ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดอกไม้ในวรรณคดีไทย

    ลำดับตอนที่ #11 : แต้ว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.51K
      1
      22 พ.ค. 47

    ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Cratoxylunt maingayi

    วงศ์ : GUTTIFERAE

    วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ , นิราศธารทองแดง , ลิลิตเพชรมงกุฎ ขุนช้างขุนแผน , รามเกียรติ , ลิลิตตะเลงพ่าย

    แต้วเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง คือ อาจสูงได้ตั้งแต่ 8-20 เมตร แต้วมักมีขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่าโปร่งในภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคใต้ เป็นไม้ผลัดใบเวลาออกดอกออกใบจะร่วงหมดต้น ดังนั้นเวลาแต้วออกดอกจึงเป็นต้นไม้ที่สวยงามมาก เพราะมีแต่ดอกเต็มต้นมองอร่ามตาไปเลยดีเดียว และถ้าจะนำมาปลูกเล่นเป็นต้นไม้ประดับบ้านก็จะสวยไม่น้อยเลย

    แต้วเป็นต้นไม้ใบเลี้ยงเดี่ยว ออกใบเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้ามไปตามกิ่ง เนื้อ ใบหนาเกลี้ยงปลายใบโค้งมน โคนใบทั้งสองเข้าหากัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร

    แต้วออกดอกเป็นกลุ่ม ๆ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบที่ร่วงแล้ว กลีบรองดอกหนาเป็นรูปช้อนสีม่วงคล้ำ กลีบดอกบางเป็นสีขาวหรือสีชมพูเรื่อ ๆ เกสรผู้มีมากออกเป็นกระจุกอยู่กลางกลีบดอก แต้วจะออกดอกในระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม

    เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ในการทำเสาเข็ม เผาถ่านและทำเชื้อฟืน เปลือกใช้ทำสีย้อมผ้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×