ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำวิชาชีววิทยา

    ลำดับตอนที่ #12 : วัฏจักรเครบส์แบบเจาะลึก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.96K
      12
      13 ก.ค. 48





                         มาว่ากันต่อเลยครับ เจาะลึกวัฏจักรเครบส์นี่ต้องแบ่งการทำความเข้าใจเป็น 2 ตอนนะครับ คล้ายๆการแบ่งในไกลโคไลซิสที่บอกไปแล้วคือครึ่งแรกและครึ่งหลัง เรามาดูครึ่งแรกกันก่อนครับ โอ้ย...ตื่นเต้นจังเลย





                         ครึ่งแรกของผมหมายถึงว่าตั้งแต่เกิดกรดซิตริก จนได้สารที่มีคาร์บอน 4 อะตอมที่มีชื่อว่า succinyl Co A ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ครับผม



                         กรดออกซาโลอะซิติก ( 4C ) + แอซิทิลโคเอนไซม์เอ ( 2C )





                                                                1





                                                     กรดซิตริก ( 6C )





                                                                2





                                              กรดแอลฟ่าคีโตกลูตาลิก ( 5C )



                                            

                                                               3





                                                  succinyl Co A ( 4C )





    ตรงปฏิกิริยาที่ 2 และ 3 เกิดอะไรขึ้นครับ  มันมีการลดอะตอมของคาร์บอนใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นแต่ละช่วงก็จะให้



    1. คาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล

    2. ไฮโดรเจนอะตอม 2 อะตอม กลายเป็น NADH+H บวก 1 โมเลกุล



    รวม 2 ช่วงจะได้



    1. คาร์บอนไดออกไซด์ 2 โมเลกุล

    2. ไฮโดรเจนอะตอม 4 อะตอม กลายเป็น NADH+H บวก 2 โมเลกุล



    และนี่คือสิ่งที่ได้จากครึ่งแรกของวัฏจักรเครบส์ 1 วัฏจักรครับ





    หมายเหตุ   ถ้ามีการลดคาร์บอนอะตอมลง 1 อะตอมก็จะให้ผลลัพธ์แบบนี้

                    1. คาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล

                    2. ไฮโดรเจนอะตอม 2 อะตอม กลายเป็น NADH+H บวก 1 โมเลกุล

                    เสมอครับ

                    ที่เคยเจอกันไปแล้วก็ตอนที่กรดไพรูวิกที่ได้จากไกลโคไลซิสเข้าไปรวมกับโคเอนไซม์เอได้เป็นแอซิทิลโคเอนไซม์เอซึ่งมีคาร์บอน 2 อะตอม







    ต่อมาเราจะมาว่ากันถึงครึ่งหลังต่อเลยครับ  ครึ่งหลังนี้จะเริ่มจาก succinyl Co A จนได้เป็นกรดออกซาโลอะซิติก





    ครึ่งหลังนี้เราจะมีเทคนิคช่วยจำเล็กน้อยครับคือ  ซัคซัคฟูมาออก จำได้รึเปล่าครับ ซัคซัคฟูมาออก





    ซัค ตัวแรกหมายถึง                                succinyl Co A ( 4C )





                                                                          1





    ซัค ตัวที่สอง หมายถึง                                กรดซัคซินิก ( 4C )







                                                                          2







    ฟู   หมายถึง                                               กรดฟูมาลิก ( 4C )





                                                                           3



    มา หมายถึง                                                  กรดมาลิก ( 4C )





                                                                            4





    ออก หมายถึง                                        กรดออกซาโลอะซิติก ( 4C )







    จะเห็นว่าครึ่งหลังนี้เป็นเรื่องของสารที่มีคาร์บอน 4 อะตอมครับ เลยมีปฏิกิริยาทั้งหมด 4 ช่วง เราจะมาดูกันนะครับว่าครึ่งหลังนี้ให้อะไรกับเราบ้าง







    ปฏิกิริยาช่วงที่ 1 ที่ผมเรียกว่า ซัค-ซัค นั้นถือเป็นช่วงที่สำคัญเพราะว่าจะให้พลังงานในรูปของ GTP 1 โมเลกุล ซึ่งไม่มี ATP เกิดขึ้นโดยตรงจากวัฏจักรเครบส์ แต่เมื่อ GTP ถูกไฮโดรไลซิส จะให้พลังงานออกมาเท่ากับ ATP เพราะฉะนั้นอาจสรุปได้ว่า ช่วงนี้ให้ ATP 1 โมเลกุล อย่าลืมนะครับว่าเป็นช่วง ซัค-ซัค





    ช่วงนี้โคเอนไซม์เอก็หายไปด้วย มันหายไปไหนเหรอครับ มันก็เตรียมกลับไปรวมกับกรดไพรูวิกไงครับ





    ส่วนช่วงที่ 2 กับ 4 ผมจะเรียกว่าช่วง ซัค-ฟู กับ มา-ออก ตามลำดับ ทั้ง 2 ช่วงให้ไฮโดรเจน 2 อะตอมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่







    ช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นช่วง ซัค-ฟู นั้น ให้น้องๆจำไว้ว่าภาษาอังกฤษจะเขียนว่า suc-Fu เห็นตัว F เด่นชัดรึเปล่าครับ เพราะช่วงนี้ตัวที่มารับอิเลคตรอนได้แก่ FAD ครับผม พอรับแล้วจะกลายเป็น FADH สอง 1 โมเลกุล นี่แหละครับทีเด็ดสำคัญของช่วง ซัค-ฟู







    ส่วนช่วงที่ 4 มา-ออก ก็จะมี NADH บวก มารับอิเลคตรอนเหมือนเดิม กลายเป็น NADH+H บวก 1 โมเลกุล







    และนั่นก็คือผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมดของครึ่งหลังวัฏจักรเครบส์ 1 วัฏจักรครับผม







    เรามาสรุปกันเลยนะครับว่า วัฏจักรเครบส์ 1 วัฏจักรให้อะไรออกมาบ้าง







    1. คาร์บอนไดออกไซด์ 2 โมเลกุล

    2. ATP 1 โมเลกุล    จากช่วง ซัค-ซัค ครับ

    3. ไฮโดรเจน 8 อะตอม โดยกลายเป็น FADH สอง 1 โมเลกุล และ NADH+H บวก 3 โมเลกุล







    จากกลูโคส 1 โมเลกุลจะให้วัฏจักรเครบส์ 2 วัฏจักร สรุปทุกสิ่งที่ได้คือ





    1. คาร์บอนไดออกไซด์ 4 โมเลกุล

    2. ATP 2 โมเลกุล

    3. ไฮโดรเจน 16 อะตอม โดยกลายเป็น FADH สอง 2 โมเลกุล และ NADH+H บวก 6 โมเลกุล





    และนี่คือสิ่งที่ได้จากวัฏจักรเครบส์ 2 วัฏจักรครับ









    น้องๆลองทบทวนดูให้แม่นยำนะครับว่าสิ่งที่ได้จากไกลโคไลซิส การสร้างแอซิทิลโคเอนไซม์เอ และวัฏจักรเครบส์มีอะไรบ้าง แล้วพรุ่งนี้ผมจะพาน้องๆทุกคนไปสู่ดินแดนอันน่าพิศวงครับ นั่นคือการถ่ายทอดอิเลคตรอน อย่าลืมติดตามต่อจนจบนะครับ พรุ่งนี้อาจมาค่ำๆหน่อย เพราะงานเยอะมากเลยครับ





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×