ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านสังคมของไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : สภาพสังคมไทยสมัยสุโขทัย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 14.62K
      19
      29 ต.ค. 52

    สภาพสังคมไทยสมัยสุโขทัย
    สภาพสังคมของสุโขทัยมีข้อสังเกต 3 ประการคือ
                     ด้านสิทธิเสรีภาพ สังคมสุโขทัยประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเป็นอย่างมาก ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง กล่าวว่า “…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน …” ในด้านเศรษฐกิจ กล่าวถึงเสรีภาพในการทำมาหากิน เช่น “…ใครจักค้าช้าง ค้า ใครจักค้าม้า ค้า ใครจักค้าเงินค้าทอง ค้า …” การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีเสรีภาพเช่นนี้ น่าจะเป็นกุศโลบายของพระมหากษัตริย์ ที่ต้องการจะจูงใจให้ ชาวต่างเมืองเข้ามาค้าขายหรือทำมาหากิน เพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ และกำลังคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันบ้านเมือง ในสมัยสุโขทัยนั่นเอง
                     ในด้านระบบความเชื่อ ศาสนา สังคมในสมัยสุโขทัย ประชาชนมีความเชื่อทั้งในด้านภูตผีวิญญาณ พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ และไสยศาสตร์ ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า “…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฏิวิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูกเมืองนี้เที่ยวเมืองนี้ดี ผีไหว้บ่ดี พลีบ่อถูก ผีในเขาอันบ่อคุ้ม บ่อเกรง เมืองนี้หาย…”
                     สำหรับพุทธศาสนา สุโขทัยได้รับอิทธิพลนิกายหินยานจากนครศรีธรรมราช แล้วแพร่เข้าไปอาณาจักรล้านนา พ่อขุนรามคำแหงทรงทำบุญถวายทานและนำประชาชนทำพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนนะและวันสำคัญๆ นอกจากนี้ยังรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นิกายลังกาวงศ์ เข้ามาในราชอาณาจักรทำให้สุโขทัยมีวัดวาอาราม พระพุทธศิลป์ เป็นแบบฉบับทางศิลปกรรมที่เรียกว่า ศิลปะแบบสุโขทัยเป็นแบบฉบับมาจนถึงทุกวันนี้
                     การจัดระเบียบสังคม แม้สุโขทัยมีลักษณะเด่นที่ราษฎร มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ในระบบที่เรียกว่า พ่อปกครองลูกก็ตาม แต่ความจำเป็นทางสังคม และความจำเป็นในด้านการรักษาความสงบ ในยามสงครามจึงทำให้ มีการจัดระเบียบสังคมขึ้น สังคมสุโขทัยอาจแบ่งเป็น 4 ชนชั้นคือ

    1. พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง ซึ่งมีคำเรียกเป็นคำอื่น ๆ เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา เป็นต้น
                2. ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีหน้าที่ช่วยปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในพระราชสำนัก เป็นกลุ่ม คนที่ใกล้ชิดได้รับความไว้วางใจจากเจ้าเมือง ให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า มักพบคำนี้ในศิลาจารึกลูกเจ้าลูกขุน 
                3. ไพร่ คือ สามัญชน ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร 
                4. ทาส เป็นชนชั้นที่ไม่มีอิสระ ในการดำรงชีวิตเยี่ยงสามัญชนหรือไพร่ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าในสมัยสุโขทัยมีทาสหรือไม่ มีทาสชนิดใด
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×