ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า - ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า นิยาย ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า : Dek-D.com - Writer

ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า

ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า (ต่อ)

ผู้เข้าชมรวม

586

ผู้เข้าชมเดือนนี้

2

ผู้เข้าชมรวม


586

ความคิดเห็น


0

คนติดตาม


0
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  13 มี.ค. 50 / 18:25 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอยตุงสราญ เบิกบานชนเผ่า (ต่อ)

    ส่วนชาวอาข่า ที่เราเรียกกันผิดๆ มานานว่า "อีก้อ" (โดยไม่รู้ว่ามีความหมายในเชิงดูถูก) เครื่องเงินที่ประดับศีรษะและลำคอสาวอาข่านั้น นอกจากเพื่อความสวยงามและแสดงฐานะแล้ว ยังมีความหมายถึงพระจันทร์ ดวงดาว พืชพรรณธัญญาหาร ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งสิ้น สะท้อนถึงการเป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมสูง แต่คำเรียกขานว่า "ชาวเขา" ถูกแปรเป็นความล้าหลังแบบ "หลังเขา" ไปเสีย แล้วที่ผ่านมา คนเมืองบางคนยังใช้ความฉลาดเชิงฉ้อฉล หลอกมีเพศสัมพันธ์กับสาวอาข่า จนพวกเขาพยายามปิดบังว่าเรื่อง "ลานสาวกอด" หรือ "มิดะ" นั้นไม่มีอยู่จริง "มิดะ" เป็นที่รู้จักแพร่หลายจากบทเพลงของ คุณจรัล มโนเพ็ชร บอกเล่าสังคมชาวอาข่า ที่มอบหมายให้หญิงม่ายหรือเป็นหมันคนหนึ่ง มีหน้าที่สอนชายชาวอาข่าให้รู้จักความรักและการมีเพศสัมพันธ์ ชายใดไม่ผ่านมิดะก็มิอาจขึ้นไปหาคนรักบน "ลานสาวกอด" ได้ ซึ่งหากพิจารณาให้ถ่องแท้ ผมว่าเป็นสังคมที่ก้าวหน้ามาก หากวันนี้ "มิดะ" ยังมีอยู่ เธอจะทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงวัฒนธรรม ในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์อย่างผิดๆ อันนำมาซึ่งโรคติดต่อร้ายแรงทางเพศ รวมถึงป้องกันการหย่าร้าง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย

    อีกชนเผ่าหนึ่งที่มักถูกเหมารวมว่าเป็นชาวเขา ทั้งๆ ที่ใช้ชีวิตในที่ราบทั่วไป คือชาวไทยใหญ่ พวกเขาเป็นชนเผ่าไทยดั้งเดิมกลุ่มใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะมีคน "ไทย" ในประเทศไทย ณ ลุ่มเจ้าพระยา คืนนั้นพี่น้องไทยใหญ่แสดงเรื่องสรรพสัตว์แห่งป่าหิมพานต์ ถวายการต้อนรับพระพุทธเจ้า ซึ่งเสด็จกลับลงมาจากการเทศน์โปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันได้แก่ "กิงกะหล่า" (กินรี-กินรา) "กัมเบ้อ" (ผีเสื้อ) และ "ตัวโต๋" (แพะภูเขา) เรียกรวมกันว่า "รำกิงกะหล่า" เอกลักษณ์ทางนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของชาวไทยใหญ่

    หลังจบการแสดง ผมมีโอกาสกล่าว "ใหม่สูงค่า" ซึ่งเป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า "สวัสดี" และ "อยู่หลีกินหวานค่า" ซึ่งเป็นคำอวยพรให้อยู่ดีมีสุข กินข้าวให้อร่อย เพราะคนที่กินข้าวอร่อยก็แสดงว่าคนนั้นมีสุขภาพดีทั้งกายใจ โดยชาวไทยใหญ่จะมีคำลงท้ายให้สุภาพว่า "ค่า" ทั้งชายและหญิง สันนิษฐานว่าพัฒนามาเป็นคำว่า "ค่ะ/ครับ" ของคนไทยในประเทศไทยนั่นเอง

    การแสดงของชนเผ่าแห่งดอยตุง ณ บ้านต้นน้ำ ค่ำคืนนั้น ไม่ได้วิลิศมาหราหรืออลังการงานสร้างด้วยแสงสีตระการตาแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับเรียบง่าย แฝงด้วยความจริงใจ อันชวนให้ประทับใจไม่รู้ลืม ที่สำคัญ ทำให้คนเมืองตระหนักว่าเรายังรู้จักชนเผ่าร่วมแผ่นดินไทยของเราน้อยมาก โดยเฉพาะความคิดว่าตนเองฉลาดกว่า เก่งกว่า ก้าวหน้ากว่า แท้ที่จริงก็แค่กบน้อยในกะลาครอบเท่านั้นเอง

    (ล้อมกรอบท้ายเรื่อง)

    ติดต่อที่พัก "บ้านต้นน้ำ" โทร.0-2252-7114 ต่อ 217 หรือ www.doitung.org

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×