------เรื่องน่ารู้เมื่อต้องพารถไปติดฟิล์มกรองแสง(1)-------- - ------เรื่องน่ารู้เมื่อต้องพารถไปติดฟิล์มกรองแสง(1)-------- นิยาย ------เรื่องน่ารู้เมื่อต้องพารถไปติดฟิล์มกรองแสง(1)-------- : Dek-D.com - Writer

------เรื่องน่ารู้เมื่อต้องพารถไปติดฟิล์มกรองแสง(1)--------

เรื่องน่ารู้เมื่อต้องพารถไปติดฟิล์มกรองแสง(1)

ผู้เข้าชมรวม

769

ผู้เข้าชมเดือนนี้

2

ผู้เข้าชมรวม


769

ความคิดเห็น


0

คนติดตาม


0
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  21 มี.ค. 50 / 16:42 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องน่ารู้เมื่อต้องพารถไปติดฟิล์มกรองแสง(1)
     





    เป็นที่รู้กันดีว่าฤดูกาลต่างๆในบ้านเรานั้น แปรปรวนเสียยิ่งกว่าการเมืองและเศรษฐกิจ เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตกถึงแม้ว่าในช่วงเดือนนี้จะเพิ่งเริ่มต้นฤดูร้อนแต่ทุกท่านต้องเตรียมใจไว้เลยว่าแต่ละปีนั้นอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการกระทำของมนุษย์กว่า 90 % ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการตัดต้นไม้ การเผาป่า กิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ และไม่ว่าอากาศจะเป็นเช่นไรคนเราก็ต้องดำเนินชีวิตอยู่ภายนอกวันละหลายชั่วโมง ยิ่งเวลาที่ต้องอยู่ในรถยนต์พร้อมอากาศร้อนๆแล้วอาจจะทำให้เกิดความเครียด อารมณ์เสียขึ้นมาได้ง่ายๆ เรียกได้ว่าทรมานจิตใจเลยทีเดียว ยิ่งบรรดาคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามด้วยแล้วแสงแดดที่ส่องผ่านกรจะมานั้นทำให้ผิวเสียได้ง่ายๆจนถึงขั้นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังเลยทีเดียว

    ดังนั้นวิธีการทำให้เราอยู่ในรถได้อย่างสบายกายคือ การใช้ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็คงต้องมีประสิทธิภาพดีๆ ไว้สู้กับความร้อน แต่ก็ต้องเสริมด้วยวิธีป้องกันความร้อนจากภายนอก ไม่ให้เข้าสู่ภายใน ก็คือการติดฟิล์มกรองแสงหรือฟิล์มกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งในเมืองร้อนอย่างเรา รถกว่า 90% ต้องติดฟิล์มกรองแสง กันทั้งนั้น

    แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการติดฟิล์มกรองแสงนั้นก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับหน้าที่ของมันและคุณประโยชน์ที่เราจะได้รับ ซึ่ง "ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง" จะอธิบายให้คุณเข้าใจพร้อมถึงวิธีการเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพด้วยตัวคุณเอง

    **รู้จักฟิล์มกรองแสง**

    ฟิล์มกรองแสง คือ ฟิล์มพลาสติกที่ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว มีความบางเรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดกระจกได้ด้วยกาวที่มีความบางใส ไม่ทำให้ภาพที่มองเห็นผ่านฟิล์มมีความบิดเบือน (Distortion)

    ประเภทของฟิล์มกรองแสง

    1 ฟิล์มย้อมสี (Dyed Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นต่ำ โดยจะนำสีมาย้อมที่กาวโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติในการกรองแสงได้ แต่สามารถลดความร้อนได้น้อย กาวที่ใช้ไม่มีคุณภาพ ราคาถูก อายุการใช้งานสั้นไม่เกิน 3 ปี เมื่อเสื่อมสภาพสีจะจางลง เปลี่ยนเป็นสีม่วง โป่งพอง กาวจะเสี่ยมทำให้รบกวนทัศนวิสัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟิล์มแถม

    ฟิล์มย้อมสีนี้ยังมีผู้บริโภคที่เข้าใจผิดอยู่ว่าติดแล้วสามารถลดความร้อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เลือกสีเข้ม (ฟิล์ม 80% หรือแสงส่องผ่านได้ประมาณ 5-10%) เพราะความเข้มของฟิล์มจะทำให้รู้สึกสบาย แต่สีของฟิล์มที่เข้มมากยิ่งจะดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อยๆส่งผ่านมาในอาคารหรือรถยนต์ทำให้ร้อนขึ้น

    2 ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ (Metallized Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยใช้วิธีทางวิทยาสาศตร์นำเอาอนุภาคของโลหะมาเคลือบไว้บนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถลดความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก อายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 5 - 7ปี กาวและโพลีเอสเตอร์มีคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า

    3 ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Film) ใช้การเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในสุญญากาศให้อนุภาคโลหะไปเกาะติดบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้ได้ฟิล์มที่มีความคงทนมาก ลดความร้อนได้มากพอกันกับที่2 ประมาณ 50-70% ฟิล์มประเภทนี้เหมาะสมกับการใช้ติดตั้งกระจกอาคารมากที่สุด มีราคาค่อนข้างสูง


    **แสงอาทิตย์ที่ต้องรู้จัก**

    แสงอาทิตย์ (Solar Radiation) จะประกอบด้วยพลังงานในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการนำพาของคลื่นรังสีความร้อน(Convection) ผ่านมาในตัวกลางอากาศเข้ามากระทบกับรังสีต่างๆ เมื่อมากระทบกับผิวหนังของเราจึงรู้สึกร้อน แสงแดดและความร้อนเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชั่น(Fusion) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนิวเคลียสอะตอม ไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสที่มีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เกิดการแตกตัวของอะตอมจนคลายพลังงานออกมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Energy) จึงเดินทางมาสู่บรรยากาศโลกในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Spectrum) โดยจะมีความยาวคลื่น(Wavelength) ที่แตกต่างกัน ส่วนที่มาถึงโลก แบ่งตามความยาวคลื่น ได้ 3 กลุ่ม

    1) แสงสว่างที่มองเห็นด้วยตาเปล่า(Visible Light) กลุ่มนี้จะมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สายตามนุษย์มองเห็นได้คือ 370-780 นาโนเมตร มองรวมๆเราจะเห็นเป็นสีขาว แต่ถ้าใช้อุปกรณ์หรือตัวกลางบางอย่างที่กระจายคลื่นแสงได้ เช่น ปริซึมจะเห็นเป็น 7 สี หรือที่เรียกว่า Rainbow นั่นเอง ในแสงกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนในแสงอาทินย์เท่ากับ 44%

    2) แสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Invisible Light) กลุ่มที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ คือยาวกว่า 780 นาโมเมตรขึ้นไป เราเรียกแสงในกลุ่มนี้ว่ารังสี อินฟาเรด(Infrared Rays) กลุ่มนี้เป็นตัวการสำคัญหลักที่ทำให้เกิดความร้อน ทำให้วัตถุมีสี ซีดจางและแตกกรอบได้ โดยจะมีสัดส่วนอยู่ในแสงอาทิตย์เท่ากับ 53%

    3) แสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ชนิดความยาวคลื่นสั้นกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ คือจะสั้นกว่า 370 นาโมเมตร เราเรียกแสงกลุ่มนี้ว่า รังสีอุลตร้าไวโอแลต(Untra Violet Rays) หรือ UV กลุ่มนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สีของวัตถุซีดจาง,กรอบแห้ง,ผิวหนังหมองคล้ำ
    เหี่ยวย่น และทำให้สายตาเกิดต้อกระจก มะเร็งผิวหนัง โดยจะมีสัดส่วนอยู่ในแสงอาทิตย์เท่ากับ 3%

    รังสี UV มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ UV-A UV-B และ UV-C แตกต่างกันที่ความยาวคลื่น โดย UV-A จะมีความยาวคลื่นมากที่สุดในกลุ่มเรียงขึ้นไปตามลำดับ UV-C จะสั้นที่สุด แต่ UV-C จะมีอันตรายมากที่สุด มนุษย์เราโชคดีที่ยังมีโอโซนของโลกในชั้นบรรยากาศดูดซับไว้ทั้งหมด ถัดมา UV-B เป็นต้นเหตุของมะเร็งผิวหนังแต่สามารถป้องกันได้ด้วยวัสดุป้องกันแสงทั่วไป เช่น กระจกหน้าต่าง เสื้อผ้า เป็นต้น พูดง่ายๆว่า อย่าให้แสงแดดถูกผิวหนังโดยตรงจะดีที่สุด ส่วน UV-A สามารถป้องกันด้วยฟิล์มกรองแสงได้เกือบ 100%

    **แสงแดดเข้ามาในรถได้อย่างไร**

    แสงแดดเดินทางมาบนผิวโลกโดยการแผ่รังสี (Radiation) โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ใดๆพามา เมื่อมาถึงก็จะถ่ายเทความร้อนไปได้ 2 ทางคือ เดินทางจากสิ่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไป ยังที่ๆมีอุณหภูมิต่ำกว่าคือ การนำความร้อน(Conduction) ในส่วนนี้จะเป็นคุณสมบัติพิเศษ ของรังสีอินฟาเรด โดยพลังงานความร้อนจะถ่ายเทผ่านมาทางโมเลกุลของตัวกลางวัสดุต่างๆ ความร้อนก็จะวิ่งจากที่ๆมีอุณหภูมิสูงไปยังที่ๆมีอุณหภูมิต่ำกว่า อีกทางก็คือ การพาความร้อน(Convection) โดยการส่งความร้อนผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศภายในรถเมื่อรังสีอินฟาเรดสัมผัสกับผิวกระจกรถ ทำให้กระจกได้รับความร้อน

    เมื่อกระจกรถร้อนก็จะถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นให้กับอากาศภายใน ซึ่งภายในรถมีอุณหภูมิ ต่ำกว่าผิวกระจกรถ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้คลื่นความร้อนวิ่งเข้ามาสู่ภายใน จนทำให้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ภายในรถมีสีซีดจาง แตกกรอบง่าย อายุการใช้งานลดลง และที่สำคัญผู้ที่อยู่ในรถคือมนุษย์เกิดความรู้สึกร้อนและทรมานจากแสงแดด การที่จะหาสิ่งที่มาป้องกันแสงแดดที่ดีก็คือ การหันมาใช้ "ฟิล์มกรองแสง" นั่นเอง

    ครั้งต่อไปเราจะมาแนะนำหน้าที่และประโยช์ของฟิล์มกันความร้อน รวมถึงการเลือกซื้อฟิล์มเบื้องต้นมาฝากกัน........


    ที่มา : Window Film Magazine
    ..โดย ผู้จัดการออนไลน์.

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×