ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #44 : ตำนานของศาลพระภูมิ~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 737
      0
      9 พ.ค. 50

                                             ความรู้เกี่ยวกับ ศาลพระภูมิ ┈━═☆

    พระภูมิ สื่อ...รำลึกในบุญคุณและกตัญญูต่อผืนแผ่นดิน



    ขั้นตอนการตั้งศาลพระภูมิ
    พระพรหม พราหมณ์ขจร นาคะเวทิน จากกองพระราชพิธี่ สำนักพระราชวัง กล่าวถึงวิธีการตั้งศาลว่า การตั้งศาลพระภูมิกับพระพรหมมีขั้นตอนเหมือนกัน แต่จะมีข้อแตกต่างที่สำคัญประการเดียวคือ บทสวด เนื่องจากพระพรหมเป็นเทพชั้นสูงกว่าพระภูมิ บทสวดต้องเป็นบทพระเวทย์สวดทั้ง 4 ทิศ ส่วนพระภูมิใช้บทสวดแบบบวงสรวงข้างศาลด้านเดียว ซึ่งขั้นต้อนการตั้งศาลดังกว่ามี 5 ขั้นตอนดังนี้

    ขั้นตอนแรก จุดธูปบวงสรวงบูชาฤกษ์ เพื่อขอที่ประดิษฐาน

    ชั้นที่ 2 เมื่อได้เวลาฤกษ์ จึงอัญเชิญพระภูมิหรือพระพรหมขึ้นประดิษฐาน

    ชั้นที่ 3 ถวายข้าทาสบริวาร ดอกไม้ แจกัน เชิงเทียน ปิดทอง ผูกผ้า และบวงสรวง เพื่อขออำนาจบารมีจาก ท่าน พิทักษ์รักษากิจการการค้า

    ชั้นที่ 4 เจ้าภาพจุดธูปอธิษฐานขอพรอีกครั้ง

    ชั้นที่ 5 พราหมณ์โปรยข้าตอกดอกไม้เป็นอันเสร็จพิธี

    "ในพิธีกรรมการตั้งศาล โดยเฉพาะศาลพระพรหม ควรจะกระทำพิธีให้ครบสูตร อาทิ มีของคาวสำหรับเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา ตามสภาพแวดล้อมในพิธีกรรมนั้น เพื่อให้เจ้าที่ เจ้าป่า รายรอบบริเวณสถานที่ตั้งศาลนั้น เข้าร่วมชุมนุม และอัญเชิญพระพรหมมาสถิตภายในศาลให้บารมีของท่านคุ้มครอง"

    พระภูมิกับคนไทย
    หากจะพูดถึงคนไทยเราแล้วมีหลายสิ่งหลายอย่างที่แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นคนไทยแท้ ชนิดที่เรียกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่ร้อยไปเซ็ง ดังคำที่มาพูดเล่นกันอย่างสนุกสนานให้ขบขันนะ แต่ถ้าจะมองกันลงไปในคำพูดที่ชอบนำมาล้อเล่นนี้ ก็จะเห็นว่าคนไทยเป็นคนอารมณ์ดี ขี้เล่น ซึ่งก็ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นไทยแท้เช่นกัน จนบางอย่างคนไทยก็ถือว่าเป็น เรื่องเล่น ๆ สนุกไปเสีย แขกไป ไทยมา เรื่องสนุกหรือไม่สนุก รู้จักหรือไม่รู้จัก คนไทยเราก็ยิ้มรับได้ ตลอดเวลาละ ยิ้มกันเข้าไว้ก่อน จนกระทั่งได้สมญานามว่า สยามเมืองยิ้ม มาเป็นเวลาช้านานมาแล้ว... ก็ด้วยเหตุผลเหล่านี้

    พอมาถึงทุกวันนี้รอยยิ้มที่กว้างขวางก็ชักจะเริ่มแคบลงจากยิ้มที่เบิกบานก็กลายเป็นเหี่ยวแห้งลงทุกวัน. คิ้วที่โก่งดังดันศรของพระรามก็หันเข้าชนอยู่ชิดติดกันจนมองดูว่ามีลูกศรตรงกลางคัน ที่พร้อมจะยิงออกไปทุกเมื่อ นี่แหละคนไทยในวันนี้ นั่นก็อาจจะเป็นด้วยสาเหตุว่า มีความใหม่ ที่หลากหลายและหลั่งไหล ทะลักทะลวงจากโลกตะวันตกเข้ามายังแดนสยามกระมัง

    ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวและกับตัวเราเองจึงได้บังเกิดขึ้น พฤติกรรม บางอย่างของเราก็เริ่มหมุนไปกับความใหม่ โยนความเก่าบางอย่างที่บรรพบุรุษใช้เวลาทั้งชีวิตสะสมเอาไว้ให้ทิ้งไปอย่างไม่นึกเสียดายหากบรรพบุรุษท่านสามารถลุกขึ้นมาพูดได้ในตอนนี้ท่านก็คงจะพูดว่า

    "น่าเสียดายจริง สิ่งที่มีคุณค่าของปู่ย่า ตายาย ที่สู้อุตส่าห์ค้นคว้า สืบเสาะมาเป็นแนวทางของชีวิต เป็นหลักยึดเกาะยามต้องการ ให้มันเตือนใจบ้าง บัดนี้มันก็ต้องมาตายลงไปพร้อม ๆ กัน แต่มันก็ไม่แตกต่างกันมากนัก... เรามันรุ่นเก่าล้าสมัยก็ต้องทำใจ แต่ทำไมลูกหลานไม่นึกบ้างหนอว่า

    "เก่าลายครามที่เพียบพร้อมด้วยคุณค่าแก่การทะนุทนอม เพื่อให้เหลือตกทอดถึงรุ่นลูกหลานเหลนโหลนในภายหน้า..."

    มันคงยากพอควร หากจะกลับไปเป็นอย่างเดิม เพราะคนเรานิยมของใหม่กันมากกว่าของเก่า แต่ใช่ว่าจะไม่ใช่เรื่องดี แต่มีบางอย่างที่เกี่ยวพันกับตัวเราที่มันเสื่อมลงไปทุกขณะของลมหายใจเราเลยทีเดียว

    อย่างประเพณีวัฒนธรรมนี่แหละดูกันได้ง่าย ๆ เนื่องมาจากยุคของใหม่ จะไม่ยจอมหันหลังกลับไปทำสิ่งที่ถูกมองจากชาวต่างชาติว่าล้าหลังอีกเด็ดขาด ต้องตามให้ทันยุคใหม่ อย่างเขา (ไม่ยักมีใครตามเงินบาทที่ลอยตัวทันซักคนแฮะ !) บางอย่างที่น่าสืบสานให้เกิดคุณค่าต่อจากบรรพบุรุษหรือบุพการีทั้งหลายได้ค่อย ๆ เลือนหายไปไร้คนถามถึงและเหลียวแล


    หากแต่ภายใต้ความหม่นที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของเทคโนโลยีนี้ ยังคงมีบางสิ่งที่ยังพอมองเห็นค่อนข้างชัดเจน ประกอบกับการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยเลยก็ว่าได้ เพราะคนไทยไม่ว่าจะกระทำสิ่งใด ๆ นั้นก็มักจะมีวิธีการที่แปลก ไม่เหมือนใครเสมอมาอยู่แล้วนับแต่โบราณกาล และก่อนที่จะลงมือทำก็ต้องมีการหาฤกษ์หายามหาทิศหาทางกันให้ดีเสียก่อนเมื่อเห็นว่าดีแล้ว ถูกต้องตามฤกษ์ทีหามาจึงถือว่าเป็นการถูกโฉลก แล้วลงมือทำได้ จนกลายเป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้นับถือต่อ ๆ กันมา

    เป็นประเพณีที่จะต้องกระทำกันอย่างมีขั้นตอนตามแบบตามแผนจนถึงปัจจุบัน ไม่ต้องไปนึกให้ไกลจากตัวเรานักหรอกเอากันใกล้ ๆ เรื่องที่ยังเป็นมาและยังคงเป็นไปอย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา เรารู้จักกันโดยทั่วถ้วนหน้า ก็การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนี่ล่ะ เมื่อเราจะสร้างบ้านก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอนอย่างดี เคยมีมาเมื่อก่อนเก่า เริ่มจากการมองหาพื้นที่สำหรับปลูกบ้าน ลงเสาเรือนจะต้องผ่านการตรวจตราจากผู้ที่รู้เชี่ยวชาญ โดยท่าจะเป็นผู้บอกว่า ที่ดินตรงนี้มันเหมาะที่จะตั้งบ้านหรือไม่


    ถ้าเป็นดินเย็นก็ตั้งได้เลยจะได้ร่มเย็นกัน ท่านว่าอย่างนั้น แต่ ถ้าเป็นดินร้อนท่านก็จะต้องหาทางแก้เคล็ดกันเสียก่อน

    จะให้เป็นพื้นที่ร่มเย็นจึงจะตั้งได้ แล้วพอมาถึงขั้นตั้ง (ลง) เสาก็ต้องมีวิธีตั้งอย่างถูกต้องตามตำราอีกเริ่มลงเสาแรกที่เรียกว่า เสาเอก ซึ่งก็จะมีพิธีการของท่านไปตามที่ท่านเรียนมา เพื่อปัดเป่าให้ลูกหลาน ที่ว่ากันไปเพื่อความสุขทางใจและกายของคนอื่นที่อยู่อาศัยในบ้าน แล้วถ้าหากต้องการความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นก็ต้องทำพิธีให้ครบทุกขั้นตอน ของการปลูกบ้านละ

    หลักการที่ว่านี้ก็คือ ทำตั้งแต่ขั้นต้นจนมาถึงขั้นสุดท้ายของการสร้างบ้านเสร็จโดยไม่ข้ามขั้นใดขั้นหนึ่งไปจึงจะเรียกว่าถูกต้องทุกกระบวนการ แล้วเมื่อสร้างบ้านเสร็จก็ต้องมีการ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ แต่ก่อนที่จะมีการทำบุญขึ้นนั้น จะต้องมีการทำพิธี "ยกศาลพระภูมิ" เสียก่อนถึงจะเรียกว่ามาถึงขั้นตอนสัดท้ายอย่างครบถ้วนทุกกระบวน หรือจะจัดตั้งไปพร้อม ๆ กับการทำพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก็ได้เช่นกัน

    เนื่องจากว่าคนไทยเรานั้นมีความเชื่อกันว่า

    ศาลพระภูมิ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิประจำบ้านเป็นสิ่งที่อยู่ของท่านเทพารักษ์ ผู้ซึ่งคอยปกปักรักษาคนภายในบ้านให้พ้นจากภัยพิบัตินานาประการ ให้ได้รับแต่ความสงบสุขสมบูรณ์ คอยกำจัดภูตผีปีศาจตนอื่นที่จะมาเบียดเบียนทั้งยังช่วยให้เจ้าของบ้านมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้าขึ้นเรื่อย ๆ แล้วยังเชื่ออีกว่า

    หากเจ้าของบ้านทำถูกวิธีในการจัดถวายเครื่องสังเวย ก็จะยิ่งดียิ่งมีความเจริญ มีโชค มีลาภยศชื่อเสียง เข้ามาสู่เจ้าของบ้านขึ้นไปอีก

    ด้วยเหตุนี้เองประชาชนคนไทยแต่โบราณกาล จึงให้ความเคารพนับถือสักการะนบน้อมบูชา พระภูมิทุกวัน ด้วยหวังความสวัสดีมีชัย จำเริญสุขสถาพรแก่ชีวิต ครอบครัวบ้านหรือหมู่บ้าน

    แต่สำหรับ... คนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่างยุคร็อค ยุคแร็บ ที่มีเครื่องดื่มรสชาติใหม่ ๆ มาแทนน้ำเปล่าที่ใสสะอาดอย่างทุกวันนี้ มีบ้างใหมสักกี่คนที่จะสนใจมองและรับรู้ถึงสิ่งเก่า ๆ ของคนรุ่นเก่า ซึ่งให้ความสำคัญและเต็มไปด้วยแรงศรัทธา ที่ยังคงเหลือมาให้เห็นจวบจนถึงยุคปัจจุบันนี้ และเมื่อมองเห็น... เคยบ้างไหมที่คนรุ่นใหม่ จะตั้งคำถามกับตัวเอง หรือคนรอบข้างว่า

    ศาล คืออะไร ?
    พระภูมิ...เจ้าที่คือใคร ?
    พระภูมิมาจากไหน ?
    ทำไมต้องมีการตั้งศาล ตั้งให้ใคร ?
    จำเป็นหรือที่เราต้องกราบไหว้ศาล เล็ก ๆ ร้าง ๆ ที่ไม่เห็นใคร และอะไร ?
    พระภูมิ มีชีวิตและตัวตนหรือไม่ ?
    ศาล มีความสำคัญอย่างไร แค่ไหน ?
    ใคร คือผู้ให้คำตอบได้... ?


    ในขณะเดียวกัน เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ก็อาจจะเป็นคำตอบให้ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย และยังเป็นเนื้อหาที่ควรศึกษาประดับภูมิปัญญาอย่างยิ่ง เพราะเป็นเนื้อหาที่หลากหลาย ทั้งที่ตามพื้นที่ของแผ่นดินไทย และต่างประเทศ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าจากตำราและจากท่านผู้รู้ และจากการศึกษาด้วยตัวเอง โดยออกเดินทางสู่สถานที่จริงในหลายหมู่บ้าน และหลาย จังหวัดของประเทศไทยมาเพื่อคุณ ๆ ผู้ผ่านโดยเฉพาะเชียวแหละ

    เนื้อหาดังกว่ามีทั้งที่เป็นสาระและให้ความบันเทิงไปด้วยไม่ต้องเครียด เมื่อคุณเปิดอ่าน จะพบกับเรื่องราวแปลก ๆ พิลึกพิลั่น เร้าใจตื่นเต้นไปด้วยโดยเฉพาะคุณผู้อ่านที่สนใจศึกษาเรื่องประเพณี วัฒนธรรม และเรื่องของไสยศาสตร์ ขนานแท้ที่ไม่แต่งเติมเช่นดั่งละครดัง ที่ดึงดูดใจคนดูอยู่ขณะนี้

    ซึ่งว่ากันด้วยเรื่องผีปอบ, ผีฟ้า, ผีบ้าน , ผีเจ้าที่ , ผีกระสือ , ผีกระหัง , ผีเปรต ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องดึงดูดความสนใจของคนไทยได้เป็นอย่างดี แม้ว่ายุคนี้เป็นยุคเจริญกระทั่งเงินบาทมันลอยโด่งแค่ไหนก็เถอะ แต่คนไทยก็ยังต้องการอยากจะทราบเรื่องราวที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์นี้เป็นมาก หากแต่เรื่องที่นำมาเสนอนั้น อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเพียง 50% เท่านั้น ส่วนอีก 50% ก็เป็นสีสันที่แต่งเติมลงไปว่างั้นเถอะ

    แต่สำหรับเรื่องรายต่อไปนี้จะว่าด้วยเรื่อง "ผีเจ้าที่" แบบแท้ ๆ และดั้งเดิม รวมไปถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเพณีบูชา, บูชา, บวงสรวง, อีกทั้งการเข้ามาเกี่ยวข้องกับ "มนุษย์ได้อย่างไร" เจาะกันลึกเลยทีเดียวจึงไม่น่าจะพลาดอ่านแม้แต่ตอนเดียว... เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก

    กำเนิดพระภูมิ...เจ้าที่

    ตามตำนานในคัมภีร์พรมจุติได้กล่าวไว้ว่า...

    ได้มีจอมกษัตริย์นามว่า "ท้าวทศราช" บ้างทีก็เรียกว่า "ท้าวโสกราช" ส่วนทางภาคอีสานนั้นมักจะเรียกว่า "ท้าวสกราช" ซึ่งก็คงจะเพี้ยนคำมาจากโสกราช อีกนานหนึ่งก็เรียกว่า "ท้าวการทัตต์" (ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์ครอง กรุงพาลี หรือกรุงพลีก็เรียก ตามแต่ความเป็นมาของความเชื่อในแต่ละภาค ซึ่งก็อาจจะมีย่อยออกไปบ้าง หากแต่ใจความก็ละม้ายคลายกันทั้งนั้น เนื่องมาจากตำราฉบับเดียวกัน เพียงเพี้ยนออกไปตามประเพณีพื้นบ้าน ซึ่งหากจะเป็นพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน "นารายณ์สิบปาง" ก็จะกล่าวถึงพระภูมิ ผู้เป็นเจ้าของพระภูมิ ผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินเอาไว้ว่า...

    ท้าวทศราชเจ้ากรุงพาลี หรือเรียกกันว่า ท้าวพลีก็เรียก เป็นปางที่ 5 ของนารายณ์สิบปาง มีใจความโดยย่อดังต่อไปนี้

    "มียักษ์ตนหนึ่งชื่อ "พลี" ถูกเทวดาฆ่าตายใจสงครามกวนน้ำทิพย์พวกพ้องจึงนำศพไปให้พราหมณ์ "ภาร์ควะ" ชุบชีวิตให้กลับฟื้นคืนมาใหม่ แล้วตบะกิจทำพิธีจนเรืองฤทธิ์ จากนั้นก็ได้ยกทัพไปแก้แค้นพระอินทร์ ผู้เป็นหัวหน้าเทพทั้งหลาย จนท้าวพลีได้รับชัยชนะเป็นผู้เข้าครองโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล อยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งเทวดาพากันไปอัญเชิญพระนารายณ์ มาปราบจึงได้แผ่นดินคืนมา ส่วนท้าวพลีก็ได้ถูกลงโทษให้ไปอยู่ในโลกบาดาล ท้าวพลีจึงได้ทูลอ้อนวอนขอประทานอภัยโทษจากพระนารายณ์ พระองค์จึงโปรดยกโทษ และประทานให้ไปครองแดน "สตุล" คือภาคสูงสุดของเมืองบาดาล

    ดังตอนหนึ่งในโคลง 4 ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 ว่า

    ขุนมารจงย้าย อยู่พลัน
    ไปอยู่แดนสตุล เขตแคว้น
    เจ้าจงครอบครองขัณฑ์ ทรงราชย์
    เป็นสุขสนุกแม้น แดนสรวง


    แล้วองค์พระนารายณ์ก็ยังทรงโปรดประทานพรแก่ท้าวพลีที่จะไปครองเมืองสุตลด้วยว่า ยามดีจะมอมให้ ครองสรวง

    เป็นที่พระอินทร์เอก ขะคร้าว
    เสพทัพยะสุธปวง สมปรารถนาแฮ
    เป็นใหญ่โนภพด้าว สามแดน


    จากโครงบาทท้าย "เป็นใหญ่ในภพด้าวสามแดน" นั้น

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในอภิธานประกอบเรื่องนารายณ์สิบปางให้ความหมายว่า อาศัยเหตุที่ท้าวพลีได้เคยครองไตรโลกมาแล้วครั้งหนึ่งและได้รับพระวิษณุเป็นเจ้าไว้ว่าจะได้ครองอีกครั้งหนึ่งในอนาคต จึงจะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาที่โหรทำการบูชาพระภูมิมักจะกล่าวว่า

    "โอมพระภูมิ พระธรณี กรุงพลีเรืองฤทธิ์"

    ก็เพราะเหตุนี้ดังนี้เอง... ความเชื่อนี้ก็สืบต่อกันมานานในศาสนาพราหมณ์ จะเพี้ยนกันออกไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย ดั่งพรนามที่เรียกว่า ท้าวพลี นี้ ก็คงมาจากที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าครองกรุงพาลี หรือกรุงพลี จึงทรงได้รับการขนานนามเช่นนี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะต่างก็มาจากตำนานเดียวกันอย่างที่บอกข้างต้นแล้ว ทีนี้ก็วกกลับมาที่ท้าวพลีหรือท้าวทศราชอีก

    ท้าวทศราช (ท้าวพลี) มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางมันทาทุกาธิบดี ทั้งสองพระองค์มีโอรสด้วยกัน 9 องค์ และเมื่อโอรสทั้ง 9 องค์ทรงเจริญวัย ก็ล้วนแล้วแต่มีพระปรีชาสามารถกันทุกองค์ ดังนั้นท่านท้าวทศราชแห่งกรุงพาลี จึงได้ส่งโอรสแต่ละองค์ไปดูแลรักษาพื้นแผ่นดิน ถิ่นฐานต่าง ๆ ที่เป็นดินแดนอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์


    โดยพระโอรสแต่ละองค์จะแยกย้ายกันออกไปดูแลตามแต่ความสามารถและความถนัดของตนดังนี้

    องค์ที่แรก นามพระชัยมงคล ไปรักษาเคหะสถาน และบันได
    องค์ที่สอง นามพระนครราช ไปรักษาค่ายทหาร ทวาร บันได
    องค์ที่สาม นามพระเทวเถร ไปรักษาคอกสัตว์ต่าง ๆ (บ้างก็เรียกพระเกเพน หรือเกวเภร)
    องค์ที่สี่ นามพระชัยสพ ไปรักษายุ้งฉางข้าว และเสบียงคลังต่าง ๆ (บางฉบับก็เรียกว่าพระชัยโภศพณ์)
    องค์ที่ห้า นามพระคนธรรพ์ รักษาโรงพิธีอาวาห์และวิวาห์ เรือนหอบ่าวสาว
    องค์ที่หก นามพระธรรมโหรา หรือพระเยาวแผ้วให้ไปรักษาที่นา ทุ่งลาน และป่าเขา (ทางภาคอีสารเรียกว่าผีตาแฮก รักษานา ไร่)
    องค์ที่เจ็ด นามพระวัยทัตบ้างก็เรียกว่าพระสุธาจะ หรือพระศรัทธาให้ไปรักษาอารามวิหารและปูชนียวัตถุสถานต่าง ๆ องค์ที่แปด นามพระธรรมิกราช หรือธรรมมิกฤช ไปรักษาอุทยานสวนผลไม้และพืชพันธุ์ต่าง ๆ
    องค์ที่เก้า นามพระธาตุธารา ไปรักษาห้วยหนองคลองคู บึงและแม่น้ำต่าง ๆ

    จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้บางคนถึงกับร้อง "อ๋อ" นึกออกแล้ว ที่เข้ากราบไหว้กันเป็นเพราะอย่างนี้นี่เองอย่างที่เราเคยเห็นมีเรือนหลังเล็ก ๆ ตั้งเอาไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ นั้นก็คงจะเป็นที่อยู่ของโอรสทั้ง 9 องค์ซึ่งรุ่นเก่าต่างก็ทราบกันดี และจะเรียกบ้านที่เห็นนี้เป็นบ้านของผู้ที่ฐานะเป็น "พระภูมิ" หรือ
    "พระภูมิเจ้าที่"

    พระภูมิ
    ก็คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของแผ่นดิน หรือเทวาประจำพื้นที่ อาคารสถานที่แห่งนั้น

    พระภูมิเจ้าที่
    คือ เทวดาผู้ที่ทำหน้าที่รักษาอาณาเขตที่ดิน ที่เจ้าของที่ดินอัญเชิญสิงสถิตบนศาลที่เตรียมไว้

    ชาวบ้านมักจะเรียกกันจนติดปากตามภาษาพื้นบ้านให้เป็นที่รู้และเข้าใจกันคือ

    พระภูมิเฮือน(เรือน)
    พระภูมิประตูและหัวกระได(ทวารบาน หรือ เชียวกาง)
    พระภูมิเรือนหอ
    พระภูมิวัว-ควาย
    พระภูมิยุ้งฉางข้าว
    พระภูมินา
    พระภูมิสวน
    พระภูมิลาน
    พระภูมิวัด ฯลฯ

    ทั้งหมดที่เรียกมานี้... ที่แท้จริงแล้วหากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือ หมดสูตร (ผู้รู้ ที่อาจจะพราหมณ์ และฆราวาส) ก็จะเรียกกันเอาอย่างง่าย ๆ นี้เพราะแทบจะไม่มีใครรู้จักนามจริงของพระภูมิเท่าใดนัก อาจจะเป็นด้วยเหตุว่าชื่อเรียกยาก และยาวเกินไป จึงหันมาเรียกเอาสถานที่ที่พระภูมิสิงสถิตอยู่เป็นหลักในการจำก็เป็นอันว่ารู้กัน รวมถึงการตระเตรียมเครื่องสังเวย ก็จะแยกออกไปตามแต่ละองค์ ได้อย่างถูกต้อง และง่ายขึ้นด้วย

    แล้วคุณผู้อ่านเคยสงสัยบ้างหรือเปล่าว่า ทำไมพระภูมิ ที่บอกว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินนั้น จึงต้องระเห็จมาอยู่บนศาล แทนที่จะเป็นบ้าน หรือวัง ที่โอ่อ่าตามฐานะของตน ในมื่อเป็นถึงเจ้ากรุง เจ้าเมือง สงสัยมั้ย
    ?

    ทำไม "พระภูมิ" ต้องอยู่ศาล...ไม่อยู่บ้าน

    จากคำถามที่ว่า ทำไม "พระภูมิ" ต้องอยู่ศาล...ไม่อยู่บ้าน แล้วที่เรากราบไหว้นั้น... ทำไมเราไม่เรียกว่า บ้านพระภูมิเจ้าที่แต่กลับเรียกว่าศาล ? คำถามยังมีอีกมากมายที่ผู้เขียนยกมากล่าวในที่นี้ได้ไม่หมด.. และเชื่อว่าคุณผู้อ่านเองก็มีคำถามของตัวเองเอาไว้แล้วแต่ละท่าน ตั้งคำถามและคำบอกเล่าที่เห็นตำนานและคัมภีร์พรหมจุติ ก็ได้กล่าวถึงสาเหตุที่พระภูมิอยู่ศาลเอาไว้ว่า

    เมื่อท้าวทศราชแห่งกรุงพาลีได้ส่งโอรสทั้ง 9 องค์ ออกไปปกครองแผ่นดินตามสถานที่ต่าง ๆดังแต่พระองค์ถนัดแล้ว ตัวของท้าวทศราชเจ้ากรุงพาลีเองก็ให้สบายอกสบายใจอิ่มเอมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่ต้องทำอะไรต่อมิอะไรมากมายดังเมื่อก่อนมา ให้รู้สึกเมื่อยอกเมื่อใจอีกแล้ว นอกจากการแสดงออกถึงการมีอำนาจที่มีมากขึ้นกว่าเดิม เพราะได้บารมีของพระโอรสทั้ง 9 องค์ มาช่วยเสริมให้กล้าแกร่ง และแผ่กระจายวงกว้างยิ่งขึ้น

    จากนั้น ท้าวทศราชก็เริ่มแสดงถึงอำนาจที่ตนให้รุกคืบออกไปทุกทิศทุกทางตามแต่ตนต้องการโดยบางอย่างก็ต้องอาศัยแรงจากความพระปรีชาสามารถของโอรส อย่างเช่นเมื่อพระองค์ต้องการสิ่งใดในเขตของโอรสองค์ใด ท้าวทศราชก็จะต้องให้โอรสองค์ที่ปกตรองอยู่ที่นั้นเป็นผู้ออกคำสั่งอีกต่อหนึ่งงโดยให้ชาวบ้านเมืองในแถบพื้นที่นั้นนำข้าวของและท้าวทศราชการมาถวายกับพระภูมิ (พระโอรส) แล้วพระภูมิเองก็จะนำขึ้นถวายพระบิดาอีกคราวหนึ่ง บอกอย่างนี้บางท่านอาจจะนึกภาพไม่ค่อยจะออก ลักษณะที่ท้าวทศราชดึงอำนาจเข้าสู่ตนเองแม้เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็คือ...

    เมื่อเจ้ากรุงพาลีอยากเสวยปลาก็ต้องออกคำสั่งไปที่ พระธาตุธารา(บางตำราจะเขียนว่า ธาษ) ผู้ปกครองแถบคลอง หนองบึง ให้รับคำสั่งไปสั่งต่ออีกทอดหนึ่งกับประชาชนที่พรธาราปกครองอยู่เพื่อทำตามความต้องการของผู้เป็นบิดา และจะเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยมา ตลอดทั้งโอรส 9 องค์

    แม้ว่าบางครั้งโอรสจะไม่เห็นด้วยกับความคิดของพระบิดาก็ตามแต่ก็ต้องจำใจทำลงไป ด้วยสายสัมพันธ์ฉันพ่อลูก แม้จะทราบดีว่าบางคราวก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง... ทำให้ผู้คนภายใต้การปกครองของพระองค์ต้องเดือนร้อน เพราะการกระทำกรรมเบียดเบียนริษยาของเจ้ากรุงพาลี

    ไม่เพียงแต่แสดงอวดอ้างและวางอำนาจเท่านั้น เจ้ากรุงพาลียัง มุสาวาทแก่นชนทั้งหลายตลอดมา ไม่มีความแน่นอนใจคำดำรัสและดำริเลยสักครั้ง(แหม...ฟังดูแล้วก็ช่างเหมือนผู้นำยุคเงินบาทลอยตัวเสียจริง ๆ สงสัยใครที่ขึ้นมาเป็นผู้นำเขาคงจะสืบทอนกันเนอะ คุณผู้อ่าน)

    สำหรับท้าวทศราชเจ้ากรุงพาลีแล้ว เล่นหนักกว่าผู้นำบ้านเราอีก เพราะเล่นกับใครไม่เล่น ดันไปโกหกกับประชาชนทุกสารทิศว่า

    พระพุทธเจ้าจะให้พรแก่พระองค์แล้วก็มิได้ให้ดั่งคำที่บอก ซึ่งจากคำพูดเช่นนั้นก็ส่อให้เห็นแล้วว่า นิสัยของเจ้ากรุงพาลีเป็นเช่นไร และความตั้งใจจริงก็คือ ต้องการจะให้ชาวบ้าน-ชาวเมือง ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ให้เกิดอาการระส่ำระสาย เกิดความไม่เชื่อถือ เพื่อหันกลับมานับถือตนแทนนั่นเอง

    การพูดจากของเจ้ากรุงพาลีไม่ใช่บางครั้งบางคราว หรือจบสิ้นลงเท่านี้ เพราะทุกครั้งที่ทำการแผ่อำนาจอันไม่ถูกต้องของตนเองไป ท้าวทศราชจะพูดกล่าวหาว่าร้ายให้กับองค์พระพุทธเจ้าอยู่เนือง ๆ จนแผ่ขยายวงกว้างออกไปอย่างทั่วถึง

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบราบเรื่องว่า ท้าวทศราชแห่งกรุงพาลี เต็มไปด้วยการเบียดเบียน และมีความอิจฉาริษยาอยู่ในกมลสันดาน พระพุทธองค์จึงได้เสด็จ เยือนกรุงพาลี และทรงเข้าพบท้าวทศราช แล้วพระพุทธองค์ได้ทรงขอพื้นที่ (พื้นดิน) จากท้าวทศราชเพียงสามก้าวของพระองค์เท่านั้นเพื่อเป็นที่พักอาศัย

    ส่วนทางด้านท้าวทศราชก็ให้นึกกระหยิ่มในใจ ลิงโลดเป็นล้นพ้นที่คนอย่างตนมีอำนาจมากกว่าพระพุทธเจ้า โดยเข้าใจว่าตนเองนั้นเป็นต่อ ที่พระพุทธเจ้าทรงเกรงกลัวต่ออำนาจ ของตน "กลัว" ถึงขนาดที่ไม่มีที่อยู่อาศัย จนต้องรีบบากหน้ามาขอที่เอาไว้เพื่อเป็นที่อยู่ที่พัก

    ดังนั้น ท้าวทศราชแห่งกรุงพาลีจึงพินิจคำขอของพระพุทธองค์ แล้วลงความเห็นว่าเป็นเนื้อที่น้อยนิดแค่เพียงสามก้าวเท่านั้น ไม่ได้มากมายนักและด้วยความที่หลงใหลในอำนาจว่ามีคนมาขอพึ่งบุญ และคิดไปว่าเมื่อให้ที่อยู่พระพุทธองค์แล้ว ชาวประชาและเทพยดาทั้งหลายที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธองค์ จะได้เห็นว่าตนมีซึ่งอำนาจมากกว่าพระพุทธเจ้าถึงขนาดต้องเป็นเจ้าแผ่นดินแก่พระพุทธเจ้าไปด้วย หากว่าตนให้ที่อยู่แก่พระพุทธองค์ตามคำขอ ท้าวกรุงพาลีจึงได้ตอบตกลงยกที่ดินสามก้าวให้ตามที่พระพุทธองค์ทรงขอด้วยยิ้มภาคภูมิใจ

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงได้รับคำตอบแล้ว พระองค์ก็ทรงประกาศแก่เทพยดาให้เห็นเป็นพยานว่าท้าวทศราชท้าวกรุงพาลีได้ยกเนื้อที่ให้แก่พระองค์แล้ว
    3 ก้าว ต่อจากนั้นพระองค์ก้าวเดินไปด้วยพระพุทธาภินิหารของพระองค์ เมื่อทรงย่างเหยีบเพียงแค่ 2 ก้าวก็ถึงซึ่งขอบเขตจักรวาลแล้ว

    เมื่อเหตุการณ์แปรเปลี่ยนไปดังนั้น เล่นเอาเจ้ากรุงพาลีและพระภูมิเจ้าที่(โอรส) ถึงกับตกใจสุดขีด ลมแทบจับเลยทีเดียว เพราะหากว่าเป็นเช่นนี้พระองค์และพระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ก็ต้องกลับเป็นฝ่ายที่ไร้ซึ่งที่จะอยู่ หมดซึ่งอำนาจต่าง ๆ ที่มีมา ประชาชนทั้งหลายก็ต้องตกอยู่ภายใต้การดูแลของพระพุทธเจ้าทันที เมื่อสิ้นสุดการก้าวย่างของพระพุทธองค์

    นับแต่บัดนั้น ท้าวทศราชและโอรสทั้ง 9 จึงจำต้องออกไปอยู่นอกเขตจักรวาล ไม่มีตนมาเอาเอกเอาใจอย่างที่เคยเป็นมา จึงเกิดการอดอยากในเครื่องสังเวย ดังนั้นท้าวทศราชจึงได้ใช้ให้โอรสทั้ง 9 องค์ที่เป็นพระภูมิเจ้าที่ให้มากราบทูลพระพุทธเข้า เพื่อทูลขอเครื่องบัตรพลี (เครื่องสังเวย) และขอที่ดินคืน อย่างน้อยก็พอได้เป็นที่อยู่อาศัยบ้าง

    ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับทราบถึงเรื่องที่พระภูมเจ้าที่ทูล...พระองค์ก็ทรงมีพุทธานุญาต ให้ทราบโดยทั่วกันทั้งประชาชนและเทพยดาทั้งหลายว่า...


    ต่อไปนี้ ถ้าใครผู้ใด จะสร้างบ้านเรือนหรือก่อพระเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิ์ ทำพระวิหาร ทำสถานนี้ปลูกศาลา ปั้นพระพุทธรูบวชพระภิกษุ หรือการมงคลใด ๆ ก็ให้จัดตั้งพระภูมิเอาไว้ แล้วบอกกล่าวทุกครั้งไป เพื่อพระภูมิจะได้เป็นผู้มาดูแลเป็นหูเป็นตาแทน

    นับแต่นั้นมา ศาล ของพระภูมิ หรือบ้านพระภูมิ เป็นดังที่ปรากฏให้เราได้เห็นกันอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ศาลพระภูมิคือบ้านที่พระภูมิอยู่นั่นแหล่ะ แต่ที่เราต้องเรียก "ศาล" นั้นก็คงจะมาจากลักษณะที่ตัวบ้านที่เราเห็นกัน รวมถึงขนาดของบ้านซึ่งสมัยก่อนนั้นถ้าเป็นบ้านหรือศาลของเจ้ากรุงพาลีก็๗มีขนาดใหญ่พอสมควรโดยมีขนาดใหญ่กว่าของโอรส มีเสา 4 เสาถ้าเป็นในต่างจังหวัดจะมีประจำหมู่บ้านที่เรียกว่า "ศาลปู่ตา" ภาคอีสานจะกลับคำกันกับ ภาคกลางที่เรียกว่า ศาลตาปู่ ซึ่งตามที่ผู้รู้บอกนั้น ศาลที่มีขนาดใหญ่นี้จะมีศักดิ์เป็นหัวหน้าศาลอื่น ๆ ที่แยกย่อยออกไปทั้งหมด(ศาลย่อยที่ว่านี้ก็คือ ศาลที่พระโอรสทั้ง 9 สิงสถิตอยู่) เพราะศาลขนาดใหญ่จะมีสี่เสาขึ้นไป(ปัจจุบันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และโอ่อ่าขึ้นตามสภาวะ) แต่ศาลขนาดเล็กจะมีเพียงเสาเดียวซึ่งต่างจังหวัดในปัจจุบันนี้ยังคงพอมีหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะทางภาคอีสาน ที่นิยมทำศาลเพียงตา หรือบางทีเรียกว่าศาลชั่วคราว นอกนั้นก็จะเป็นทางภาคเหนือ ส่วนศาลที่อยู่ในแถบภาคกลางบอกได้เลยว่าแทบจะไม่มีลักษณะศาลอย่างดั้งเดิมเหลือเอาไว้เลย

    ตั้งศาล...
    ก็ได้เปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการของความเจริญทางด้านเทคโนโลยีไปแล้ว สมัยนี้ศาลพระภูมิจะต้องเป็นปูนถึงจะเหมาะสม ว่ากันอย่างนั้น ขนาดของศาลพระภูมิก็ไม่เป็นเช่นดังเดิมมา จะให้ไปถืออย่างท่านผู้รู้บอกว่าถ้าศาลใหญ่ก็หัวหน้าศาลเล็กก็ลูกนั้นคงจะไม่มีได้เสียแล้วละทีนี้ แต่ผู้เขียนอยากจะจกตัวอย่างของศาลที่มีขนาดใหญ่ ที่ว่าเป็นหัวหน้าศาลทั้งหลายมาบอกไว้ตรงนี้นิดหนึ่งว่า ถ้าหากว่าเราไปตามต่างจังหวัดก็คงจะเห็นความเชื่อประเภทนี้เอาไว้อยู่บ้าง ดูได้จากปากทางเข้าบ้าน(หมู่บ้าน) หรือจะเป็นท้ายหมู่บ้าน แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมสร้างศาลพระภูมิประจำหมู่บ้านเอาไว้ทางเข้าหมู่บ้านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกมากกว่า เมื่อดวงตะวันยามเช้าขึ้นเมื่อใด ก็จะสาดส่องถึงศาลพระภูมิได้ จะมีแทบทุกหมู่บ้านและจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย โดยการแสดงออกในลักษณะความเชื่อถือคือ...

    ศาลปู่ตา
    ก็จะต้องรับรู้เรื่องราวด้วย ลูกหลานจะเดินทางออกนอกหมู่บ้าน ไปไหนมาไหนจะต้องบอกกล่าวให้ท่านรักษา หรือแม้แต่การที่จะมีลูกชายเข้ารับราชการทหาร โดยการจับใบดำใบแดง ผู้เป็นพ่ะแม่กลัวว่าลูกจะติดทหารก็ต้องนำของไปถวาย ขอให้ช่วยลูกชายแคล้วคลาดจากการเป็นทหาร เหล่านี้เป็นต้น


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×