แนะนำแพทย์แผนไทยประยุกต์...ฮับ - แนะนำแพทย์แผนไทยประยุกต์...ฮับ นิยาย แนะนำแพทย์แผนไทยประยุกต์...ฮับ : Dek-D.com - Writer

แนะนำแพทย์แผนไทยประยุกต์...ฮับ

โดย Pharjung

แนะนำคณะนี้ฮับ..ความจริงเปิดมา 3 ปีแล้วแต่ดูเหมือนไม่ค่อยมีคนรู้ ก็เลยไปหาข้อมูลมาฝาก ฮับ

ผู้เข้าชมรวม

34,230

ผู้เข้าชมเดือนนี้

6

ผู้เข้าชมรวม


34.22K

ความคิดเห็น


497

คนติดตาม


2
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  10 พ.ค. 53 / 13:13 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ


    หวัดดีค่า วันนี้ Pharjung จะมาแนะนำคณะหนึ่งให้น้องๆรู้จักนะคะ คิดว่าน้องๆอาจจะพอได้ยินมาบ้างแล้ว คณะนี้เริ่มรับนักศึกษาครั้งแรกเป็นโครงการพิเศษ เมื่อปี 2546 ก็ตอนสมัยพี่อยู่ปี 2 นั่นแหล่ะ
    เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาลงให้น้องๆสาวก webเด็กดี ได้อ่านกัน ลองอ่านดูนะ แต่พี่ก็ไปหาข้อมูลมาจากแผ่นพับแนะนำคณะน่ะ ก็เลยไม่ได้ให้รายละเอียดได้มากเท่าไร

    ลองอ่านดูนะ ( ".)




    แพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต เป็นบุคคลากรประเภทหนึ่งที่ปฎิบัติงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สามารถให้การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย บุคคลากรในสาขานี้จะได้รับการศึกษาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ต่อจากนั้นจะศึกษาความรู้ความสามารถเพียงพอในการให้บริการทางด้านการแพทย์แผนไทย

        ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ปรมาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีความพยายามที่จะฟื้นฟูและพัฒนาแพทย์แผนไทยซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่าของไทย ในปี พ.ศ. 2523 โดยได้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมขึ้น และเปิดโรงเรียนเพื่อสอนการแพทย์แผนไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า โรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) รวมทั้งเปิดคลินิกเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบแพทย์แผนไทย ต่อมาได้พัฒนาหลักสูตรเป็นการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และในปี พ.ศ. 2546 หน่วยงานทั้งหมดได้โอนย้ายมาสังกัดคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรียกชื่อว่า สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์

    ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)

    ชื่อย่อ พท.บ. (B.TM.)

    ปรัชญาของหลักสูตร
        เสริมสร้างความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติตามเกณฑ์มาตรฐานของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข และเน้นคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    ระยะเวลาการศึกษา
        ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี

    ตัวอย่างวิชาที่เรียน
    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาตร์
    ชีวะ เคมี ฟิสิกส์ สถิติ

    กลุ่มวิชาภาษา
    ภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยในการแพทย์แผนไทย

    กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    มนุษยศาสตร์บูรณาการ มนุษย์กับสังคม

    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน
    กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน สรีรวิทยาและชีวเคมีพื้นฐาน พยาธิวิทยาพื้นฐาน เภสัชพฤกษศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชวิทยาพื้นฐาน กายพินิจและโรควินิจฉัย

    หมายเหตุ : วิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ จะเรียนที่คณะเภสัชศาสตร์ มหิดล

    กลุ่มวิชาการแพทย์แผนไทย
    เวชกรรมแผนไทย
    เภสัชกรรมแผนไทย
    หัตถเวชกรรมแผนไทย
    ผดุงครรภ์



    แนวทางการจัดการศึกษา



        มีการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษีและปฏิบัติ ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาจะเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของสาขาวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่วิทยาเขตศาลายา ชั้นปีที่ 2และ 3 นักศึกษาจะเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิชาการแพทย์แผนไทยควบคู่กัน การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะศึกษาและฝึกปฏิบัติงานทางด้านการแพทย์แผนไทยในคลินิกอายุรเวท หอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลในภูมิภาคที่เป็นสถานฝึกปฏิบัติทางด้านการแพทย์แผนไทย

    สำเร็จการศึกษาแล้วได้อะไร และทำอะไรได้บ้าง

    ได้รับปริญญาการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต
    มีสิทธิ์ขอสอบขึ้นทะเบียนและสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์

    ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ในหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย หรือประกอบอาชีพอิสระ (ส่วนตัว)

    สอบถามรายละเอียดได้ที่ : สถานการณ์แพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 02-419-7000 ต่อ 6425, 6429

    หรือ ที่ http://www.si.mahidol.ac.th/thaimed




    ก็ลองเข้ามาดูนะคะ อาจเป็นแนวทางหนึ่งให้แก่น้องๆได้บ้าง.............

    ปล. ถ้าน้องถามคำถามที่พี่พอจะตอบได้ก็จะตอบให้แต่ถ้าตอบไม่ได้จะพยายามหาคนมาตอบให้นะ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเข้ามาตอบอ๊ะเปล่า

    ก็เห็นว่าคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สาขา ความผิดปกติฯ ซึ่งพี่คิดว่าเป็นคณะน้องใหม่ล่าสุดของมหิดล มาเปิดตัวแล้ว ก็เลยส่งคณะนี้มาเปิดตัวบ้าง

    น่าสนใจทั้งคู่เลย........เนอะ .....น้องๆคิดว่าไง??? ( ".. )



    --------------------------------------------------------------------------------

    ไม่ค่อยได้เข้ามา up date ข้อมูลเสียเท่าไร แต่ตอนนี้พี่ได้ข้อมูลเพิ่มก็นะ....นำมาจากเว็บไซต์คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลค่ะ อ้างอิง http://www.si.mahidol.ac.th/th/

    หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

      ชื่อหลักสูตรและชื่อปริญญา

    การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พท.บ.)
    (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine : (B.TM.)

      วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    เพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติตามเกณฑ์มาตรฐาน
    ของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเน้นคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    (๑) มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพเพียงพอต่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วย
    ตนเอง การติดตามวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาต่อเนื่อง และการวิจัย

    (๒) มีวิจารณญาณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลตาม
    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ แบบองค์รวม

    (๓)สามารถผสมผสานและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาการแพทย์แผนไทยกับวิชาการแขนง
    ต่างๆในการปฏิบัติงานและการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนมีมนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถ
    ทำงานร่วมกับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    (๔) มีโลกทัศน์กว้าง ทันสมัยและทันเหตุการณ์

    (๕) มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีงาม ต่อการประกอบวิชาชีพ และต่อสังคม

      คุณสมบัติของผู้เข้าสมัคร

    เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติ
    ตามระเบียบการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือหรือ
    ตามระเบียบการสอบคัดเลือกของโครงการพิเศษของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    และ/หรือตามระเบียบการสอบคัดเลือกของโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยมหิดล

      ระยะเวลาการศึกษา

    ใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปีการศึกษา และให้ศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างมากไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา

      รายละเอียดหลักสูตร

    หลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร   ๑๕๔  หน่วยกิต






    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×