ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แหล่งรวมเรื่องราวของสยามประเทศ

    ลำดับตอนที่ #27 : การสำเร็จโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 352
      1
      21 ต.ค. 51



    พระบรมรูปหล่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะทรงผนวช จำพรรษา ณ วัดเขาขุนพนม นครศรีธรรมราช

    “เวียง วัง” ตอนนี้ ขอมอบให้ผู้เขียน “บุญบรรพ์” มาให้อรรถาธิบาย ถึงเรื่องที่มีผู้สนใจถามกันมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชว่า จริงๆ แล้ว พระองค์ท่านถูกสำเร็จโทษตามที่ทราบๆ กันอยู่ในพระราชพงศาวดารบ้าง ในเอกสารของพวกฝรั่งบ้าง หรือเป็นเพียงกลลวงว่าสำเร็จโทษ แต่มีผู้ลอบนำพระองค์เสด็จฯหนีไปได้

    ต่อไปนี้เป็นอรรถาธิบายของผู้เขียน

    ที่จริงนั้น ได้ตั้งใจเอาไว้ว่า โดยเหตุที่เรื่อง “บุญบรรพ์” เป็นเรื่องของคนจริง องค์จริงที่มีชีวิตที่ทรงพระชนม์อยู่ในขณะโน้นๆ จับเอามาผสมผสานจินตนาการเพื่อให้อ่านอย่างสาระบันเทิงคดี มิใช่สารคดี หรือบันเทิงคดีเพียงอย่างเดียว จึงเมื่อจบเรื่องก็จะทำเชิงอรรถผนวกเอาไว้ท้ายเล่ม

    แต่ระยะนี้มีผู้ถามกันมาก หากขอให้รอเห็นจะไม่ทันใจท่าน

    โดยเฉพาะเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    ซึ่งในพระราชพงศาวดารก็ตาม จดหมายเหตุของฝรั่งที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารขณะนั้นก็ตาม จดเอาไว้อย่างเดียวกันว่า พระองค์ท่านโดนสำเร็จโทษหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์

    แต่ต่อมามีผู้เชื่อบ้าง สันนิษฐานกันบ้างว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิได้เสด็จสวรรคตโดยถูกสำเร็จโทษ หากแต่มีผู้ลอบพาพระองค์เสด็จฯหนีไปทรงผนวชและจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครศรี ธรรมราช จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ณ ที่นั้น

    ตามพระราชพงศาวดาร และจดหมายเหตุของฝรั่งนั้นยกเอาไว้ เพราะชี้ลงไปเลยว่าโดนประหาร

    แต่ก็มีเหตุผลอันชวนให้คิดว่า พระองค์ท่านอาจเสด็จฯหลบหนีไปได้ก่อน มิได้ถูกสำเร็จโทษในค่ำคืนวันนั้น (๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕)

    ทว่าเมื่อเป็นเหตุผลอันไม่มีข้อพิสูจน์ให้ชัดเจนลงไป ผู้เขียนเรื่อง “บุญบรรพ์” จึงมิได้บรรยายลงไปเป็น “ภาพพจน์” ให้ผู้อ่านเห็นจริงเห็นจัง ทว่าให้เป็นคำบอกเล่าของตัวละคร ซึ่งมีตัวตนจริงและมีลูก หลาน เหลน โหลน ต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น พระพงศ์นรินทร์ (เจ้าฟ้าชายทัศพงศ์) ท้าวทรงกันดาล (ทองมอญ) เจ้าจอมมารดาทิม (เจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้าอัมพวัน หรือ คุณวัน)

    เช่นเหตุการณ์เมื่อนำพระองค์ไปสำเร็จโทษในตอนกลางดึก ก็ให้พระพงศ์นรินทร์ (ซึ่งตามจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี เล่าว่า ขณะนั้นอายุ ๑๑ ขวบ ได้เข้าไปเฝ้าพระราชบิดา ติดอยู่ในโบสถ์เพียงผู้เดียว) เป็นผู้ออกมาเล่าแก่ชนนี คือ กรมหลวงบริจาสุดารักษ์ หรือเจ้าจอมมารดาฉิม

    รวมทั้งให้ตัวละครพูดจากันแสดงเพียงนัย มิได้พูดจาบอกเล่ากันอย่างเปิดเผย เช่น เมื่อพระยาพัทลุงลงมาพบกับพระยานนทบุรีฯคราวหลัง

    ข้อกังขาที่ให้ตัวละครเน้นแล้วเน้นอีก ก็คือ การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไม่ทรงยอมให้ประหารพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเวลาครองราชย์เพียง ๑๕ ปี พระราชโอรสธิดาจึงยังทรงพระเยาว์ทั้งสิ้น แม้ว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจะทรงขอให้นำไปล่มเรือกลางน้ำให้หมดตาม ธรรมเนียม


    ตรงนี้ น่าคิด



    พระวิหารในถ้ำเขาขุนพนม มีกำแพงและใบเสมาล้อมรอบ เป็นที่ประทับ

    เพราะตามธรรมเนียมธรรมดาแล้ว หากประหารพ่อมักต้องประหารลูกให้สิ้น ป้องกันการแก้แค้นในภายหน้า ทว่านี่ นอกจากไม่ประหารแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ยังทรงเลี้ยงดูบางท่านอย่างใกล้ชิดเสมือนลูกหลาน เจ้าหญิงสององค์ต่อมาได้เสกสมรสเป็นชายาของเจ้านายพระราชวงศ์จักรีคือ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ พระองค์เจ้าหญิงปัญจปาปี

    ส่วนรุ่นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นั้น มีมากมายหลายท่าน ล้วนแต่ใกล้ชิดสนิทในพระราชวงศ์จักรี เป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามบ้าง เป็นพระนมของเจ้าฟ้าบ้าง ซึ่ง “เวียงวัง” เคยได้เล่าไปบ้างแล้ว

    นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า บางทีการสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่นั้น น่าจะเป็นกลลวง เนื่องจากเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกู้ชาติสำเร็จ เสด็จฯมาทรงสร้างกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง นัยว่าทรงกู้เงินจากพวกพ่อค้าจีน หรือนัยหนึ่ง เมืองจีนมาทำนุบำรุงบ้านเมือง เลี้ยงดูราษฎรที่อดอยาก แล้วพูดง่ายๆ ว่า ไม่มีเงินใช้ จึงต้องล้มหนี้ โดยเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดิน

    นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน

    แต่ที่น่าสะดุดใจอยู่ตรงหนังสือประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกับชาติจีน ซึ่งเขียนโดย “ลิขิต ฮุนตระกูล” (ขออนุญาตท่านนำมาอ้างในที่นี้)

    ในหนังสือเล่มนี้ มีบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศสยามโดยเฉพาะ (คัดจากบันทึกของประเทศจีน) ตั้งแต่สมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๑๘๒๕-พ.ศ.๒๓๙๖)

    ทว่าในที่นี้ ขออนุญาตอ้างถึงเพียงสมัยกรุงธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์

    ซึ่งบันทึกไว้ว่า

    “ประเทศสยาม สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

    มีกษัตริย์องค์เดียว คือ พระเจ้ากรุงธนบุรี

    ในบันทึกของประวัติศาสตร์จีน เขียนว่า “แต้เจียว” และมีบันทึกพึงสังเกตไว้ว่า

    “Mr. Marvell นักเขียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ผู้เขียนเรื่อง Naga King a Daughter กับเมืองนครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินได้มาสิ้นพระชนม์ที่นครศรีธรรมราช และบรรจุอัฐิรวมกับอัฐิพระยานคร (น้อย)”

    และบันทึกถึงกรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากกรุงธนบุรีว่า

    “ประเทศสยาม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    ๑. พ.ศ.๒๓๒๕ (ค.ศ.๑๗๘๒ พระเจ้าเช็งเคี่ยนล้ง ครองราชย์ปีที่ ๔๗ แต้ฮั้ว อนุชาแต้เจียว (คือพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ได้ถวัลยราชย์เป็นกษัตริย์ประเทศสยาม และส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีเป็นครั้งแรก”

    อย่างไรก็ตาม ชาวนครศรีธรรมราช รุ่นก่อนโน้นจนถึงรุ่นปู่ย่า ตายาย เชื่อกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมิได้โดนสำเร็จโทษ หากแต่เสด็จฯมาประทับทรงผนวชอยู่ ณ วัดเขาขุนพนม เมืองนครศรีธรรมราช และเสด็จสวรรคตที่เมืองนครฯ นั่นเอง


    http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetai...p;stauthorid=13

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×