆ ยังคงมีอยู่ และยิ่งทวีคูณตามความต้องการมากขึ้น  ทางหนึ่งที่กระทำอยู่ คือ  การซื้อไม้จากต่างประเทศ  ทำให้เงินตราออกนอกประเทศปีละมาก ๆ

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      5. สิ่งแวดล้อมในเมือง/โลก

          5.1 อากาศเสีย  เนื่องจากการหายใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา  หากมีต้นไม้จำนวนมากหรือพื้นที่ป่ามากพอ  ต้นไม้เหล่านี้จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในตอนกลางวันเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง  หรือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น  คาร์บอนมอนอกไซด์จะดูดซับไว้โดยพืชชั้นสูงเหล่านี้  อากาศเสียก็จะไม่เกิดขึ้น

          5.2 น้ำเสีย  การที่มีน้ำน้อยลงในฤดูแล้งของทุกลำห้วย ลำธาร  และแม่น้ำก่อให้เกิดภาวะน้ำเสียหรือใกล้เสียกระจายอยู่ทั่วไป  เพราะมีความเข้มข้นของสิ่งเจือปนในน้ำสูง  การปลดปล่อยของเสียหรือน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาธารณะจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียโดยเฉพาะลำห้วย  ลำธาร  ที่น้ำไหลช้าบริเวณที่ราบ  สิ่งมีชีวิตในน้ำตายและสูญพันธุ์  ขาดน้ำดิบทำการประปา  ขาดน้ำทำชลประทาน  และขาดน้ำจืดไล่น้ำทะเล  เป็นต้น

          5.3 โลกร้อน หรือเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ( Greenhouse Effect )  ปกติก๊าซต่างๆ ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศอยู่เหนือพื้นผิวโลกขึ้นไป 25 กิโลเมตร  ได้รวมตัวกันเข้าเป็นเกราะกำบังพื้นผิวโลกของเราให้มีความอบอุ่นพอเหมาะกับการดำรงชีวิต  ทำหน้าที่คล้ายกระจกในเรือนกระจกหรือ "กรีนเฮาส์" ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ต้นไม้ภายในเรือนกระจกมีชีวิตอยู่ได้  เนื่องจากก๊าซพวกนี้ยอมให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นโลกได้  แต่จะกักเก็บความร้อนบางส่วนเอาไว้มิให้สะท้อนกลับออกไปสู่อวกาศ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะ  ปัจจุบันเกราะกำบังนี้มีความหนาแน่นมากขึ้น  ทำให้สามารถเก็บความร้อนจากการดูดซับรังสีไว้มากขึ้นโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น  กลุ่มก๊าซที่รวมตัวกันเป็นเกราะกำบัง ได้แก่  ก๊าซมีเทน   ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน  คาร์บอนเตตระคลอไรด์  คาร์บอนมอนอกไซด์  และที่สำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีมากที่สุด  การเผาป่าไม้เป็นตัวการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ต้นไม้แต่ละต้นก็จะทำลายการดูดซึม CO2 ไปด้วย  นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำการวิจัยเรื่องบรรยากาศในปัจจุบัน  เชื่อว่าการสะสมตัวของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ใน 60 ปีข้างหน้าและจะทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.5 - 4.5 องศาเซลเซียส

      ผลของปรากฏการณ์เรือนกระจก  ที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นดังกล่าวมีผลกระทบต่อเนื่องคือ

      (1) ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

      (2) ทำให้เกิดอุทกภัย / ความแห้งแล้ง พื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์จะเกิดการแห้งแล้งมากขึ้น สลับกับการเกิดน้ำท่วม

       

       

       

       

       

       

       

      การอนุรักษ์ป่าไม้

      ป่าไม้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีพของมนุษย์ และการคงอยู่ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ จากการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ในทุกส่วนของโลกหรือของประเทศไทย  ทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการสูญเสียและผลที่ได้รับจากการกระทำอันนี้  การดำเนินงานอนุรักษ์ป่าไม้จึงได้รับความสนใจจากภาครัฐบาลและเอกชน           และประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง  การอนุรักษ์ป่าไม้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทำได้ดังนี้

       

      1. การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาต นโยบายป่าไม้แห่งชาติมีอยู่ 20 ข้อที่สำคัญคือ  การกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ  เป็นการกำหนดแนวทางการจัดการและการพัฒนาป่าไม้ในระยะยาวเพื่อประโยชน์ 2 ประการ ดังนี้

          1.1 ป่าเพื่อการอนุรักษ์  กำหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ดิน  น้ำ  พันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ที่หายาก และป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน  ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษา            การวิจัย  และนันทนาการของประชาชนในอัตราร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ  หรือประมาณ 48 ล้านไร่

          1.2 ป่าเพื่อเศรษฐกิจ  กำหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่า  เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ในอัตราร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ  หรือประมาณ 80 ล้านไร่ 

          ป่าอนุรักษ์ หมายถึง  พื้นที่ได้รับการคุ้มครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย  โดยทั่วไปอยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้  ซึ่งพื้นที่เหล่านี้อาจเป็นพื้นที่ป่าไม้ชายฝั่งทะเล  หรือลักษณะอื่นๆ ที่มีระบบนิเวศดั้งเดิม หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ เช่น  การท่องเที่ยว  นันทนาการ การศึกษาวิจัย        ป่าอนุรักษ์ในระดับสากล (IUCN) แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ส่วนในประเทศไทยประกอบด้วย 11 ประเภท ดังนี้

          1. อุทยานแห่งชาติ ( national park ) หมายถึง ที่ดินซึ่งรวมความถึงพื้นที่ดินทั่วไป ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลที่ได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในทางปฏิบัติอุทยานแห่งชาติ คือ พื้นที่ที่สงวนไว้เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ธรรมชาติ ที่สวยงาม สงวนไว้เพื่อให้คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิม เพื่อรักษาสมบัติทางธรรมชาติให้อนุชนรุ่นหลังๆ ได้ชมและ ศึกษาค้นคว้า มีลักษณะที่สำคัญ คือ

               (1)   เป็นสถานที่ที่สภาพธรรมชาติเป็นที่โดดเด่นน่าสนใจและงดงาม

               (2)   มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใด

               (3) โดยทั่วไปต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานที่สงวนรักษาไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน โดยอาจจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น เช่น ถนน หรือเส้นทางไปชมธรรมชาติ ที่พักดูแลและบำรุงรักษา

      ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มต้นแบบการจัดอุทยานแห่งชาติขึ้น  โดยประกาศให้เขตเยลโลสโตน         ( Yellowstone ) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลก ( พ.ศ.2415 ) ต่อมาจึงมีประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทยจัดให้มีอุทยานแห่งชาติขึ้น  ในประเทศของตนตามอย่างสหรัฐอเมริกา     นับถึงปัจจุบันเชื่อว่าทั่วโลกมีอุทยานแห่งชาติแล้วมากกว่า 1,392 แห่ง  สำหรับอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย คือ  อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดนครราชสีมา นครนายก  ปราจีนบุรี  และสระบุรี  นอกจากนี้ยังมีอุทยานแห่งชาติอื่น ๆ เช่น  อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  ตะรุเตา  หมู่เกาะอ่างทอง  เขาหลวง  เป็นต้น

          2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ( wildlife sanetuary ) หมายถึง พื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย  เพื่อว่าสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าวได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้มากขึ้น  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรก คือ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี  ปัจจุบันประเทศไทยได้ประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว 34 แห่ง  รวมพื้นที่ 16,305,294 ไร่  คิดเป็นร้อยละ 5.08 ของพื้นที่ประเทศ

          3. วนอุทยาน (forest park) หมายถึงพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม  มีความเด่นในระดับท้องถิ่น  ซึ่งจัดไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเที่ยวเตร่ของประชาชน  มีการปรับปรุงตกแต่งสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวก  ให้เหมาะสม  หลักทั่วไปในการจัดตั้งวนอุทยาน คือ

      (1) ต้องมีทิวทัศน์ที่สวยงาม

      (2) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ

      (3) มีพื้นที่ประมาณ 500 - 5,000 ไร่

      (4) อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนมากนัก

      (5) เป็นสถานที่ที่ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักกันดี

      วนอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย คือ  วนอุทยานน้ำตกกระเปาะ จังหวัดชุมพร ประกาศจัดตั้ง  เมื่อปี พ.ศ.2501

          4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ( non - hunting areas ) หมายถึงบริเวณที่ที่ราชการใช้ในราชการ หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์  หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าจะประกาศขึ้นเป็นราชกิจจานุเบกษา  กำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิดใดหรือประเภทใดก็ได้  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี  กรมป่าไม้เป็นคราว ๆ ไป

          5. สวนพฤกษศาสตร์ ( botanical garden ) หมายถึง สถานที่ที่ราชการได้รวบรวมพันธุ์ไม้ไว้ทุกชนิดทั้งในและนอกประเทศ  ที่มีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจทางด้านความสวยงาม  และที่หายากมาปลูกไว้โดยแยกเป็นหมวดหมู่  และตระกูลเพื่อการศึกษาวิจัยและการเผยแพร่การขยายพันธุ์  ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและแก่ประเทศชาติสืบไป  สวนพฤกษศาสตร์  ที่สำคัญและคนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี คือ  สวนพฤกษศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี  สวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง จังหวัดตรัง เป็นต้น

          6. สวนรุกขชาติ ( arboretum ) หมายถึง สวนเล็กๆ มีพื้นที่น้อยกว่าสวนพฤกษศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้ต่างๆ ไว้  โดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นนั้น  แต่มิได้ปลูกเป็นหมวดหมู่เหมือนอย่างในสวนพฤกษศาสตร์  แต่มีชื่อพันธุ์ไม้ติดไว้  มีการทำถนนและทางเท้าเข้าชม  จุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการศึกษา  ปัจจุบันมีสวนรุกขชาติที่ดำเนินการอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ มากกว่า 15 แห่ง เช่น  สวนรุกขชาติสกุโณทยาน จังหวัดพิษณุโลก  และสวนรุกขชาติธารโบกธรณี จังหวัดกระบี่ เป็นต้น

          7. พื้นที่สงวนชีวาลัย ( biosphere reserve ) หมายถึง พื้นที่อนุรักษ์สังคมพืชและสัตว์ในสภาวะของระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติ  เพื่อรักษาความหลากหลายทาง  พันธุกรรมและเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน  ทั้งในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป  พื้นที่สงวนชีวาลัยนี้มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาและฝึกอบรมด้วย      ซึ่งพื้นที่เหล่านี้สภาประสานงานนานาชาติด้านมนุษย์และชีวาลัย ( The Man and the Biosphere International Co-ordinating Council ) จะเป็นผู้ประกาศ

          8. พื้นที่มรดกโลก ( world heritage ) หมายถึงพื้นที่ที่มีหรือเป็นตัวแทนทรัพยากร ธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความเด่นในระดับโลก  ซึ่งอาจประกอบด้วยวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของโลก    ( The Earths Evolutionary History ) ขบวนการทางธรณีและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ( Geological Process and Biological Evolution ) ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พิสดาร หรือลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์             ( Superative natural Phenomena ) หรือระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยสัตว์หรือพืชที่หายาก ( Habitat Containing Theatened Species ) มีคุณค่าและความสำคัญทางชีวภาพ  ซึ่งพื้นที่นี้ต้องได้รับการประกาศจาก UNESCO แหล่งมรดกโลกกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลกจนถึงเดือนธันวาคม 2535 มีทั้งหมด 378 แหล่ง  แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 278 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 85 แหล่ง  และเป็นทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 15 แหล่ง  แหล่งมรดกของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติมี 4 แหล่งคือ  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  มรดกบ้านเชียง  และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  ทุ่งใหญ่นเรศวร  การที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง - ทุ่งใหญ่นเรศวร  ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  เนื่องจากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์

      ข้อ 1 คือ มีคุณค่าและความสำคัญทางชีวภาพ

      ข้อ 2 คือ มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์

      ข้อ 3 คือเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าและพรรณพืชนานาชนิด

          9. พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 ( watershed class 1 ) หมายถึง พื้นที่ป่าที่ป้องกันไว้เพื่อเป็นต้นน้ำลำธาร  เป็นแหล่งให้น้ำต่อพื้นที่ตอนล่าง  มักเป็นพื้นที่ตอนบนที่มีความลาดชันมาก  ดินมีสมรรถนะในการพังทลาย เป็นพื้นที่ที่ควรเก็บไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

          10. ป่าชายเลนอนุรักษ์ ( conservation mangrove forest ) หมายถึง ป่าชายเลนที่หวงห้ามไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ใดๆ นอกจากจะปล่อยให้เป็นสภาพธรรมชาติเพื่อรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ  พื้นที่ที่ง่ายต่อการถูกทำลายและการพังทลายของดิน  พื้นที่ป่าที่สมควรสงวนไว้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศเป็นต้น เช่น  กำหนดให้มีพื้นที่ที่อยู่ห่างไม่น้อยกว่า 20 เมตร  จากริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ  และไม่น้อยกว่า 75 เมตรจากชายฝั่งทะเลเป็นป่าชายเลนอนุรักษ์

       

           11. พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ ( natural conservation area ) หมายถึง พื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วย เกาะ แก่ง ภูเขา หนอง บึง ทะเลสาบ ชายหาด ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีสัณฐานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งประกาศตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2532

       

      2. การคุ้มครองป่าไม้  ดังเช่น การออกพระราชบัญญัติคุ้มครองป่าไม้  โดยมีการกำหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งป่าไม้นี้ห้ามกระทำการตัดไม้ที่อยู่ในบริเวณป่าสงวนโดยเด็ดขาด  จากพระราชบัญญัตินี้ทำให้ป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์หรือเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารให้คงความอุดมสมบูรณ์เช่นดังเดิม

       

      3. การควบคุมการตัดไม้  เช่น การให้เอกชนเข้ามาตัดไม้ได้บ้าง  แต่การให้เอกชนเข้ามาตัดไม้นี้จะต้องดำเนินไปควบคู่กับการอนุรักษ์  โดยมีการกำหนดข้อตกลงให้เอกชนจะต้องทำการปลูกป่าทดแทนและรณรงค์ให้ชาวบ้านในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าในบริเวณที่อยู่

       

      4. การปลูกป่า  นอกจากนี้กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้บริษัททำไม้จังหวัด ฯลฯ ได้ปลูกสวนป่าตั้งแต่ต้นจนถึงปี 2526 ได้ประมาณ 3 ล้านไร่ โครงการป่าชุมชนที่ส่งเสริมให้ราษฎรและชาวไร่ปลูกป่าในที่รกร้างว่าเปล่าหรือที่หัว ไร่ปลายนา เมื่อดำเนินการเต็มรูปแล้วปัญหาเรื่องการขาดแคลนไม้ ไม้ฟืนและไม้ใช้สอยก็จะบรรเทาเบาบางลงได้ อย่างไรก็ดี การที่จะป้องกันรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติล้ำค่าของเรานั้น จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยราชการและประชาชนทุกฝ่าย  มิฉะนั้น ป่าไม้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยอย่างไม่มีปัญหา การให้การศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับชั้น เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ทุกประเภท โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการศึกษานับตั้งแต่ชั้นประถมขึ้นไปจน ถึงระดับมหาวิทยาลัย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสไปเห็น หรือสัมผัสของจริง หรือฝึกงานในภูมิประเทศ จึงจะเกิดความประทับใจขึ้นอย่างจริงจัง สื่อมวลชนอันได้แก่หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจาย เสียง และวิทยุ โทรทัศน์นับว่ามีบทบาทสำคัญมากที่จะช่วยทำให้ประชาชนได้ทราบ และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และให้ความร่วมมือกับรัฐในการอนุรักษ์ยิ่งขึ้น นอกเหนือจากมาตรการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่กระทรวงต่าง ๆ ถือปฏิบัติอยู่ให้สอดคล้องไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายจะสงวนและรักษาป่าไม้ไว้ให้ได้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ ส่วนกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายจะเปิดที่ป่าไม้เพื่อให้ราษฎรทำกิน กระทรวงคมนาคม ตัดเส้นทางผ่านป่าไม้ที่สมบูรณ์ โดยมิได้วางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำให้ป่าไม้สองข้างทาง คมนาคมถูกบุกรุกทำลายอย่างรุนแรงเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก กระทรวงอุตสาหกรรม อนุญาตให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตร เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โดยมิ ได้ประสานงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่าที่สมบูรณ์จึงถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยเป็นจำนวนมาก

       

       

       

       

      5. การป้องกันไฟป่า ( prevention of forest fire )  มีหลักการดังนี้

           5.1 การป้องกันไฟป่า ( prevention of forest fire )  หลักในการป้องกันไฟป่า ในประเทศไทย ควรมุ่ง ป้องกันคนมิให้ก่อไฟขึ้นโดยการรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ ออกกฎหมายควบคุมไฟป่าที่มุ่งด้านการป้องกันมากกว่าการปราบปราม

          การจัดการเชื้อเพลิงเพื่อลดอันตรายจากไฟป่า หมายถึง การควบคุมเชื้อเพลิงในด้านเกี่ยวกับปริมาณ การเรียงตัว ความต่อเนื่อง การติดไฟ และอัตราการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในป่า สำหรับในประเทศไทย วิธีการที่เหมาะสมคือการเผาตามกำหนด (prescribed burning) เพื่อลดอันตรายของเชื้อเพลิง และการทำแนวกันไฟ (fire breaks) เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ

            5.2 การตรวจหาไฟป่า ( detection of forest fire ) วัตถุประสงค์ของหน่วยงานควบคุมไฟ คือ การป้องกันไฟเท่าที่จะทำได้ และดับไฟในขณะที่ยังเป็นขนาดเล็ก โดยต้องตรวจพบทันทีที่เกิดไฟขึ้น และรู้สถานที่ที่เกิดไฟอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งส่งสัญญาณและข้อมูลทั้งหมดไปยังหน่วยดับไฟ เพื่อออกปฏิบัติการ ถ้าการตรวจหาไฟไม่มีประสิทธิภาพ ไฟที่เกิดขึ้นจะขยายการลุกลาม จนในที่สุดหน่วยดับไฟอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ การตรวจหาไฟจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมีแผน โดยใช้วิธีการต่างๆ ที่จะเป็นไปได้ เช่น การเดินตรวจทางพื้นดิน การสังเกตการณ์จากหอดูไฟ และการตรวจหาไฟทางอากาศ หรือความร่วมมือจากหน่วยต่างๆ ในการรายงานการเกิดไฟ เป็นต้น

            5.3 การเตรียมการดับไฟ ( pre - suppression of forest fire )  หน่วยงานควบคุมไฟป่าต้องเตรียมพร้อมก่อนที่จะเกิดไฟ เพื่อที่จะออกปฏิบัติงานได้ทันที ประกอบด้วย การฝึกอบรมและสร้างความร่วมมือจากชุมชน การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ การประเมินอันตรายไฟ การสื่อสารและการขนส่ง แหล่งน้ำ รวมถึงการสร้างแนวกันไฟ ( fire breaks ) และแนวควบคุมไฟ ( fire line )

                   แนวกันไฟ หมายถึง สิ่งกีดขวางที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติหรือสิ่งกีดขวางที่มนุษย์สร้างขึ้นก่อนเกิดไฟซึ่งกระทำได้โดยการตัดถาง และขนย้ายสิ่งที่จะติดไฟออกหมดเป็นแนวกว้างพอประมาณ แนวกันไฟดังกล่าวใช้สำหรับสกัดการลุกลามของไฟผิวดิน และหากเป็นไปได้อาจใช้เป็นทางลำเลียงกำลังคน และเครื่องมือต่างๆ ในการดับไฟ แม่น้ำ ลำธาร บ่อ ถนน และอื่นๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวกันไฟ

                    แนวควบคุมไฟ หมายถึง คำรวมๆ ที่เรียกสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ หรือโดยมนุษย์ก่อสร้างขึ้นและกระทำที่ขอบไฟ เพื่อที่จะควบคุมไฟมิให้ลุกลามต่อไป

             5.4 การดับไฟป่า ( forest fire suppression ) ไฟเกิดจากกระบวนการทางเคมี ไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่างคือ เชื้อเพลิง ( fuel ) ความร้อน ( heat ) และ ออกซิเจน ( oxygen ) ถ้าขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็จะไม่เกิดไฟ ดังนั้นการดับไฟจึงเป็นการทำลายสามเหลี่ยมไฟ กระทำโดยกำจัดด้านใดด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมไฟ กล่าวคือ กำจัดเชื้อเพลิงโดยการทำแนวควบคุมไฟ ( control line ) ลดความร้อนโดยใช้น้ำ หรือดินโคลนสาด พ่นน้ำหรือสารเคมีคลุมออกซิเจน ซึ่งการฉีดพ่นน้ำจะเกิดควันสีขาวป้องกันออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยา

            ขั้นตอนในการดับไฟ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย                               

         - วิธีการสร้างแนวควบคุม ( control line method ) พยายามกำจัดเชื้อเพลิงออกไปโดยการใช้เครื่องมือ หรือเครื่องกล ในการกำจัดเชื้อเพลิงเพื่อมิให้เชื้อเพลิงต่อเนื่อง

                                         - วิธีดับไฟทั่วพื้นที่ ( area method ) วิธีการนี้ใช้น้ำหรือสารเคมีโปรยจากเครื่องบินทั่วพื้นที่วิธีการเผากลับ ( back firing )

                                         - การดับไฟแบบการเผากลับ ( back firing ) วิธีนี้ใช้ในที่ราบ มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงก่อนที่ไฟจะลุกลามมาถึง หลักการของวิธีนี้เป็นการสู้ไฟด้วยไฟ ( flight fire with fire ) นั่นเอง

       

      การสร้างแนวควบคุมมี  3  วิธี


      1. วิธีสู้ไฟโดยตรง

      2. วิธีสู้ไฟแบบขนาน 

      3. วิธีสู้ไฟโดยทางอ้อม

       

      6. การใช้ไม้อย่างประหยัด ใช้วัสดุอื่นแทนไม้ หรือการนำเศษไม้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่  เพราะการตัดต้นไม้ใหญ่  1  ต้นนั้น  จะต้องปลูกทดแทนขึ้นถึง  1,000  ต้น  ดังนั้นหากมีการตัดต้นไม้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตไม่ทันแก่การใช้งาน  เอกชนหลายแห่งนิยมนำเศษไม้มาแปรรูปเพื่อกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง  เช่น  ไม้อัดเป็นต้น

       

      7. การปรามปราบผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า  การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากการที่ชาวบ้านบุกรุกเข้าไปในเขตป่าสงวน  แผ้วถางป่า  และจัดสรรเป็นที่ดินทำกินของแต่ละบุคคล  เมื่อมีการบุกรุกเพิ่มมากขึ้นจะนำมาซึ่งนายทุนที่จะจ้างให้คนในพื้นที่เข้าไปแผ้วถางป่า  หรือซื้อที่ดินของคนในพื้นที่  จากนั้นจึงนำไปออกเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินนั้น  โดยอาจมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องบางกลุ่มบุคคลรู้เห็นในการกระทำผิดครั้งนี้ด้วย  จากพฤติการณ์ข้างต้นที่กล่าวมาสามารถก่อให้เกิดปัญหาด้านการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ได้อย่างมาก  ดังนั้นการปราบปรามผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการอนุรักษ์ป่าไม้ได้  แต่ก็มิใช่การแก้ปัญหาที่สาเหตุจึงไม่สามารถแก้ไขผู้บุกรุกได้อย่างถาวร

       

      8. การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของป่าไม้ โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากป่าไม้ถูกทำลาย เช่น ปัญหาอุทกภัย ที่เกิดจากการที่ไม่มีป่าไม้รองรับน้ำเมื่อเวลาฝนตก ทำให้น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็ว และไหลเข้าท่วมที่อยู่อาศัยของคนในพื้นที่นั้น

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×