ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #90 : สภาวิศวกร(แนะแนวอาชีพ)~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.16K
      1
      14 พ.ค. 50

    สภาวิศวกร : ผู้กำหนด "สเป็คส์" วิศวกรไทย ┈━═☆




    "วิศวกรไม่ว่าจะจบจากสถาบันไหนก็ตาม มีน้อยคนที่จะลืมวันแรกที่เข้ารายงานตัวเป็นน้องใหม่ ที่หัวใจของน้องใหม่ "

    วิศวกรไม่ว่าจะจบจากสถาบันไหนก็ตาม มีน้อยคนที่จะลืมวันแรกที่เข้ารายงานตัวเป็นน้องใหม่ ที่หัวใจของน้องใหม่ วิศวฯเหล่านี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความ ปลื้มที่ได้ผ่าน ขบวนการต่างๆ จนได้บัตรผ่านประตูเข้าสู่อุโมงค์ที่มืดมิด ซึ่งเชื่อกันว่า ปลายอุโมงค์จะไปพบอีกประตูหนึ่งที่ต้อนรับการเป็นวิศวกร ซึ่งถือว่าเป็น อาชีพยอดปรารถนาของประเทศไทย แต่ภายใน อุโมงค์ที่มืดมิดนี้จะมีนักเดินทางสักกี่คน ที่จะเข้าใจในรายละเอียดว่า เมื่อออกจากปลายอุโมงค์แล้ว ตนเองจะมี บทบาท อย่างไรในสังคม

         หลังจากวันนั้น ณ ที่ต่างๆกันแต่บรรยากาศคล้ายกัน น้องใหม่จะถูกจับมานั่งรวมกันเพื่อฟังรุ่นพี่ๆตะโกน โหวกเหวก วันแล้ววันเล่า จนหัวใจ ทุกดวง กลายเป็นเทียนเล่มน้อยๆที่ถูกละลายหลอมให้อยู่ในเบ้าเดียวกันใน ที่สุด นี่คือ เบ้าที่หลอมให้วิศวกร เป็นคนสมบุกสมบัน ต่อสู้ได้กับทุกสภาพความลำบาก จน สามารถเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ของ ผลงาน วิศวกรรมที่มีส่วนเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านทุกหย่อม หญ้า ไม่ว่าจะมองในภาพบวกหรือลบก็ตาม
          แต่ถ้ามอง ในภาพรวม วิศวกรที่ถูกระบบการศึกษากล่อมเกลาให้เป็นนักจำและนักปฏิบัติที่สนใจแต่สิ่งใกล้ตัว ที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถแม้แต่จะประติดประต่อ วิชาต่างๆที่ถูก สอนมาในลักษณะแยกชิ้นส่วน ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพ ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริงได้ ในระยะยาว วิศวกรที่ผลิตมา ในเบ้าหลอมนี้ ส่วนใหญ่จึง กลายเป็น เพียงเครื่องมือ หรือ วัตถุดิบราคาถูกให้แก่นักลงทุนและนักวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งหลายคนไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะเรียน ในระดับ อุดมศึกษา กลายเป็นประเด็น ที่ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ทั่วโลก กำลังถกเถียงกันถึงปรัชญา และความ ล้มเหลวของระบบ การศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ที่ไม่ได้เน้นความ เป็นนัก สร้างสรรค์เลย
          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ในโลกนี้ เริ่มจากการเป็นสาขาหนึ่งของสถาบันทหาร คือ West Point ในปี ค.ศ. 1794 จากอดีตถึงปัจจุบัน ด้วย ข้อจำกัดของสมองมนุษย์ วิศวกรจึงต้องใช้วิธีแยกงานที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อ ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและการจัดการ ดังนั้น หลักสูตรวิศวกรรม จึง ประกอบ ด้วยวิชาที่ถูกย่อยออกเป็นส่วนๆ ซึ่งแต่ละ ส่วนถูกสอนโดย อาจารย์ที่มีความชำนาญเฉพาะวิชา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง วิชาซึ่ง จะทำให้ วิศวกร เห็นภาพรวมกลับถูกลืมไปโดยสิ้นเชิง
          จากวันนั้น ถึงวันนี้ การพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมได้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ตามพัฒนาการของวิทยาการและ เทคโนโลยี ในอดีต ผู้เขียนภูมิอกภูมิใจ หนักหนา ในเครื่องมือที่เรียกว่า สไลด์รูล จนแทบจะทูนหัว อีก 10 ปีต่อมา ทุกคนหันไปใช้เครื่อง คิดเลขกันหมด และอีก 10 ปีต่อมา วิศวกรมีเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ใช้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะค่าเช่า เวลาแพง มหาศาล ปัจจุบัน ผู้เรียนวิศวฯทุกคนใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่มีพลังการคำนวณสูงกว่า คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมหลายพันเท่า และเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าไฟฟ้าเท่านั้นเอง เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วทำ ให้หลักสูตร วิศวกรรมจำต้อง ปรับเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า วิทยาการต่างๆได้ถูกนำมาปรุงแต่งและใส่กล่องให้เป็นเทคโนโลยี มากขึ้น ผลคือวิศวกรมีเวลาใช้ความคิด ในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าแต่ก่อน
         ว่ากันว่า เทคโนโลยีหลายแขนง ถ้านำมาสอน ยังไม่ทันจบออกไปทำงาน เทคโนโลยี ที่เรียนมาก็อาจล้าสมัย ไปแล้ว ดังนั้นแทนที่จะสอนเทคโนโลยี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ควรเน้นที่วิทยาการพื้นฐาน เพื่อให้วิศวกรสามารถเข้าใจ ใน เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ โดยต้องสอนขบวนการเรียนรู้ รวมทั้งทักษะและเครื่องมือในการ เสาะหา และสื่อสารความรู้ และเพิ่มพูนความรู้ข้างเคียง เช่น เศรษฐศาสตร์ สังคม ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ สามารถ เข้าใจ ในผลกระทบของงานวิศวกรรมที่ตัวเองทำอยู่ต่อสังคมได้ นอกจากนี้ หลักสูตร ใหม่ต้องบ่มเพาะให้วิศวกรในอนาคต มีวัฒนธรรม ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้วิศวกรที่จบแล้ว สามารถที่จะหาความรู้และติดตามเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่เปลี่ยน แปลงตลอดเวลาได้ หมดสมัยแล้ว ที่จะสอนนักศึกษาให้ใช้ความจำเพื่อสอบได้เพียงอย่างเดียว
         หันมามองวิศวกรใหม่ๆที่สถาบันทั้งหลายใน ประเทศต้องช่วยผลิตออกมารับใช้ประเทศว่า เมื่อออกจากอุโมงค์ ที่มืดมิดแล้ว ควรมีบทบาทอย่างไรใน สังคมบ้าง ในปลายศตวรรษก่อน หลายประเทศ ร่ำรวยเพราะระบบการจัดการ และประสิทธิภาพการผลิต แต่ในยุคที่เทคโนโลยีใหม่เกิดและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความร่ำรวยของประเทศแบบ ก้าว กระโดดจะสามารถทำได้ด้วย ' นวัตกรรม' เท่านั้น วิศวกรในอนาคตจะต้องเป็นนักสร้างสรรค์ คือ ต้องมีจิตของความเป็น ผู้สร้าง --- สร้างองค์ความรู้ สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างงาน และสร้างองค์กร บทบาทของวิศวกรไทยในสายตาของสังคม คือ มันสมองของกองทัพ เศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศแข่งขันได้กับนานาชาติในโลกที่ไร้พร มแดน
          ตั้งแต่นี้ไป หลักสูตรวิศวกรรมจะต้องไม่ถูกจำกัดวง เพื่อให้สามารถปรับได้ตามยุคสมัย หลักสูตรใหม่จะ ต้องกล่อมเกลาให้วิศวกรมีความเข้าใจ ในวิชาพื้นฐานที่แน่น ใช้สมองในการวิเคราะห์ปัญหาและในการสังเคราะห์ส่วนย่อย ให้เป็นภาพใหญ่ได้ มีความรอบรู้ในสหวิทยา มีทักษะในการ สื่อสารความนึกคิดได้อย่างชาญฉลาดกับเพื่อนต่างวิชาชีพ เข้าใจผลกระทบของงานวิศวกรรมที่ตัวเองทำอยู่ต่อเศรษฐกิจมหภาค สังคม ระบบนิเวศน์และ สิ่งแวดล้อม
         บทบาทหนึ่งของสภาวิศวกร คือ เป็นองค์กรกลางอาชีพวิศวกร ผู้บริหารสภาวิศวกรจึงควรมีความคิดเปิดกว้าง และพร้อมสนับสนุนให้แต่ละ สถาบันมีกลไกอิสระในการปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมให้เหมาะกับยุค สมัย ตามวิสัย ทัศน์ของสถาบัน มากกว่าเพียงการตีกรอบให้วิศวกรรุ่นใหม่ต้อง เดินย่ำอยู่กับที่ และอาจกลายเป็นเครื่องมืออีกรุ่นหนึ่งแก่ ขบวนการปั้นฟองสบู่ในอนาคตต่อไป
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×