>> "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช" - >> "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช" นิยาย >> "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช" << : Dek-D.com - Writer

    >> "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช" <<

    เหล่า "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช" ควิดดิช (Quidditch) อาจเป็นคำที่สร้างความงุนงงแก่คนที่ไม่คุ้นเคยกับโลกแห่งเวทมนตร์คาถาตามจินตนาการของ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์หนังสือพ่อมดน้อย แฮร์รี่ พอตเตอร์

    ผู้เข้าชมรวม

    910

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    910

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ก.ค. 50 / 12:33 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้







    หัวข้อ : เหล่า "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช"


    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      หัวข้อ : เหล่า "มักเกิล" แห่ตั้งทีม "ควิดดิช"


      ควิดดิช (Quidditch) อาจเป็นคำที่สร้างความงุนงงแก่คนที่ไม่คุ้นเคยกับโลกแห่งเวทมนตร์คาถาตามจินตนาการของ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์หนังสือพ่อมดน้อย แฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เกมกีฬาชนิดนี้เป็นเกมยอดนิยมที่สุดในโลกของพ่อมดแม่มด  และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่สาวกของพอตเตอร์ทั้งหลาย

      ส่วนโลกของมักเกิล ความนิยมนี้ก่อรูปก่อร่างมาเป็นเวลาช้านานแล้ว นับแต่พ่อมดน้อยเปิดตัวสู่โลกวรรณกรรม  และจำเป็นที่พวกมักเกิลอย่างเราๆ  ควรทำความรู้จักเสียหน่อย เพื่อต้อนรับบทอวสานของพ่อมดน้อย   ซึ่งเล่มที่  7 "Harry Potter and the Deathly Hallows" เพิ่งวางแผงทั่วโลกไปเมื่อวันเสาร์

      ควิดดิชเป็นกีฬาที่เล่นกันกลางอากาศ โดยพ่อมดแม่มดนักกีฬาฝ่ายละ  7 คน ต้องขี่ไม้กวาดร่อนกันกลางสนามขนาด  500x180 ฟุต โดยปลายสนามแต่ละด้านจะมีห่วง 3 ห่วง  สูงต่ำต่างกัน ห่วงนี้คือ จุดทำคะแนนสำหรับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่ต้องขว้างลูกบอล "ควัฟเฟิล" ข้ามห่วง นอกจากการทำคะแนนและป้องกันการเสียคะแนน แต่ละทีมยังมีผู้เล่นที่ต้องทำหน้าที่ทำลายเกมหรือทำร้ายคู่แข่ง โดยมีบอลอีกทีมละ  1 ลูกเป็นอาวุธ และผู้เล่นอีกฝ่ายละ 1 คน มีหน้าที่บินจับลูกบอลจิ๋วบินได้

      แต่ในเมื่อเป็นเพียงมนุษย์เดินดิน หรือที่โลกเวทมนตร์ เรียกกันว่าพวกมักเกิล  ที่ไม่รู้จักคาถาและไม่มีไม้กวาดวิเศษ เกมของพ่อมดจึงต้องถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับขีดความสามารถของมักเกิล ไม้กวาดนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่ยังต้องรักษาไว้  แม้จะไม่ช่วยทำให้บินได้ ส่วนลูกบอล 4  ลูก จะถูกปรับไปตามกฎกติกาที่พัฒนาและประยุกต์กันใหม่

      นักศึกษามิดเดิลเบอรีคอลเลจในสหรัฐอเมริกา ได้รับเครดิตว่า เป็นกลุ่มแรกที่ตั้งชมรมควิดดิชขึ้น เมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี 2005 ตามด้วยมาร์ลโบโรคอลเลจ และยังมีสถานศึกษาอีกหลายแห่งที่กำลังพัฒนาทีมควิดดิชของตนขึ้น เช่นที่ โอเบอร์ลินคอลเลจ, วาสซาร์คอลเลจ, ทูเลนยูนิเวอร์ซิตี และแมรีวอชิงตันคอลเลจ

      สตีเฟน ดิวอี นักศึกษาหนุ่ม ผู้ก่อตั้งและประธานชมรมตามหานักผจญภัยแห่งบัคเนลล์ยูนิเวอร์ซิตี ในเมืองลิวอิสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย  ก็กำลังจัดตั้งทีมควิดดิชประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน โดยขณะนี้มีนักควิดดิชร่วมอุดมการณ์ราว 40 คนแล้ว

      ดิวอีให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เขาวางแผนจะจัดการแข่งขันอย่างเป็นทางการขึ้นครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้  โดยมหาวิทยาลัยให้เงินมา  150  เหรียญฯ  เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ เช่น ห่วงฮูลาฮู้ป และลูกวอลเลย์บอล ซึ่งจะใช้แทน "ควัฟเฟิล"

      แน่นอนว่า การเล่นต้องถูกปรับให้เข้ากับตัวผู้เล่น ที่ไม่ได้เป็นพ่อมดหรือแม่มดเหมือนในหนังสือ ส่วนกฎกติกานั้นเป็นกฎข้อบังคับที่ทีมควิดดิชของมหาวิทยาลัย ร่วม 10 แห่งในสหรัฐใช้เหมือนกัน นั่นคือดัดแปลงโดยยึดหลักการตามที่โรว์ลิงเขียนไว้ในหนังสือ

       นักศึกษาด้านดนตรีและศึกษาศาสตร์ วัย  20  ปี บอกว่า ควิดดิชของมักเกิลนั้นจะผสมผสานเกมกีฬา และการละเล่นหลายอย่างไว้ด้วยกัน  ทั้ง "แตะแข็ง, ดอดจ์บอล, จานร่อน และบาสเกตบอล" ที่สำคัญผู้เล่นทุกคนต้องขี่ไม้กวาดไว้ตลอดเวลาที่ร่วมการแข่งขัน

       ทีมหนึ่งๆ  จะมีผู้เล่น  12-15  คน แต่อยู่ในสนามได้พร้อมกันไม่เกิน 7 คน ประกอบด้วย "คีปเปอร์"  ทำหน้าที่คล้ายผู้รักษาประตูฟุตบอล แต่เปลี่ยนมาเป็นผู้รักษาห่วงแทน, "เชสเซอร์" 3  คน หน้าที่คือการทำคะแนนด้วยการทำให้ควัฟเฟิลผ่านห่วงใดห่วงหนึ่งใน  3  ห่วง, "บีตเตอร์" 2 คน มีหน้าที่ตีลูก "บลัดเจอร์" หรือในโลกของมักเกิลก็คือ  "ดอดจ์บอล"  ใส่ฝ่ายตรงข้าม และสุดท้ายคือ "ซีกเกอร์" มีอยู่เพียงคนเดียว และต้องรับหน้าที่สำคัญคือไล่จับ "สนิชสีทอง" ซึ่งมีปีกบินได้

      เกมของโลกพ่อมดนั้น  การทำให้ควัฟเฟิลผ่านเข้าห่วงของฝ่ายตรงข้าม  จะมีคะแนน 10 แต้ม และหากจับลูกสนิชได้ ทีมนั้นจะได้เพิ่ม 150 แต้ม การแข่งขันจะถือเป็นสิ้นสุด

      ส่วนเกมของมักเกิล  การให้คะแนนจะแตกต่างกันไปตามกฎที่พัฒนากันขึ้นเอง  ในกรณีของควิดดิชของบัคเนลล์ เมื่อควัฟเฟิล หรือลูกวอลเลย์บอล ผ่านห่วงจะได้ 10 แต้มเหมือนกัน

      กติกาอื่นที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ก็เช่น เชสเซอร์ที่ไม่มีบอล ต้องไล่แย่งควัฟเฟิลจากอีกทีม โดยต้องหลีกเลี่ยงบลัดเจอร์ หรือจานร่อนจากบีตเตอร์ของคู่แข่ง   แต่หากผู้เล่นคนใดโดนบลัดเจอร์ คนนั้นจะต้องอยู่นิ่งเป็นเวลา 5 วินาที และหากเชสเซอร์คนนั้นถือลูกควัฟเฟิลอยู่ก็จะต้องปล่อยลูก

      ส่วนซีกเกอร์ แทนที่จะตามไล่จับลูกสนิชบินได้ ก็เปลี่ยนเป็นวิ่งไล่จับลูกบอลที่แขวนติดอยู่บนหลังของนักวิ่งรายหนึ่ง กฎง่ายๆ  มีอยู่ว่าผู้เล่นคนอื่นนอกจากซีกเกอร์จะไล่จับลูกสนิชไม่ได้ และบีตเตอร์ก็ห้ามโดนควัฟเฟิล   ส่วนเชสเซอร์ก็ห้ามโดนบลัดเจอร์   ขณะเดียวกันเชสเซอร์ซึ่งมีหน้าที่ทำแต้มนั้นจะไม่สามารถเคลื่อนที่หากถือลูกควัฟเฟิลอยู่

      ทันทีที่สนิชถูกจับ  ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า  15 นาที เกมเป็นอันยุติ ทีมที่จับสนิชได้จะได้แต้มเพิ่มอีก 50 แต้ม


      ดิวอีซึ่งออกตัวไว้ก่อนว่า เขาจะไม่ได้ลงเล่นในเกมเปิดสนาม   บอกด้วยว่า  ผู้เล่นควิดดิชจะต้องมีความเป็นนักกีฬาอยู่ในตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวซีกเกอร์ ซึ่งต้องใช้ทักษะไม่ต่างจากนักวิ่งครอสคันทรี

      กติกาการแข่งขันเท่าที่ดูก็น่าสนุก  แต่ชุดการแข่งขันนี่สิ   หลายคนอาจต้องคิดหนัก เพราะชุดแข่งขันสุดประหลาด  ซึ่งมีทั้งแว่นตาดำน้ำ และเสื้อคลุมที่ทำจากม่านในห้องน้ำและผ้าปูที่นอน

       เมื่อครั้งที่ชมรมควิดดิชของมหาวิทยาลัยคัดตัวนักกีฬาใหม่ๆ   "บางคนก็มองด้วยความฉงนฉงาย" ดิวอีว่า นั่นอาจเป็นเพราะความอยากรู้อยากเห็น ถึงแม้ดิวอีจะสงสัยว่า คนเหล่านี้อาจเป็นแฟนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ อยู่ก็ได้

      "คนพวกนี้อาจจะอยากรู้ว่า   ผมจะทำมันเป็นเกมการแข่งขันได้ยังไง"  เขาคุย  "การวิ่งไปมาโดยขี่ไม้กวาดไว้ด้วย เรียกความสนใจจากพวกนักศึกษาได้มากอย่างน่าแปลกใจเชียวครับ"

      หากมักเกิลชาวไทยสนใจ จะลองตั้งทีมควิดดิชแข่งแบบเขาบ้างก็คงไม่ว่ากัน.




      แหล่งข้อมูล http://www.yenta4.com/webboard/2/1113571.html

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×