ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    ลำดับตอนที่ #5 : ความขัดแย้งทางสังคม และความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 519
      0
      25 เม.ย. 54

     ปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติมี ๓ ระดับ คือ

           ระดับความขัดแย้งในขั้นต้น เป็นความขัดแย้งเฉพาะหน้า ที่ต้องประเมินสถานการณ์ว่าจะเกิดความรุนแรงหรือไม่ และมีทิศทางอย่างไร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ ทหารสามารถเข้ามาคลี่คลายสถานการณ์ได้ 

           ระดับความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในระบบต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งต้องแก้ปัญหาที่ระบบ  และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
     
           ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดและการดำเนินวิถีชีวิตที่มีความแตก ต่างกัน  ซึ่งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับนี้ต้องอาศัยระยะเวลา และต้องให้ความสำคัญกับคนทุกเชื้อชาติและทุกวัฒนธรรมความขัดแย้งของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและแนวทางแก้ไข 

           -  การปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการเปิดกว้างให้สามัญชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างโดยมีชนชั้นกลางเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น และส่วนหนึ่งของข้าราชการที่มาจากชนชั้นกลางนี้กลายเป็นกลุ่มเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากการปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างที่   ทุกฝ่ายคาดหวัง แต่กลับนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการ ปฏิวัติรัฐประหารในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง และเมื่อ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้นำพาประเทศเข้าสู่กระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามแนวทางชาติตะวันตก มีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น และมีการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่มาจากนายทุนนอกระบบราชการจำนวนมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงโครงสร้างอีก ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมมักจะนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างเสมอ เช่นเดียวกับที่สังคมไทยประสบ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลายครั้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง จนประเทศชาติขาดความมั่นคง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมาตราบจนถึงปัจจุบัน 

           -  ในห้วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยเจริญเติบโตทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการกระจายรายได้ยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเมืองและชนบทอย่างมาก  ทั้งนี้การพัฒนาและการปฏิรูปในแต่ละครั้งที่ดำเนินการโดยละเลยชาวบ้านในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยิ่งเพิ่มช่องว่างของความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้มีมากขึ้น จนกระทั่งการเมืองไทยในระยะหลังได้มีการดำเนินนโยบายที่กระจายผลประโยชน์ไป สู่ชนบทด้วย "นโยบายประชานิยม" ซึ่งเป็นการเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าให้ความนิยมเนื่องจากได้รับการดูแลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยที่ประชาชนเหล่านั้นมิได้คำนึงว่าผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมิใช่  การพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะที่ประชาชนในเมืองโดยเฉพาะปัญญาชนเห็นว่า นโยบายดังกล่าวไม่ชอบธรรมเพราะเป็นการนำภาษีจากรายได้ของพวกตนไปให้กับชาวชนบท จึงต่อต้านแนวนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางความคิดที่ลุกลามนำไปสู่การรัฐประหารในปี๒๕๔๙  ในที่สุด

           -  สังคมไทยมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ แต่แนวคิดในอดีตไม่ให้การยอมรับในความหลากหลายจึงมีการใช้นโยบายผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติเพื่อให้เกิดความกลมกลืนเป็นไทย  โดยมิได้คำนึงถึงแนวคิดของกลุ่มชนเชื้อชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิด ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในกรณีพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลในอดีตได้เคยดำเนินนโยบายให้มีการผสมกลมกลืนให้เกิดความเป็นไทย ทำให้ชาวไทยมุสลิมเกิดความรู้สึกขัดแย้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์บานปลายดังที่เห็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาครัฐมีการยอมรับในความหลากหลาย และได้ตระหนักแล้วว่าการที่แต่ละเชื้อชาติดำรงอัตลักษณ์เดิมของตนนั้นเป็น แนวทางเชิงบวกเนื่องจาก ความหลากหลายของเชื้อชาติก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรม และความหลากหลายของภูมิปัญญาซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหาต่างๆในแต่ละพื้นที่

           -  ปัจจุบันโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สังคมไทยโดยเฉพาะในชนบทรู้ ไม่เท่าทันองค์ความรู้ดังกล่าว อีกทั้งทุนนิยมแบบใหม่กำลังรุกล้ำเข้าสู่ชนบทท้องถิ่นโดยมีการละเมิด ทรัพยากร- ธรรมชาติในพื้นที่ป่า ลุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล ฯลฯ ผ่านอำนาจอนุมัติของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทรัพยากรเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนชีวิตซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน ไทยทั้งชาติ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งแก่สังคมไทย โดยประชาชนในเมืองหรือในศูนย์กลางประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้แต่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอและอาจจะไม่สามารถรวมพลังเพื่อปกป้องสิทธิได้ อีกทั้ง "การถ่วงดุล" อำนาจอธิปไตยของไทย ๓ ด้าน คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ยังเข้าไปถ่วงดุลในระดับท้องถิ่นได้ไม่ทั่วถึง  ดังนั้นการถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพด้วยการรวมพลังแสดงสิทธิปกป้องทรัพยากร จึงควรมาจากระดับท้องถิ่นทั้งระดับ  อบต. หรือ อบจ. และที่สำคัญยิ่งคือประชาชนในท้องถิ่น  โดยรัฐต้องให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งต้องทำให้การปกป้องสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้การปกป้องสิทธิจะเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังภาคประชาชน แต่ก็มักนำไปสู่ความขัดแย้งในพื้นที่เสมอ ดังเห็นได้จาก กรณีการปะทะกันระหว่างประชาชนกับตำรวจในการคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา   การประท้วงของคนในชุมชนมาบตาพุด 
    เป็นต้น 
           - การแก้ไขหรือบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ควรนำแนวทางสันติวิธีมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เนื่องจากแนวทางสันติวิธีคำนึงถึงความมั่นคงอย่างสมดุลในทุกมิติ การบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรม  สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ จริยธรรม และความเท่าเทียมเสมอภาค  รวมถึงความรู้สึกของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นหลักการที่ควรรณรงค์ให้ประชาชนทุกเพศและวัย มีความเข้าใจในแนวทางสันติวิธีและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ทุกระดับที่ตนเผชิญ อย่างไรก็ตาม การนำไปปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ดุลยพินิจตีความโดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้อาจจะ สร้างเงื่อนไขใหม่ในการแก้ปัญหาและอาจจะนำความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรงของ เหตุการณ์ได้  ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า ในบางสถานการณ์เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้กฎหมายหรือแนวทางสันติวิธีได้ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและต้องการวิธีแก้ไขที่เด็ดขาดและทันท่วงที 
     
           -  กระบวนทัศน์ (paradigm) ของความมั่นคงแห่งชาติ (National Security) ในปัจจุบันอาจจะไม่สามารถนำมาจัดการปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างและกระแสโลกาภิวัฒน์ได้เช่นในอดีต ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการมองสังคมไทยในมิติของ สังคมเสี่ยง (Risk Society) ที่ มีสมมติฐานคือ ความไม่แน่นอน  สิ่งที่เคยถูกเชื่อว่ามีประโยชน์หรือเป็นโอกาสในอดีต ปัจจุบันกลับถูกพิสูจน์ว่าเป็นโทษหรือเป็นภัยคุกคาม  ประเทศส่วนหนึ่งในโลกไม่คำนึงถึงกฎกติกาสากล ทำให้ระบบระหว่างประเทศล้มเหลว สังคมโลกจึงควรพัฒนาระบบพหุภาคีให้มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยปัญหาส่วนหนึ่งที่ได้รับจากภาวะสังคมเสี่ยงซึ่งเป็นเรื่อง ที่น่ากังวลใจคือความทันสมัยตามกระแสโลกาภิวัฒน์ส่งผลให้สังคมไทยรวมทั้งชาว ชนบทต้องการความเป็นอยู่ที่ดีและทัดเทียมในรูปแบบเดียวกันกับสังคมเมือง โดยมิได้คำนึงถึงรากเหง้าของความเป็นสังคมเกษตรกรรม อู่ข้าวอู่น้ำของโลก และมีภูมิปัญญามากมายอันมีค่าของบรรพบุรุษ  จึงควรปลุกจิตสำนึกของชาวชนบทให้กลับมาภูมิใจในความเป็นเกษตรกรและปลูกจิตสำนึกของคนในสังคมเมืองให้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นสังคม เกษตรกรรม รวมทั้งให้ประชาชนชาวไทยตระหนักโดยพร้อมเพรียงกันว่า โลกาภิวัฒน์ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือตัวอย่างของการรับมือกับโลกาภิวัฒน์ได้ ดีที่สุดในปัจจุบัน 


    สรุป

           สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "สงครามวัฒนธรรม" (Culture Wars) หรือ "ความขัดแย้งระหว่างระหว่างอารยธรรม" (The Clash of Civilizations) ซึ่งเป็นผลมาจากกระแส "การปะทะระหว่างอารยธรรม" ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยอคติ และความคลางแคลงใจระหว่างศาสนา เชื้อชาติและวัฒนธรรม และนำมาซึ่งการแตกแยกทางสังคมระหว่างประเทศ และในประเทศ การขัดแย้งกันทางเชื้อชาติ ศาสนา

           ดังนั้นการจัดการสังคมและวัฒนธรรมบนความหลากหลายจะต้องมีเอกภาพของคนในชาติและรัฐของตน ในขณะเดียวกันการใช้สันติวิธีผ่านกระบวนการต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ว่า และการยอมรับการคงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติ 


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×