ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #3 : สำนักโยคาจาร - จริยศาสตร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 411
      1
      20 ก.พ. 54

    จริยศาสตร์

    สังสารวัฏ

             สำนักโยคาจาร และสำนักมหายานอื่นๆ ต่างก็เชื่อในการเวียนว่าย และเชื่อในสังสารวัฏร แต่ในที่นี้ โยคาจารถือว่า สังสารวัฏรและนิพพานนั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่นเดียวกันโลกิยะหรือโลกุตะระ ด้วยว่าทั้งสองต่างก็เป็นเรื่องของจิต จิตเป็นแหล่งเกิด ดับ ของภาวะทั้งหลาย กล่าวขยายให้เห็นภาพโดยง่ายคือ จิตนั้นเป็นตัวสร้างวิญญาณ วิญญาณเป็นตัวสร้างโลก สร้างกระบวนการเกิดของสรรพชีวิต รวมไปถึงสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็สามารถอธิบายได้ด้วยจิตเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ จิต จะอยู่ตรงกลางระหว่างความทุกข์และความหลุดพ้น   ธรรมชาติของจิตนั้นขัดแย้ง เปลี่ยนแปลง มีการถ่ายพีชะเข้าออกเสมอ ทุกครั้งที่มีการกระทำเกิดขึ้น ผลของกรรมนั้นก็จะกลับมาประทับอยู่ในจิต นำไปสู่การกระทำอื่น แล้วก็เกิดเป็นรอยประทับอันใหม่ในอาลยวิญญาณ เวียนเช่นนี้เรื่อยไป เป็นเหมือนกับกงล้อ   เมื่อการเกิดเริ่มจากจิต การดับจึงลงที่จิตเช่นกัน การเกิดนั้นถือได้ว่าเป็นทุกข์ การที่จะดับทุกข์ลงได้ก็ต้องรู้จักว่ามันคืออะไร และมีที่มาอย่างไร เพื่อจะไปสู่ความหลุดพ้น

    จุดมุ่งหมายสูงสุด

             จุดมุ่งหมายของโยคาจารก็คือ การบรรลุโมกษะ รู้สัจธรรม และเข้าถึงความหลุดพ้นจากวัฏฏะ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้แจ้งอทวิภาวะแห่งวัตถุกับจิต   สำนักโยคาจาร ได้ใช้ชื่อนี้ก็เนื่อมาจาก การใช้วิธีปฏิบัติโยคะ เพื่อมุ่งศึกษาให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุด และถือว่าวิธีปฏิบัตินี้เป็นการดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ซึ่งทรงเน้นข้อปฏิบัติทางกายและทางใจเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งสัจธรรม ข้อปฏิบัติทางจิตก็คือการฝึกจิตเพื่อให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุด แล้วจะพบว่า

                                    (๑) สากลจักรวาลหาใช่อื่นที่แยกออกไปจากจิตไม่

                                    (๒) ในสัจธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเกิดและการตาย และ

                                    (๓) ไม่มีสิ่งหรือวัตถุภายนอกจิตที่มีอยู่จริง ๆ


    วัฎจักรกับการบำเพ็ญธรรม
    พุทธศาสนาทุกนิกายเห็นตรงกันว่า มีการเวียนว่าตาย-เกิดในวัฏสงสารที่เรียกว่า วัฏจักรแห่งชีวิต คนหนึ่ง ๆ อาจเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน การบำเพ็ญธรรมนพระศาสนานี้ ก็เพื่อยุติการเกิดหรือทำลายวัฏจักรแห่งชีวิตนั้นเอง
    ท่านอสังคะกล่าวไว้ว่า การทำลายวัฏจักรนั้นจะทำได้โยอบรมให้มีความรู้ชอบและประกอบแต่กรรมดี จนสามารถเข้าถึงวิมุติได้ในที่สุด ท่านแนะวิธีปฏิบัติไว้เป็นขั้น ๆ ดังนี้
    ขั้นที่ 1 ต้องรู้ตระหนักว่า วัตถุภายนอกเป็นอารมณ์ของจิตเท่านั้น หามีอยู่จริง ๆ ไม่ สิ่งที่มีอยู่จริง ๆ ก็คือ จิต
    ขั้นที่ 2 ต้องรู้ตระหนักว่า จิตแต่ละดวงเป็นเพียงจินตนาการกับอารมณ์ของมัน เมื่อตัดทวิภาพระหว่างจิตกับอารมณ์ออกไปได้แล้ว เขาก็จะก้าวขึ้นสู่การรู้แจ้งภาวะสัมบูรณ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเอกภาพอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งหลาย เป็นความจริงแท้ขั้นอันติมะ สามารถขจัดข้อบกพร่องของปัญญาขั้นเหตุผลให้หมดไปได้ เปรียบเหมือนยาที่มีกำลังแรงกล้า สามารถขจัดยาของพิษออกไปได้ ฉะนั้น
    เมื่อพระโพธิสัตว์ได้เข้าถึงความจริงขั้นสูงสุดนี้แล้ว ก็บรรลุญาณที่ 4 และเสวยสุขอยู่เรื่อยไป แต่ในขณะเดียวกัน ท่านก็มีคุณสมบัติพร้อมจะทำงานเพ่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฆสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิด
    ท่านอสังคะกล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า “อันภาชนะใส่น้ำเมื่อแตกแล้ว แสงสะท้อนจะดวงจันทร์ในน้ำแห่งภาชนะนั้นย่อมไม่ผ่องใส ฉันใด บุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์ ก็ย่อมไม่เห็นแจ้งทุกสภาวะ ฉันนั้น เมื่อบุคคลรู้แจ้งเห็นจริงว่า อัตตาและธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่จริง และเห็นแจ้งซึ่งสัจธรรมอันเป็นเอกดังนี้แล้วเขาจะรู้แจ้งอาลยวิญญาณ”

    ปัญจโคตร
    ปรัชญาโยคาจารได้แบ่งสภาพของสัตว์ทั้งปวงออกเป็น 5 โคตร เรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า ปัญจโคตร จัดเป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือ มีอยู่ตามธรรมชาตินับแต่กาลอันกำหนดไม่ได้ ปัญจโคตร คือ
    1. สาวกโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีสาวกพีชะอยู่ จึงสามารถบรรลุสาวกภูมิหรืออรหัตภูมิได้เป็นอย่างสูง
    2. ปัจเจโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีปัจเจกพีชะอยู่ จึงสามารถบรรลุได้เฉพาะปัจเจกภูมิเท่านั้น
    ทั้ง 2 พวกนี้ละกิเลสาวรณะได้ยังละธรรมาวรณะไม่ได้
    3. ฑพธิสัตวโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีโพธิสัวพีชหรืออนุตรสัมโพธิพีชะสามารถบรรลุถึงโพธิสัตวภูมิ และพุทธภูมิ ละพุทธภูมิ ละกิลสาวรณะและธรรมาวรณะได้เด็ดขาด
    4. อนิยตโคตร ได้แก่สัตว์ผู้มีทั้งสาวกพีชะ ปัจเจกพีช และโพธิสัตว์พีชะสามารถบรรลุสาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ และสัมมาสัมพุทธภูมิได้ สุดแล้วแต่ประณิธาน
    5. อิจฉันติกโคตร ได้แก่สัตว์ผู้ไม่มีอนาสวพีชะ 3 แห่งภูมิ 3 (สาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ โพธิสัตวภูมิ) เลย จึงไม่อาจละกิเลสาวรณะ และธรรมาวรณะได้และไม่สามารถบรรลุโลกุตรภูมิได้เลย บรรลุได้แต่โลกิยสมมุติ เช่น มนุษย์สวรรค์ เท่านั้น

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์

    ผู้ปรารถนาจะบรรลุโพธิสัตวภูมิและพุทธภูมิ จะต้องบำเพ็ญบารมี 6 ประการ หรือ 10 ประการ และต้องดำเนินตามทศภูมิของพระโพธิสัตว์ดังนี้
    1. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม มีความยินดีในการกำจัดทุกข์ของสรรพสัตว์ คือบำเพ็ญหนักในทานบารมี
    2. วิมลาภูมิ พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้ขาด ประพฤติแต่สัมมาจริยาคือบำเพ็ญหนักในศีลบารมี
    3. ประภาการีภูมิ พระโพธิสัตว์ต้องมีความอดกลั้นทุกประการ คือ บำเพ็ญหนักในขันติบารมี
    4. อรรถจีสมดีภูมิ พระโพธิสัตว์ต้องมีความเพียรกล้าในการบำเพ็ญคุณธรรม เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ คือ ต้องบำเพ็ญหนักในเรื่องของวิริยบารมี
    5. ทุรชยาภูมิ พระโพธิสัตว์ละขาดซึ่งภาวะแห่งยาน 2 ( สาวกยานและปัจเจกยาน ) ซึ่งเป็นธรรมาวรณะต่อพุทธภูมิ คือ บำเพ็ญหนักในสมาธิบารมี
    6. อภิมุขีภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี รู้ชัดในปฏิจจสมุปบาท
    7. ทูรังคมาภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในเรื่องอุปายบารมี
    8. อจลภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในประณิธานบารมี
    9. สาธุมดีภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในพลบารมี
    10. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมี มีอิสระไม่ผูกติดในสิ่งทั้งปวง ดุจเมฆลอยซึ่งลอยละล่องอยู่ท่ามกลางนภากาศอย่างเสรี



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×