ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #20 : ยางนา

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 723
      0
      15 มิ.ย. 47

    ชื่อพฤกษศาตร์ : Dipterocapus alatus

    วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

    ชื่อไทยพื้นเมือง : ยาง,ยางขาว,ยางหยวก,ยางควาย,ยางถุง,ยางเนิน,ยางแม่น้ำ,ยางใต้,เยี่ยง,เคาะ, ขะยาง,ชันนา,จ้อง,ทองหลัก,ร่าลอย,เหง

    วรรณคดีที่กล่าวถึง: อิเหนา,ลิลิตพระลอ,ลิลิตเพชรมงกุฏ,นิราศธารทองแดง,มหาเวสสันดรชาดก,สมุทรโฆษคำฉันท์,ขุนช้างขุนแผน,รามเกียรติ์,ลิลิตตะเลงพ่าย

    เมื่ออ่านพบในวรรณคดีไทยตามที่ต่างๆซึ่งกล่าวถึงชื่อไม่ว่า ”ยาง” เพียงสั้นๆแล้ว หากเราไม่คิดกันให้มากมายแล้ว ก็น่าจะมาพุ่งที่ยางหรือยางนาชนิดนี้มากกว่า ไม้ในวงศ์ยางอื่นๆเพราะยางหรือยางนาชนิดนี้ คือต้นยางที่ให้น้ำมันยาง แก่คนไทยในรุ่นโบราณมาแล้วอย่างเป็นล่ำเป็นสันเลยทีเดียว รวมทั้งยังเป็นต้นไม้ที่คนไทยรุ่นเก่าเก๋ากิ๊ก ท่านได้โค่นล้มเลื่อยตัดนำเอาเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ ในการก่อสร้างบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย เป็นลำดับรองลงมาจากไม้สักทีเดียวเพราะยางหรือยางนานี้ เป็นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่มาก บางต้นหากปล่อยไว้ไม่มีคนไปราวีรังควานแล้ว ก็อาจสูงได้กว่า 40 เมตร หรือสูงมากกว่านั้นรวมทั้งยังเป็นต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีในทุกภาคของประเทศไทยเลยทีเดียว โดยเฉพาะในเขตป่าดงดิบใกล้ๆกับลำห้วยลำธารนั้น ยางหรือยางนานี้จะเจริญงอกงามเป็นพิเศษทีเดียว เนื้อไม้ยางที่ดีที่สุดคือไม้ยางหรือยางนา ต้นนี้เอง และคนที่ซื้อไม้แปรรูปถูกหลอกจากร้านขายไม้ว่า ไม้ยางแท้นั้นก็เพราะว่ามันคือไม้ยางชั้นดีจากต้นยางชนิดนี้ละครับ (แต่เดี๋ยวนี้ไม้ยางหรือยางนาแท้ๆตามร้านขายไม้แปรรูปเดี๋ยวนี้ ผมคิดว่าคงจะไม่มีใครซื้อแล้วละมั้ง อย่างดีก็คงจะเป็นไม้ยางอื่นๆก็ซื้อยางเหมือนกันนี้หน่า) เช่น ยางพลวง ยางพราด หรือยางเหียง ทั้งนั้น หรือบางทีเผลอๆก็อาจไม่ใช่ยางอย่างที่ว่านี่สักยางเดียว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×