ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    ลำดับตอนที่ #7 : ชาดก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.45K
      9
      7 ม.ค. 53

    ความหมายของชาดก

           ชาดก คือ เรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก โดยแสดงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติปางก่อน (เรียกว่า พระโพธิสัตว์) ซึ่งต้องทรงสะสมปัญญาบารมีมีในด้านต่าง ๆ เช่น ความมีเมตตา ความเพียร ฯลฯ  ก่อนที่จะส่งผลให้ทรงเสวยชาติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

    มโหสถชาดก

            มโหสถ เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ชาติที่ 5 ในทศชาติ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

            1.   มโหสถ มีชาติกำเนิดเป็นบุตรของเศรษฐีชื่อสิริวัฒกะและนางสุมนาเทวีแห่งเมืองมิถิลา เหตุที่ได้ชื่อว่า มโหสถ เพราะเมื่อแรกคลอด มือทารกน้อยถือแท่งยาววิเศษของพระอินทร์ติดมือมา ซึ่งต่อมาได้นำมาปรึกษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยได้ผลอย่างน่ามหัศจรรย์

            2.  ความสามารถของมโหสถกุมาร ได้แสดงสติปัญญาอันเฉียบแหลมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยหนุ่มได้ช่วยแก้ไขปัญญาข้อพิพาทให้เพื่อนบ้านด้วยสติปัญญาอันชาญฉลาด รวมทั้งถูกพระราชาทดสอบการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาต่าง ๆซึ่งมโหสถสามารถทำได้ด้วยดี สรุปได้ดังนี้

           (1) สร้างศาลาที่พักคนเดินทาง โดยระดมเงินทุนจากเด็ก ๆ ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้มโหสถเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเองจนสำเร็จ

           (2) ตัดสินข้อพิพาทแย่งชิงวัว มีชายสองคนอ้างความเป็นเจ้าของวัวตัวเดียวกันและขอให้ มโหสถช่วยตัดสิน มโหสถสอบถามเรื่องอาหารที่ให้วัวกิน เจ้าของตัวจริงบอกว่าให้กินหญ้า เจ้าของตัวปลอมบอกว่าให้กินแป้ง งา และขนม เมื่อมโหสถให้วัวกินยาขับจนอาเจียนออกมาเป็นหญ้า ทำให้ตัดสินได้ว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง โดยได้สอนให้โกงนับถือศีล 5 อีกด้วย

           (3) ตัดสินกรณีแย่งชิงบุตร มีหญิงสองคนแย่งชิงเด็กน้อยผู้หนึ่ง โดยต่างอ้างความเป็นมารดาของเด็ก มโหสถใช้วิธีพิสูจน์โดยให้หญิงทั้งสองใช้กำลังแย่งชิงเด็ก ทำให้เด็กน้อยร้องไห้ด้วยความตกใจและเจ็บปวดมารดาตัวจริงต้องยอมปล่อยและทรุดตัวร้องไห้เพราะสงสารลูก มโหสถจึงตัดสินว่าหญิงที่ใจอ่อนปล่อยมือทารกเป็นมารดาของเด็กที่แท้จริง

           (4) ใช้ปัญญาแก้ปัญหาให้พระราชาชื่นชมในความสามารถ พระเจ้าวิเทหะ กษัตริย์แห่งเมืองมิถิลา ได้ทรงทดสอบภูมิปัญญาของมโหสถหลายครั้ง เช่น ให้พิสูจน์ว่าไม้ตะเคียนข้างใดเป็นโคน ข้างใดเป็นปลาย มโหสถให้หย่อนไม้ตะเคียนลงในน้ำ ข้างโคนมีน้ำหนักจะจมก่อน

           3. มโหสถได้รับแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตประจำราชสำนัก ได้แสดงสติปัญญาแก้ไขปัญหาในงานบริหารราชการแผ่นดินของพระเจ้าวิเทหะด้วยดีตลอดมา ได้ใช้ปัญญาแก้ไขสถานการณ์คับขันช่วยป้องกันบ้านเมืองจากการคุกคามของกองทัพข้าศึกศัตรูหลายครั้ง ทำให้มโหสถเป็นที่โปรดปรานพระราชายิ่งนัก

           4.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาเรื่องมโหสถชาดก คือ

           (1) ผู้มีปัญญาและถึงพร้อมด้วยคุณธรรมความดี ย่อมได้รับการยอมรับจากมหาชน และทำให้ตนเองมีความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต

           (2) คุณธรรมของผู้มีปัญญา คือ มีความเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้อื่น มีเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน และคิดจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×