ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ในหลวง - เรียงความ - กลอน - เนื้อหา - ฯลฯ

    ลำดับตอนที่ #29 : [แนวพระราชดำริ]-ฝายต้นนำ้ำ ฝายแม้ว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.2K
      1
      9 มี.ค. 53

                                   

    ฝายต้นน้ำ หรือ ฝายภูมิปัญญา หรือ ฝายดักตะกอน หรือฝายชะลอน้ำ หรือฝายแม้ว


      ภาษาอังกฤษเรียกเพียงอย่างเดียวว่า ( Check Dam )                




    ประโยชน์


    1.       ช่วยกักน้ำไว้ในลำห้วย  เป็นการยืดระยะเวลาไม่ให้น้ำในลำห้วยแห้งเร็วเกินไป ซึ่งธรรมชาติของน้ำ

    จะไหลลงสู่ที่ต่ำ แต่เมื่อมีสิ่งมากักไว้  ก็จะค่อยๆไหลลงอย่างช้าๆ  น้ำจึงยังมีอยู่ในลำห้วยได้อีกระยะหนึ่ง

    2.       ช่วยสร้างความชื้นในดิน และยืดระยะเวลาไม่ให้ดินแห้งเร็วเกินไป ทำให้สิ่งมีชีวิตในดิน และพืชต่างๆ

     สามารถเจริญเติบโต สร้างความแข็งแรงให้กับตัวมันเอง ทำให้สามารถอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ระยะหนึ่ง      ( ช่วงของความแห้งแล้งสั้นลง ) และยังเป็นแนวกันไฟได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

    3.       ช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำ ไม่ให้พัดพาหน้าดิน หรือสร้างความเสียหายให้แก่ตอนล่าง เป็นการ

    ลดความรุนแรงของการปะทะของกระแสน้ำที่ไหลลงสู่เบื้องล่าง

    4.       ช่วยดักตะกอน หรือสิ่งที่ไหลมากับกระแสน้ำ ไม่ทำให้แหล่งน้ำตอนล่างตื้นเขินเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

    5.       ช่วยเพิ่มระดับน้ำในดินให้สูงขึ้น จนบางแห่งสามารถทำให้น้ำในดิน ขึ้นมาอยู่บนดินได้


    คุณลักษณะเฉพาะสำหรับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ

                    1. ลำห้วยไส้ไก่ คือลำห้วยสาขาเล็กๆที่มีความกว้างไม่เกิน 3 เมตร สามารถสร้างฝายแม้วได้ และไม่ค่อยเสียหายมากนัก เพราะกระแสน้ำไม่ค่อยรุนแรงมาก

                    2. ลำห้วยเล็กๆ 2 ลำห้วยมาบรรจบกัน หรือลำห้วยที่มีความกว้างเกินกว่า 3 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร หรือในลำห้วยที่มีสภาพเป็นแก้มลิง  ควรทำเป็นฝายกึ่งถาวร ( รูปที่ 2 รูปที่ 8 และรูปที่ 12 )

                    3. ลำห้วยที่มีความกว้างเกินกว่า 5 เมตร แต่ไม่เกิน 7 เมตร ควรทำเป็นฝายถาวร คือฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก  แต่ต้องมีท่อสำหรับดูดทรายออกจากหน้าฝาย เพื่อป้องกันการตื้นเขินของฝาย

                    4. ลำห้วยที่กว้างเกินกว่า 7 เมตร หรือแม่น้ำ ไม่ควรสร้างสิ่งกีดขวางใดๆ เพราะจะทำให้เป็นที่กีดขวางทางเดินของน้ำ ซึ่งจะเกิดภาวะน้ำท่วม (ปกติ น้ำท่วมอยู่แล้ว เพราะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าไม่มีสิ่งกีดขวาง น้ำก็จะลดลงเร็วขึ้น ระยะเวลาที่น้ำท่วมสั้นลง แต่ถ้ามีสิ่งกีดขวางมากเท่าไรระยะเวลาที่น้ำท่วมขังก็จะยาวนาน)



    การบำรุงรักษา 
    หลังช่วงหน้าฝน
      ฝายแม้ว เป็นฝายที่ชะลอน้ำไว้ในลำห้วยไม่ให้ไหลลงสู่เบื้องล่างไปเร็วกว่าปกติ
    ดังนั้น การขึ้นไปตรวจในช่วงที่น้ำในลำห้วยยังมีอยู่ 
    จะเป็นการกักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่เบื้องล่าง เป็นการยืดระยะเวลาให้น้ำได้มีอยู่ในลำห้วยให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
    ถ้าฝายแม้วลูกใดชำรุดในช่วงหน้าฝน ก็จะได้ซ่อมแซม
    และควรมีการทำเพิ่มตรงจุดที่เห็นว่าจะสามารถกักน้ำไว้ได้ 
    ซึ่งพื้นที่ต้นน้ำใดที่มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ก็จะใช้เวลาประมาณ 
    5-7 ปี ก็สามารถฟื้นสู่สภาพที่สมบูรณ์ได้ 
    แต่ต้องทำเพิ่ม และซ่อมแซมทุกปี


    ฝายแม้วไม่ใช่ของแปลกใหม่ แต่เป็นภูมิปัญญาที่คนในอดีต สร้างขึ้นเพื่อ

    1.       กักน้ำไว้ใช้เมื่อถึงฤดูแล้งที่ในลำห้วยมีปริมาณน้ำน้อยลง

    2.       กั้นน้ำเข้าในพื้นที่การเกษตร เช่น ไร่ นา



    >>
      ฝายคอนกรีตสมัยใหม่

            -   ราคาแพง
    -    สร้างเพื่อเก็บน้ำเพียงอย่างเดียว 
    -  
    ปิดเส้นทางการเดินของสัตว์น้ำ  เมื่อถึงฤดูน้ำหลากไม่สามารถขึ้นไปวางไข่ในพื้นที่ที่เหมาะสมได้
    -  เป็นที่ขวางทางเดินของน้ำ ทำให้น้ำท่วมเมื่อเกิดน้ำป่าไหลหลาก 
    - กั้นดิน โคลน และทราย ที่ปนเปื้อนมากับน้ำ ทำให้เกิดการตื้นเขินเร็วขึ้น  ต้องทำการขุดลอก ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศซ้ำสอง

    >>>>ฝายภูมิปัญญา
    -  สร้างขึ้นด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่นไม้ หิน ( ไม่ใช่กระสอบทราย )
    จึงไม่สามารถกั้นทางน้ำได้อย่างสนิท นอกจากน้ำที่ไหลล้นบนสันฝายแล้ว
    ยังไหลลอดรูระหว่างก้อนหิน  ระหว่างไม้  
    -  ทำให้เป็นช่องทางที่สัตว์น้ำสามารถว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นสู่บริเวณที่เคยวางไข่ 
    หรือบางที ก็ใช้ช่องว่างของฝายเป็นที่วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน เป็นการขยายพันธุ์ไปด้วย  



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×