โยนิโสมนสิการ - โยนิโสมนสิการ นิยาย โยนิโสมนสิการ : Dek-D.com - Writer

    โยนิโสมนสิการ

    โยนิโสมนสิการเป็นเครื่องฝึกในการสร้างนิสัยใหม่ให้แก่จิตและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักคิดหรือคิดเองอันเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา

    ผู้เข้าชมรวม

    12,408

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    12.4K

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 พ.ค. 49 / 17:38 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                      โยนิโสมนสิการ  เป็นเครื่องฝึกในการสร้างนิสัยใหม่ให้แก่จิตและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักคิดหรือคิดเองอันเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา  และจำเป็นสำหรับการที่จะมีการศึกษา  เพราะเป็นการทำให้เกิดปัญญา  ทำให้แก้ปัญหาดับความทุกข์ได้  และยังเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสมดุลและเกิดทางออกในยามที่ถูกความคิดตามแนวนิสัยเดิมชักนำไปสู่ความอับจนความทุกข์และปัญหาบีบคั้นต่างๆ   ซึ่งเป็นเครื่องมือที่    พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำไว้ 10 วิธี

                     
                       โยนิโสมนสิการสามารถสรุปได้เป็น 2 ประเภท คือ

      1.โยนิโสมนสิการประเภทพัฒนาปัญญาโดยตรง  คือ  มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริงตรงตามสภาวะแท้ๆ

      2.โยนิโสมนสิการประเภทสร้างเสริมคุณภาพจิต  คือ  มุ่งปลุกเร้าจิตใจให้เกิดคุณธรรมหรือกุศลธรรมต่างๆ

                     
                       
      โยนิโสมนสิการ  ประกอบด้วยวิธีคิดทั้งหมด 10 วิธี ดังนี้

      1.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย 
      2.วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ                  
      3.วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา

      4.วิธีคิดแบบแก้ปัญหา                     
      5.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์                   
      6.วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก

      7.วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม               
      8.วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม                       
      9.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน

      10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

                     
                      ตัวอย่างวิธีคิดในแบบต่างๆ  เช่น

      วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ  เป็นวิธีที่มุ่งเพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆตามสภาวะของมัน  ซึ่งเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆมาประมวลกัน  เมื่อแยกแยะกระจายออกไปให้เห็นองค์ประกอบย่อยๆต่างๆได้แล้ว  จึงจะรู้จักสิ่งนั้นได้ถูกต้องแท้จริง  แล้วจึงจับจุดที่เป็นปัญหาและเริ่มแก้ไขปัญหานั้นได้  ตัวอย่างการคิดแบบนี้ เช่น พระพุทธศาสนาแยกแยะชีวิตออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่น ขันธ์ 5 เป็นต้น


                 วิธีคิดแบบแก้ปัญหา
        หรือวิธีคิดแบบอริยสัจ  ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือทุกข์โดยรู้กำหนด  ทำความเข้าใจปัญหาหรือความทุกข์ให้ชัดเจนแล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไขพร้อมกันนั้นก็กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่าคืออะไร เป็นไปได้หรือไม่ เป็นไปอย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหาโดยสอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่ได้กำหนดไว้นั้น  ซึ่งวิธีดังกล่าวอาจวางเป็น     ขั้นตอนดังนี้

                      ขั้นที่ 1 กำหนดทุกข์ คือแจกแจงแถลงปัญหา ทำความเข้าใจปัญหาให้เข้าใจชัดเจนวาเป็นอะไร

                      ขั้นที่ 2 สืบสวนเหตุแห่งทุกข์ วิเคราะห์ค้นหามูลเหตุหรือต้นตอของปัญหาที่จะต้องแก้ไข

                      ขั้นที่ 3 เล็งหมายชัดซึ่งการดับทุกข์ที่จะทำให้สำเร็จ เล็งเห็นชัดเจนถึงภาวะปราศจากปัญหาซึ่งมุ่งหมายว่าคืออะไร

                      ขั้นที่ 4 จัดวางวิธีการดับทุกข์ที่จะต้องปฏิบัติ กำหนดวางวิธีการ แผนการรายละเอียดที่จะต้องทำในการแก้ไขกำจัดสาเหตุของปัญหาให้สำเร็จ


                 วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม
        เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทาและขัดเกลาตัณหา  เพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรมและเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิ  หลักการทั่วไป คือ ประสบการณ์คือสิ่งที่ได้ประสบหรือรับรู้อย่างเดียวกับบุคคลที่ประสบหรือรับรู้ต่างกัน  อาจมองเห็นและคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่าง


                     การสร้างนิสัยใหม่ให้กับตนเองโดยใช้หลักของโยนิโสมนสิการนั้น  อาจมีความเป็นไปได้ตามความพยายามของแต่ละบุคคล  ซึ่งหากผู้นั้นมีความพยายามสูง  ก็เป็นไปได้ง่ายที่จะสร้างนิสัยและฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ  แต่หากผู้นั้นจิตใจไม่เข้มแข็งพอที่จะต้านทางกิเลสและความคิดฝ่ายต่ำของตัวเองได้  ก็อาจเป็นไปได้ยากเช่นกัน  แต่ทั้งนี้หากบุคคลนั้นฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการเป็นประจำ  แม้อาจจะต้องใช้เวลานานก็ตาม  แต่เมื่อฝึกปฏิบัติจนเคยชินแล้ว  ผลที่ได้นั้นมีความคุ้มค่ามาก  เพราะคนทั่วไปมักเกิดความเคยชินในนิสัยการคิดแบบเดิมโดยมีความไม่ชอบเป็นพื้นฐาน  หากไม่ได้รับการฝึกฝน  ประกอบกับใช้ความอดทนแล้ว  ก็คงเป็นไปได้ยาก  ซึ่งมนุษย์เราทั่วไปมักจะหวังผลเพียงแค่ไม่นานนัก  เพียงแค่ให้ผ่านไปชั่วครู่  ไม่อดทนต่อความยากลำบากหรืออุปสรรคใดๆ  ซึ่งนี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดความเหลาะแหละ  ไม่อดทนและพยายามให้เต็มที่  หวาดกลัวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น  และสุดท้ายความล้มเหลวก็ทำให้มนุษย์ผู้นั้นมีอันต้องล้มทั้งยืนเลยทีเดียว


                    การคิดแบบโยนิโสมนสิการนี้นับเป็นเครื่องมือชั้นเยี่ยมที่ช่วยพัฒนาปัญญาและความคิดของมนุษย์ให้สูงขึ้น  ช่วยให้มนุษย์เป็นผู้ที่คิดเป็น คิดถูกและคิดในทางสร้างสรรคเพื่อช่วยจรรโลงโลกใบนี้ให้มนุษย์รุ่นต่อๆไปได้ดำรงอยู่และพัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังเอื้อประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์อีกด้วย  หากมนุษย์รู้จักประยุกต์ให้เข้ากับสภาพการดำรงชีวิตของตนเอง  ก็จะช่วยในการดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นและสงบสุขตลอดไป

      ********************

      ป.ล.บทความนี้ได้รับแนวคิดมาจากการเรียนการสอนวิชา มน102 มนุษย์กับการใช้เหตุผลและจริยธรรม

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×