ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #24 : พุทธปรัชญา - ปัญหาการทำการุณยฆาต

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.97K
      3
      19 ก.พ. 54

    การุณยฆาต

    ความเป็นมาของการทำการุณยฆาต
            คำว่า  Euthanasia มาจากรากศัพท์ กรีก คือ  eu  หมายถึง good  และ  thanatos หมายถึง  good     จึงรวมความหมายถึง การตายอย่างสงบ หรือตายดีนั้นเอง (good death) ซึ่งในทางปรัชญาได้มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ว่า การุณยฆาต ใน The Cambridge dictionary of philosophy ให้คำจำกัดความสั่นๆว่า การกำหนดระยะเวลาอย่างเอื้ออาทรต่อคนที่เจ็บป่วยให้ตายและการฆ่ามนุษย์โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ว่า ตายดีกว่าอยู่ รวม ความว่า การุณยฆาต หมายถึง การทำให้ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ ได้ตายลงโดยไม่เจ็บปวด เพื่อให้พ้นจากทุกข์

    อนึ่ง การุณยฆาตยังหมายถึง การทำให้สัตว์ตายโดยวิธีการและในกรณีดังข้างต้นอีกด้วย

    v ประเภท

    การจำแนกประเภทตามเจตนา

    1. บุคคลซึ่งเจ็บป่วยสาหัสหรือได้รับทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วยเป็นต้นสามารถแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นกระทำการุณยฆาตแก่ตนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยด้วยใจสมัคร" หรือ "การุณยฆาตสมัครใจ" หรือ "การุณยฆาตจงใจ" (voluntary euthanasia)

    2. ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะจะแสดงเจตนาเช่นว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ทายาทโดยธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อภิบาลตามกฎหมาย ตลอดจนศาลอาจพิจารณาใช้อำนาจตัดสินใจให้กระทำการุณยฆาตแก่บุคคลนั้นแทนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยไม่เจตนา" หรือ "การุณยฆาตโดยไม่สมัครใจ" (involuntary euthanasia)

    การจำแนกประเภทตามวิธีฆ่า

    1. "อกัมมันต์การุณยฆาต" (passive euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการ             ตัดการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง

    2. "การุณยฆาตโดยตัดปัจจัยดำรงชีวิต" ( non-aggressive euthanasia) คือ การุณยฆาต          ที่กระทำโดยการหยุดให้ปัจจัยดำรงชีวิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน

    3. "การุณยฆาตก้าวร้าว" หรือ "การุณยฆาตห้าวหาญ" ( aggressive euthanasia) หรือ      "การุณยฆาตมีฤทธิ์" หรือ "กัมมันต์การุณยฆาต" ( active euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน

         การจำแนกแบบอื่น ๆ

    ในพจนานุกรมกฎหมายของเฮนรี แคมป์แบล แบล็ก (Black's Law Dictionary) ได้จำแนกประเภทการุณยฆาตไว้คล้ายคลึงกับสองประเภทข้างต้น ดังต่อไปนี้

    1. "การุณยฆาตโดยตัดการรักษา" ( passive euthanasia หรือ negative euthanasia) คือ        การปล่อยให้ผู้ป่วยตายไปเอง ( letting the patient go) เป็นวิธีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในสถานบริการสาธารณสุข โดยใช้รหัส "90" (เก้าศูนย์) เขียนไว้ในบันทึกการรักษา มีความหมายว่าผู้ป่วยคนนี้ไม่ต้องให้การรักษาอีกต่อไป และไม่ต้องช่วยยืดยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายอีก ปล่อยให้นอนตายสบาย

    2. "การุณยฆาตโดยเร่งให้ตาย" ( active euthanasia หรือ positive euthanasia)

    2.1 "การุณยฆาตโดยเจตจำนงและโดยตรง" ( voluntary and direct euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยเลือกปลงชีวิตตนเอง ( chosen and carried out by the patient) เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขวางยาที่มีปริมาณมากเกินขนาดจนทำให้ผู้รับเข้าไปตายได้ หรือยาอันเป็นพิษ       ไว้ใกล้ ๆ ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยตัดสินใจหยิบกินเอง

    2.2 "การุณยฆาตโดยเจตจำนงแต่โดยอ้อม" ( voluntary and indirect euthanasia) คือ   การที่ผู้ป่วยตัดสินใจล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไม่รอดก็ขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขกระทำการุณยฆาตแก่ตนเสีย โดยอาจแสดงเจตจำนงเช่นว่าเป็นหนังสือ หรือเป็นพินัยกรรมซึ่งเรียกว่าพินัยกรรมชีวิต (  living will) ก็ได้

    2.3 "การุณยฆาตโดยไร้เจตจำนงและโดยอ้อม" ( involuntary and indirect euthanasia)   คือ ผู้ป่วยไม่ได้ร้องขอความตาย แต่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสงเคราะห์ให้เพราะความสงสาร

     

     

     

     

     

    การุณยฆาตและศาสนา

    พุทธศาสนา

    มีการเสนอแนวคิดนี้ใน ตติยปาราชิกสิกขาบท วินัยปิฏก มหาวิภังค์ ถึงการฆ่าว่า พุทธศาสนา

    เสนอหลักว่าต้องครบองค์ประกอบดังนี้
    1. สัตว์มีชีวิต
    2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
    3. จิตคิดจะฆ่า
    4. ทำความพยายามเพื่อให้ตาย
    5. สัตว์ตายลงด้วยความพยายามนั้น

      หากผิดโดยครบองค์ 5 ย่อมถือว่าผิดในทัศนะพุทธศาสนา ในการเสนอหลักการนี้พระพุทธศาสนา ได้ยังชี้ให้เห็นความเข้มของศีลข้อนี้ว่า การฆ่านั้นยังแบ่งเป็นไปตามปัจจัยต่างๆตามระดับของ คุณค่า ขนาดกาย ความพยายาม และ เจตนา เช่นการฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากว่าฆ่าสัตว์   ดุร้าย ฆ่าพระอรหันต์มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ยิ่งใช้ความพยายามในการฆ่ามาก ก็ยิ่งมีโทษมาก การฆ่าโดยป้องกันตัวมีโทษมากกว่าฆ่าโดยโกรธแค้น ซึ่งโดยหลักการนี้ไม่ว่าจะเป็นการชักชวน การวาน        การลงมือฆ่าเอง ไม่มีทางเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปได้ เลยในทัศนะของพระพุทธศาสนา การกระทำการุณยฆาตนั้นพุทธศาสนาได้มีเหตุการณ์คล้ายกันนี้และพุทธศาสนาได้ ให้ข้อตัดสินโดยมีในพระบาลีว่า


                ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่งความตาย
    แก่ภิกษุนั้นด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพแล้ว ....ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว


              จากทัศนะนี้จะเห็นว่าพุทธองค์หาได้เห็นสมควรในการอนุญาตไม่ เพราะการกระทำในลักษณะนี้ แสดงถึงความทุกขเวทนาของภิกษุผู้พรรณความตาย เพราะเห็นถึงความเจ็บป่วย และเกิดสงสาร แต่ใช้พิจารณาของตนเองคิดว่าเขาต้องการตาย พุทธศาสนาจึงเห็นว่าการฆ่าคนไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดเกิดจากธรรมชาติอันชั่ว ร้าย (ศัพท์พุทธศาสนาเรียกว่า อกุศล) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นบาปเสมอและเมื่อเป็นบาป ผู้ฆ่าก็ต้องรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการฆ่านั้นเป็นธรรมดา

    อีกกรณีหนึ่ง ที่ปรากฏใน พระบาลีวินัยปิฎก มหาวิภังค์ว่า


                อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัตราอันจะ
    ปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

              จากข้อความนี้จะเห็นได้ว่า พุทธศาสนา ถือว่าการกระทำใดที่ก่อให้เกิดการตาย จากการหาอาวุธหรือเครื่องมือต่างๆในการช่วยทำให้ตายเช่น ดาบ......มีด ยาพิษ หรือเชือก ถือว่าเป็นความผิดตามทัศนะนี้ถึงแม้ว่าลักษณะของพระพุทธศาสนานั้น จะมีบรรทัดฐานที่แน่นอน ดังเช่น ที่ยึดถือว่า       ดีก็คือดี การฆ่าเป็นสิ่งผิดก็ผิดตลอด

              แต่อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนาก็มีความพิเศษที่แตกต่างจากลัทธิเหล่านี้คือพุทธศาสนามีความ ยืดหยุ่น ต่อสถานการณ์ต่างๆ ดังทัศนะในอัคคัญญสูตรว่า


                สิ่งที่สมัยหนึ่งเป็นอธรรม อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ ถือว่าเป็นธรรมในอีกสมมัยหนึ่งก็ได้


              พุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาก็หาปฏิเสธความจริงที่ยังไม่ปรากฏในปัจจุบัน แต่สิ่งนั้นอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การฆ่าในที่หนึ่งผิด อาจจะถูกต้องในอีกที่หนึ่ง เช่น การอนุญาตให้กระทำ   การุณยฆาต

    ตามพุทธศาสนา ฆราวาสถือเบญจศีลข้อหนึ่งเกี่ยวกับปาณาติบาตคือการห้ามทำลายชีวิตไม่ว่าของผู้อื่นหรือของตนก็ตาม กับทั้งห้ามยินยอมให้ผู้อื่นทำลายชีวิตของตนด้วย

    พุทธศาสนายังถือว่าชีวิตเป็นของประเสริฐสุดที่บุคคลพึงรักษาไว้อีกด้วย โดยมีพุทธวัจนะหนึ่งว่า "ให้บุคคลพึงสละทรัพย์สมบัติเพื่อรักษาอวัยวะ ให้บุคคลพึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต" และ "ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ตราบนั้นชีวิตก็ยังมีค่า ไม่ควรที่ใครจะไปตัดรอนแม้ว่าชีวิตนั้นกำลังจะตายก็ตาม หากไปเร่งเวลาตายเร็วขึ้นแม้จะเพียงแค่วินาทีเดียวก็เป็นบาป

    นอกจากนี้ ภิกษุเถรวาทถือวินัยข้อหนึ่งซึ่งปรากฏในปาฏิโมกข์ว่า "ภิกษุทั้งหลายไม่พึงพรากชีวิตไปจากมนุษย์ หรือจ้างวานฆ่าผู้นั้น หรือสรรเสริญคุณแห่งมรณะ หรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ท่านผู้เจริญแล้วเอ๋ย ท่านหาประโยชน์อันใดในชีวิตอันลำเค็ญและน่าสังเวชนี้กัน ความตายอาจมีประโยชน์สำหรับท่านมากกว่าการมีชีวิตอยู่ หรือด้วยมโนทัศน์เช่นนั้น ด้วยวัตถุประสงค์เช่นนั้น ถึงแม้ท่านไม่สรรเสริญคุณแห่งมรณะหรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ผู้นั้นก็จักถึงแก่ความตายในเร็ววันอยู่แล้ว   ด้วยเหตุนี้ ว่าโดยหลักแล้วพุทธศาสนาถือว่าการุณยฆาตเป็นบาป

    พุทธศาสนาถือว่าการเกิดเป็นมนุษย์นั้นถือเป็นโชคอย่างยิ่ง การได้เป็นมนุษย์คือรากฐานของการก้าวไปสู่ความดีงามอื่นๆในชีวิต มนุษย์อาจเกิดมาต่างกัน บางคนร่างกายสมบูรณ์สมประกอบแต่บางคนร่างกายมีความพิการ แต่มีความเหมือนกันตรงที่ความเป็นมนุษย์นั้นเอง และความเป็นมนุษย์ทำให้เขาย่อมพัฒนาตนเองให้ดีงามขึ้น คนพิการหรือคนปัญญาอ่อนนั้นอาจจะต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองเท่านั้นเอง พุทธศาสนาเชื่อว่าคนเหล่านี้ จะสามารถทำสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ชีวิตได้ถ้าเขาต้องการ

    พุทธศาสนาเน้นถึงคุณค่าความเป็นคนที่คุณธรรมของสิ่งมีชีวิตนั้น และสะท้อนถึงแนวคิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ดังจะเห็นได้จากคำที่พระเถระกล่าวว่า


                นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับความสงบใจ แม้ชั่ว
    เวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตาจิต ถูกกามราคะครอบงำแล้วประคอง
    แขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญเข้าไปสู่ที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัตรา
    มา ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขาเสีย
    อย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้.......


              ดังนั้นตามทัศนะของพุทธศาสนาแล้ว คุณค่าของคนอยู่ที่คุณภาพหาใช่ปริมาณไม่ แม้เราจะมีอายุร้อยปีแต่ทำความชั่วก็สู้คนที่มีอายุวันเดียวที่ไม่ทำความ ชั่วไม่ได้


              ปัญหาเรื่องกรรมกับแนวคิดเรื่องการุณยฆาตนั้น พุทธศาสนาถือว่า เจตนานั้นคือกรรม            (เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ) นี้คือกรรมที่ส่งผลให้เกิดวิบากในภพต่อๆไป มิใช่กรรมที่เป็นเพียงอากัปกิริยาเคลื่อนไหวเท่านั้น และพุทธศาสนาหาได้ยกปรากฏการณ์ต่างๆไว้ที่กรรมอย่างเดียวไม่แต่ปรากฏการณ์ ทุกอย่างขึ้นตรงต่อ กฎของธรรมชาติ  คือ

     

    • อุตุนิยาม กฎธรรมชาติที่ เกี่ยวกับอุณหภูมิ
    • พีชนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์รวมทั้งพันธุกรรม
    • กรรมนิยาม กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมขอมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ
    • ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และความสมเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย
    • จิตตนิยาม กฎธรรมชาติกับการะบวนการทำงานของ

              มีคำถามว่า การเข้าไปกระทำการุณยฆาตนั้น เป็นการทำให้เขาพ้นทุกข์แล้วจริงหรือ พุทธศาสนาให้คำตอบว่า ยังไม่ใช่ เพราะผู้ใดจะพ้นกรรมก็โดยตนเองเท่านั้น จะเห็นจากพระพุทธพจน์ที่ว่า  


                เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
    มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย เราทำกรรมอันใดไว้
    ดีก็ตามชั่วก็ตาม เราจักได้รับผลของกรรมนั้น

    ในทัศนะนี้การเวียนว่ายตายเกิดเป็นแนวคิด ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า ความตาย  เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของสังสารวัฏและความตายไม่ใช่ที่สุดแต่เป็น เพียงการไปสู่ชีวิตใหม่และจะมีการเวียนว่ายอย่างนี้จนกว่า จะหมดกิเลส ถึงจะพ้นทุกข์ ดังข้อความว่า

    พระโคธิกเถระ เป็นพระเถระที่มุ่งปฏิบัติธรรมด้วยความเพียนจนได้ฌาน     แต่อาพาธ (ป่วย)เป็นโรคเรื้อรังทำให้ทุกข์ทรมานจนเสื่อมจากฌานถึง6ครั้ง
    ทำให้เสียใจจนฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ตรัสว่าพระโคธิกเถระเป็นปราชญ์
    มีปัญญา มีฌาน มีความยินดีในฌานทุกกาลทุกเมื่อประกอบความเพียรทั้ง
    กลางวันกลางคืน ไม่ใยดีชีวิต พระโคธิกเถระจะไม่กลับมาเกิดอีก
    เพราะได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้ ปรินิพพานแล้ว

    การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งทีพุทธศาสนายังไม่ให้การยอมรับตามหลักการที่เคร่งครัด เพราะการฆ่าตัวตายไม่ใช่ที่สุดของชีวิต ตราบใดที่มีขันธ์ทั้ง 5ครบ การฆ่าตัวตายเพื่อหลบหลีกทุกข์ในสังสารวัฏ การเจ็บป่วยหรือลักษณะอาการที่เกิดทุกขเวทนานั้น เป็นสิ่งเฉพาะตัวของผู้ป่วย หากการกระทำ                การุณยฆาตโดยมองเห็นอาศัยความกรุณาโดยใช้ความคิดของญาติ หรือ แพทย์ ซึ่งหน้าที่ของแพทย์คือการรักษาคนป่วยให้ดีที่สุด แต่หาใช่หน้าที่ในการดำรงชีวิตของผู้ป่วยหรือตัดสินใจแทนผู้ป่วยไม่ และการตัดสินใจอาจจะผิดพลาดได้ พุทธศาสนามองว่า ตราบใดที่เขายังมีกิเลสอยู่ หรือทำกรรมไม่ดี ความทุกขเวทนาย่อมเกิดแก่เขาตลอดไป ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน พุทธศาสนาถือว่า เป็นผลกรรมที่เขาได้กระทำ ไม่ว่ากรรมที่เป็นปัจจุบันหรือกรรมที่สั่งสมมาในอดีต หากกระทำใดๆที่ประสงค์จะให้ผู้ป่วยพ้นทุกข์ ก็เป็นการช่วยให้พ้นทุกข์ในปัจจุบัน คือสังขารทุกข์เท่านั้นแต่หาใช่ การให้พ้นทุกข์ตามหลักพุทธศาสนา

    การุณยฆาตตามทัศนะของพุทธศาสนิกชน

                      มีความเห็นว่าถึงแม้การุณยฆาตนั้นถือว่าเป็นบาป และเป็นสิ่งที่ผิดเพราะการฆ่าในพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ผิดแต่หากการฆ่านั้นกระทำลงไปด้วยเจตนาที่ดีอาจจะช่วยผ่อนบาปที่หนักให้เป็นบาปที่เบาได้ แต่ไม่สามารถหักล้างให้การุณยฆาตหรือการฆ่าให้เป็นสิ่งที่ไม่ผิดศีลธรรมได้ในพุทธศาสนา แต่หากเป็นการกระทำที่สังคมสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องแลกระหว่างการผิดศีลธรรมและประโยชน์ที่มากกว่าพุทธศาสนาก็ยอมให้มีการกระทำที่เป็นบาปเรียกได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาปด้วยความจำเป็นหรือบาปจำเป็นนั้นเอง แต่การกระทำดังกล่าวยังถือว่าเป็นบาปอยู่ และบาปมีผลเสมอตามกฎแห่งกรรมแม้จะกล่าวว่าสังคมนั้นอนุญาตให้มีบาป   จำเป็นได้ก็ตาม แต่นั้นก็เป็นเพียงข้อตกลงทางสังคมเท่านั้น บาปทุกอย่างยังคงให้ผลเป็นปกติอยู่เสมอ

                  เราคือเจ้าของชีวิต มนุษย์เป็นตัวของตัวเอง จะดีจะชั่วก็เพราะตัวเอง จะดีจะชั่วก็เพราะตัวเองการที่มนุษย์สามารถบังคับบัญชาตนเองให้เป็นไปอย่างไรก็ได้ตามที่ต้องการนี้คือการที่มนุษย์เป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง แต่นี้เป็นเรื่องของศีลธรรมหรือสมมติสัจจะในแง่สมมติ ซึ่งแนวคิดนี้ทำให้เรา  วิเคราะห์การุณยฆาตแบบสมัครใจต่างจากแบบคอนเซอเวตีฟเมื่อเราเป็นเจ้าของชีวิตเราย่อมมีสิทธิในชีวิตนั้น สิทธินั้นแบ่งออกเป็น 2ส่วนคือสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่หรือสิทธิที่จะตายนั้นเอง

     

    การุณยฆาตและกฎหมาย

    ประเทศไทย

    พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของผู้ป่วยที่จะไม่รับการรักษาดังต่อไปนี้พร้อมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

    มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้  "บริการสาธารณสุข" หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน  "ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

    มาตรา4 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้  กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้   

    มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง   เมื่อ    ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง

     

     

        ประเทศเนเธอแลนด์

                ตามประมวลกฎหมายประเทศเนเธอแลนด์ การทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยการร้องขอโดยชัดแจ้งของบุคคลนั้น หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า การุณยฆาตนั้น เป็นความผิดตามกฎหมายที่ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 12 ปี หรือต้องถูกปรับตามกฎหมาย เรื่องดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1971 โดย แพทย์ชื่อ Postma ได้ถูกกล่าวหาว่าได้ฉีดมอฟีนให้แก่ผู้ป่วยซึ่งเป็นมารดาของเธอเองเพื่อให้ถึงแก่ความตาย ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรที่ 293 เพราะแม้ว่ามารดาของเธอจะร้องขอให้มีการกระทำดังกล่าว แต่เจตนาของเธอก็คือต้องการให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย กระนั้นก็ตามศาลได้ลงโทษเธอสถานเบา โดยให้จำคุกหนึ่งสัปดาห์และรอการลงโทษเอาไว้ นอกจากนี้ศาลยังชี้ให้เห็นว่าการให้ยาผู้ป่วยเพื่อระงับความเจ็บปวดอาจไม่ถือเป็นความผิดได้หากการกระทำนั้นวัตถุประสงค์เพื่อระงับความเจ็บปวดไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ต่อมานั้นมีเงื่อนไขที่สามารถทำการุณยฆาตได้นั้นก็คือ

    ·       แพทย์ต้องให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งครั้งจนมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยสมัครใจและควรมีญาติของผู้ป่วยเข้าร่วมในขณะที่แพทย์ให้คำปรึกษาด้วย

    ·       หลังจากที่ผู้ป่วยตัดสินใจแล้ว ต้องมีแพทย์อีกอย่างน้อยคนหนึ่งทำการปรึกษากับผู้ป่วยและแพทย์คนแรกเพื่อยืนยันว่ากระบวนการข้างต้นเป็นไปอย่างถูกต้อง

    ·       การทำให้หรือช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบต้องเป็นการกระทำของแพทย์เท่านั้น

    หากเข้าเงื่อนไขเช่นนี้ แพทย์ย่อมสามารถทำการุณยฆาตแก่ผู้ป่วยได้ แต่แพทย์ต้องรายงานการตายของผู้ป่วยทันที และพนักงานอัยการก็จะไม่นำคดีขึ้นฟ้องศาลดังนั้นแม้ในทางปฏิบัติแพทย์จะไม่ถูกดำเนินคดี แต่ในทฤษฎีนั้นการทำการุณยฆาตถือเป็นความผิดตาทมกฎหมาย

              ในประเทศเนเธอแลนด์ ความพยายามในการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเดือน พฤศจิกายน ค.ศ 2000 สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้แพทย์ทำการุณยฆาตได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หลักเกณฑ์นี้มิได้แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นักผู้ป่วยที่ร้องขอให้แพทย์ทำให้ตนตายไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย แต่ต้องตกอยู่ในสภาวะทุกข์ทรมานอย่างยิ่งและแพทย์กับผู้ป่วยนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ทางการแพทย์กันมาก่อนเป็นระยะเวลานานพอสมควรต่อมาเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2001 วุฒิสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ท่ามกลางการคัดค้านจากหลายฝ่าย ทั้งองค์กรเอกชนและองค์กรด้านศาสนา ประเทศเนอเธอแลนด์จึงเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในโลดที่การทำการุณยฆาตเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

     

     

    ทฤษฎีกับการตัดสินการรุณยฆาต

    ในทางปฏิบัติแพทย์คือผู้ที่ช่วยบรรเทา รักษาและเยียวยาให้เราพ้นจากความตาย  ให้เรากลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งแต่หากแพทย์เป็นผู้ที่นำความตายมาสู้ผู้ป่วยแล้วสิ่งนี้มันเป็นการกระทำที่สมควรและถูกต้องแล้วหรือ ? และสมควรให้มีการทำการุณยฆาตหรือไม่ ?

    ในการตัดสินประเด็นปัญหาดังกล่าวนั้นหากใช้ภูมิหลังของแต่ละคนตัดสินปัญหานี้คำตอบที่ได้มาคงจะแตกต่างกันเนื่องจากแต่ละบุคคลมีภูมิหลังที่แตกต่างกันและไม่มีคำตอบได้ที่ผิดหรือว่าถูกต้อง

    แต่หากเราอ้างการตัดสินตามทฤษฏีต่างๆแล้ว คำตัดสินนั้นก็จะดูมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือขึ้นมาตากหลักของทฤษฏีนั้นๆ

    - หากนำทฤษฎีทางจริยศาสตร์ของค้านมาตัดสิน ค้านกล่าวว่า การกระทำที่ถูกต้องและการกระทำที่ดีคือการกระทำตามหน้าที่ การกระทำตามเจตนาดีเจตนาที่ดีคือเจตนาที่ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกมาเกี่ยวข้องค้านดูเจตนามากกว่าผลของการกระทำดังนั้นผลจะเป็นอย่างไรแต่มีเจตนาที่ดีก็ถือว่าการกระทำนั้นดี และหลักศีลธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยกเว้นที่จะไม่ปฎิบัติตามได้ เรามีหน้าที่ทางศีลธรรมอย่างสมบูรณ์ที่ถูกกำหนดโดยเหตุผล ดังนั้นหากนำทฤษฏีดังกล่าวมาตัดสินแล้วการทำการุณยฆาตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำเนื่องจากแพทย์นั้นมีหน้าที่รักษาและเยียวยาผู้ป่วย มีหน้าที่รักษาชีวิตของผู้ป่วย แม้การทำการุณยฆาตจะมาจากเจตนาที่ดีคือต้องการให้ผู้ป่วยพ้นจากความทรมานก็ตาม แต่เจตนาที่ดีดังกล่าวนั้นได้มีอารมณ์ความรู้สึกมาผสมด้วยและในทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธหรือศาสนาคริสต์ การทำลายซึ่งชีวิตก็เป็นสิ่งที่ผิด ฉะนั้นตามทฤษฏีดังกล่าวการุณยฆาตจึงไม่สมควรที่จะกระทำ

     

    - ถ้าหากเรานำทฤษฏีประโยชน์นิยมมาตัดสินแล้วหละก็ ประโยชน์นิยมนั้นยึดหลักมหาสุขนั้นก็คือการกระที่ถูกต้องนั้นเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขที่ยิ่งใหญ่แก่คนหมู่มากประโยชน์นิยมอ้างว่าศีลธรรมแห่งการกระทำไม่สามารถแยกจากผลที่เกิดตามมา และผลประโยชน์ส่วนบุคคลจะต้องมีความสมดุลกับประโยชน์ของผู้คนทั้งหมดในกรณีของการทำการุณยฆาตนั้นประโยชน์นิยมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ดีสมควรแก่การกระทำ เนื่องจากหากครอบครัวหนึ่งลูกประสบอุบัติเหตุ อาการสาหัส ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อีกทั้งยังไม่รู้สึกตัวหรือเป็นเจ้าชายนิทรานั้นเอง และต้องนอนอยู่โรงพยาบาล ในครอบครัวนั้นมีเพียงพ่อคนเดียวที่เป็นคนหาเงินมาจุนเจือครอบครัว และยังมีน้องอีกสองคน ประโยชน์นิยมเห็นด้วยกับการทำการุณยฆาตเนื่องจากการทำการุณยฆาตนั้นจะช่วยแบ่งเบาภาระที่หนักของผู้เป็นพ่อได้ และยังทำให้เกิดความสุขแก่ส่วนรวมนั้นก็คือแม่และน้องอีกสองคน ประโยชน์นิยมเห็นว่าผลของการกระทำนั้นสำคัญกว่าเจตนาที่กระทำ

    - ส่วน จริยศาสตร์คุณธรรม ของอริสโตเติลก็คือ ทฤษฏีใดๆที่มองว่าการเน้นในเบื้องต้นของจริยศาสตร์เพื่อให้เป็นลักษณะนิสัยของคนมากกว่าที่จะเป็นการกระทำหรือเป็นการทำหน้าที่ของบุคคลจริยศาสตร์คุณธรรมได้กล่าวถึงการทำความดีว่าการกระทำที่บุคคลที่มีลักษณะทางศีลธรรมอันดีที่จะพึงทำ ดังนั้นการทำการุณยฆาตโดยแพทย์เป็นผู้กระทำนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดและไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งตามหลักหลักของจริยศาสตร์คุณธรรมเพราะตามนิสัยปกติของคนแล้วการฆ่าผู้อื่นหรือการช่วยเหลือผู้อื่นให้ถึงแก่ความตายนั้นเป็นการกระทำที่ไม่เกิดขึ้น แม้การกระทำของแพทย์จะทำไปตามหน้าที่เนื่องจากผู้ป่วยเป็นคนร้องขอก็ตาม ฉะนั้นการทำการุณยฆาตจึงเป็นสิ่งที่ผิด

    - ตามความเห็นของข้าพเจ้า การทำการุณยฆาตนั้นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆในหลายๆทั้งเหตุผลทางการแพทย์และเหตุผลทางด้านจิตใจ การทำการุณยฆาตนั้นต้องทำอย่างรอบคอบ เนื่องจากอาจจะเกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ เช่น การฆ่าเพื่อหวังมรดก หรือการฆ่าเพื่อที่จะนำอวัยวะไปขาย เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ตอบได้ยากมาก ถึงแม้จะกล่าวว่าการทำการุณยฆาตนั้นทำด้วยเจตนาที่ดี ต้องการให้ผู้ป่วยหายจากความทุกข์ทรมาน แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเขาทุกข์ทรมานจนทนไม่ได้ ดังนั้นดิฉันจึงไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวอย่างแน่นอนเพราะกระบวนการสิ้นสุดของชีวิต เป็นเรื่องของธรรมชาติ เราไม่ควรเข้าไปแทรกแซง

     

     

     

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×