ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ๓ ๒ ๑... >> ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย

    ลำดับตอนที่ #44 : สำนวนไทยเกิดจากแบบแผนประเพณี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 44.86K
      56
      10 เม.ย. 53

    สำนวนไทยเกิดจากแบบแผนประเพณี

    1. กินขันหมาก- ได้แต่งงาน อย่างมีหน้ามีตา
    ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีสู่ของแต่งงานของไทยที่มีมาแต่โบราณดึกดำบรรพ์ คือการสู่ขอผู้หญิงมาเป็นภรรยา ผ่ายชายต้องจัดขันใส่หมากไปหมั้นชั้นหนึ่งก่อน เรียกว่า ”ขันหมากหมั่น” ถึงกำหนดขันแต่งงานก็ได้ของไปอีก มีเป็นสองอย่าง คือ ขันใส่หมากพลู ข้าวสารกับเตียบ (ตะลุ่มหรือโต๊ะ) ใส่ห่อหมก หมูต้ม ขนมจีน เหล้าอ้อย มะพร้าวอ่อน ฯลฯ เรียกว่า “ขันหมากดังกล่าว ผ่ายหญิงรับไว้สำหรับเลียงแขกและแจกจ่ายชาวบ้าน เพื่อแสดงว่า มีบุตรสาวได้แต่งงานเป็นหลักฐาน ใครที่มีบุตรได้แต่งงานจึงชื่อว่า “กินขันหมาก” ซึ่งหมายถึงได้กินของซึ่งเรียกว่า ขันหมากเอก ขันหมากเลวนั้น สุนทรภู่ว่าไว้ในสุภาษิตสอนหญิงว่า “ท่านเลี้ยงมาว่าจะให้เป็นหอห้องหมายจะกองทุนสินกินขนม” นี้ก็หมายถึง กินขันหมาก เนื่องจากแต่งงานบุตรีนั้นในกฏหมายลักษณะผังเมียที่มีมาตั้งแต่แผ่นดิน พระเจ้าอู่ทองมีมาตรา หนึ่งว่า “ผู้ใดไปสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บิดามารดาญาติแห่งหญิงตกปากให้ได้กิน ขันหมากท่านแล้ว”นี้แสดงว่าดำ” กินขันหมากเป็นสำนวนเก่าแก่ ที่สุดของไทย
    ตัวอย่าง
    “ถึงตกทุกข์บุกไพรได้ความยาก แต่ได้กินขันหมากเป็นสองหน”
    ไชยเชษฐ์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2

    2. กินถ้วย
    ความหมาย กินเลี้ยงในงานที่มีการเลี้ยงแขก
    ความเป็นมา ในสมัยโบราณเวลามีงานใหญ่และเลี้ยงแขกที่มาในงาน เสร็จอาหารของลาว แล้วจึงตอนของแทน จะมีของหวานสี่อย่าง สำหรับกินกับน้ำเชื่อมบ้าง หรือใช้ของอย่างอื่นบ้าง แต่ก็มีสี่อย่างเสมอ ของสี่อย่างนี้ มีคำ เรียกกัน เล่นๆ ว่า ไข่กบ นกปล่อย นองลอย อ้ายตื้อ ไข่กบ คือแมงลัก นกปล่อย คือ ลอดช่อง นางลอย คือข้าวตอก อ้ายตื้อ คือ ข้าวต้มน้ำวุ้น การเลี้ยงแขกที่มีของสีอย่างนี้ คือกันเป็นงานใหญ่ ใครเป็นแขกไปรวมงานและกินเลี้ยงก็เรียกว่า กินสี่ด้วย

    3. แก้เกี้ยว-พูดแก้ให้เกี่ยวข้องอยู่ในเรื่อง
    ความหมาย พูดแก้ตัว หมายถึงพูดแก้ไปอย่างอื่น แต่แก้เกี้ยวหมายถึงพูดแก้ให้เกี้ยวข้องมัวพันอยู่ในเรื่องที่พูดกัน สำนวนนี้ดูท่าทางจะมาจากการเล่นเพลง ซึ่งชายหญิงร้องเกี้ยวแก้กัน

    4. เข้าตามตรอกออกตามประตู
    สำนวนนี้แปลไปได้สองนัยหนึ่งแปลตามตัวที่ว่า “เข้าตามตรอก” ก็ หมายความว่าเวลา จะไปหาใครที่ไม่คุ้นเคย ให้ดูลาดเลา เลียมเคียงเข้าไปก่อนเช่น บ้านเขามีประตูเล็ก หรือมีทางสำหรับ เข้าออกอีกต่างหากก็ให้เข้าทางนั้น ไม่ควรจะเข้าทางประตูใหญ่ทีเดียว เมื่อเสร็จธุระแล้วเวลาจะออกก็ออกทางประตูใหญ่ได้แปลว่า ทำอะไรให้รู้การเทศะ อีกนัยหนึ่ง”เข้าตามรอก” คำ “ตรอก” เป็นแต่เพียงพูดให้คล้อง ของกับออก” ส่วนความหมาย สำคัญอยู่ที่ “ประตู” คือ ให้เข้าออกทางประตูตามที่มีอยู่ ซึ่งแปลว่า ทำอะไรให้ถูกต้องตามธรรมเนียมแต่อย่างไรก็ตามความหมายของสำนวนนี้ก็ลงกันในข้อที่ว่า ให้รู้จักทำให้ถูกต้องเหมาะสม

    5. ครอบ
    ความหมาย สอนวิชา ความรู้
    ความเป็นมา “คำว่า “ครอบ” มาจากพิธีครอบโขนละคร” ซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือ ผู้ฝึกหัดเป็นตัวโขนตัวละครรำ เมื่อหัดรำจนรำเพลงช้าเพลงเร็วได้ดีแล้ว ครูอาจารย์ก็จัดทำพิธี ครอบให้ พิธีมีหลายระยะแต่ที่สำคัญก็คือ ครุซึ่งแต่งตัวเป็นฤาษีออกครอบศีรษะ ให้ศิษย์ แล้วเอาหัวโขนอื่นๆ มีหัวพระอิศวร หัวพระพิรามฯลฯ ครอบเป็นลำดับไปเสร็จพิธีแล้วศิษย์ที่ครูครอบให้นั้นก็นับว่า เป็นตัวโขนตัวละครออกโรงเล่นได้ สรุปความว่า “ครอบ” คือครอบหัวโขนที่ครูใช้ศิษย์ แสดงว่าศิษย์นั้นความรู้วิชา รำดีแล้ว ต่อมาเราเอาคำ “ครอบ” นี้ใช้พูดเป็นสำนวนหมายถึงสอนอะไรให้ทุกอย่าง “ครอบ” เป็นสำนวนใช้คู่ขับ ” ขึ้นครู” จึงหมายความเรียน ”ใครครอบให้” หมายความว่าใครสอนให้ ”ขึ้นครูแล้วหรือยัง” หมายความว่าเรียนจากครูแล้วหรือยัง

    6. คู่เรียงเคียงหมอน
    ความเป็นมา เป็นสำนวนที่ตามประเพณี แต่งงานของไทย ที่มีมาแต่โบราณ เมื่อรดน้ำคู่บ่าวสาวเสร็จแล้วก็มีการส่งตัวเจ้าสาวที่เรือนหอ มีฤกษ์ เรียกว่า “ฤกษ์เรียงหมอน” คือปูที่นอน จัดหมอนสำหรับเจ้าบ่าวเจ้าสาววางเรียงเคียงคู่กัน “ คู่เรียงเคียงหมอนจึงเป็นสำนวน หมายถึงความเป็นสามีภรรยากัน
    ตัวอย่าง
    “คู่บรรทมบรรจถรณ์นิทร์ ขนิษฐ์คู่เขนยทอง
    คู่พักตร์คู่พจนสนอง สูขคู่เขษผสม
    สรรพสิทธ์คำฉันท์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ

    7. ทำมิ่งสิ่งขวัญ
    ความหมาย ทำขวัญ คือทำพิธีของให้มิ่งขวัญในตัวอยู่มั่นคง และเจริญ
    ตัวอย่าง
    “น้ำไหลไฟดับ มาพบสบพับ โฉมยงทรงใน
    ทำมิ่ง สิ่งขวัญ แพทย์พราหมณ์ครมครัน
    ตั้งเตียงเรียงไร ตามไต้ให้ไฟ จึดเทียนเวียนไป
    ธารทรงสรงสนาน”
    กาพย์ขับไม้ พระรถ

    8. นอกรีด
    ความหมาย ประพฤติผิดไปจากแบบแผนขนมธรรมเนียมประเพณี
    ตัวอย่าง
    “ขอโทษโปรดเถิดพระมุนี อะไรนี่นอกรีดมากีดขวาง
    ผัวท่านจะคลึงเคล้าเข้าหยกนาง ห้องกลางเปล่าอยู่นิมนต์ไป”
    คาวีพระราชานิพนธ์รัชกาลที่ 2

    9.บอกแขก
    ความหมาย บอกคนทั้งหลายให้รู้ เพื่อให้มาช่วยเหลือทำการงานต่างๆ
    ตัวอย่าง
    “แล้วบิดามารดาเจ้าบ่าวเจ้าสาว ก็จัดแจงแต่งสำขันคาวหวาน ยกไปให้ตราพวกญาติพี่น้อง และพระหลวงขุนหมื่นแลกรมการผู้มีบรรดาศักดิ์ การบอกแขกช่วยทำการวิวาห์มงคลตามสมควรทั้งสองฝ่าย”
    ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่2

    10.ปลูกหอ ลงโรง
    ความเป็นมา แต่งงาน”ปลูกหอ” หมายถึง “ปลูกเรือนหอ” ซึ่งตามประเพณีไทยต้องมีเรือนหอ สำหรับคู่บ่าวสาวที่จะกินอยู่ด้วยวันเป็นหลักฐาน ”ลงโรง”หมายถึง ทำงานเป็นพิธีใหญ่โต มีปลูกโรงรับงานใหญ่โตออกหน้าออกตา เพลงฉ่อย สมัยเก่ามีร้องกัน “ ที่เบารักกันหนาที่เขาพากันหนี ที่เขามั่งเขามีถมไปที่ปลูกหอลงโรง ฉิบหายตายโรงนั่นเป็นไร”
    ตัวอย่าง
    “บ้านเมืองในสมัยที่ยังไม่เจริญเปรียบ เหมือนบ้านเรา เมื่อแรกปลูกหอลงโรง บ้านเมืองในสมัยที่เจริญขึ้นแล้ว เปรียบเหมือนบ้านเรา เมื่อเกิดลูกครึ่งโหลไปแล้ว”
    เรื่อง เศรษฐวิทยาของครูเทพ

    11. ไปวัดไปวาได้
    ความเป็นมา สมัยก่อนวัดเป็นที่พึ่งของประชาชน ชายหญิงไปชุมนุมกัน เช่นงานสงกรานต์เทศน์มหาชาติ ทองกฐิน ฯลฯ เป็นที่เข้าสังคมออกหน้าออกตาอวดกัน หญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาดี พอจะอวดได้จึงพูดเป็นสำนวนว่า ”ไปวัดไปวาได้”
    ตัวอย่าง
    “แม่เฉลาน่ะเป็นที่พอใจเธอละฤา”
    “เรี่ยมทีเดียวก็พอไปวัดไปวาได้ไม่อายเขาแต่น่ากลัวคุณพ่อจะไม่เป็นที่พอใจ”
    บทละครพูด ทาโล่ห์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6

    12. ไปไหว้พระจุฬามณี
    ความหมาย ตาย
    ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากพิธีศพคนตาย มีอาบน้ำศพ ตราสังแล้วทำกรวยใส่ดอกไม่รูปเทียนให้ศพคนตายในมือสำหรับไปใหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์

    13. ผัดเจ้าล่อ
    ความหมาย ผัด หรือ ผัดเพียน คือ เลื่อนเวลาไป
    ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากการล่อช้าง ผัดช้างรบที่เรียกว่า “ผัดพาน” และ ”ล่อแพน” ผัดพานมีคนถึงผัดล่อให้ช้างไล่ ล่อแพนมีคนขี่ม้าล่อให้ช้างไล่ สมัยก่อนมีในงานพิธีแห่ สระสนาน คือ เดินกระบวนช้างม้า แล้วก็ผัดพานล่อแพง คำที่เรียกการล่อช้างว่า “ผัด” เป็นคำเดียวกับ ”ผัด” เลื่อนเวลา เราจึงเรียกว่าการผัดเลื่อนเวลาเป็นสำนวนว่า”ผัดเจ้าล่อ” ใช้ได้ตลอดจึงการผัดเพี้ยนอะไร ๆ พอให้พ้นไป
    ตัวอย่าง
    “เจ้าอีกรับแล้วยังเลี่ยงไม่เที่ยงธรรม์ เพราะสำคัญหลายอย่างแต่พรางเรา
    บอกเท่าไรว่าให้เจ้าเราจริงแจ้ง นิ่งเสียแกล้งผัดเจ้าล่อพอรู้เท่า”
    เพลงยาวกรมหมื่นสถิตย์

    14.ฝังรกฝักราก
    ความหมาย ตั้งหลักแหล่งหรืออยู่ที่ใดที่หนึ่งถาวร
    ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากพิธีฝักรกของทารก ในสมัยโบราณ คือ เมื่อทารกคลอดแล้ว บิดามารดาเอารกของทารกนั้นใส่หม้อตาลไว้เอาเกลือโรยบิดหน้าถึง 3 ขัน ก็ทำพิธีฝักของที่จะเข้าพิธีมีมะพร้าวแตกหน่อ 2 ผล นำไปฝัง ณ บริเวณบ้านที่ดินที่ฝังรกกับมะพร้าวนั้นนเป็นที่ที่บิดมารดากะไว้จะให้เป็นของบุตรสืบไป เช่นเมื่อโตขึ้นจะแต่งงานก็ปลูกเรือนหอ หรือเรือนที่จะเป็นที่อยู่อาศัย ตรงที่ฝักรกมีต้นมะพร้าวขึ้นนั้นเป็นที่ตั้งตัวเป็นหลักแหล่ง สื ประเพณีนี้จึงเกิดคำว่า”ฝักรกฝังราก” ขึ้น ”ฝังรก” ก็คือ ฝักรกตรงๆ “ฝักราก” หมายถึงฝัง หรือปลูกมะพร้าวแตงหน่องอกรากตัดตันเป็นยึดมั่น สำนวน “ปลูกฝัง” หมายถึง ทำให้เป็นหลักฐานที่มั่นคง

    15. พิธีรีตอง
    เป็นสำนวนที่มีความหมาย 2 อย่าง
    1. พิธีนั้นเอง เช่น พิธีบวชนาค
    2. การกระทำอะไร ๆ ก็ได้ที่มีบทบาทมาก ในภาษาไทยมักจะมีคำต่อท้ายที่เรียกว่าสร้อยคำอยู่มาก สร้อยคำลางทีก็มีความหมายอย่าง “รีตอง”
    ความเป็นมา อาจจะมาจากที่ต้องใช้ใบตองมากก็ได้ เลยพูดกันมาถึงปัจจุบัน ซึงหมายถึงพิธีนั่นเอง แล้วร่วมไปถึงใช้กับการกระทำอะไร ๆ ที่กระทำเป็นบทบาทมาก ชักช้ายืดยาด

    16. ไม่รู้จักหม้อข้าวหม้อแกง
    ความหมาย ยังไม่เป็นการบ้านการเรือน ไม่รู้จักทำงานบ้าน ยังไม่เป็นบ้านแม่เรือน สำนวนนี้ใช้กับหญิงสาว
    ความเป็นมา ประเพณีไทยมีการให้เด็กสาวเข้าครัว ฝึกทำอาหาร แปลว่าให้รู้จักหม้อข้าวหม้อแกงๆไว้ คือรู้ว่าหุงข้าวและทำกับข้าว
    ตัวอย่าง
    “แม่น้อย ฉันก็ทราบแล้วจ๊ะ แต่ข้างลูกสาวฉันนั้นใจมันยังเป็นเด็กนัก ไม่เป็นหม้อข้าวหม้อแกงอะไรได้เลย จะไปเป็นแม้เหย้าแม่เรือนยังไงได้”

    17. ไม่เสียปีเสียเดือน
    ความหมาย จัดทำหรือปฏิบัติไปตามธรรมเนียม เมื่อถึงคราวหรือถึงเวลา หรือถึงกำหนดที่ควรทำ แปลว่า ไม่ให้ปีเดือน ที่ผ่านมาถึงนั้นต้องว่างเว้นไปเปล่า ๆ

    18. แย่งกันเป็นศพมอญ
    ความหมาย แย่งชิงสิ่งของกันชลมุนวุ่นวาย
    ความเป็นมา มูลของสำนวนนี้มาจากประเพณีทำศพของมอญมีปรากฏในเรื่องราชาธิราชว่า พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธร ทำศพพระราชมารดาเลี้ยง เช่น ของใช้ขอทานของแจงตลอดจน ฟ้องร้องชิงมรดกกันยุ้งเหยิง จึงพูดกันเป็นสำนวนว่า “แย่งกันเป็นศพมอญ”

    19. ร้องเพลงในครัวได้ผัวแก่
    ความเป็นมา ตามแบบธรรมเนียมไทยโบราณ หญิงสาวต้องเข้าครัวฝึกหัดหุงข้าวต้มแกง อาหารต่าง ๆ ให้เป็นเวลาเข้าครัวเป็นเวลาทำงาน ใครร้องเพลงในครัวจึงมีคำผู้ใหญ่ว่า “ร้องเพลงในครัวได้ผัวแก่” เวลาเข้าครัวจะได้ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ไม่ร้องเพลงเล่น

    20. ฤกษ์งามยามดี
    ความหมาย เวลาดี เวลาเหมาะ เวลาสมควร โอกาส ฯลฯ
    ความเป็นมา มูลของสำนวนนี้มาจากตำราโหราศาสตร์มที่มีวิธีคำนวณดูวันเวลาฤกษ์ยามที่เหมาะเป็นชัยมงคลสำหรับทำการงานต่าง ๆ
    ตัวอย่าง
    “สัญญากันตกลง สองสหายคอยถึงวันฤกษ์งามยามดีแต่งตัวออกจากบ้าน”
    นิยายเบงคลี

    21. ลงขัน
    ความหมาย ช่วยกันออกค่าใช้จ่าย
    ความเป็นมา ลงขันเป็นประเพณีให้ของขวัญแบบโบราณ เช่น ในงานโกนจุกมีการเอาขันเชิงมาตั้งสำหรับญาติพี่น้อง แขกที่ไปร่วมงานเอาเงินหรือสิ่งของเครื่องรูปพรรณใส่ลงขัน เป็นการทำขวัญเด็กโกนจุก เรียกว่า ลงขัน ในประกาศรัชกาลที่5 เรื่องสมโภชรับพระสุพรรณบัตรมีความตอนหนึ่งว่า ส่วนซึ่งสมโภชใช้แรงกันในส่วนเฉพาะพระองค์ ๆ ก็คงจะมีกันอยู่ได้เป็นการเหมือนลงแขกกันในส่วนพระองค์ นี้ก็คือถวายของขวัญ ประเพณีลงขันปัจจุบันนับว่าหมดไป แต่มีการให้ของขวัญอย่างที่นิยมทำกันทุกวันนี้

    22. ลงแขก
    ความหมาย ขอแรงคนให้ช่วยทำงาน
    ความเป็นมา สำหรับสำนวนนี้ใช่สำหรับงานอะไรก็ได้ แต่ที่ใช้กันส่วนมาเป็นการทำนาเกี่ยวข้าว คือข้าวนาในสุกแล้วเกี่ยวคนเดี่ยวไม่ไหว ก็เลยต้องขอแรงจากเพื่อนบ้าน แล้วพลัดกัน เขามาช่วยเรา และเราก็ไปช่วยเขา เป็นธรรมเนียมเรียกว่า “ลงแขก”
    ตัวอย่าง
    “เวลานั้นจำเลยกับพวกกำลังเลี้ยงสุราอาหารกัน เพราะจำเลยลงแขกเอาแรงกันช่วยมุงหลังคาเรือนมารดาจำเลย”
    โวหารกรมสวัสดิ์คำพิพากษาศาลฎีกา

    23. วุ่นเป็นจุลกฐิน
    ความเป็นมา จุลกฐิน คือ การทอดกฐินโดยวิธีจัดทำเครื่องกฐินเอง เริ่มจากเก็บฝ้ายจากไร่ของตน เอามาปั่นและทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บเป็นสบงจีวร ย้อมแล้วเข้าไตร
    ตัวอย่าง
    “หลังจากที่ได้สิ้นสุดชุดการแสดงแล้ว จึงต้องรีบลงมือทำงานจัดเข้าของลงหีบเหมือนจุลกฐิน การโยกย้ายของเราแต่ละทีมักช่างทุลักทุเลเสียจริง ๆ ต้องทำงานแข่งกับเวลาเสีย ตะบมไปทุกนัด พอดีพอร้ายแทบต้องหายใจทางปาก”
    ละคอนไทยไปอเมริกัน

    24. สิบเบี้ยขายไม่ขาด
    ไม่มีดี ไม่มีค่า เลวทรามต่ำช้า หาอะไรดีไม่ได้ มูลของสำนวนมาจากสมัยโบราณมีประเพณีขายคน เช่นขายให้ไปเป็นทาส ในกฎหมายลักษณะทาสครั้งพระเจ้าอู่ทองมาตราหนึ่งว่า
    “ผู้ใดขาดแคลนมีอาสน เอาพี่น้องลูกหลานญาติไปขายฝากประจำเชิงกระยาเบี้ย 2 แสน 3แสนขึ้นไป ให้ค่อยใช่ค่อยสอยอย่าให้ทำร้ายแก้ผู้คนท่าน”
    หมายความว่า มีราคาหรือค่าตัว 2 แสน หรือ 3แสน เบี้ย การขายอาจจะมีราคามากหรือน้อยก็แล้วแต่ฐานะบุคคล ดีก็ขายได้แพง ไม่ดีก็ถูก

    25.เออนอห่อหมก
    ความหมาย รับคำด้วยดี ตกลงด้วยดี
    ความเป็นมา สำนวนนี้มาจากประเพณีแต่งงานในวันสุกดิบ คือวันก่อนฤกษ์แต่งงาน ฝ่ายชายจะต้องจัดผ้าไหว้และขันหมากไปบ้านเจ้าสาว ขันหมากมี 2 อย่าง เรียกว่าขันหมากเอกกับขันหมากเลว ขันหมากเอกจะมีข้าวสาร หมากและพลู มีเตียบ คือตะลุ่มใส่หมากพลู หมูต้ม ห่อหมก ขนมจีน ขันหมากเลวมีขนมกับลูกไม้ต่าง ๆ ห่อหมก เป็นของสำคัญที่ขาดไม่ได้ ทั้งสองคำรวมกัน จึงหมายถึง ทั้งสองฝ่ายตกลงด้วยดี รับคำด้วยดี
    ตัวอย่าง
    “ในกระบวนการที่พรรณนาถึงพระเดชพระคุณทูลกระหม่อม ยังมีอีกมาก แต่จะหาใครรับเออนอห่อหมกเป็นพยานก็ไม่มีตัวเสียแล้ว”
    พระราชหัตเลขารัชกาลที่5 ถึงสมเด็กรมพระยาวชิรญาณฯ

    อ้างอิง : http://www.spiceday.com/picpost/viewthread.php?tid=50462&extra=&page=5
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×