ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักปรัชญาคนสำคัญของโลก

    ลำดับตอนที่ #2 : เพลโต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.65K
      2
      13 ก.พ. 49



    เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, ในภาษาอังกฤษ: Plato) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์

    เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้

    ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราติสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้่างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราติส และส่วนใดเป็นของเพลโต

    ผลงาน

    ประเด็นหลัก
    ในงานเขียนของเพลโต เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับรูปแบบของการปกครองทั้งแบบเจ้าขุนมูลนาย และแบบประชาธิปไตย เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับผลของสิ่งแวดล้อมกับผลของพันธุกรรม ต่อสติปัญญาและอุปนิสัยของมนุษย์ ซึ่งการโต้เถียงนี้เกิดขึ้นมานานก่อนการโต้เถียงเรื่อง "ธรรมชาติหรือการเลี้ยงดู" ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของฮอบบส์ และล็อก และยังมีผลต่อเนื่องมาถึงงานเขียนที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งเช่นหนังสือ The Mismeasure of Man และ The Bell Curve เรายังจะพบข้อคิดเห็นที่สนับสนุนอัตวิสัยและปรวิสัยของความรู้ของมนุษย์ ที่มีผลมาถึงการโต้เถียงสมัยใหม่ระหว่างฮูม และคานท์ หรือระหว่างนักหลังสมัยใหม่นิยมและผู้ที่ไม่เห็นด้วย กระทั่งเรื่องราวของเมืองหรือทวีปที่สาปสูญเช่นแอตแลนติส ก็ยังถูกยกมาเป็นตัวอย่างในงานของเพลโต เช่น Timaeus หรือ Critias.


    อภิปรัชญาของเพลโต: ลัทธิเพลโต หรือ สัจนิยม

    ผลงานที่เป็นที่จดจำที่สุด หรืออาจเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเพลโต ก็คืออภิปรัชญาแบบทวิภาค ที่มักเรียกกันว่า (ในอภิปรัชญา) ลัทธิเพลโต หรือ (ถ้าเรียกให้เกินจริง) สัจนิยม    อภิปรัชญาของเพลโตได้แบ่งโลกออกเป็นสองมุม คือ โลกของรูปแบบ (form) และโลกที่รับรู้ได้ เขามองว่าโลกที่รับรู้ได้ รวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ในนั้น คือ สำเนาที่ไม่สมบูรณ์แบบจาก รูปแบบ ที่คิดคำนึงได้ หรือ แนวความคิด   โดยที่รูปแบบเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลง และอยู่ในสภาวะสมบูรณ์แบบเสมอ   การทำความเข้าใจกับรูปแบบเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญา หรือความเข้าใจเท่านั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดของการแบ่งแยกนี้ได้มีการค้นพบมาก่อนหน้าเพลโนในปรัชญาของโซโรแอสเตอร์ โดยเรียกว่าโลกมินู (ปัญญา) และ โลกกีติ (สัมผัส) รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับรัฐอุดมคติ ที่โซโรแอสเตอร์เรียกว่า ชาห์ริวาร์ (เมืองอุดมคติ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×