ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิชาการต่างๆ ค่า

    ลำดับตอนที่ #1 : [วรรณคดีวิจักษ์] ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 18.42K
      12
      4 ก.พ. 53

    เนื้อเรื่องย่อ

    เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

     

                    เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยพระเจ้าพันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอยุธยา ขุนไกรพ่ายแพ้กับนางทองประศรีมีบุตรชายชื่อพลายแก้ว ต่อมาขุนไกรต้องโทษประหารทำให้นางทองประศรีพาพลายแก้วหนีราชภัยไป ทำให้ต้องจากพิมพิลาไลยและขุนช้างซึ่งเป็นเพื่อนเล่นกันแต่เด็ก ต่อมานางพิมพิลาไลยได้พบกับพลายแก้วขณะที่พลายแก้วบวชเณร ที่วัดป่าเลไลยก์ ทั้งสองลักลอบได้เสียกันขณะที่พลายแก้วยังบวชเณรอยู่ส่วนขุนช้างผู้มีหน้าตาอัปลักษณ์แต่ร่ำรวยมากก็หลงรักนางพิมพิลาไลยตั้งแต่เยาว์วัยพยายามให้นายเทพทองมารดาไปสู่ขอ นางพิมเกรงว่ามารดาคือนางศรีประจันจะยกตนให้ขุนช้างจึงแจ้งข่างให้พลายแก้วมาสู่ขอตนทั้งสองจึงได้แต่งงานกันแต่หลังจากเข้าหอได้เพียงสองวันพลายแก้วต้องนำทัพรบกับพระเจ้าเชียงใหม่จำต้องจากนางพิมพิลาไลยไป ขุนช้างพยายามคิดหาอุบายเพื่อให้นางมาเป็นเป็นภรรยาตนให้ได้ นางพิมพิลาไลยตรอมใจเรื่องพลายแก้วจึงล้มป่วยหนักจึงจำต้องเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ขุนช้างส่งข่าวเท็จว่าพลายแก้วเสียชีวิตในสนามรบแล้วนางศรีประจันมารดานางวันทองจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง เพราะเกรงว่าจะถูกริบเป็นม่ายหลวง แต่นางวันทองเชื่อว่าพลายแก้วยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ยอมตกเป็นภรรยาของขุนช้าง นางรอจนพลายแก้วชนะศึกกลับมาพลายแก้วได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนและได้ภรรยาใหม่ชื่อนางลาวทอง นางวันทองหึงหวงมากจนเกิดการวิวาทกัน ขุนแผนเข้าข้างนางลาวทอง และพานางลาวทองไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรี นางวันทองเสียใจมากคิดว่าขุนแผนหมดรักตนแล้วและนางถูกบังคับให้เข้าหอกับขุนช้างและตกเป็นภรรยาของขุนช้างในที่สุด ขุนแผนได้ชิงตัวนางวันทองไปจากขุนช้าง ขุนช้างโกรธมาก ในตอนที่ขึ้นเรือนขุนช้าง ขุนแผนได้นางแก้วกริยาเป็นภรรยา นางเป็นธิดาเจ้าเมืองสุโขทัยซึ้งบิดานำมาขัดดอกไว้เพราะเป็นหนี้ขุนช้าง ขุนแผนพานางวันทองเร่ร่อนไปอยู่ป่านานจนตั้งครรภ์ได้เจ็ดเดือนแล้วจึงพาไปหาพระพิจิตร และให้พระพิจิตรพาไปมอบตัวพระพันวษาได้ตัดสินให้ขุนแผนชนะความได้นางวันทองคืน แต่ต่อมาขุนแผนได้ขอพระราชทานนางลาวทองคืน พระพันวษากริ้วมากจึงรับสั่งให้จำคุกขุนแผน นางวันทองจะไปเยี่ยมขุนแผน ขุนช้างให้บ่าวมาฉุดนางวันทองนางอยู่กับขุนช้างจนคลอดลูกชายชื่อว่า พลายงาม ขุนช้างแค้นมากเมื่อรู้ว่าพลายงามเป็นลูกขุนแผนจึงลวงไปฆ่าในป่าแต่โหงพรายบริวารขุนแผนมาช่วยไว้นางวันทองจึงส่งให้พลายงามไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามเติบใหญ่รับราชการได้ความดีความชอบแต่งตั้งเป็นหมื่นไวยนารถ ขุนช้างเมาเหล้ามีเรื่องทะเลาะวิวาทกับพลายงามกับนางศรีมาลาขุนช้างถูกพลายงามทำร้ายจึงไปถวายฎีกากล่าวโทษ สมเด็จพระพันวษาทรงไต่สวนและให้ดำน้ำพิสูจน์ ขุนช้างแพ้จึงมีรับสั่งประหารชีวิต แต่นางวันทองขอให้พลายงามกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ พลายงามเห็นแกมารดาจึงทูลขอชีวิตขุนช้างไว้

                    พลายงามคิดถึงมารดาซึ่งยังอยู่กับขุนช้าง จึงคิดจะพานางมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้า พ่อ แม่ ลูก พลายงามลอบขึ้นเรือนขุนช้างพานางวันทองหนีแต่ก็เกรงขุนช้างจะเอาผิด วันรุ่งขึ้นจึงให้บ่าวไปบอกว่าตนป่วยหนักอยากดูหน้าแม่ แล้วขอให้แม่มาอยู่ด้วยสักพักแล้วจึงค่อยส่งกลับ ขุนช้างโกรธจึงถวายฎีกาต่อสมเด็จพระพันวษากล่าวโทษพลายงาม พระพันวษากริ้วที่พลายงามลอบขึ้นเรือนผู้อื่นทำเหมือนว่าบ้านเมืองไร้กฎหมายและทรงเห็นว่าเรื่องนางวันทองนี้ไม่จบสิ้น จึงรับสั่งให้นางเข้าเฝ้าฯ พระองค์ตรัสถามว่านางเลือกที่จะอยู่กับใคร นางตกใจประหม่าจนไม่อาจตัดสินใจได้ สมเด็จพระพันวษาจึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตนางนางวันทองด้วยเหตุที่ว่าเป็นหญิงสองใจไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกอยู่กับผู้ใด

     

     

    คุณค่าด้านวรรณศิลป์

                กระบวนกลอนที่ใช้ในเรื่องสามารถสื่ออารมณ์สะเทือนใจอันเกิดจากโชคชะตาของตัวละครได้เป็นอย่างดี มีการใช้ภาพพจน์ทำให้สร้างจินตนาภาพในการอ่านได้ดี ใช้การเปรียบแบบอุปมาที่ชัดเจนสร้างจินตภาพได้นอกนี้ยังปรากฏภาพพจน์แบบสัทพจน์มีรสวรรณคดีที่หลากหลายทำให้ดำเนินเรื่องดี มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ชีวิตในลักษณะต่างๆ ดังนี้ หาสยรส เป็นรสวรรณคดีที่แสดงความตลกขบขันอันเกิดจากพฤติกรรมของตัวละคร ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนาน ศฤงคารรส การพรรณนาความรักต่างๆ มีการใช้รสวรรณคดีแบบพิโรธวาทัง ที่แสดงความโกรธ เกรี้ยวกราดของตัวละคร มีการเล่าเรื่องแบบย่อนความหลังให้ผู้อ่านปะติดปะต่อเรื่องได้ ตัวละครแต่ละตัวจะเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ตนได้มีส่วนในการรับรู้เรื่องราวตอนนั้นโดยแสดงอารมณ์ความรู้สึกและทรรศนะของตนที่มีต่อเหตุการณ์ในอดีตด้วย
    คุณค่าด้านสังคม
                   
    แสดงค่านิยมและความเชื่อของคนในสังคมสมัยอยุธยาซึ่งแม้ ว่าจะไม่อาจประเมินข้อเท็จจริงทางสังคมได้เช่นเดียวกันกับเอกสารทางประวัติ ศาสตร์  แต่วรรณคดีเรื่องนี้ก็เป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นโลกทัศน์ของครอบครัวขุน นางในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ว่ามีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหา กษัตริย์อย่างสุดสูงเพียงใด สะท้อนให้ว่าในสังคมสมัยนั้นกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยึ่งมีอำนาจ อยู่เหนือกฎหมายและสะท้อนให้เห็นในสมัยนั้นจะมีการตีฆ้องบอกเวลาและจะมี เรื่องเกี่ยวความเชื่อเช่นเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ คาถาอาคม เรื่องโชคชะตาดวงของคน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×