ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : กระเบา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.27K
      0
      12 พ.ค. 47

    กระเบา

    ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hydnocarpus sumatrana

    วงศ์ : FLACOURTIACEAE

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : ลิลิตตะเลงพ่าย

    กระเบา เป็นต้นไม้ที่คนไทยรู้จักมาแต่นานแล้ว เพราะนอกจากกระเบาจะเป็นไม้ที่มีเนื้อเหนียว นิยมใช้ไม้กระเบามาทำเป็นด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในแวดวงของการกสิกรรมแล้ว คนไทยยังนิยมใช้เมล็ดของกระเบาสะกัดไปทำน้ำมันทาแก้โรคผิวหนังมาแต่นานแล้วด้วย กระเบาจึงไม่มีชื่อพื้นเมืองอื่นมาเรียกซ้ำซ้อนในเมืองไทย เหมือนอย่างไม้ชนิดอื่น ๆ

    กระเบาเป็นต้นไม้ป่าที่มีขึ้นอยู่ทั้งทางภาคเหนือและใต้ของประเทศไทย และมักพบขึ้นอยู่ในเขตป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 1,400 เมตร เป็นต้น ไม้ไม่สูงใหญ่มาก คืออาจมีขนาดต้นสูงตั้งแต่ 6 – 15 เมตร เรือนยอดค่อนข้างแน่นทึบมักเป็นพุ่มทรงกลม ไม่ผลัดใบแต่ลำต้นมักคดงอ กิ่งก้านมักจะแตกออก ไปเป็นแนวตรงในลักษณะที่ตั้งฉากกับต้น เปลือกของลำต้นเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น

    กระเบาเป็นไม้เลี้ยงเดี่ยว ใบเป็นรูปหอกเรียวรี ปลายใบแหลม ขอบในเรียบเกลี้ยงเนื้อใบค่อนข้างหนาแต่อ่อนนุ่ม ใบทุกใบมักบิดพลิ้ว หรือพันไปทางใดทางหนึ่ง ขนาดใบกว้างประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 25 เซนติเมตร ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งหรือง่ามใบเป็นสีขาวอมสีเขียวจาง ๆ ในกลุ่มดอกหนึ่ง ๆ อาจออกดอกได้ตั้งแต่ 5 –15 ดอก กระเบาออกดอกในระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน ผลกลมผิวของผลเป็นสีน้ำตาลนวลคล้ายกำมะหยี่

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×