กะเพราตำรับยาแก้ท้องอืด - กะเพราตำรับยาแก้ท้องอืด นิยาย กะเพราตำรับยาแก้ท้องอืด : Dek-D.com - Writer

    กะเพราตำรับยาแก้ท้องอืด

    โดย E~DeN^^

    ผู้เข้าชมรวม

    3,794

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    3.79K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.พ. 54 / 10:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้


    โครงงาน

    เรื่อง กะเพราตำรับยาแก้ท้องอืด

    วิชา กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์

     

     

    จัดทำโดย

    นางสาว ญารินี   เหล่ากาสี  เลขที่ 10

    นางสาว อารียา    จำปาแก้ว  เลขที่ 42

    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

     

    ครูที่ปรึกษาโครงงาน

    คุณครู ปราณปรียา  คุณประทุม

     
    โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา

    อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      โครงงาน

      เรื่อง กะเพราตำรับยาแก้ท้องอืด

      คณะผู้จัดทำ

      1. นางสาว ญารินี    เหล่ากาสี  เลขที่ 10

      2.นางสาว อารียา    จำปาแก้ว  เลขที่ 42

             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

       

      อาจารย์ที่ปรึกษา

       คุณครู ปราณปรียา    คุณประทุม

          โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา

      อำเภอแก้งคร้อ    จังหวัดชัยภูมิ                    

       

      บทคัดย่อ

                 การทำโครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการทราบว่าใบกะเพรามีสรรพคุณแก้อาการท้องอืด แน่นท้องได้  โดยการศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลและทดลองโดยการทำน้ำกะเพราโดยนำใบกะเพรามาต้มดื่ม ผลการศึกษาและทดลอง พบว่ากะเพราช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เพราะใบกะเพราประกอบด้วย Linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม และในใบมีน้ำมันหอมระเหยอยู่เป็นจำนวนมาก

       

       

       

                                        กิตติกรรมประกาศ

                   โครงงานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความช่วยเหลือและสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่าย    ผู้จัดทำโครงงานรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่งและขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย  นางสาว ปราณปรียา   คุณประทุม อาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาให้ความรู้ คำปรึกษา ข้อเสนอแนะทางวิชาการ และ ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้สามารถมีความรู้ในการศึกษาและทำโครงงาน   คุณยายทองดัด   ปราบพาลา ที่ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสมุนไพรไทย  เพื่อน ๆ ในห้องชั้น ม.4/2 ทุกคน ที่ได้ให้คำปรึกษา และเป็นกำลังใจ

                  คุณพ่อ คุณแม่ พี่ น้อง ทุกคนที่คอยให้การสนับสนุน ช่วยเป็นกำลังใจ และส่งแรงใจในการทำโครงงานมาโดยตลอด

                     

                                                                                                                                                         

       

      คณะผู้จัดทำ

      นางสาว ญารินี  เหล่ากาสี

      นางสาว อารียา จำปาแก้ว

      12/2/2554

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

                                             ที่มาและความสำคัญ

      คนไทยรู้จักกะเพรามานานแล้ว ซึ่งเป็นผักสวนครัว ใบมีกลิ่นหอม ใช้แกงกิน นั่นคือกะเพราในวัฒนธรรมไทย ซึ่งปัจจุบัน ฐานะของกะเพราก็ไม่แตกต่างไปจากเดิม คือเป็นพืชซึ่งใช้เป็นอาหารและยังสามารถใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องขึ้น ช่วยย่อยอาหารได้ และจากการที่ข้าพเจ้าพบเห็นคนแก่ในหมู่บ้านนำใบกะเพรามาต้มดื่มพบว่าอาการจุกเสียดนั้นทุเลาลง ข้าพเจ้าจึงมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า ใบกะเพรานั้นมีสรรพคุณแก้โรคท้องอืด แน่นท้องได้และพวกเราจึงได้ทำโครงงานชิ้นนี้ขึ้นมา

       

       

       

       

       

       

      เพิ่มเติม

      1. ถ้าใช้กะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า
      2. จำไว้ว่า กะเพราเป็นสมุนไพรธาตุร้อน ถ้าดื่มน้ำกะเพราไปแล้วเกิดอาการร้อนใน ให้ลดปริมาณ น้ำกะเพราลง
      3. อาการหนักประมาณ 6 - 7 แก้ว และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง ดื่มเฉพาะหลังอาหาร มื้อละ 1 - 2 แก้ว แต่ไม่ควรเกิน 4 แก้วต่อวัน
      4.  ยาสมุนไพรไทย ใช้เวลารักษานานถึงจะหาย ต้องกินเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องทานยาเคมีสังเคราะห์เข้าช่วยเลย

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      กะเพรา

       ชื่ออื่น: กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง)

      ลักษณะ:  กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราขาว กะเพราแดง กะเพราลูก (ผสมระหว่างกะเพราขาวและแดง) แตกกิ่งก้าน ใบ เดี่ยว แผ่นใยมีขน ดอก ช่อ ถ้ากะเพราแดงกลีบดอกสีชมพู กะเพราขาวกลีบดอกสีขาวผล ขนาดเล็ก ใน 1 ดอกย่อย จะให้ผลย่อย 4 ผลส่วนที่ใช้ ใบและยอด รสเผ็ดร้อน

      สรรพคุณน่ารู้ : กระเพรา   ส่วนที่ใช้ :ใบ เมล็ด ราก

      สรรพคุณ:ใบ : ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่งประกอบด้วย linalool และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ให้ใช้ใบสด หรือยอดอ่อนสก 1 กำมือ มาต้มให้เดือดแล้วกรองน้ำดื่ม แต่ถ้าใช้กับเด็กทารกให้เอามาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์แล้วใช้ทาบริเวณรอบ ๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้า แก้อาการปวดท้องของเด็กได้ และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้ นอกจากนี้ ใบสดยังนำมาผัด หรือนำมาแกงเป็นอาหารได้อีก สำหรับใบแห้ง ใช้ชงกินกับน้ำ แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ และน้ำมันที่ได้จากใบกะเพรานั้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบฌตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด และมีฤทธิ์ฆ่ายุงได้ จะมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง เมล็ด นำไปแช่น้ำเมล็ดก็จะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย ราก ใช้รากที่แห้แล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ


      สรรพคุณ

      1. ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม การที่กะเพราสามารถขับลมได้ เพราะในใบมีน้ำมันหอมระเหยอยู่เป็นจำนวนมาก ใช้กะเพรา 1กำมือ ใบสดประมาณ 20 กรัม ใบแห้ง 4 กรัม ต้มพอเดือด เอาน้ำดื่ม

      2. บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ การที่กะเพราบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ เหตุผลเดียวกับช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลักษณะการรักษาเหมือนกับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อขับลม

                                                                           กะเพรา
            ชื่อท้องถิ่น  กะเพราขาว, กะเพราแดง (ทั่วไป), กอมก้อ (เหนือ)

      ลักษณะของพืช:        เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก  โคนต้นแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและใบมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นหอมฉุนรูปร่างรี
      ปลายใบและโคนใบแหลมหรือมนเล็กน้อย ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยออกรอบแกนกลางเป็นชั้น ๆ
      กะเพราปลูกเป็นพืชสวนครัวมีอยู่ทั่วไป มีกะเพราขาวและกะเพราแดง กะเพราขาวมีส่วนต่าง ๆ                    เป็นสีเขียว
      ส่วนกะเพราแดงมีส่วนต่าง ๆเป็นสีเขียวอมม่วง

      ส่วนที่ใช้เป็นยา :         ใบสดหรือแห้ง

      ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
              เก็บใบสมบูรณ์เต็มที่ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

      รสและสรรพคุณยาไทย:       รสเผ็ดร้อนเป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดทั้งปวง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นแต่งรส

      วิธีใช้:         ใบกะเพราแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดและปวดท้อง โดยใช้ใบและยอดกะเพรา 1 กำมือ(ถ้าสดหนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็กท้องอืด
      หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืด จำนวนยาและวิธีใช้แบบเดียวกันนี้ ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากไม่ปกติได้(กองการประโรคศิลปะ . 2541 : 105-106) โรคกรดไหลย้อน ท้องอืด :: วิธีรักษาด้วยน้ำกะเพรา (สมุนไพรไทย) โรคกรดไหลย้อน ท้องอืด น้ำกะเพราช่วยท่านได้อาการเตือนเบื้องต้นก่อนจะเป็นโรคท้องอืด

      1. มีอาการเรอหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ และเริ่มเหม็นเปรี้ยวขึ้นเรื่อยๆ
      2. ไม่มีการผายลมมาหลายวัน
      3. เริ่มรู้สึกปวดท้องเล็กๆน้อยๆ หลังจากกินอาหารเสร็จ

      สูตรนี้ได้มาจาก นพ.เปี่ยมโชค ชลิดาพงศ์

                                                 ประโยชน์ของกะเพรา
      กะเพรา ช่วยขับลม เป็น Buffer ปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยเร่งการย่อยอาหาร ได้ผลดีเยี่ยมกับคนที่เป็นโรคลำไส้เล็ก เช่น จุกเสียดในลำไส้เล็ก (โรคนี้เวลาเป็นเหมือนถูกแทงด้วยหลาว นั่งอยู่ดีๆก็เจ็บเหมือนถูกแทง หรือถูกต่อย)

       

      วัตถุประสงค์
      1)เพื่อศึกษาสรรพคุณของกะเพรา
      2)เพื่อต้องการทราบว่า ใบกะเพราแก้อาการท้องอืดได้จริง
      3)เพื่ออนุรักษ์สมุนไพรไทยให้อยู่กับคนไทย

      สมมติฐานของการศึกษา    

          - กะเพราสามารถแก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้องได้

      วิธีการศึกษาทดลอง

      ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

      1)           ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ สอบถามจากคนในชุมชน หนังสือและ

      2)           อินเทอร์เน็ต

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      2) ทดลงโดยการทำน้ำกะเพราสมุนไพร

      2.1ขั้นตอนการทดลอง
      1. นำกะเพรา 1 กำ (ทั้งลำต้นและใบ) ประมาณ 1 ขีด มาล้างน้ำให้สะอาด 
      2. ใส่น้ำ 2 - 3 ลิตรลงในหม้อ นำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด
      3. ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มประมาณ 15 - 20 นาที พอน้ำเดือดให้ปิดแก๊สทันที
      4. ดื่มหลังอาหาร 1 แก้ว 250 ml ( ถ้าน้ำกะเพราเย็นลงหรือ ดื่มไม่หมด ให้แช่เย็นไว้ดื่ม)
      5. เมื่อดื่มแล้วสังเกตอาการและดื่มต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์
      6. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ สังเกตอาการแล้วบันทึกผล


       



       

                                                 ภิปรายผล

      ใบสดของมัน มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ ซึ่งประกอบด้วย Linaloolและ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง และน้ำที่เราเอามาคั้นออกจากใบยังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้   รสเผ็ดร้อนเป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดทั้งปวง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้อง ใช้แต่งกลิ่นแต่งรสช่วยขับลม

       

       

       

       

       

      สรุปผลการศึกษาทดลอง
           จากการศึกษาพบว่า กะเพราเป็นยาสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้องได้จริง เมื่อดื่มน้ำกะเพราลงไปจะรู้สึกสดชื่น กะเพราเป็น Buffer ปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยเร่งการย่อยอาหาร ได้ผลดีเยี่ยมกับคนที่เป็นโรคลำไส้เล็ก เช่น จุกเสียดในลำไส้เล็ก

       

       

       

       

       

       

      ประโยชน์จากการศึกษา
      1.พบว่ากะเพรานั้นสามารถลดอาการจุดเสียดได้จริง
      2.ทราบว่าในใบกะเพรามีตัวยาสำคัญ คือ
      Linaloo และ methyl chavicol เป็นยาแก้ขับลม
      3.น้ำกะเพรานอกจากจะขับลมแล้วยังสามารถขังเหงื่อและทารักษากากเกลื้อนอีกด้วย

      ข้อเสนอแนะ

      1. ถ้าใช้กะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า
      2. จำไว้ว่า กะเพราเป็นสมุนไพรธาตุร้อน ถ้าดื่มน้ำกะเพราไปแล้วเกิดอาการร้อนใน ให้ลดปริมาณ น้ำกะเพราลง
      3. อาการหนักประมาณ 6 - 7 แก้ว และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง ดื่มเฉพาะหลังอาหาร มื้อละ 1 - 2 แก้ว แต่ไม่ควรเกิน 4 แก้วต่อวัน
      4.  ยาสมุนไพรไทย ใช้เวลารักษานานถึงจะหาย ต้องกินเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องทานยาเคมีสังเคราะห์เข้าช่วยเลย

       

       

       

       

       

       

      ภาคผนวก

       

       

       

       

       

       

       

       

       

      เอกสารอ้างอิง

      www.thaigoodview.com

      http://mydegage.com
      www.chuankin.com

       

       

       

       

       

       

       

       

       

       









      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×