ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พรีเซ้น - พุทธปรัชญา

    ลำดับตอนที่ #14 : สำนักเสาตรานติกะ - ญาณวิทยา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 734
      4
      14 ก.พ. 54

    พุทธปรัชญาสำนักเสาตรันติกะ (ญาณวิทยา)

     

    ผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักนี้ คือ กุมารตะ แห่งนครตักศิลา  คำว่า เสาตรันติกะตรงกับภาษาบาลีว่า สุตตันติกะ แปลว่า ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติตามพระสูตร หมายความว่า ปรัชญานี้นับถือพระสุตตันตปิฎก เป็นสำคัญ ไม่ยอมรับพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก สำนักปรัชญานี้เป็นของ นิกายสรวาทสติวาท เช่นเดียวกับ สำนักไวภาษิกะ

    ใจความสำคัญของสำนักนี้ คือ การยอมรับความจริงแท้ 2 อย่าง ได้แก่ ความจริงแท้ของวัตถุหรือรูปธรรม กับความจริงแท้ของจิตหรือนามธรรม จิต และ วัตถุ ทั้ง 2 อย่าง แยกกันอยู่ และมีคุณสมบัติเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่แก่กัน แนวคิดของสำนักนี้เป็นระบบสัจนิยม แนวความคิดที่สำคัญ และน่าสนใจที่สุด คือ ทฤษฎีสืบเนื่อง (สันตติ) ของบุคคล หรือ สิ่งต่างๆ หรือ เรียกอีกอย่างว่า ทฤษฎีแห่งการเปลี่ยนรูป

     

    ญาณวิทยา

    เสาตรันติกะ เป็นลัทธิพาหยารถานุเมยวาท คือ มีทรรศนะว่า จิตไม่สามารถเข้าถึงตัวจริงของวัตถุได้โดยตรง เสาตรันติกะเป็นลัทธิตัวแทน ปรากฎการณ์ของสรรพสิ่ง เป็นตัวแทนโดยตรงของวัตถุ

     

    พาหยารถานุเมยวาท

    ลัทธิแบบพาหยารถานุเมยวาท ถือว่าเป็นการสนับสนุนปรมาณูนิยมอย่างสุดโต่ง เพราะถือว่า ปรากฏการณ์ (ธรรม) ดำรงอยู่ชั่วขณะไม่พอที่จะรับรู้ได้

                    เสาตรันติกะ สรุปว่า ทฤษฎีปฏิจจสมุปบาทแท้ที่จริงแล้ว เป็นเพียงทฤษฎีแห่งความสืบเนื่อง คือ สมนันตระ คือ เหตุการณ์หนึ่งเกิดต่อเนื่องจากอีกเหตุการณ์หนึ่ง โดยปราศจากความสัมพันธ์ที่พอจะรับรู้ได้

     

    ความรู้เกิดได้โดยการอนุมานเท่านั้น

    1. เสาตรันติกะปฏิเสธพาหยารถประจักษวาทของไวภาษิกะ หันมายึดถือลัทธิขณิกวาท อย่างสุดโต่ง ไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้โดยตรง

    2. เสาตรันติกะยอมรับว่ามีวัตถุอยู่ เพราะเงาหรือภาพที่ปรากฏเกิดจากวัตถุที่แท้จริงซึ่งอยู่เบื้องหลัง

    3. ทุกอย่างที่เห็นเป็นภาพที่สะท้อนมาจากสิ่งนั้นๆ อาจเป็นภาพสะท้อนขั้นที่1 2 หรือ 3 แล้วแต่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลเพียงใด ภาพที่ปรากฏเป็นการแสดงตัวออกมา ไม่ใช่ตัววัตถุ

    4. จิตไม่สามารถเข้าถึงสภาพที่แท้จริงของสรรพสิ่งได้โดยตรง แต่เข้าถึงได้โดยการอนุมานเอาจากภาพที่ปรากฏไปหาวัตถุนั้นๆ

     

    เรารู้จักปรากฏการณ์ได้อย่างไร?

    1. วัตถุเกิดดับเร็วมาก ประสาทของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ทัน แต่ประสาทได้ถ่ายภาพของวัตถุนั้นๆไว้เรียบร้อยแล้ว ในชั่วขณะที่มันเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที สิ่งที่ประสาทสัมผัสถ่ายเอาไว้นั้น เรียกว่า สำเนา (copy) ของวัตถุนั้นๆ

    2. เมื่อประสาทสัมผัสถ่ายภาพวัตถุแล้ว ก็เก็บรวบรวมไว้ใน     ศูนย์รวมประสาทหรือสมองกล ในชีวิตประจำวัน เรารู้        สรรพสิ่งได้เพราะเราเคยประสบสิ่งนั้นมาแล้ว และมี     ภาพถ่ายไว้ในศูนย์รวมประสาทแล้ว จึงเห็นได้ชัดว่า กรณีที่     เราไม่เคยรู้เห็นสิ่งนั้นมาก่อน                เราก็ไม่รู้จักสิ่งนั้น แต่ถ้าเรา              เคยรู้เห็นสิ่งนั้นมาก่อน แม้จะหายไป             หรือดับไปแล้ว แต่              เมื่อเห็นสิ่งนั้นอีก เราก็จะสามารถรู้จักได้

     

    แหล่งเกิดความรู้

    1.             ประจักษ์ประมาณ ได้แก่ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งจัดเป็นความรู้ในขั้นต้น

    2.             อนุมานประมาณ คือ การหาสาเหตุจากสิ่งที่ประจักษ์ โดยอาศัยความสัมพันธ์ของทั้ง 2 อย่าง ถือว่าเป็นความรู้ขั้นสูง

     

    อารมณ์ของความรู้

    1.   รูป แบ่งออกเป็น 2 อย่าง

                                    - อุปาทานรูป ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ

                                    - อุปาเทยรูป ได้แก่ ความแข็ง ความเอิบอาบ ความหวั่นไหว ความอบอุ่น

    2.   อรูป แบ่งออกเป็น 2 อย่าง
                   
    - จิต คือ ตัวรับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ต่างๆ และเป็นอารมณ์ของตัวเองด้วย (รู้ตัวเองได้)
                   
    - กรรม คือ กรรมดีและกรรมชั่ว

    3.   นิพพาน แบ่งออกเป็น 2 อย่าง
                   
    - โสปาธิเศษนิพพาน
                   
    - นิรุปาธิเศษนิพพาน

    4. วฺยวหาร (โวหาร) แบ่งออกเป็น 2 อย่าง
                   
    - สัทวฺยวหาร คือ โวหารที่ปรากฏเป็นเสียงประจักษ์ หรือ โวหารจริง
                   
    - อสัทวฺยวหาร คือ โวหารที่ไม่ปรากฏเสียงประจักษ์ หรือ โวหารเท็จ

                   
    แต่ละวฺยวหารจะเป็นอารมณ์ได้ก็ต้องมี
    1. สังฆาฎะ คือ การรวมเข้าเป็นถ้อยคำ
    2. สันตานะ คือ การเปล่งเสียงออกมา
    3. อุตปันนนาศะ คือ การเกิดดับ

     

    ทฤษฎีความรู้ของเสาตรันติกะ หรือ เงื่อนไขของความรู้ทางผัสสะ 4 อย่าง

    1. อารมณ์ หรือวัตถุที่ถูกรู้ อารมณ์ คือ วัตถุภายนอกที่ปรากฏเป็นสิ่งเร้าทางผัสสะ

    2. จิตรับรู้ หรือสมนันตระ เป็นจิตเกิดต่อจากการได้รับการถ่ายแบบจากวัตถุ ทำหน้าที่เปิดรับอารมณ์

    3. การรู้สึกทางผัสสะ หรือการรู้สึกทางอินทรีย์สัมผัส บางทีเรียกว่า อธิปติปัจจัย หรือสาเหตุสำคัญของความรู้ เป็นสิ่งกำหนดความรู้ทางระบบประสาท

    4. เงื่อนไขภายนอกมาช่วยเหลือ เรียกว่า สหการี ปัจจัย เป็นปัจจัยเกื้อให้เกิดความรับรู้ชัดเจนขึ้น ปัจจัยเหล่านี้คือ แสงสว่าง ระยะห่างที่เหมาะสม ลักษณะรูปร่างที่มีขนาดจะรับรู้ได้

     

                    เพราะอาศัยการรวมตัวของเงื่อนไข 4 ประการ การรับรู้วัตถุจึงเป็นไปได้ แต่การรับรู้ทางผัสสะก็เป็นเพียงทางผ่าน มโนภาพของวัตถุภายนอก ถ้าผ่านการรับรู้ของจิตเรา เมื่อจิตเรารู้วัตถุภายนอก เรียกว่า เป็นการอนุมานเพียงอย่างเดียว

                    เสาตรันติกะ ไม่ยอมรับประจักษ์ประมาณว่า สามารถชี้ให้เรารับรู้วัตถุภายนอกได้โดยตรง แต่ยอมรับว่า เพราะอาศัยเงื่อนไขทั้ง
    4 เป็นผลให้เกิดมโนภาพของวัตถุภายในจิต เมื่อเรารับรู้ว่า มโนภาพของวัตถุมีอยู่ในจิต เราก็สามารถอนุมานจากมโนภาพของวัตถุว่า วัตถุภายนอกมีจริง แต่เป็นการรู้โดยอ้อม

                    การมีอยู่ของวัตถุภายนอก ไม่อาจจะรับรู้ได้ เพราะสิ่งที่จิตรู้ในทันที คือการถ่ายแบบสำเนาของวัตถุสู่จิต และรู้ในจิต แต่จากการถ่ายแบบของวัตถุสู่จิต เราก็อนุมานว่า
    ของจริงมีอยู่ ดุจเรามองภายนอกของสัตว์แล้วรู้ว่า สัตว์จริงต้องมีอยู่ทั้งๆที่เราไม่ได้รับรู้ (เห็น) สัตว์ตัวจริงเลย


    ....จบ....

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×