ประชานิยม(populist)และประชาสังคม(Civil Society ) - ประชานิยม(populist)และประชาสังคม(Civil Society ) นิยาย ประชานิยม(populist)และประชาสังคม(Civil Society ) : Dek-D.com - Writer

    ประชานิยม(populist)และประชาสังคม(Civil Society )

    โดย ปีดิเทพ อยู่ยืนยง

    ผู้เข้าชมรวม

    3,605

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    3.6K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 ต.ค. 50 / 17:03 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    ในปัจจุบันได้มีหลายกระแสหลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ ถึงแนวความคิดต่างขั้วระหว่างนโยบายประชานิยม และประชาสังคม ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวทำให้เกิดการแบ่งแยกขั้วการเมืองได้2ขั้วใหญ่ๆในขณะได้แก่ ?พรรคไทยรักไทย? ซึ่งชูนโยบายประชานิยม กับ? พรรคประชาธิปัตย์?ได้ชูนโยบายประชาสังคม ซึ่งทำให้เกิดแนวการแข่งขันหรือขั้วทางความคิดในการทำงานทางการเมืองได้อย่างชัดเจน
    เมื่อมีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์เช่นนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงแนวนโยบายว่าแต่ละแนวทางมีข้อดี หรือข้อเสียวอย่างไรบ้าง
    ประชานิยม(populist) หรืออาจตีความหมายได้อย่างง่ายๆว่าเป็นการบริหารงานโดยเน้นถึงความนิยมของประชาชนต่อนโยบายเป็นสำคัญ กล่าวอย่างชาวบ้านก็คือ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนนั้นเอง
    โดยแนวนโยบายประชานิยม แม้จะเป็นการทำให้ประชาชนพอใจอย่างนโยบายของรัฐบาล เช่น ตั้งแต่กองทุนหมู่บ้าน โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค บ้านเอื้ออาทร หรือล่าสุดคือ คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร และอาจจะมีโครงการโทรศัพท์มือถือเอื้ออาทร ฯลฯ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในช่วงเวลานั้นๆ โดยอาจจะขับเคลื่อนนโยบายโดยบุคคลกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่มเพื่อสร้างความพอใจให้ประชาชนก็ได้
    หากแต่ถ้าพิจารณาออกไปในมุมกว้าง หากการตอบสนองดังกล่าวอาจเป็นผลดีในระยะสั้น หากแต่ในระยะยาวแล้ว อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจากการใช้งบประมาณมากเกินความจำเป็นโดยเน้นแต่ความพอใจของประชาชนแต่อย่างเดียว ดังเช่นกรณีเหตุการณ์ในประเทศอาเจติน่า
    ส่วนนโยบายประชาสังคม(Civil Society )ซึ่งมีความหมายพอเข้าใจได้ว่า เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อแก้ปัญหาของสังคม โดยมีจิตสำนึกร่วมกันเพื่อให้ปัญหาสังคมหมดไป โดยแนวทางนโยบายนี้จะเน้นถึงการแก้ปัญหาของประชาชนเพื่อมวลรวมของสังคมเป็นใหญ่ โดยไม่สนใจว่าจะสร้างความพอใจหรือไม่ก็ตามแต่มุ่งเน้นถึงประโยชน์ระยะยาวของชาติและประชาชนเป็นสำคัญ เพราะวิธีการแก้ปัญหาบางอย่างอาจจะสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนก็ได้ แต่แนวนโยบายนี้ก็เน้น ถึงการขับเคลื่อนของประชาชนมวลรวมในการมีส่วนร่วมในการเข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ให้เพียงกลุ่มใดเข้ามาแก้ไขเพียงกลุ่มเดียว
    โดยการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบันมีแนวความคิดในหลัก ?ประชานิยม ? ซึ่งแม้หากสามารถตอบสนองประชาชนหมู่มากได้ แต่อาจจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาว เช่น ปัญหาเศรษฐกิจแล้ว จึงควรระมัดระวังและควบคุมการใช่แนวนโยบายดังกล่าว เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว ทั้งนี้หาใช่เพื่อประโยชน์ของตัวรัฐบาลเองไม่ แต่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนกับความมั่นคงของประเทศ โดยประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิงเองว่า นโยบายไหนดีหรือไม่ หรือเป็นแค่เพียง"กลุ่มผลประโยชน์" ( INTEREST GROUP ) ซึ่งนำนโยบายประชานิยม ซึ่งสอนให้เน้นวัตถุนิยมจนขาดเรื่อง"คุณธรรมของพลเมือง" ( CIVIL VIRTUE ) ซึ่งน่าจับตามองในทิศทางอนาคตของประเทศไทยต่อไป โดยแท้จริงแล้วประชานิยม เหมาะสมกันประชาชนและสภาพการณ์ของประเทศไทยหรือไม่

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ในปัจจุบันได้มีหลายกระแสหลายกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ ถึงแนวความคิดต่างขั้วระหว่างนโยบายประชานิยม และประชาสังคม ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวทำให้เกิดการแบ่งแยกขั้วการเมืองได้2ขั้วใหญ่ๆในขณะได้แก่ ?พรรคไทยรักไทย? ซึ่งชูนโยบายประชานิยม กับ? พรรคประชาธิปัตย์?ได้ชูนโยบายประชาสังคม ซึ่งทำให้เกิดแนวการแข่งขันหรือขั้วทางความคิดในการทำงานทางการเมืองได้อย่างชัดเจน
      เมื่อมีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์เช่นนี้ จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงแนวนโยบายว่าแต่ละแนวทางมีข้อดี หรือข้อเสียวอย่างไรบ้าง
      ประชานิยม(populist) หรืออาจตีความหมายได้อย่างง่ายๆว่าเป็นการบริหารงานโดยเน้นถึงความนิยมของประชาชนต่อนโยบายเป็นสำคัญ กล่าวอย่างชาวบ้านก็คือ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนนั้นเอง
      โดยแนวนโยบายประชานิยม แม้จะเป็นการทำให้ประชาชนพอใจอย่างนโยบายของรัฐบาล เช่น ตั้งแต่กองทุนหมู่บ้าน โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค บ้านเอื้ออาทร หรือล่าสุดคือ คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร และอาจจะมีโครงการโทรศัพท์มือถือเอื้ออาทร ฯลฯ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในช่วงเวลานั้นๆ โดยอาจจะขับเคลื่อนนโยบายโดยบุคคลกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่มเพื่อสร้างความพอใจให้ประชาชนก็ได้
      หากแต่ถ้าพิจารณาออกไปในมุมกว้าง หากการตอบสนองดังกล่าวอาจเป็นผลดีในระยะสั้น หากแต่ในระยะยาวแล้ว อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจากการใช้งบประมาณมากเกินความจำเป็นโดยเน้นแต่ความพอใจของประชาชนแต่อย่างเดียว ดังเช่นกรณีเหตุการณ์ในประเทศอาเจติน่า
      ส่วนนโยบายประชาสังคม(Civil Society )ซึ่งมีความหมายพอเข้าใจได้ว่า เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อแก้ปัญหาของสังคม โดยมีจิตสำนึกร่วมกันเพื่อให้ปัญหาสังคมหมดไป โดยแนวทางนโยบายนี้จะเน้นถึงการแก้ปัญหาของประชาชนเพื่อมวลรวมของสังคมเป็นใหญ่ โดยไม่สนใจว่าจะสร้างความพอใจหรือไม่ก็ตามแต่มุ่งเน้นถึงประโยชน์ระยะยาวของชาติและประชาชนเป็นสำคัญ เพราะวิธีการแก้ปัญหาบางอย่างอาจจะสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนก็ได้ แต่แนวนโยบายนี้ก็เน้น ถึงการขับเคลื่อนของประชาชนมวลรวมในการมีส่วนร่วมในการเข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ให้เพียงกลุ่มใดเข้ามาแก้ไขเพียงกลุ่มเดียว
      โดยการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบันมีแนวความคิดในหลัก ?ประชานิยม ? ซึ่งแม้หากสามารถตอบสนองประชาชนหมู่มากได้ แต่อาจจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาว เช่น ปัญหาเศรษฐกิจแล้ว จึงควรระมัดระวังและควบคุมการใช่แนวนโยบายดังกล่าว เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว ทั้งนี้หาใช่เพื่อประโยชน์ของตัวรัฐบาลเองไม่ แต่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนกับความมั่นคงของประเทศ โดยประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิงเองว่า นโยบายไหนดีหรือไม่ หรือเป็นแค่เพียง"กลุ่มผลประโยชน์" ( INTEREST GROUP ) ซึ่งนำนโยบายประชานิยม ซึ่งสอนให้เน้นวัตถุนิยมจนขาดเรื่อง"คุณธรรมของพลเมือง" ( CIVIL VIRTUE ) ซึ่งน่าจับตามองในทิศทางอนาคตของประเทศไทยต่อไป โดยแท้จริงแล้วประชานิยม เหมาะสมกันประชาชนและสภาพการณ์ของประเทศไทยหรือไม่

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×