ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #97 : ลาว'Battery of Asia'~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 426
      0
      14 พ.ค. 50

    ลาวกับวิสัยทัศน์ Battery of Asia ┈━═☆



    หากประมวลฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถผลิตเป็นพลังงานในภูมิภาคอาเซียนแล้วในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน นับเป็นหัวใจของการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยิ่ง เนื่องจากประมาณการความต้องการไฟฟ้าของอาเซียนในปี 2550 จะเพิ่มสูงถึง 100,000 เมกะวัตต์จากปัจจุบันมีกว่า 50,000 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเพื่อลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าเข้ามาในอาเซียนประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาทภายใน 7 ปีข้างหน้า



    นั่นคือเหตุผลที่ทำให้พื้นที่โครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หรือโครงการ GMS ตอนบน มีโครงการเขื่อนมูลค่ามหาศาล นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรธรรมชาติอีกมหาศาลทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายสายไฟฟ้า และท่อพลังงานครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย โดยมีต้นกำเนิดมาจากเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจแห่งนี้

                    รัฐบาล สปป.ลาว เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลมีโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า 25 แห่ง เพื่อพัฒนา สปป.ลาว ให้เป็น “Battery of Asia” โดย 8 โครงการ เป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในประเทศ มีกำลังผลิตรวม 484 เมกะวัตต์ และอีก 17 แห่ง ที่เหลือ เป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้ประเทศเพื่อนบ้าน มีกำลังผลิตรวม 6,862 เมกะวัตต์ ซึ่งหากโครงการก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จ จะทำให้ สปป.ลาว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึง 11.8 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทั้งนี้ คาดว่าโครงการก่อสร้างทั้ง 25 แห่ง จะแล้วเสร็จในปี 2553

                    นายหุมพอน บุลียะผน (Houmphon Bouliyaphol) อธิบดีกรมไฟฟ้า กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม สปป.ลาว กล่าวเสริมว่า หากประเทศในภูมิภาคสร้างสายส่งกระแสไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างกัน ลาวก็จะสามารถจ่ายไฟได้ทั่วทั้งภูมิภาค



                    ประเทศสมาชิก GMS มีโครงการความร่วมมือหลายด้าน เกี่ยวกับการพัฒนาสายส่งกระแสไฟฟ้า อาทิ สายส่งในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเทิน 2 ของลาว ไปยังเวียดนามกับไทย และสายส่งจากจีนผ่านเข้าภาคเหนือของลาวส่งไปขายให้ไทย ตลอดจนโครงการเชื่อมสายส่งระหว่างลาวและเวียดนาม




                    เขากล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ลาวจะขายไฟฟ้าให้กับจีนและเวียดนามในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลวางแผนที่จะสร้างเขื่อนในภาคเหนือ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับจีน และภาคใต้เพื่อส่งออกไฟฟ้าให้กับเวียดนาม บางโครงการได้เริ่มก่อสร้างแล้ว อาทิ เขื่อนเซกะมาน 3 (Xekaman 3) และเขื่อนน้ำโม (Nam Mo) อีกทั้งมีการส่งไฟฟ้าให้เวียดนามแล้ว ลาวยังได้วางแผนที่จะส่งออกไฟฟ้าให้กับกัมพูชาอีกด้วย

                    ตามแผนการพัฒนาโรงไฟฟ้าของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ลาวจะดำเนินโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อให้ครัวเรือนทั่วประเทศมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ และส่งออกได้มากขึ้นปัจจุบันลาวมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 647 เมกะวัตต์ จ่ายไฟราว 3,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ในจำนวนนี้ ส่งออก 2,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงทำรายได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



                    การที่ลาวมีศักยภาพพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ เนื่องจากมีแม่น้ำธารหลายสาย โครงการเขื่อนพลังน้ำของลาวที่ใกล้เสร็จแล้วหรือไม่ก็อยู่ระหว่างการเตรียมงาน ได้แก่ น้ำเทิน 2 (Nam Theun 2) , น้ำเทิน 3 (Nam Theun 3), น้ำงึม 2 (Nam Ngum 2), น้ำงึม 3 (Nam Ngum 3), น้ำงึม 5 (Nam Ngum 5), น้ำหลีก (Nam Leek), เซกะมาน 1 (Xekaman 1), น้ำชา (Nam Cha) และน้ำเหงียบ (Nam Ngiep)




                    เขื่อนน้ำเทิน 2 เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในลาว การก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มในปีหน้า ด้วยมูลค่าการลงทุน 1,200 ล้านดอลลาร์ จะเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ในปี 2551 และจะส่งขายให้ไทย 995 เมกะวัตต์ ตามข้อ    ตกลงซื้อขายระหว่างทางการลาวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่วนอีก 75 เมกะวัตต์จะจ่ายให้กับการไฟฟ้าลาว

                    เมื่อหันมามองผู้บริโภคพลังงานอย่างประเทศไทย ที่ต้องนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจากพม่า และลาว จนอยู่ในสภาพขาดดุลการค้ากับทุกประเทศ ยกเว้นกัมพูชา แต่ก็ไม่แน่เพราะไทยก็มีแผนการรับซื้อไฟจากเขื่อนสตึงนำของกัมพูชาเช่นกัน   

                    ทั้งนี้ เนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยมาเป็นเวลากว่า 13 ปีแล้ว โดยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่ารัฐบาลไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการในประเทศลาว จีน และพม่ารวมทั้งหมด 6,500 เมกะวัตต์ โดยในปัจจุบันได้มีโครงการในประเทศลาวที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบไทยภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวแล้ว 2 โครงการ จำนวน 313 เมกะวัตต์ และโครงการที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วอีก 2 โครงการจำนวน 1,535 เมกะวัตต์

                                    ตารางแสดงความต้องการใช้ไฟ ในปี 1993 และการคาดการถึงปีค.ศ.2020

    Country/

    Province

     

    Energy Resource

     

    Power Demand

    (GW)

    Per Capita

    Consumption

    (kWh)

    Electrification Ratio (%)

    Hydropower

    1993     2020

    1993   2020

    1993   2020

    Cambodia

    40

    0.1          0.8

    20      250

    4             8

    Lao PDR

    100

    0.1          0.3

    54      215

    12          18

    Myanmar

    370

    0.5          2.5

    59      190

    6           10

    Thailand

    50

    9.8         61.8

    897    4 ,250

    72         100

    Viet Nam

    80

    2.1        15.8

    137     750

    10         20

    Yunnan

    450

    2.0        11.2

    258    1,225

    8          19

    Total

     

    ,090

     

    14.5         92

     

    300    1,700

     

     

    แหล่งข้อมูล : ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย Asian Development Bank

                                    จะเห็นได้ว่า ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประเทศไทยเป็นประเทศที่บริโภคไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด ในขณะที่มีแหล่งพลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำน้อยที่สุด


     

     


    หากเราไม่มียุทธศาสตร์ด้านพลังงานอนาคตที่ชัดเจน การวางแผนในเรื่องการประหยัดพลังงาน รวมถึงการวางกลยุทธ์ในด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการใช้พลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง การผลิตด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ ไทยจะกลายเป็นลูกหนี้ที่นำเข้าพลังงานของลาวที่เป็น “Battery of Asia” รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า กัมพูชา เพราะไทยบริโภคพลังงานสูงสุดในภูมิภาคนี้

    nu tang

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×