ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #41 : โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ตอนที่ 1

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15.19K
      38
      23 ต.ค. 48





                        ตามสัญญาครับว่า เมื่อผมเคลียร์งานต่างๆและจัดเวลาได้ลงตัว เทคนิคช่วยจำชีวะในเทอมสองของทั้ง 3 ระดับชั้นก็จะกลับมาพบกับผู้อ่านกันอีกครั้ง และคงจะเต็มที่กว่าครั้งที่ผ่านมา แต่ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นอะไรสักนิดหนึ่งว่า ทำไมถึงมีบทความของตัวเองตั้ง 6 บทความ ทำไมไม่เขียนแต่ชีวะทุกวันไปเลยล่ะ



                       คำตอบคือรู้ตัวครับว่าเป็นคนที่เบื่อง่าย ถ้าทำอะไรอย่างเดียวตลอด 7 วันเดี๋ยวก็เบื่อ แต่ถ้าทำอะไรหลายๆอย่าง แล้วมันก็จะมีสีสันของชีวิตไงครับ ทำให้ทำทุกอย่างได้นานขึ้นและไม่เบื่อ แต่ต้องพึงระวังไว้นิดว่า อย่าให้งานมันมากจนเกินไปหรือไม่ก็ต้องทำทุกวันอย่ามาเร่งทำตรงช่วงที่ต้องเตรียมส่ง แค่นั้นชีวิตก็มีรสชาติขึ้นอีกเป็นกอง จริงไหมครับ เกริ่นพอเป็นกระสัยแล้ว ผมว่าเรามาเข้าเนื้อหากันดีกว่า



                       อ้อ...เกือบลืมบอกไปว่า 40 ตอนที่เขียนไปแล้วนั้นก็ถือว่าเป็นอนุสรณ์หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาก็แล้วกันอาจจะดูมั่วๆหน่อย พอมาเทอมนี้กะว่าจะลงทั้ง ม.4 ม.5 และม.6 ไปในบทความชุดนี้เลย แต่จะสลับบทกันไปเพราะเคยแยกเขียนแล้วผมดันงงเอง ก็เลยต้องลองทำแบบนี้ดูโดยผมเลือกของ ม.5 ก่อน แล้วผมจะพยายามอัพเดททุกพุธและอาทิตย์ ถือเป็นวันชีวะไปเลยก็แล้วกัน แต่ถ้าพุธหรืออาทิตย์ไหนหายไปก็เป็นอันรู้กันว่า ถ้าไม่ป่วยก็ต้องมีเรื่องด่วนจริงๆ แต่ถ้าว่างและยังมีชีวิตอยู่ก็จะไม่ทิ้งไปไหนแน่นอนครับ เป็นกำลังใจให้ด้วยละกัน



                     12.1 เนื้อเยื่อของพืช   โดยภาพรวมแล้วจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ เนื้อเยื่อเจริญ และเนื้อเยื่อถาวร มันต่างกันยังไงนะ ปะไปดูกันเถอะ



                     มาทำความรู้จักกับเนื้อเยื่อเจริญกันก่อนดีกว่านะ



                     คำนิยามของเนื้อเยื่อเจริญนั้น สั้นๆ ง่ายๆก็คือ เป็นเนื้อเยื่อที่เซลล์นั้นยังมีการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา คำนิยามอ่ะจำง่าย แต่ลักษณะสำคัญนี่สิ เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่มะไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องตกใจ เพราะลักษณะสำคัญของเนื้อเยื่อเจริญก็คือ



                    \"อยู่บาง ร่างได้ ใหญ่เล็ก\" คืออันนี้ไม่ใช่ชื่อหนังเรื่องใหม่ของเฉินหลงนะครับ ไอ้ประเภท ใหญ่ฟัดใหญ่อ่ะ แต่มันมีความหมายซ่อนอยู่ที่เราจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากเลยหล่ะ ปะไปดูกัน





                    อยู่-------------อันนี้ไม่ได้หมายถึง \"หวังอยู่\" แต่หมายถึงว่า เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญเนี่ย มันยังมีชีวิตอยู่ และที่สำคัญ มันมีโพรโทพลาซึมข้นมั่กมั่ก



                   บาง-------------อันนี้ก็ไม่ได้หมายถึงคนที่เอวบางร่างน้อยแต่ประการใด แต่โน้น หมายถึง เซลล์ที่ประกอบเป็นเนื้อเยื่อเจริญเนี่ยมันมีผนังเซลล์ \"บาง\" เท่านั้นยังไม่พอ ตัวผนังเซลล์ยังประกอบไปด้วยเซลล์ลูโลสเป็นส่วนใหญ่



                  ร่าง--------------อันนี้ก็ไม่ได้หมายถึงมดเอ็กซ์กำลังจะแปลงร่างอะไรทั้งนั้น แต่พยายามจะสื่อว่า เนื้อเยื่อเจริญเนี่ย มักจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปที่มีหลายเหลี่ยม และมันก็จะอยู่ใกล้กันมากจนแทบไม่มีที่ว่างให้เราไปเดิน เอ้ย ไม่ใช่ ไม่มีที่พอให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์เลยล่ะ พูดแบบนี้ชวนให้นึกถึงคนบนสะพานลอยแถวห้างพาต้าปิ่นเกล้าและเดอะมอลล์บางกะปิ





                 ได้---------------พอได้ยินคำว่าได้ก็ต้องนั่งคิดแล้วว่า \"ทำอะไรได้ฟ่ะ\" จริงๆแล้วก็ไม่ใช่อะไรหรอกนอกจากพยายามจะเน้นอีกทีว่ามัน \"แบ่งเซลล์ได้\" และมันจะแบ่งได้จนกว่าตัวของมันเองเนี่ยจะเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง



                 ใหญ่-------------พอได้ยินก็ต้องมานึกกันอีกว่าอะไรใหญ่ หนังเรื่อง ใหญ่ฟัดใหญ่ของคุณน้าเฉินหลงรึเปล่า ปัดโธ่ก็บอกแต่ตอนต้นแล้วว่า บ่ใช่ แต่เป็นว่า มี \"นิวเคลียสขนาดใหญ่\" ถ้าไม่เชื่อก็ไปเอามาส่องกล้องดูเลย โห นิวเคลียสขนาดใหญ่ซะ  แล้วก็เห็นได้ชัดเจนมั่กมั่กเลยล่ะ (มาเขียนใหม่คราวนี้รู้สึกจะติดสำนวนเด็กแนวมากไปหน่อย มะเป็นไรเนอะ ถือซะว่ากันเอง)



                เล็ก--------------ถูกต้องแล้วครับ มีใหญ่แล้วก็ต้องมีเล็ก มันเป็นของที่คู่กันสไตล์หยินหยางอยู่แย้ว  แล้วอะไรล่ะที่มันเล็ก นั่นน่ะสิ อะไรล่ะ คำตอบก็คือ แวคิวโอลครับผม เล็กซะ และที่สำคัญบางเซลล์ก็ไม่มีเลย



               อย่าลืมนะ \"อยู่บาง-ร่างได้-ใหญ่เล็ก\" จบ ขึ้นหัวข้อต่อไปเลยคร๊าบ





               ลืมบอกภาษาอังกฤษไปครับ เนื้อเยื่อเจริญเนี่ย เขาเรียกว่า meristem





              เรามาดูประเภทของเนื้อเยื่อเจริญกันดีกว่า  ถ้าแบ่งตามส่วนต่างๆของพืชมันจะแบ่งได้ 3 ชนิดครับผม คือ \"ข้อปลายข้าง\"





    ข้อ-----------------------คือเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ หรือที่เรียกกันว่า intercalary meristem ถ้าแบ่งเซลล์มันก็จะมีส่วนทำให้ลำต้นของพืชสูงขึ้น พืชที่ได้รับประโยชน์จากมันส่วนใหญ่จะเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพดฯลฯ



    ปลาย--------------------คือเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายครับผม   เราเรียกกันว่า  apical meristem บางคนก็เรียกว่าเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด บางคนก็เรียกเนื้อเยื่อเจริญปลายราก ขึ้นอยู่กับว่าเขาเน้นตรงส่วนไหน ก็เพราะมันจะอยู่ตรงปลายยอดกับปลายรากนี่แหละ และยังรวมตรงปลายกิ่งด้วยนะ เมื่อมันแบ่งเซลล์ก็จะทำให้ยอดกับรากยืดยาวออก เจ๋งไหมล่ะ



    ข้าง---------------------คือเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง หรือที่นิยมเรียกกันว่า lateral meristem  ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่ช่วยทำให้มีการแบ่งตัวออกทางด้านข้าง เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างมีอีกชื่อหนึ่งว่าแคมเบียม (cambium) คงคุ้นเคยกันดีกับชื่อนี้นะครับ ถ้าเราไปพบเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างในกลุ่มท่อลำเลียง เราก็จะเรียกว่า vascular cambium ถ้าพบแถวเยื่อบุผิวของลำต้นและรากที่ถัดเข้าไปก็จะเรียกว่า cork cambium



              เสร็จจากเนื้อเยื่อเจริญแล้วเราไปต่อกันที่เนื้อเยื่อถาวรกันดีกว่า





              เนื้อเยื่อถาวรในที่นี้ไม่ใช่เนื้อเยื่อของ \"คุณถาวร\"นะครับ  แต่หมายถึงเนื้อเยื่อถาวรของพืช ซึ่งจริงๆแล้วมันก็เกิดมาจากเนื้อเยื่อเจริญนี่แหละ เพียงแต่ว่ามันได้มีการเปลี่ยนแปลบงรูปร่างเพื่อไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างก็เท่านั้นเอง เนอะ เรามาดูกันดีกว่าครับว่าเขาแบ่งเนื้อเยื่อถาวรออกเป็นกี่ชนิด



              เขาแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆนะครับคือ เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว หรือ simple permanent tissue กับเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน หรือcomplex permanent tissue อ้าว...แล้วมันต่างกันยังไงล่ะเนี่ย





             เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวนั้นเป็นเนื้อเยื่อที่เป็นเซลล์ชนิดเดียว ประกอบด้วย \"เอพาเกลอ   เอนคอร์กคอล\" ถ้าเอาความหมายตามเทคนิคช่วยจำก็จะได้ประมาณว่า เจ้าเอเนี่ยพาเพื่อนไปเอนเข้าวิทยาลัยคอร์ก เพราะ คอร์กคอลก็คือ คอร์กคอลเลจ อยู่ละแวกเดียวกับคิงส์คอลเลจนั่นแหละ แต่จริงๆแล้วถ้าจะให้สอบผ่านก็ต้องทราบความหมายเหล่านี้ด้วย





             เอ----------------epidermis เป็นเซลล์ที่อยู่ชั้นนอกสุดและปกคลุมอยู่แทบทุกส่วนของพืช ที่ผิวเซลล์มีสารพวกคิวตินฉาบอยู่



             พา---------------parenchyma เราจะพบเซลล์เหล่านี้ได้ตามส่วนอ่อนในต้นพืช ลักษณะสำคัญของ พาใครมาว่ะ เอ้ย ไม่ใช่ พาเรงไคมาคือ  ใหญ่โตโอ่อ่าสง่ากลม





                                   โหญ่โต หมายถึง parenchyma เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่มีผนังเซลล์บาง

                                   โอ่       หมายถึง  parenchyma เป็นเซลล์ที่มีแวคิวโอล (โอ่มาจากคำว่า \"โอล\") ขนาดใหญ่ทำให้เก็บน้ำกับอาหารได้มาก

                                   อ่า       ในที่นี้ให้นึกถึงคำว่า \"อาหาร\" เพราะ parenchyma บางเซลล์นั้นสามารถสร้างอาหารเองได้เพราะมีคลอโรพลาสต์ ส่วนบางเซลล์นั้นทำหน้าที่ในการเก็บสะสมอาหารจำพวกแป้ง



                                  สง่ากลมนี่    ต้องการเน้นแค่ว่ารูปร่างของ parenchyma มักจะค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปหลายเหลี่ยม



            เกลอ--------------sclerenchyma เป็นเซลล์ที่ช่วยทำให้พืชแข็งแรง ตัวอย่างของเซลล์พวกนี้ได้แก่ fiber , stone cell และ sclereid เราจะพบ stone cell ได้ที่ กะลามะพร้าวและเปลือกหุ้มเมล็ด ส่วน sclereid จะพบที่เนื้อผลไม้ที่สากๆและเปลือกหุ้มเมล็ด



           เอน----------------endodermis เป็นเซลล์ที่พบอยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อลำเลียงของราก รูปร่างจะคล้าย parenchyma ต่างกันตรงที่ว่าparenchyma มีผนังเซลล์บาง ส่วน  endodermis จะมีผนังเซลล์หนา เพราะมีสารพวกลิกนินและซูเบอรินมาพอกจนหนา  ส่วน parenchyma นั้นเซลล์เรียงตัวติดกันจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่สำหรับ endodermis นั้นเซลล์จะเรียงตัวติดกันแน่นมากจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ จำง่ายๆว่า มัน \"มิด\" อ่ะ สมกับชื่อ endodermis มิดซะจนไม่เหลือช่องว่างระหว่างเซลล์เลย



          คอร์ก---------------cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของรากและลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ ที่มีการเจริญขั้นที่สอง ผนังเซลล์จะมีสารซูเบอรินและลิกนิน สารซูเบอรินมีสีน้ำตาลทำให้เปลือกไม้มีสีน้ำตาลไปด้วย



         คอล-----------------collenchyma มีขนาดเล็กกว่า  parenchyma ที่ผนังเซลล์มีสารพวกเพกตินพอกอยู่ทำให้ผนังเซลล์หนาและพืชจะแข็งแรงและเหนียวทนขึ้น  



        วันพุธเราจะมาต่อกันเกี่ยวกับ เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อนนะครับ วันนี้มีเวลาแค่นี้เพราะผมต้องรีบไปทำธุระต่อ เจอกันใหม่วันพุธครับผม บายครับ



    หมายเหตุ      คิดว่าวันศุกร์จะทุ่มให้ชีวะอีกสักวันครับ เพราะกลัวจะเขียนไม่ทันวันสอบ เพราะฉะนั้นเจอกันทุกพุธ ศุกร์ และอาทิตย์กันเลยนะครับ





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×