ป่าและสัตว์ป่า - ป่าและสัตว์ป่า นิยาย ป่าและสัตว์ป่า : Dek-D.com - Writer

ป่าและสัตว์ป่า

โดย neko_cat

ควรศึกษาดูนะ

ผู้เข้าชมรวม

1,859

ผู้เข้าชมเดือนนี้

2

ผู้เข้าชมรวม


1.85K

ความคิดเห็น


1

คนติดตาม


1
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  28 ก.ค. 50 / 00:07 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
    ่าเบญจพรรณเป็นป่าผลัดใบประเภทหนึ่งที่ต้นไม้ส่วนใหญ่ต่างทิ้งใบหมดในช่วงฤดูแล้งและเริ่มผลิใบใหม่ในต้นฤดูฝนประเทศไทยพบป่าเบญจพรรณได้ทั่วไปทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตรพันธุ์ไม้เด่นในป่าเบญจพรรณได้แก่ ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมงไม้ตะแบกใหญ่ ไม้ไผ่ เช่น ไผ่หก ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ข้าวหลาม ไม้เถา เช่น เครืออ่อนรางจืด และไม้อิงอาศัย เช่น กระแตไต่ไม้ นมตำเลีย กระเช้าสีดา เอื้องกะเรกะร่อนเอื้องเงิน นอกจากนี้ป่าเบญจพรรณยังอุดมไปด้วยเฟินชนิดต่าง ๆ อีกหลากหลายชนิดตลอดจนพืชสมุนไพรที่สำคัญ เช่น บุกและพญากาสักดำ สัตว์ป่าในป่าเบญจพรรณได้แก่ช้างป่า กระทิง กวางป่า เก้ง หมาไม้ ชะมด อีเห็น ไก่ป่า นกและแมลงอีกหลากหลายชนิดนอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกที่เป็นอาหารของชาวบ้านได้อย่างดี เช่นกบ เขียด อึ่งอ่าง
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    สภาพภูมิประเทศอย่างไร และ นกประเภทใด   ที่เราควรพบ
    การค้นหานก ทั้งเพื่อความเพลิดเพลิน หรือ เพื่อการศึกษา  เรื่องนกอย่างจริงจัง  การหานกให้พบ ขึ้นอยู่กับ  ความรู้เกี่ยวกับ  เพราะปัจจัยที่จำเป็นต่อการ  ดำรงอยู่ของนก อันได้แก่  แหล่งอาหาร  ซึ่งได้แก่ พืชพันธุ์   ที่ให้ ดอก ผล เป็นอาหารของนก   ภูมิอากาศ และ ภูมิประเทศ เป็นสำคัญ   เพราะพืชไม่มีเท้าที่จะเดินไปไหนได้    แต่นกมีปีก  บางชนิดพอใจอยู่เฉพาะถิ่น   นั้นตลอดชีวิต   คือถ้า สภาพ แวดล้อมเปลี่ยนไป   หรือ ถูกทำลาย  นกชนิดนั้น  ก็ จะสูญพันธุ์ไปเลย  เพราะไม่สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับ  สภาพแวดล้อม   ที่เปลี่ยนแปลงไป   อย่างกระทันหันได้   สภาพภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง    มหาสมุทร      อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่   เป็นอุปสรรคของนก  ที่บินได้ไม่แข็งแรง  แต่กับเหยี่ยว   หรือ  นกชายเลน  บินอพยพ ข้ามทะเล มหาสมุทร   ข้ามทวีป  ไกลนับพันไมล์    หรือ นก เพนกวิน  ชอบอาศัยเฉพาะถิ่น ที่หนาวเย็น จนเป็น น้ำแข็ง    ก็จะไม่อพยพไปไกลจากแหล่งที่มีอาหารที่  นกชอบ   และ  ในขณะเดียวกัน  ถึงคุณจะปลูกต้นไทร  สูงนับสิบเมตร  ในบ้านคุณ  แถวชานเมือง  ก็เป็นไปไม่ได้ ที่นกเงือกจะบินมากินลูกไทร  ต้นที่บ้านคุณ   แม้ลูกไทร จะเป็นอาหาร จานโปรดของมันก็ตาม    เพราะ  นกเงือกอยู่เฉพาะในป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์   แต่ ถ้าข้างบ้านคุณมีที่ชื้นแฉะ  มีท้องร่อง  มีสวนหรือ      พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่อยู่ข้างบ้าน     เพียงคุณสร้างบ่อ น้ำเล็กๆ  หรือทำอ่างเลี้ยงปลาทอง   ก็อาจดึงดูดให้นกกวัก   มาเดินปากบ่อจิกกินลูกปลาทองในรั้วบ้านคุณได้    ดังนั้นการรู้จักสภาพแวดล้อม   ว่าเป็นลักษณะใด   นกชนิดไหนชอบอยู่อาศัย   ย่อมจะทำให้คุณคาดหวังได้ว่า   เมื่อต้องการดูนกชนิดใด   คุณควรหาพบได้ในพื้นที่แบบไหน   หรือบางครั้ง   เราพบนกที่สังเกตลักษณะ สำคัญเฉพาะชนิดไม่ทัน   และ นกตัวนั้นมีชนิดแยกย่อยที่คล้ายกันมาก   การรู้จักสภาพภูมิประเทศ   อาจทำให้คุณคาดเดาได้ว่า   ควรเป็นนกชนิดไหน   เพราะรู้ว่า  ป่าชนิดนี้นกชนิดนั้นชอบอยู่ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุม  แบบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   อากาศ ร้อนชื้น    ป่าเต็งรัง     ป่าเบญจพรรณ  ป่าผสมผลัดใบ   หรือทางใต้อากาศร้อนชื้น   มีฝนตกตลอดทั้งปี   และป่าดงดิบคามสมุทรมลายู    ป่าแบบป่าพรุ   ป่าดงดิบ   ไม่ผลัดใบ   และยังมีพื้นที่สีเขียว   ที่มนุษย์อยู่อาศัย ในลักษณะ   สวนสาธารณะใจกลางเมือง   สวนหย่อมในบริเวณบ้าน   ก็ยังมีนกบางชนิดปรับตัว  เข้ามาหากิน ใกล้มนุษย์ได้      ดังนั้นถ้าต้องการดูนก   จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องรู้จัก    สภาพพื้นที่ว่าเป็นลักษณะอย่างไร    เพื่อจะได้ไม่ผิดหวัง   ไม่พบนกที่คุณมองหา   เพียงเพราะสาเหตุว่า   คุณไปดูผิดที่ 
     
     
     
     
     
     
     
    ป่าดิบเขา / Hill Evergreen Forest
     
         ป่าดิบเขา    เป็นป่าซึ่งโปร่งกว่า  ป่าดิบแล้ง  และ ป่าดิบชื้น      เนื่องจากมีต้นไม้ขนาดใหญ่  ขึ้น น้อยกว่า  เขียวชะอุ่มตลอดปี  อากาศค่อนข้างเย็น  เนื่องจากอยู่บนภูเขาสูง  มีความสำคัญต่อการรักษา ต้นน้ำ ลำธรมาก ฝนตกชุกกว่า  2,000  ม.ม.  ต่อปี  พบในระดับความสูง  900 - 2,590   เมตร  มีอยู่ทั่วทุกภาค  แต่ จะพบมากทางภาคเหนือ    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  และ  ภาคตะวันตก  พบน้อยในภาคตะวันออก    และ ภาคใต้   พืชสำคัญๆ   ในป่าดิบเขา   ได้แก่  ก่อเดือย  ก่อแป้น  ก่อตาหมู   ก่อนก  ก่อน้ำ  และก่อขาว นอกจากนี้  ก็มี  กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า  จำปีป่า  หว้า  สนสามพันปี  มะขามป้อมดง     กำยาน  พญาไม้  และ ไม้สนเขา  ขึ้นปะปนด้วย  ไม้พื้นล่าง  เป็นพวกเฟิน  มอส  บางแห่งมีพรรณไม้ ในเขตอบอุ่นเหนือ    เช่น  กุหลาบป่าหรือพืชใน  กลุ่มRhododrendron    ไวโอเลต  ไอริส  ไพรมิวลา  ไลแลค  ขึ้นปะปนด้วย  ตามกิ่งก้าน ของต้นไม้  มีพืชอิงอาศัย  เกาะอยู่หนาแน่น    เช่น   เฟิน  มอส  กล้วยไม้  ผักกะสัง ละเหิน  ว่านไก่แดง  และ พืชที่มีเง่าอุ้มน้ำ  ชนิดต่างๆ   
                                ตามสันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง    ปาดิบเขามักจะโปร่ง เพราะมีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย  บางต้นสูงเพียง  10  เมตร เท่านั้น   และพืชอิงอาศัยน้อย  ไม้พื้นล่าง เป็น พรรณไม้หนาม และ หญ้า  และ บางครั้งก็สูงพอๆกับพรรณไม้ในป่าดิบแล้ง  เพียงแต่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  ป่าดิบเขา  มักถูกชาวเขา   หักล้างถางพง    เมื่อก่อนเพื่อทำไร่เลื่อนลอย    แต่ปัจจุบันเพื่อปลูกดอกไม้เมืองหนาว     ผลไม้เมืองหนาว    ป่าที่สมบูรณ์ จึงเหลืออยู่น้อย  และ มักมีทุ่งหญ้า หรือ  ป่าชั้นสองขึ้นปะปนไปกับป่าดิบเขาด้วย
                                ป่าดิบเขา  ในประเทศไทยนี้  อาจแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ ป่าดิบเขาในระดับต่ำ  (Lower Montane Forest )  ในระดับความสูง    900  -   2,000    เมตร     และ ป่าดิบเขาระดับสูง  (Upper Montane  Forest )   ในระดับความสูงกว่า  2,000 เมตร  ขึ้นไป  ซึ่งพบเฉพาะตาม ยอดเขาบางแห่งเท่านั้น  เช่น  ดอยอินทนนท์   ดอยผ้าห่มปก  ดอยหลวงเชียงดาว  ป่าดิบเขานี้ต้นไม้มักไม่ค่อยสูง  แต่มีพืชอิงอาศัย  ขึ้นหนาแน่น  เกาะอยู่ทั่ว ลำต้น  และ มักเรียกกันผิดๆว่า  ป่าดึกดำบรรพ์   ซึ่งหมายถึงป่า  ยุคเริ่มแรกของโลก ที่มีพืชจำพวก  ปรงยักษ์   เฟินยักษ์    กูดต้น  ปาลม์โบราณ      มากกว่า   ชื่อเรียกป่าบนยอดเขาสูงเหล่านี้  คือ  ป่าเมฆ  (Cloud  Forest )    ในเกาะบอร์เนียว   มีป่าชนิดเดียวกับอินทนนท์   คือ  เขาคินาบาลู   ผิดกันแต่ว่า  คินาบาลู  มีป่าเมฆ ที่รักษา ไว้ดีมาก  ตั้งแต่เชิงเขา  ไปจนถึง  ยอดเขา  ขณะที่ของไทยเรา  เหลือเฉพาะบนยอดเขา  แต่ก็ยังถูกทำลายอยู่เรื่อยๆ   จากการก่อสร้างอาคารถาวรต่างๆ   คงไม่เกิน  สองชั่วอายุคน  ป่าบนยอดดอยอิน
    ทนนท์   จะต้องถูก ทำลายหมด แน่นอน     พรรณไม้ในป่าดิบเขาระดับสูง    นอกจากจะมีไม้ในวงศ์ก่อ  และ วงศ์จำปีแล้ว      ยังมีพรรณไม้ในวงศ์  กุหลาบพันปี  และ วงศ์ กุหลาบป่า 
                              นกที่พบในป่าดิบเขา        ส่วนใหญ่จะเป็นนกที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตย่อย ไซโน หิมาลา ยัน    (Sinohimalayan )   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  วงศ์นกกินแมลง  (Babbler )  วงศ์ นกปรอด  (Bulbuls) วงศ์นกจับแมลง    (Flycatchers )   วงศ์นกพญาไฟ  ( Minivets )    วงศ์นกจาบปีกอ่อน  (Finches )  นอกจากนี้  นกที่มีแหล่งกำเนิดในเขตย่อยอินโดจีน  ( Indo - Chonese )    หลายชนิดก็แพร่กระจาย ขึ้นมาอาศัยอยู่ใน ป่าดิบเขา ด้วย    เช่น  นกกก (Great hornbill )   ไก่ฟ้าหลังขาว  (Silver Pheasant )  และ นกปรอดเหลืองหัวจุก (  Black - crested Bulbul ) 
     
    สัตว์ป่าคุ้มครอง
    (ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535)
     
     
    ลิ่มหรือนิ่ม
    ( Manis javanica)
    เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่คล้ายคลึงกับสัตว์เลื้อยคลานลำตัวปกคลุมด้วยเกร็ดแข็งคล้ายปลา ปากเป็นช่องเล็กๆ มีลิ้นเป็นเส้นยาวอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ออกหากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน และจะหลับในโพรงดินเวลานอนจะขดม้วนตัวกลม อาหารที่ชอบได้แก่ มด และปลวกพบเห็นได้ในทุกภาคของประเทศไทย
    หมีควายหรือหมีดำ
    ( Selenarctos thibetanus )
    เป็นหมีขนาดใหญ่ของไทยลำตัวมีขนหยาบสีดำ ใต้คอมีขนสีขาวรูปตัววี ปลายจมูกค่อนข้างดำ ปากยาว หางสั้นและหูใหญ่ ออกหากินตอนกลางคืน กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น แมลง ใบไม้และลูกไม้ต่างๆ มหีควายมีนิสัยดุร้ายและชอบการต่อสู้ปกติจะอยู่ตามลำพังหรืออยู่กันเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น
    เสือโคร่ง
    ( Panthera tigers)
    เป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในสัตว์จำพวกแมวตัวสีเหลืองส้ม ลายพาดเป็นริ้วสีดำ หางลายดำเป็นปล้องสามารถขึ้นต้นไม้และลงว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วออกหากินลำพังในเวลาพลบค่ำและกลางคืน ถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง พบในไซบีเรียจนถึงทะเลสาบแคสเปี้ยน อินเดีย จีน มาเลเซีย ฯลฯและพบในทุกภาคของประเทศไทย
    กวางป่า
    ( Cervus unicolar )
    กวางป่าเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยออกหากินหญ้า ลูกไม้ป่า และหน่อไม้ ในตอนกลางคืนกวางป่าจะผสมพันธ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือนตกลูกครั้งละ 1 ตัว กวางป่ามีอายุยืนประมาณ 15-20 ปีพบเกือบทุกภาคในประเทศไทย
    ค่างแว่น
    ( Presbytis phayrei )
    ลำตัวของค่างแว่นด้านหลังมีสีน้ำตาลหรือเทาหน้ามีสีดำหรือเทา ที่ขอบตาจะมีสีเขียวอมฟ้าขาว ขาหลังและหางมีสีเดียวกับแผ่นหลังค่างแว่นอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงตามถูเขาและป่าไม้ค่างแว่นมักจะอยู่บนต้นไม้มากกว่าลงมายังพื้นดิน ค่างแว่นพบมากในเอเซีย ได้แก่ จีนพม่า อินโดนีเซีย และประเทศไทย
    เสือดาว
    ( Panthera pardus )
    เป็นสัตว์ที่มีประสาทหู ตา ว่องไว และซ่อนตัวเก่งหนังเสือดาวจะมีสีเหลืองปนน้ำตาล มีลายจุดสีดำเต็มตัว เป็นลอยขยุ้มตีนหมาเสือดาวอาศัยอยู่ในป่าลึก ตามโพรงไม้หนาบนภูเขาหิน หรือที่ที่มันสามรถหลบซ่อนได้เสือดาวเป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้ได้เหมือนแมว มันจะออกลูกครั้งละ 2-3 ตัวหรืออาจมากกว่าถึง 5 ตัว
    เนื้อทราย
    ( Cervus porcinus )
    เป็นกวางขนาดเล็กเท่าอีเก้งเขาของมันคล้ายกับเขากวางป่าแต่เล็กกว่า เนื้อทรายชอบอยู่เป็นฝูงเล็กๆตามทุ่งหญ้าริมหนอง บึง ออกหากินในตอนเช้าและค่ำ ในประเทศไทยได้สูญพันธ์ไปแล้วส่วนที่พบเห็นในสวนสัตว์จะมาจากพม่า ปัจจุบันเนื้อทรายถูกพบที่ประเทศอินโดนีเซียศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ลาว ฯลฯ
     
     
    ลิงลมหรือนางอาย
    ( Nycticebus coucang )
    เป็นลิงที่มีขนาดเล็ก ขนนุ่มสั้นและหนาเป็นปุยสีขาวนวล และมีสีน้ำตาลเข้ม คาดจากหัวไปตลอดแนวสันหลัง หน้าสั้นตากลมโต ใบหูเล็ก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของลิงลมได้แก่ แมลงเล็กๆ ไข่นก ผลไม้มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเขาหิมาลัย พม่า และในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ
    หมีหมา
    ( Helarctor malaynus )
    มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซียจัดเป็นหมีขนาดเล็กที่สุดในโลก ขนตามลำตัวเป็นสีดำ ใต้คอมีแถบสีเหลืองรูปตัวยูเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาว บริเวณหน้าตั้งแต่ตาจนถึงปลายจมูกสีค่อนข้างขาวชอบอยู่เป็นคู่ และออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของหมีหมาคือ น้ำผึ้ง และแมลงต่างๆใบไม้ และเนื้ออ่อนของคอมะพร้าว
    วัวแดง
    ( Bos javanicus )
    มีรูปร่างและสีสันคล้ายวัวบ้าน แต่จะสูงใหญ่กว่าวัวแดงเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีราว 20-35 ตัวอาศัยอยู่ในป่าดงดิบ ออกหากินในเวลากลางคืนและเช้าตรู่ชอบกินหญ้าอ่อนหรือหญ้าระบัดเป็นอาาหร วัวแดงอาศัยอยู่ในประเทศไทย อินโดนีเซียและพม่า
    ช้างป่าหรือช้างเอเซีย
    ( Elephas maximus )
    มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเซีย เช่น ไทยอินเดีย มาเลเซีย ขนาดลำตัวสูงประมาณ 2.8 เมตร หูมีขนาดเล็กเพียง 1 ส่วน 3 ของช้างแอฟริกา อาศัยอยู่ในป่าทึบที่มีอากาศเย็น มีน้ำอุดมสมบรูณ์ช้างผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุราว 8-12 ปี ตกลูกครั้งละ 1 ตัวและมีอายุยืนใกล้เคียงกับคนคือราว 70 ปี
    หมีขอหรือบินตุรง
    ( Arctictis binturong )
    มีลักษณะคล้ายหมีแต่ต่างจากหมีคือ มีหางยาวใช้เกาะกิ่งไม้แทนการใช้แขนหมีขอเป็นสัตว์จำพวกชะมดและอัเห็นขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวมีสีดำ หนวดสีขาวออกหากินในเวลากลางคืน กินทั้งสัตว์ พืชและผลไม้เป็นอาหาร เช่น หนู นกผลไม้ป่าต่างๆ แหล้งอาศัยอยู่ในทวีปเอเซียในประเทศไทยพบตามป่าดงดิบทางภาคใต้
    กระทิง
    ( Bos gaurus )
    มีขนตามลำตัวสั้นๆ สีดำ ขาสีขาวนวลคล้ายสวมถุงเท้าโคนเขาสีเหลือง ปลายเขาดำ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบที่อยู่ห่างไกล กินดินโปร่ง หญ้าหน่อไม้ ฯลฯ พบในทวีปเอเซีย ในประเทศไทยมี 2 พันธุ์ คือพันธุ์พม่าพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับพันธุ์มลายูพบทางภาคใต้ของประเทศไทย
    อีเก้งหรือฟาง
    ( Muntiacus muntjak )
    เก้งเป็นกวางขนาดเล็ก ตัวผู้มีเขาสั้นลำตัวสีน้ำตาลแดง ตัวผู้มีเขี้ยวยื่นออกมานอกริมปากใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้และป้องกันตัว ชอบอยู่ลำพัง และอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วงหน้าหนาว เก้งชอบกินใบไม้ หญ้า ลูกไม้ป่า เก้งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซียและพบอยู่ทุกภาคของประเทศไทย
    แมวดาว
    ( Felis bengalensis )
    เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีลักษณธคล้ายแมวบ้านแต่มีรูปร่างปราดเปรียวกว่า ลำตัวสีน้ำตาลแกมเหลือง หูค่อนข้างยาวมันจะออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของแมวดาว ได้แก่ นก หนู กระรอก เป้ด ไก่พบมากตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหภาพโซเวียต จิน อินโดนีเซีย และอินเดียและทุกภาคของประเทศไทย
     
    ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
    ่าเบญจพรรณเป็นป่าผลัดใบประเภทหนึ่งที่ต้นไม้ส่วนใหญ่ต่างทิ้งใบหมดในช่วงฤดูแล้งและเริ่มผลิใบใหม่ในต้นฤดูฝนประเทศไทยพบป่าเบญจพรรณได้ทั่วไปทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตรพันธุ์ไม้เด่นในป่าเบญจพรรณได้แก่ ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมงไม้ตะแบกใหญ่ ไม้ไผ่ เช่น ไผ่หก ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ข้าวหลาม ไม้เถา เช่น เครืออ่อนรางจืด และไม้อิงอาศัย เช่น กระแตไต่ไม้ นมตำเลีย กระเช้าสีดา เอื้องกะเรกะร่อนเอื้องเงิน นอกจากนี้ป่าเบญจพรรณยังอุดมไปด้วยเฟินชนิดต่าง ๆ อีกหลากหลายชนิดตลอดจนพืชสมุนไพรที่สำคัญ เช่น บุกและพญากาสักดำ สัตว์ป่าในป่าเบญจพรรณได้แก่ช้างป่า กระทิง กวางป่า เก้ง หมาไม้ ชะมด อีเห็น ไก่ป่า นกและแมลงอีกหลากหลายชนิดนอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกที่เป็นอาหารของชาวบ้านได้อย่างดี เช่นกบ เขียด อึ่งอ่าง
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    สภาพภูมิประเทศอย่างไร และ นกประเภทใด   ที่เราควรพบ
    การค้นหานก ทั้งเพื่อความเพลิดเพลิน หรือ เพื่อการศึกษา  เรื่องนกอย่างจริงจัง  การหานกให้พบ ขึ้นอยู่กับ  ความรู้เกี่ยวกับ  เพราะปัจจัยที่จำเป็นต่อการ  ดำรงอยู่ของนก อันได้แก่  แหล่งอาหาร  ซึ่งได้แก่ พืชพันธุ์   ที่ให้ ดอก ผล เป็นอาหารของนก   ภูมิอากาศ และ ภูมิประเทศ เป็นสำคัญ   เพราะพืชไม่มีเท้าที่จะเดินไปไหนได้    แต่นกมีปีก  บางชนิดพอใจอยู่เฉพาะถิ่น   นั้นตลอดชีวิต   คือถ้า สภาพ แวดล้อมเปลี่ยนไป   หรือ ถูกทำลาย  นกชนิดนั้น  ก็ จะสูญพันธุ์ไปเลย  เพราะไม่สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับ  สภาพแวดล้อม   ที่เปลี่ยนแปลงไป   อย่างกระทันหันได้   สภาพภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง    มหาสมุทร      อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่   เป็นอุปสรรคของนก  ที่บินได้ไม่แข็งแรง  แต่กับเหยี่ยว   หรือ  นกชายเลน  บินอพยพ ข้ามทะเล มหาสมุทร   ข้ามทวีป  ไกลนับพันไมล์    หรือ นก เพนกวิน  ชอบอาศัยเฉพาะถิ่น ที่หนาวเย็น จนเป็น น้ำแข็ง    ก็จะไม่อพยพไปไกลจากแหล่งที่มีอาหารที่  นกชอบ   และ  ในขณะเดียวกัน  ถึงคุณจะปลูกต้นไทร  สูงนับสิบเมตร  ในบ้านคุณ  แถวชานเมือง  ก็เป็นไปไม่ได้ ที่นกเงือกจะบินมากินลูกไทร  ต้นที่บ้านคุณ   แม้ลูกไทร จะเป็นอาหาร จานโปรดของมันก็ตาม    เพราะ  นกเงือกอยู่เฉพาะในป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์   แต่ ถ้าข้างบ้านคุณมีที่ชื้นแฉะ  มีท้องร่อง  มีสวนหรือ      พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่อยู่ข้างบ้าน     เพียงคุณสร้างบ่อ น้ำเล็กๆ  หรือทำอ่างเลี้ยงปลาทอง   ก็อาจดึงดูดให้นกกวัก   มาเดินปากบ่อจิกกินลูกปลาทองในรั้วบ้านคุณได้    ดังนั้นการรู้จักสภาพแวดล้อม   ว่าเป็นลักษณะใด   นกชนิดไหนชอบอยู่อาศัย   ย่อมจะทำให้คุณคาดหวังได้ว่า   เมื่อต้องการดูนกชนิดใด   คุณควรหาพบได้ในพื้นที่แบบไหน   หรือบางครั้ง   เราพบนกที่สังเกตลักษณะ สำคัญเฉพาะชนิดไม่ทัน   และ นกตัวนั้นมีชนิดแยกย่อยที่คล้ายกันมาก   การรู้จักสภาพภูมิประเทศ   อาจทำให้คุณคาดเดาได้ว่า   ควรเป็นนกชนิดไหน   เพราะรู้ว่า  ป่าชนิดนี้นกชนิดนั้นชอบอยู่ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุม  แบบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   อากาศ ร้อนชื้น    ป่าเต็งรัง     ป่าเบญจพรรณ  ป่าผสมผลัดใบ   หรือทางใต้อากาศร้อนชื้น   มีฝนตกตลอดทั้งปี   และป่าดงดิบคามสมุทรมลายู    ป่าแบบป่าพรุ   ป่าดงดิบ   ไม่ผลัดใบ   และยังมีพื้นที่สีเขียว   ที่มนุษย์อยู่อาศัย ในลักษณะ   สวนสาธารณะใจกลางเมือง   สวนหย่อมในบริเวณบ้าน   ก็ยังมีนกบางชนิดปรับตัว  เข้ามาหากิน ใกล้มนุษย์ได้      ดังนั้นถ้าต้องการดูนก   จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องรู้จัก    สภาพพื้นที่ว่าเป็นลักษณะอย่างไร    เพื่อจะได้ไม่ผิดหวัง   ไม่พบนกที่คุณมองหา   เพียงเพราะสาเหตุว่า   คุณไปดูผิดที่ 
     
     
     
     
     
     
     
    ป่าดิบเขา / Hill Evergreen Forest
     
         ป่าดิบเขา    เป็นป่าซึ่งโปร่งกว่า  ป่าดิบแล้ง  และ ป่าดิบชื้น      เนื่องจากมีต้นไม้ขนาดใหญ่  ขึ้น น้อยกว่า  เขียวชะอุ่มตลอดปี  อากาศค่อนข้างเย็น  เนื่องจากอยู่บนภูเขาสูง  มีความสำคัญต่อการรักษา ต้นน้ำ ลำธรมาก ฝนตกชุกกว่า  2,000  ม.ม.  ต่อปี  พบในระดับความสูง  900 - 2,590   เมตร  มีอยู่ทั่วทุกภาค  แต่ จะพบมากทางภาคเหนือ    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  และ  ภาคตะวันตก  พบน้อยในภาคตะวันออก    และ ภาคใต้   พืชสำคัญๆ   ในป่าดิบเขา   ได้แก่  ก่อเดือย  ก่อแป้น  ก่อตาหมู   ก่อนก  ก่อน้ำ  และก่อขาว นอกจากนี้  ก็มี  กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า  จำปีป่า  หว้า  สนสามพันปี  มะขามป้อมดง     กำยาน  พญาไม้  และ ไม้สนเขา  ขึ้นปะปนด้วย  ไม้พื้นล่าง  เป็นพวกเฟิน  มอส  บางแห่งมีพรรณไม้ ในเขตอบอุ่นเหนือ    เช่น  กุหลาบป่าหรือพืชใน  กลุ่มRhododrendron    ไวโอเลต  ไอริส  ไพรมิวลา  ไลแลค  ขึ้นปะปนด้วย  ตามกิ่งก้าน ของต้นไม้  มีพืชอิงอาศัย  เกาะอยู่หนาแน่น    เช่น   เฟิน  มอส  กล้วยไม้  ผักกะสัง ละเหิน  ว่านไก่แดง  และ พืชที่มีเง่าอุ้มน้ำ  ชนิดต่างๆ   
                                ตามสันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง    ปาดิบเขามักจะโปร่ง เพราะมีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย  บางต้นสูงเพียง  10  เมตร เท่านั้น   และพืชอิงอาศัยน้อย  ไม้พื้นล่าง เป็น พรรณไม้หนาม และ หญ้า  และ บางครั้งก็สูงพอๆกับพรรณไม้ในป่าดิบแล้ง  เพียงแต่มีความหนาแน่นน้อยกว่า  ป่าดิบเขา  มักถูกชาวเขา   หักล้างถางพง    เมื่อก่อนเพื่อทำไร่เลื่อนลอย    แต่ปัจจุบันเพื่อปลูกดอกไม้เมืองหนาว     ผลไม้เมืองหนาว    ป่าที่สมบูรณ์ จึงเหลืออยู่น้อย  และ มักมีทุ่งหญ้า หรือ  ป่าชั้นสองขึ้นปะปนไปกับป่าดิบเขาด้วย
                                ป่าดิบเขา  ในประเทศไทยนี้  อาจแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ ป่าดิบเขาในระดับต่ำ  (Lower Montane Forest )  ในระดับความสูง    900  -   2,000    เมตร     และ ป่าดิบเขาระดับสูง  (Upper Montane  Forest )   ในระดับความสูงกว่า  2,000 เมตร  ขึ้นไป  ซึ่งพบเฉพาะตาม ยอดเขาบางแห่งเท่านั้น  เช่น  ดอยอินทนนท์   ดอยผ้าห่มปก  ดอยหลวงเชียงดาว  ป่าดิบเขานี้ต้นไม้มักไม่ค่อยสูง  แต่มีพืชอิงอาศัย  ขึ้นหนาแน่น  เกาะอยู่ทั่ว ลำต้น  และ มักเรียกกันผิดๆว่า  ป่าดึกดำบรรพ์   ซึ่งหมายถึงป่า  ยุคเริ่มแรกของโลก ที่มีพืชจำพวก  ปรงยักษ์   เฟินยักษ์    กูดต้น  ปาลม์โบราณ      มากกว่า   ชื่อเรียกป่าบนยอดเขาสูงเหล่านี้  คือ  ป่าเมฆ  (Cloud  Forest )    ในเกาะบอร์เนียว   มีป่าชนิดเดียวกับอินทนนท์   คือ  เขาคินาบาลู   ผิดกันแต่ว่า  คินาบาลู  มีป่าเมฆ ที่รักษา ไว้ดีมาก  ตั้งแต่เชิงเขา  ไปจนถึง  ยอดเขา  ขณะที่ของไทยเรา  เหลือเฉพาะบนยอดเขา  แต่ก็ยังถูกทำลายอยู่เรื่อยๆ   จากการก่อสร้างอาคารถาวรต่างๆ   คงไม่เกิน  สองชั่วอายุคน  ป่าบนยอดดอยอิน
    ทนนท์   จะต้องถูก ทำลายหมด แน่นอน     พรรณไม้ในป่าดิบเขาระดับสูง    นอกจากจะมีไม้ในวงศ์ก่อ  และ วงศ์จำปีแล้ว      ยังมีพรรณไม้ในวงศ์  กุหลาบพันปี  และ วงศ์ กุหลาบป่า 
                              นกที่พบในป่าดิบเขา        ส่วนใหญ่จะเป็นนกที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตย่อย ไซโน หิมาลา ยัน    (Sinohimalayan )   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  วงศ์นกกินแมลง  (Babbler )  วงศ์ นกปรอด  (Bulbuls) วงศ์นกจับแมลง    (Flycatchers )   วงศ์นกพญาไฟ  ( Minivets )    วงศ์นกจาบปีกอ่อน  (Finches )  นอกจากนี้  นกที่มีแหล่งกำเนิดในเขตย่อยอินโดจีน  ( Indo - Chonese )    หลายชนิดก็แพร่กระจาย ขึ้นมาอาศัยอยู่ใน ป่าดิบเขา ด้วย    เช่น  นกกก (Great hornbill )   ไก่ฟ้าหลังขาว  (Silver Pheasant )  และ นกปรอดเหลืองหัวจุก (  Black - crested Bulbul ) 
     
    สัตว์ป่าคุ้มครอง
    (ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535)
     
     
    ลิ่มหรือนิ่ม
    ( Manis javanica)
    เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่คล้ายคลึงกับสัตว์เลื้อยคลานลำตัวปกคลุมด้วยเกร็ดแข็งคล้ายปลา ปากเป็นช่องเล็กๆ มีลิ้นเป็นเส้นยาวอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ออกหากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน และจะหลับในโพรงดินเวลานอนจะขดม้วนตัวกลม อาหารที่ชอบได้แก่ มด และปลวกพบเห็นได้ในทุกภาคของประเทศไทย
    หมีควายหรือหมีดำ
    ( Selenarctos thibetanus )
    เป็นหมีขนาดใหญ่ของไทยลำตัวมีขนหยาบสีดำ ใต้คอมีขนสีขาวรูปตัววี ปลายจมูกค่อนข้างดำ ปากยาว หางสั้นและหูใหญ่ ออกหากินตอนกลางคืน กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น แมลง ใบไม้และลูกไม้ต่างๆ มหีควายมีนิสัยดุร้ายและชอบการต่อสู้ปกติจะอยู่ตามลำพังหรืออยู่กันเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น
    เสือโคร่ง
    ( Panthera tigers)
    เป็นเสือขนาดใหญ่ที่สุดในสัตว์จำพวกแมวตัวสีเหลืองส้ม ลายพาดเป็นริ้วสีดำ หางลายดำเป็นปล้องสามารถขึ้นต้นไม้และลงว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วออกหากินลำพังในเวลาพลบค่ำและกลางคืน ถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง พบในไซบีเรียจนถึงทะเลสาบแคสเปี้ยน อินเดีย จีน มาเลเซีย ฯลฯและพบในทุกภาคของประเทศไทย
    กวางป่า
    ( Cervus unicolar )
    กวางป่าเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยออกหากินหญ้า ลูกไม้ป่า และหน่อไม้ ในตอนกลางคืนกวางป่าจะผสมพันธ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือนตกลูกครั้งละ 1 ตัว กวางป่ามีอายุยืนประมาณ 15-20 ปีพบเกือบทุกภาคในประเทศไทย
    ค่างแว่น
    ( Presbytis phayrei )
    ลำตัวของค่างแว่นด้านหลังมีสีน้ำตาลหรือเทาหน้ามีสีดำหรือเทา ที่ขอบตาจะมีสีเขียวอมฟ้าขาว ขาหลังและหางมีสีเดียวกับแผ่นหลังค่างแว่นอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงตามถูเขาและป่าไม้ค่างแว่นมักจะอยู่บนต้นไม้มากกว่าลงมายังพื้นดิน ค่างแว่นพบมากในเอเซีย ได้แก่ จีนพม่า อินโดนีเซีย และประเทศไทย
    เสือดาว
    ( Panthera pardus )
    เป็นสัตว์ที่มีประสาทหู ตา ว่องไว และซ่อนตัวเก่งหนังเสือดาวจะมีสีเหลืองปนน้ำตาล มีลายจุดสีดำเต็มตัว เป็นลอยขยุ้มตีนหมาเสือดาวอาศัยอยู่ในป่าลึก ตามโพรงไม้หนาบนภูเขาหิน หรือที่ที่มันสามรถหลบซ่อนได้เสือดาวเป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้ได้เหมือนแมว มันจะออกลูกครั้งละ 2-3 ตัวหรืออาจมากกว่าถึง 5 ตัว
    เนื้อทราย
    ( Cervus porcinus )
    เป็นกวางขนาดเล็กเท่าอีเก้งเขาของมันคล้ายกับเขากวางป่าแต่เล็กกว่า เนื้อทรายชอบอยู่เป็นฝูงเล็กๆตามทุ่งหญ้าริมหนอง บึง ออกหากินในตอนเช้าและค่ำ ในประเทศไทยได้สูญพันธ์ไปแล้วส่วนที่พบเห็นในสวนสัตว์จะมาจากพม่า ปัจจุบันเนื้อทรายถูกพบที่ประเทศอินโดนีเซียศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ลาว ฯลฯ
     
     
    ลิงลมหรือนางอาย
    ( Nycticebus coucang )
    เป็นลิงที่มีขนาดเล็ก ขนนุ่มสั้นและหนาเป็นปุยสีขาวนวล และมีสีน้ำตาลเข้ม คาดจากหัวไปตลอดแนวสันหลัง หน้าสั้นตากลมโต ใบหูเล็ก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของลิงลมได้แก่ แมลงเล็กๆ ไข่นก ผลไม้มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเขาหิมาลัย พม่า และในประเทศไทยพบทุกภาคของประเทศ
    หมีหมา
    ( Helarctor malaynus )
    มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเซียจัดเป็นหมีขนาดเล็กที่สุดในโลก ขนตามลำตัวเป็นสีดำ ใต้คอมีแถบสีเหลืองรูปตัวยูเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาว บริเวณหน้าตั้งแต่ตาจนถึงปลายจมูกสีค่อนข้างขาวชอบอยู่เป็นคู่ และออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของหมีหมาคือ น้ำผึ้ง และแมลงต่างๆใบไม้ และเนื้ออ่อนของคอมะพร้าว
    วัวแดง
    ( Bos javanicus )
    มีรูปร่างและสีสันคล้ายวัวบ้าน แต่จะสูงใหญ่กว่าวัวแดงเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีราว 20-35 ตัวอาศัยอยู่ในป่าดงดิบ ออกหากินในเวลากลางคืนและเช้าตรู่ชอบกินหญ้าอ่อนหรือหญ้าระบัดเป็นอาาหร วัวแดงอาศัยอยู่ในประเทศไทย อินโดนีเซียและพม่า
    ช้างป่าหรือช้างเอเซีย
    ( Elephas maximus )
    มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเซีย เช่น ไทยอินเดีย มาเลเซีย ขนาดลำตัวสูงประมาณ 2.8 เมตร หูมีขนาดเล็กเพียง 1 ส่วน 3 ของช้างแอฟริกา อาศัยอยู่ในป่าทึบที่มีอากาศเย็น มีน้ำอุดมสมบรูณ์ช้างผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุราว 8-12 ปี ตกลูกครั้งละ 1 ตัวและมีอายุยืนใกล้เคียงกับคนคือราว 70 ปี
    หมีขอหรือบินตุรง
    ( Arctictis binturong )
    มีลักษณะคล้ายหมีแต่ต่างจากหมีคือ มีหางยาวใช้เกาะกิ่งไม้แทนการใช้แขนหมีขอเป็นสัตว์จำพวกชะมดและอัเห็นขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวมีสีดำ หนวดสีขาวออกหากินในเวลากลางคืน กินทั้งสัตว์ พืชและผลไม้เป็นอาหาร เช่น หนู นกผลไม้ป่าต่างๆ แหล้งอาศัยอยู่ในทวีปเอเซียในประเทศไทยพบตามป่าดงดิบทางภาคใต้
    กระทิง
    ( Bos gaurus )
    มีขนตามลำตัวสั้นๆ สีดำ ขาสีขาวนวลคล้ายสวมถุงเท้าโคนเขาสีเหลือง ปลายเขาดำ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบที่อยู่ห่างไกล กินดินโปร่ง หญ้าหน่อไม้ ฯลฯ พบในทวีปเอเซีย ในประเทศไทยมี 2 พันธุ์ คือพันธุ์พม่าพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับพันธุ์มลายูพบทางภาคใต้ของประเทศไทย
    อีเก้งหรือฟาง
    ( Muntiacus muntjak )
    เก้งเป็นกวางขนาดเล็ก ตัวผู้มีเขาสั้นลำตัวสีน้ำตาลแดง ตัวผู้มีเขี้ยวยื่นออกมานอกริมปากใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้และป้องกันตัว ชอบอยู่ลำพัง และอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วงหน้าหนาว เก้งชอบกินใบไม้ หญ้า ลูกไม้ป่า เก้งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซียและพบอยู่ทุกภาคของประเทศไทย
    แมวดาว
    ( Felis bengalensis )
    เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีลักษณธคล้ายแมวบ้านแต่มีรูปร่างปราดเปรียวกว่า ลำตัวสีน้ำตาลแกมเหลือง หูค่อนข้างยาวมันจะออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของแมวดาว ได้แก่ นก หนู กระรอก เป้ด ไก่พบมากตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหภาพโซเวียต จิน อินโดนีเซีย และอินเดียและทุกภาคของประเทศไทย
     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×