ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่"

    ลำดับตอนที่ #2 : การฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.89K
      0
      10 ธ.ค. 54

    การฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)

    สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยา

    เรอนาซอง : ยุคอัจฉริยะ

                เรอนาซองคืออะไรเรอนาซองมีความหมายกับแขนงวิชาหลายสาขาและในทางที่ต่างกันออกไปเสียด้วย แต่ในทางประวัติศาสตร์ที่เรากำลังพูดถึงขณะนี้ เรอนาซองหมายถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทางความคิดจนพาให้สังคมเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความนิยมในเรื่องความรู้และวิทยาการต่างๆ มากกว่าความงมงายในด้านศาสนาที่เคยยึดถือกันมานาน

                 ก่อนที่จะพูดถึงความเป็นมาของเรอนาซอง ต้องขอเกริ่นถึงลักษณะของการปกครองทั่วไปในยุโรปก่อนว่า ระยะนั้นอำนาจและอิทธิพลของขุนนางในระบบฟีวดัลลดลงจนหมด พวกขุนนางที่เคยเป็นใหญ่ เป็นตัวแทนการปกครอง กลับพบว่าอำนาจของตนถูกจำกัดด้วยอำนาจจากส่วนกลาง  ซึ่งขยายออกไปครอบคลุมระบบต่างๆ เช่น ระบบศาลสถิตยุติธรรมและระบบภาษีได้สำเร็จบรรดากษัตริย์ยุคใหม่ เช่น กษัตริย์อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปนต่างพยายามสร้างความสงบสุขให้แก่ดินแดนภายในเขตปกครองของพระองค์ ระบอบราชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า ราชาธิปไตยยุคใหม่ก็เข้ามาแทนที่การรวมอยู่แบบอาณาจักร ซึ่งเป็นความคิดในสมัยกลาง ยิ่งกว่านั้น ขยายของตัวเมืองอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งหมายถึงอำนาจของชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า และช่างฝีมือว่ามีเพิ่มขึ้น พวกนี้ในภายหลังกลายเป็นกำลังต่อรองกับกษัตริย์อย่างสำคัญ

             การเปลี่ยนแปลงในสมัยเรอนาซอง มีแรงบันดาลใจมาจากอารยธรรมกรีก-โรมัน ซึ่งเสื่อมสลายไปในช่วงที่วัฒนธรรมคริสต์ศาสนาเจริญก้าวหน้า คำว่าเรอนาซอง Renaissance มาจากภาษาฝรั่งเสส แปลว่าการเกิดใหม่ แต่ถ้าในทางอารยธรรม คำนี้กลับหมายถึงการรื้อฟื้นอารยธรรมคลาสสิกของกรีกและโรมันมาใช้อีกครั้ง และถือกันว่าเป็นอารยธรรมฝ่ายโลก ซึ่งตรงข้ามการมุ่งเน้นด้านธรรมะอย่างที่คริสต์ศาสนาวางหลักการเอาไว้ ขบวนการฟื้นตัวของความสนใจเกี่ยวกับทางโลก มิได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน แต่ค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลานานทีเดียว ศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองสมัยเรอนาซองเกิดขึ้นที่อิตาลี แล้วค่อยๆแพร่ไปให้ประเทศเพื่อนบ้าน คือฝรั่งเศส เยอรมัน และยุโรปภาคเหนือ เพราะว่าที่นี่มีซากอนุสาวรีย์และสิ่งก่อสร้างที่เป็น

    แนวคิดใหม่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

                สิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกเสมอๆ คือ ความคิดและความคิดที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของทัศนคติฝ่ายโลก และเป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ คือลัทธิมนุษยนิยม-Humanism ซึ่งสอนให้มนุษย์เชื่อตัวเอง เพราะอย่างนี้ตอนที่แนวความคิดมนุษยนิยมกำลังมาแรงไม่ว่าจะเป็นศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือกิจกรรมทางภูมิปัญญา ล้วนมุ่งสู่เรื่องราวของมนุษย์ทั้งนั้น

                สาเหตุที่จะทำให้เกิดความคิดความอ่านขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมแบบนี้ เกิดที่อิตาลีก่อน เป็นเพราะว่าเมืองท่าสำคัญต่างๆที่นี่ไม่ว่า เวนิส เจนัว และฟลอเรนซ์ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการธนาคาร มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมกับตะวันออกใกล้ตลอดเวลา และเมืองต่างๆเหล่านี้เป็นแค่แคว้นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ทำให้พ้นก้างขวางคอ เช่นอำนาจสันตะปาปาและจักรพรรดิ ความเจริญก็เกิดขึ้นได้ง่ายในแผ่นดินที่พ้นจากอุปสรรคทางการเมืองและศาสนา   หากกล่าวถึงนักมนุษยนิยมที่มีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชนไม่ได้แต่ประดาความคิดแบบนี้ก็มีอยู่มากมาย หากเอาแค่คนที่มีชื่อเสียงที่สำคัญๆ   อาทิเช่น อิสรามุส แห่ง รอตเธอร์ดาม(ค.ศ.๑๔๙๖-๑๕๓๖) เขาเป็นนักคิดผู้ให้อิทธิพลต่อสังคมสมัยเรอนาซองเป็นอย่างมาก ผลงานชิ้นสำคัญคือ บทเพลงสรรเสริญความโง่ The Praise of Fool หนังสือเล่มนี้อิราสมุสเล่นถากถางความบ้าคลั่งงมงายของนักบวช และนักศึกษาทางศาสนาไว้มากมาย เรียกว่าเป็นการปูพื้นฐานให้ชาวยุโรปตื่นตัวคิดที่จะปฏิวัติศาสนาในระยะเวลาต่อมา



               ส่วนในอังกฤษ มีกวีคนสำคัญที่เสนอแนวคิดของของมนุษยนิยม กวีคนนี้  คือ เซอร์ ทอมัส มอร์ ผู้แต่งยูโทเปีย กวีผู้นี้เป็นทั้งอัครมหาเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระเฮนรี่ที่ ๘ แห่งอังกฤษ แต่ในภายหลังท่านเซอร์ถูกตัดศีรษะเพราะแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่กษัตริย์จะดำรงตำแหน่งประมุขทางศาสนาควบคู่กันไปด้วย

              หนึ่งในบรรดานักคิดของเรอนาซองที่ท้าทายอำนาจศาสนจักร ยังมีนิโคลัส คอเปอร์นิคัส คนนี้เป็นพระนักดาราศาสตร์ชาวโปล(ค.ศ.๑๔๓๗-๑๕๔๓) เขาเชื่อว่าโลกของเราหมุนไปรอบแกนของตัวเอง และหมุนเป็นวงกลมรอบดวงอาทิตย์อีกทีหนึ่ง ไม่ใช่จักราศีหมุนรอบโลกอย่างที่เคยคิดกันมาในสมัยปโตเลมี เขาไม่กล้าพิมพ์หนังสือดังกล่าวทันทีเพราะกลัวทางศาสนาจะตำหนิ แต่ความคิดนี้เป็นที่รู้กันในงานเล่มสำคัญของเขาคือ De Revolutionibus Orbium Coelestium พิมพ์ในปีที่เขาเสียชีวิต


        
           ศิลปินดังๆที่น่าสนใจด้านจิตรกรรม เช่นซานโดร บอตติเชลี ค.ศ.๑๔๘๒ ซึ่งเป็นจิตรกรคนสำคัญแห่งยุคเรอนาซอง เขาได้รับความคิดจากนักมนุษยนิยมในการพิจารณารูปแบบของจริงทางสรีระและการศึกษาธรรมชาติ
    ภาพกำเนิดวีนัสเป็นภาพเทพปกรฌัมสมัยกรีกโรมันแสดงว่าเขาไม่ได้อยู่ในกฎเกณฑ์การใช้เนื้อหาหรือเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา ยิ่งกว่านั้นยังศึกษาร่างกายของมนุษย์อย่างเปิดเผย


     
           เช่นเดียวกับ ลีโอนาร์โด ดาวินชี ศิลปินคนนี้นอกจากศึกษาเรื่องศิลปะแล้วยังรอบรู้เรื่องดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์อีกด้วย ลักษณะพิเศษของเขาอยู่ตรงที่เป็นคนช่างสงสัย และจะไม่ยอมรับข้อมูลใดๆ ถ้ายังไม่มีเหตุผลมาสนับสนุน ผลงานที่สำคัญนอกจากแม่นางโมนาลิซ่าที่นั่งยิ้มแบบลึกลับ ยังมีข้อมูลการค้นคว้าหาเหตุผลทั้งวิทยาศาสตร์ เครื่องกล ดาราศาสตร์ฯลฯ วาดลงในสมุดเสก็ตซ์เป็นจำนวนหลายร้อยหน้า  แม้กระทั่งเครื่องร่อนยุคแรกของโลก เขาก็เป็นคนคิด และเป็นผู้กล่าวถ้อยคำว่า


    จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีได้ ก็ต้องเป็นศิลปินที่ดีเสียก่อน

                เคียงข้างมากับดาวินชี ก็คือประติมากรคนดัง ไมเคิล แองเจโล ประติมากรใหญ่แห่งยุค ศิลปินคนนี้สามารถสลักหินอ่อนเป็นรูปเป็นร่างอย่างงดงาม ดูเหมือนง่ายๆ ไมเคิล แองเจโล กล่าวว่า เขาไม่สลักหินเป็นรูปต่างๆหรอก รูปมีอยู่ในหินแต่ละก้อนอยู่แล้ว เขาเป็นเพียงแค่ผู้กะเทาะเปลือกนอกออกเท่านั้น ผลงานที่สำคัญชื่อ เดวิด เป็นรูปสลักของเดวิดผู้ฆ่ายักษ์ด้วยหนังสติ๊กกับก้อนหิน และระลึกถึงวีรกรรมที่พวกนิยมประชาธิปไตยสามารถโค่นล้มพ่อค้าตระกูลเมดิชีลงได้

         นอกจากนี้ยังมีศิลปินอีกมากมาย เช่นจิตรกร ราฟาเอล ผู้วาดรูปได้อย่างนุ่มนวลจนมีคนเอาอย่างมาก กลายเป็นศิลปะที่เรียกว่าตระกูลราฟาเอล ส่วนเรื่องสถาปนิกได้แก่บรามานเต้ อมาเดโอ แห่งเมืองฟลอเรนซ์

          แต่ละเรื่องของเรอนาซอง ไม่มีการรบ ไม่มีการขัดแย้ง มีแต่การสร้างสรรค์อย่างเดียว



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×