ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #15 : สำนักเสาตรานติกะ - จริยศาสตร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 608
      0
      15 ก.พ. 54

    จริยศาสตร์ของสำนักเสาตรานติกะ

     

    สังขตธรรม : วิถีและเป้าหมายคือหนึ่งเดียว ไร้วิถีขาดเป้าหมาย บรรลุเป้าหมายคือวิถี

            เสาตรานติกะกล่าวว่า นิพพานเกิดจากการปฏิบัติตามมรรค นิพพานจึงไม่เที่ยง และเป็นสังขตะ  นิพพานไม่ได้มีเองเป็นเองแต่มีได้เพราะการปฏิบัติ
            พิจารณาจากประเด็นนี้
    พอสรุปได้ระดับหนึ่งว่า เสาตรานติกะไม่ยอมรับอสังขตธรรม นั่นคือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยปราศจากการปรุงแต่งไม่มี ทุกอย่างมีเหตุปัจจัยหมด ซึ่งแย้งกับทัศนะของเถรวาทเกี่ยวกับนิพพานที่ว่า

            เสาตรานติกะไม่ได้ถือว่า อริยมรรคมีองค์ เป็นมรรคาที่นำไปสู่นิพพาน แต่ถือว่าเป็นปัจจัยปรุงแต่งนิพพานโดยตรง ซึ่งอาจเป็นได้ว่าเสาตรานติกะรวมวิธีการกับเป้าหมายเข้าด้วยกัน

     

    นิพพานเป็นภาวะที่ปราศจากกิเลส มี ลักษณะ คือ

    . เป็นประติสังขยานิโรธ คือ ความดับกิเลสอนุสัยที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังจะเกิดต่อไปโดย

    อาศัยการพิจารณา

    . เป็นอประติสังขยานิโรธ คือ ความดับแห่งกิเลสอนุสัยที่เกิดแล้ว และกำลังจะเกิดโดยไม่

    อาศัยการพิจารณา

    มีการวิเคราะห์ต่อว่า ประติสังขยานิโรธ คือ ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่ง

    ปัญญา หลุดพ้นเพราะสำรอกอวิชชาได้ และ อประติสังขยานิโรธ คือ เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วย

    อำนาจแห่งใจ หลุดพ้นเพราะสำรอกราคะได้

    ประเด็นเกี่ยวกับนิพพานเป็นสังขตธรรม เมื่อวิเคราะห์ต่อไปอีก จะพบความสมเหตุสมผลอยู่

    บ้าง ในคัมภีร์ของเถรวาทยืนยันความมีอยู่แห่งนิพพานเสาตรานติกะอาจจะเห็นว่าความมีต้องมา

    จากความไม่มี และจะมาโดยเลื่อนลอยปราศจากเหตุปัจจัยไม่ได้เพราะฉะนั้น อย่างน้อยที่สุด ความ

    ไม่มีนั่นแหละเป็นเหตุปัจจัยสร้างความมี เสาตรานติกะแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเถรวาทสายสันสกฤต อยู่ใน

    ขั้นพัฒนาการที่กำลังจะเป็นมหายาน แต่การที่เถรวาทแสดงว่านิพพานเป็นอสังขตะ ก็สมเหตุสมผล

    เช่นเดียวกัน คำยืนยันความมีอยู่แห่งนิพพานของเถรวาทสายบาลีสอดคล้องกับทัศนะของมหายานที่ว่า

    นิพพานกับสังสารวัฏเป็นสิ่งเดียวกัน

    ในคัมภีร์บาลีของเถรวาท มีข้อความประโยคหนึ่งว่า อนมตคโค สํสาโร ปุพพา โกฏิ

    ปญญายติแปลว่า สังสารนี้ก้าหนดที่สุดเบื้องต้น และเบื้องปลายไม่ได้ข้อความนี้มีนัยเหมือนจะ

    สื่อความว่า สังสารวัฏมีเองเป็นเองอยู่อย่างนี้ ยั่งยืนอยู่อย่างนี้ นิพพานกับสังสารวัฏเป็นอย่างเดียวกัน

    ความมีอยู่แห่งนิพพานย่อมมีที่สุดแห่งเบื้องต้น และเบื้องปลายที่กำหนดไม่ได้ เหมือนความมีอยู่แห่ง

    สังสารวัฏ แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่มีจุดบกพร่องให้โต้แย้งได้ เสาตรานติกะอาจมองว่า ปฏิจจสมุป

    บาทเป็นทฤษฎีสากลที่ใช้เป็นกรอบในการอธิบายโลก และปรากฏการณ์ทั้งหมด แม้นิพพานก็อยู่ใน

    กรอบนี้ด้วย กลไกโดยสรุปแห่งปฏิจจสมุปบาทคือเมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้

    จึงเกิดขึ้น เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ

    มหายานมองว่าการบรรลุมรรคผลเหมือนกับการพลิกฝ่ามือ นิพพานกับสังสารวัฏเหมือนด้าน

    ทั้ง ของฝ่ามือ หรือเหมือนด้านทั้ง ของเหรียญเดียวกัน การบรรลุนิพพานคือการเปลี่ยนมุมมองโลก

    และปรากฏการณ์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เรามองเห็นไม่ใช่สิ่งใหม่ เป็นสังขตธรรมที่มีอยู่เดิมนั่นเอง

    เพียงแต่ว่าเรามองด้วยความรู้เท่าทัน ไม่คิดปรุงแต่ง คำว่านิพพานเป็นอสังขตธรรมย่อมหมายถึง

    การมองโลก และปรากฏการณ์ด้วยความไม่คิดปรุงแต่ง ไม่ใช่นิพพานเป็น อสังขตธรรม เพราะ

    นิพพานกับสังสารวัฏเป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อสังสารวัฏซึ่งเป็นกรอบแห่งรูปธรรม และนามธรรมทั้งหมด

    เป็นสังขตธรรม นิพพานย่อมเป็นสังขตธรรมด้วย

    ประเด็นต่อมาที่ทำให้เสาตรานติกะเห็นว่า นิพพานเป็นสังขตธรรม คือ บุคคลผู้บรรลุซึ่งอยู่

    ในฐานะเป็นจิตวิสัยกับนิพพานซึ่งอยู่ในฐานะเป็นวัตถุวิสัย การปฏิเสธว่านิพพานไม่อยู่ในฐานะเป็น

    วัตถุวิสัย เนื่องจากเป็นโลกุตตระ ยังมีเหตุผลไม่เพียงพอให้ยอมรับได้ทั้งหมด จิตวิสัยกับวัตถุวิสัย

    เช่น กรณีอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก คู่ ย่อมมีธาตุเหมือนกันและสอดคล้องกัน ทำปฏิกิริยา

    ต่อกันและกันได้ กรณีของนิพพานก็เช่นเดียวกัน เรามั่นใจว่าจิตวิสัยเป็นสังขตธรรมแน่นอน และการ

    ที่จิตวิสัยจะสื่อสัมพันธ์กับนิพพาน (วัตถุวิสัย) ได้ ต้องมีธาตุเหมือนกัน สภาวะนิพพานย่อมอยู่ในมิติ

    ต่างจากผู้บรรลุ เมื่อมีการบรรลุถึงแล้วไม่ได้หมายถึงว่า จะรวมอยู่ในมิติเดียวกัน แต่เป็นการทำลาย

    กำแพงทะลุมิติเข้าหากัน

     

     

    ทุกข์ : สรรพสิ่งล้วนบีบคั้น เป็นอยู่ท่ามกลางทุกข์ คือสุขเหนือทุกข์

    เสาตรานติกะมีทัศนะแบบทุทรรศนนิยม (Pessimism) ถือว่า ธรรมทั้งหลายนำไปสู่ทุกข์

    แม้แต่สภาวะที่เรียกว่าสุขก็ไม่ใช่สุขที่แท้จริง มีข้อความในคัมภีร์ว่า

    เมื่อมีขันธ์อยู่อย่างนี้ การสมมุติว่าสัตว์จึงมีได้ ความจริง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้น

    ตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ หามีสิ่งอื่นเกิดขึ้นไม่ นอกจากทุกข์ หามีสิ่งอื่นดับไม่.”

    คัมภีร์ของเถรวาทแสดงให้เห็นว่าโดยสรุป ขันธ์ นั่นแหละคือตัวทุกข์ความเพลิดเพลิน

    ความพอใจ ความรักใคร่กำหนัดในขันธ์ ชื่อว่าหมกมุ่นเกี่ยวข้องอยู่ในทุกข์ ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์

    เท่ากับความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ในขณะเดียวกัน ความดับแห่งขันธ์ ก็เป็นความดับทุกข์ พระพุทธเจ้า

    ตรัสว่าผู้ใดเพลิดเพลินในรูป ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินในทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินในเวทนา ผู้ใด

    เพลิดเพลินในสัญญา ผู้ใดเพลิดเพลินในสังขาร ผู้ใดเพลิดเพลินในวิญญาณ ผู้นั้นชื่อว่าเพลิดเพลินใน

    ทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินในทุกข์ ผู้นั้นไม่พ้นไปจากทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ

    บังเกิดความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ

    แห่งชราและมรณะ

    ไม่เพียงเฉพาะขันธ์ เท่านั้นที่เป็นแหล่งสะสมทุกข์ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก

    ทั้งหลาย ซึ่งเรียกรวมกันว่า โลกและปรากฏการณ์ ถือเป็นแหล่งแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าก็สิ่ง

    อะไรเล่าเป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์

    ใจเป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เสียงเป็นทุกข์ กลิ่นเป็นทุกข์ รสเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะเป็น

    ทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์

    สภาวะที่เรียกว่าสุขความจริงแล้วไม่ใช่ แต่เป็นสภาวะที่มีทุกข์น้อยเท่านั้นเอง แต่

    ทุทรรศนนิยมแบบเสาตรานติกะมีนัยเหมือนเถรวาท เพราะฉะนั้น น่าจะเป็นทุทรรศนนิยมแบบ par

    excellence สรรพสิ่งเป็นทุกข์ก็จริง แต่สามารถที่จะแปลงสภาพให้เป็นสุขได้ในท่ามกลางทุกข์ สุขกับ

    ทุกข์เป็นเพียงความรู้สึกซึ่งเปลี่ยนกลับไปมาได้ เมื่อวานได้ยินเสียงนกกระจอกร้อง รู้สึกสุขใจชื่นชม

    ธรรมชาติ แต่วันนี้ได้ยินเสียงนกกระจอกตัวเดียวกันนั่นแหละร้อง รู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ ถามว่า

    ชีวิตคือความทุกข์ เพราะไม่มีชีวิตใดที่อยู่โดยปราศจากตัณหา ที่กล่าวว่าพระอรหันต์ไม่มี

    ทุกข์ไม่ถูกต้อง ความจริงแล้วพระอรหันต์ก็มีทุกข์ แต่ท่านอยู่ได้ในท่ามกลางทุกข์ เพราะมีความ

    ต้านทานทุกข์มากกว่าใคร มีชีวิตที่ไหน มีทุกข์ที่นั่น ดังข้อความว่าโดยสรุป ขันธ์ นั่นแหละ คือ

    ตัวทุกข์เพราะพระอรหันต์ก็คือขันธ์ เสาตรานติกะไม่ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับทุกข์ไว้มากนัก

    เนื่องจากเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ประจักษ์อยู่แล้ว

     

     

    บทสรุป

     

            สาระสำคัญของสำนักนี้ยอมรับความจริง อย่าง ได้แก่ ความจริงแท้ของวัตถุหรือรูปธรรม กับ

    ความจริงแท้ของจิตหรือนามธรรมอย่างเดียวกับไวภาษิกะ จึงจัดเป็นปรัชญาสัจจนิยมเหมือนกัน แต่ต่าง

    กับสำนักไวภาษิกะในทางญาณวิทยา

    กล่าวคือไวภาษิกะถือว่า ความจริงแท้ของวัตถุหรือความจริงแท้ภายนอก สามารถรับรู้ได้ด้วยประจักษประมาณ ความจริงแท้ทางจิตหรือความจริงแท้ภายใน รู้ได้ด้วยอนุมานประมาณ หรือประจักษประมาณพิเศษ แต่สำนักเสาตรานติกะเห็นว่า ความจริงแท้ภายนอกที่ปรากฏทางประสาทสัมผัสซี่งไวภาษิกะถือว่าเป็นความจริงแท้ตามความเป็นจริงนั้น

    เสาตรานติกะค้านว่า ที่ปรากฏนั้นเป็นเพียงภาพปรากฏของความจริงแท้ที่ไม่ปรากฏ ถ้าจะให้รู้ความจริงแท้ก็ต้องอนุมานเอาจากภาพปรากฏไปหาความจริงแท้ที่อยู่เบิ้องหลังของภาพปรากฏนั้น พูดถึงการเน้นหนักของสำนักทั้งสองนี้ต่างกัน คือไวภาษิกะเน้นหนักความจริงภายนอก ส่วนเสาตรานติกะเน้นหนักความจริงภายในและยอมรับปฏิจสมุปบาทเช่นเดียวกับไวภาษิกะ ด้วยเหตุที่ถือความจริงทั้ง อย่างดังกล่าว

    สำนักเสาตรานติกะ จึงเป็นปรัชญาพวกสัจจนิยมถึงแม้แนวคิดทางปรัชญาจะเป็นสัจจนิยมเช่นเดียวกับสำนักไวภาษิกะ ทั้งสองสำนักยังมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเดียว คือฝ่ายไวภาษิกะ มีความเห็นว่า เราย่อมสามารถรู้โลกภายนอกได้แต่สำนักเสาตรานติกะยืนยันว่า เราจะรู้เรื่องโลกภายนอกได้โดยการอนุมานเท่านั้น และทั้ง สำนักมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องวิญญาณวาท ซึ่งเป็นทัศนคติที่กล่าวว่ามีแต่การรับรู้อย่างเดียวเท่านั้น เพราะถ้าปราศจากสิ่งที่รับรู้แล้วก็ย่อมไม่มีการรับรู้ ดังนั้นจึงต้องยอมรับว่า มีโลกภายนอกจริง สำนักวิญญาณวาทิน ได้แสดงความเห็นว่าไม่สนับสนุนทฤษฎีปรมาณู ดังนั้นสำนักนี้เมื่อไม่ยอมรับว่ามีปรมาณู และไม่มีสิ่งใดสร้างขึ้นจากปรมาณู จึงต้องยอมรับว่าการมีอยู่ของโลกภายนอกรู้ได้จากการอนุมาน มิฉะนั้นแล้วเราก็จะรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามิได้มีอยู่ไม่ได้

     

    ....จบ.....

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×