ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #162 : ประเพณีแต่งงานแบบจีน~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 361
      0
      28 มิ.ย. 50

    ประเพณีแต่งงานแบบจีน ┈━═☆



    ประเพณีแต่งงานแบบจีน

    เมื่อไรที่เราได้รับขนมในกล่องแดง หรือ "ขนมแต่งงาน" มาพร้อมการ์ดดีไซน์หวานบาดจิต ก็เป็นอันรู้กันว่า...เพื่อนหมวยของเราจะแต่งงานแล้ว !

    ซิงนึ้ง-ซิงเนี้ย
    ก่อนจะเข้าเรื่องพิธีแต่งงาน เรามาว่ากันถึงสิ่งของที่ซิงนึ้ง (เจ้าบ่าว) และ ซิง เนี้ย (เจ้าสาว) ต้องจัด เตรียมกันก่อนดีกว่า ของออกเรือนของเจ้าสาว



    เพื่อไม่ให้เป็นที่ครหาว่าเจ้าสาว "มาแต่ตัว" ธรรมเนียมโบราณจึงให้เจ้าสาวต้องตระเตรียมข้าวของติดไม้ติดมือไป "บ้าง"

    ในวันออกเรือนของเจ้าสาวจะไปพร้อมกระเป๋าเสื้อผ้าอัดแน่นด้วยชุดสวยใหม่ๆ ไว้ใส่รับชีวิตใหม่กับว่าที่เจ้าบ่าวของเธอ แถมด้วยหีบใส่เครื่องเพชรเครื่องทองติดแผ่นหัวใจสีแดงที่ได้รับเป็นของขวัญจากพ่อแม่ และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวตั้งแต่กะละมัง ถังน้ำ ไปจนที่นอนหมอนมุ้งเลยทีเดียว

    นอกจากนี้เจ้าสาวยังต้องมีเอี๊ยมแต่งงาน ทำจากผ้าแพรสีแดงกลายสวยงาม ใส่ห่อเมล็ดพืช 5 ชนิด เสียบปิ่นทอง พร้อมต้นชุงเฉ้า หรือต้นเมียหลวง 2 ต้น การจัดเอี๊ยมแบบนี้เพื่อเป็นเคล็ดให้มีลูกหลานดีสืบสกุล ถ้าเจ้าสาวมีฐานะหน่อย สายเอี๊ยมจะใช้สร้อยคอทองคำหนัก 4 บาท เพราะเลข 4 ถือเป็นเลขมงคล

    เครื่องขันหมากของเจ้าบ่าว
    นอกจากสินสอดทองหมั้นที่รู้กันดีอยู่แล้ว ซึงนึ้งยังต้องเตรียมเครื่องขันหมาก ซึ่งจะเป็นอะไรขึ้นอยู่กับฝ่ายเจ้าสาวเรียกมา โดยทั่วไปนิยมส้มเช้งผลเขียวๆ ติดตัวอักษรจีน ซังฮี่แปลว่า คู่ยินดี ไว้ทุกผล จัดเป็นคู่ จะ 44, 84 หรือร้อยกว่าผลก็ว่ากันไป บางบ้านอาจเรียกเป็นชุดหมูสด เช่น ขาหมู ตับหมู กระเพาะหมู มากันสดๆ เลือดแดงๆ ถ้ากลัวจะดูโหดไป ฝ่ายเจ้าบ่าวอาจใช้ซองเขียนว่า ใช้ซื้อขาหมู ซื้อกระเพาะหมู แทนก็ได้ของสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ขนมขันหมาก หรือขนมแต่ง จะแจกให้ญาติ

    มิตรเป็นการบอกข่าวดี ขนมมีให้เลือกหลายอย่าง เช่น ขนมเหนียวเคลือบงา ขนมเปี๊ยะ ถั่วตัด ข้าวพองทุบ ฯลฯ จะจัดสี่หรือห้าอย่างก็ได้ตามชอบ ถ้าไม่ชอบ อาจประยุกต์ใช้คุกกี้หรือของโปรดอย่างอื่นที่มีแพ็คเกจเป็นสีแดงสวยงามแทนก็ได้ อย่างสุดท้ายคือ ซองสี่ซองที่พ่อแม่เจ้าบ่าวต้องให้กับพ่อแม่เจ้าสาวเป็นค่าตัวลูกสาว ซองแรกเป็นค่าน้ำนม ซองที่สองเป็นค่าเสื้อผ้า ซองที่สามเป็นค่าทำ

    ผม แต่งหน้า ซองที่สี่เป็นทุนตั้งตัว ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความปรานีของพ่อแม่เจ้าสาว ว่าจะให้คู่บ่าวสาวไว้ใช้หรือไม่

    ขันหมากมาแล้ว
    เอาละ..เข้าเรื่องพิธีกันเลย เมื่อถึงวันหมั้น เจ้าบ่าวจะยกขันหมากมาที่บ้านเจ้าสาว และมอบสินสอดทองหมั้น เครื่องขันหมากที่เตรียมมาให้ ฝ่ายเจ้าสาวต้องเก็บขนมแต่งไว้ครึ่งหนึ่ง และส่งอีกครึ่งหนึ่งคืนให้เขา พร้อมส้มเช้งติดตัวซังฮี่จัดเป็นจำนวนคู่กับเอี๊ยมแดง เสียบปิ่นทอง ซึ่งในเช้าวันส่งตัว ฝ่ายเจ้าบ่าวจะคืนปิ่นทองมาให้เจ้าสาวใช้ติดผมก่อนออกจากบ้าน นอกจากส้มเช้ง เธออาจให้กล้วยทั้งเครือไปด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่าจะได้มีลูกหลานว่านเครือสืบสกุล

    เสร็จสิ้นกระบวนการแลกเครื่องขันหมาก ก็รอฤกษ์งามยามดีเพื่อสวมแหวนหมั้นต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย จากนั้นผู้ใหญ่จะให้ศีลให้พร แล้วเชิญแขกกินเลี้ยง เป็นอันจบไปหนึ่งพิธี

    วันออกเรือน
    ก่อนถึงฤกษ์ส่งตัว เจ้าสาวต้องแต่งหน้า ทำผมจนสวยสุดชีวิต แม่เจ้าสาวจะประดับปิ่นทองและใบทับทิมให้ที่ผม แต่งตัวเสร็จจึงไปไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ ก่อนไปร่วมรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายกับครอบครัว ซึ่งมื้อนี้คุณพ่อจะเป็นคนคีบอาหารให้คุณลูกสาว พร้อมกล่าวคำมงคลของอาหารแต่ละชนิด

    อาหารมงคล
    ปลา ภาษาจีนเรียกว่า ฮื้อหรือ ชุ้งแปลได้อีกอย่างว่า เหลือ สื่อถึงคำมงคลว่าอู่ฮู้-อู่ชุ้งคือให้มีเหลือกินเหลือใช้
    ผักกู้ช่าย (หรือที่เรียกติดปากกันว่า กุยช่าย) สื่อเป็นนัยว่าให้อยู่กันนานๆ เพราะกู้แปลว่า นาน
    ผักเกาฮะไฉ่ คำว่าเกาฮะสื่อถึงเซียนฮัวฮะซึ่งเป็นเซียนคู่ที่รักกันมาก กินผักเกาฮะไฉ่ จะได้รักกันเหมือนเซียนคู่นั้น

    ตับหมู ไส้หมู กระเพาะหมู ภาษาจีนเรียกว่า กัว” “ตึ๊งและ โต้วเมื่อเรียกรวมกันจะเป็นภาษามงคล คือ อั่วตึ๊งอั่วต็วแปลว่า เปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น
    หมู เป็ด ไก่ เป็นของที่นิยมไหว้เจ้ากันอยู่แล้ว จึงถือเป็นอาหารมงคลเช่นกัน

    เมื่อถึงฤกษ์ เจ้าบ่าวจะมารับตัวเจ้าสาวที่บ้าน โดยมีญาติๆ คอยต้อนรับด้วยน้ำชาและขนมอี๊ (ขนมสาคูเม็ดใหญ่สีชมพู) ถึงตอนนี้เธอไม่ต้องทำอะไรอื่น นอกจากนั่งสวยถือพัดแดงรอเจ้าบ่าวอยู่ในห้อง จนกว่าเขาและเถ้าแก่จะฝ่าด่านประตูเงินประตูทองด้วยอั่งเปาปึกใหญ่เข้ามารับตัว และมอบช่อดอกไม้ให้กับเจ้าสาวแสนสวยในที่สุด


    ให้รักนำทาง
    และเมื่อเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาวแล้ว ทั้งคู่ก็จะนั่งกินขนมอี๊สีชมพูด้วยกัน ญาติๆ อาจยุให้เจ้าสาวป้อนขนม หรือให้เจ้าบ่าวหอมโชว์ เธอก็ช่วยทำเขินพอเป็นพิธี จะได้ไม่เสียอรรถรสผู้ชม กินขนมเสร็จแล้วจึงไปกราบลาพ่อแม่เพื่อไปขึ้นรถแต่งงานในขบวนรถแต่งงาน จะมีรถขนกระเป๋าเสื้อผ้า ข้าวของออกเรือนของเจ้าสาว รวมไปถึงของขวัญสำหรับแจกให้กับญาติเจ้าบ่าว เช่น สบู่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าตัดเสื้อ ฯลฯ และที่สำคัญต้องมีญาติหนุ่ม จะเป็นพี่ชาย น้องชาย หรือหลานชายก็ได้ ให้มาถือตะเกียงจุดสว่างนำขบวนเป็นเคล็ดให้คู่บ่าวสาวมีลูกชายสืบสกุล โดยอาจนั่งในรถที่ขับนำหรือนั่งคันเดียวกับคู่บ่าวสาว แต่นั่งข้างหน้าก็ได้


    เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว ญาติหนุ่มจะนำตะเกียงไปวางไว้ในห้องนอนและจุดไว้ตลอดคืน จะให้ดีควรวางทิ้งไว้อย่างนั้น 3 วัน ถ้าเกรงว่าเรือนหออาจไฟไหม้เสียก่อน อาจประยุกต์ใช้ตะเกียงแบบเสียบปลั๊กก็ได้ ในการนี้เจ้าบ่าวให้อั่งเปาซองใหญ่กับญาติหนุ่ม เพราะถือว่าเป็นพิธีสำคัญ จากนั้นคู่บ่าวสาวจึงไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษ เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าทั้งคู่แต่งงานกันแล้ว



    ยกน้ำชาคารวะผู้ใหญ่

    ครั้นพอรุ่งเช้า เมื่อแขกเหรื่อเครือญาติทยอยมาที่บ้านกันพร้อมหน้า คู่สามีภรรยาใหม่ต้องทำการ ขั่งเต๊หรือยกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว โดยทั้งสองต้องคุกเข่าลงพร้อมกับรินน้ำชาใส่ถ้วยวางบนถาดส่งให้ ผู้ใหญ่จะดื่มแล้วให้ศีลให้พรและเงินทองเพื่อเป็นทุนตั้งตัว เสร็จพิธียกน้ำชา คู่บ่าวสาวจึงกินขนมอี๊สีชมพูอีกครั้ง

    คู่รักใหม่กลับไปเยี่ยมบ้าน

    หลังวันแต่ง 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน แล้วแต่ฤกษ์ ก็ถึงคราวญาติหนุ่มของฝ่ายเจ้าสาวจะมารับเธอกลับไปเยี่ยมบ้าน หรือที่เรียกว่า ตึ่งฉู่เจ้าสาวต้องเตรียมส้ม 12 ผลใส่ถาดติดไม้ติดมือกลับไปด้วย เมื่อไปถึงก็ต้องทำพิธียกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเช่นกัน (และรับทรัพย์ไปอีกตามระเบียบ) จากนั้นจึงมีงานเลี้ยงต้อนรับลูกเขยกันอย่างอิ่มหมีพีมัน

    ------------

    ความสำคัญของพิธีแต่งงานแบบจีน อยู่ที่ฤกษ์รับตัวเจ้าสาว ซึ่งทางพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายจะนำด่วงของคู่บ่าวสาวไปให้ซินแสตรวจและหาฤกษ์ให้ เมื่อได้ฤกษ์มาแล้ว ก็ถึงเวลาที่ครอบครัวของทั้งสองฝ่ายจะต้องตระเตรียมงานพิธี

    ระหว่างนี้ทางเจ้าบ่าวจะต้องให้หญิงหรือชาย ซึ่งมีลูกดกและคู่ชีวิตยังคงมีชีวิตอยู่ มาทำพิธีปูเตียงในห้องหอ โดยจะวางส้มสี่ลูกไว้บนเตียงทั้งสี่มุม เมื่อปูเสร็จแล้วก็จะทิ้งไว้อย่างนั้น ยังไม่ให้เจ้าบ่าวนอน

    ส่วนทางเจ้าสาวเองก็ต้องเตรียมสัมภาระที่จะนำติดตัวไปด้วย เช่น กระเป๋าเดินทาง เซฟใส่เครื่องประดับ หมอนปักรูปหงส์มังกรหนึ่งคู่ บางรายอาจจะเพิ่มผ้านวมหรือเครื่องนอนชิ้นอื่น ๆ รวมทั้งเสื้อเอี๊ยม เพื่อให้รู้ว่าเป็นเมียเอกนะ สำหรับเจ้าสาวบางรายที่ฐานะดีๆ สายคล้องคอเอี๋ยมก็จะเป็นสร้อยทอง

    และในเสื้อเอี๊ยมนี้จะใส่โหงวอิ๊กอี๊ ซึ่งเป็นผลไม้ตากแห้ง และต้นไม้ชุงเช่าไว้สำหรับนำไปปลูกที่บ้านเจ้าบ่าว พร้อมกาละมังลายนกคู่ กระโถนกับกาตอเฉียะ (ไม้วัดและกรรไกรตัดผ้า) รวมทั้งเข็มกับด้าย เพื่อให้รู้ว่าเจ้าสาวเป็นคนเย็บปักถักร้อยเก่ง ข้าวของเครื่องใข้ในการนี้จะต้องเป็นสีแดง หรือไม่ก็สีชมพูเท่านั้น

    นอกจานี้ขนมและผลไม้ต่าง ๆ ทุกอย่าง ที่บ่าวนำมามอบให้ครอบครัวเจ้าสาวก่อนวันงาน เป็นขนมขันหมาก ก็จะต้องติดกระดาษแดงเป็นตัวอักษรภาษาจีน ที่แปลเป็นไทยว่า ความสุขยกกำลังสอง

    สามวันก่อนวันงาน เจ้าสาวสมัยเก่าจะต้องมังหมิ่ง เพื่อกันขนที่รกในใบหน้าออก ถือเป็นเคล็ดลับเสริมความงามแบบโบราณอย่างหนึ่งและในคืนก่อนวันงานก็จะอาบน้ำทับทิมและใบเชียงเช่า เพราะเชื่อกันว่าจะช่วยชำระล้างสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป จากนั้นจะสวมชุดใหม่และนั่งลงให้หญิงที่มีชีวิตคู่ที่สมบูรณ์พูนสุข หวีผม ให้พร้อมกับกล่าวอวยพรไปด้วย และในวันแต่งงาน เจ้าสาวก็จะต้องเสียบปิ่นปักผมกับกิ่งทับทิมไว้บนเรือนผม เพราะเชื่อว่ากิ่งทับทิมจะช่วยให้คนรักใคร่เอ็นดู และหมายถึงสาวบริสุทธิ์

    เมื่อใกล้ถึงเวลาที่ทางเจ้าบ่าวจะต้องมารับตัว เจ้าสาวจะรับประทานอาหารกับพ่อแม่พี่น้องของตนเป็นมื้อสุดท้าย โดยมีแม่สื่อคอยคีบอาหารให้พร้อมกับกล่าวอวยพร จนได้ฤกษ์ เจ้าบ่าวก็จะนั่งรถคันโก้ผูกโบสีชมพูที่กระโปรงหน้ารถมายังบ้านเจ้าสาว ในการมารับตัวเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องนำหมูดิบมามอบให้แม่เจ้าสาว แทนยาบำรุงที่ท่านอุตสาห์ตั้งท้องเจ้าสาวมา เมื่อพบหน้าเจ้าสาวแล้ว ทั้งคู่ก็ยังต้องผ่านด่านของผู้ที่มากั้นประตู แจกอั่งเปา จึงจะลงจากห้องมาทำพิธีชั้นล่างได้

    ถึงตอนนี้ทั้งเจ้าบ่าว เจ้าสาวจะต้องไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ หรือที่เรียกกันว่าจูเอี๊ย ไหวเทพเจ้าเตาไฟ ซึ่งอยู่ในครัว และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว ถ้าหากปู่ย่าตายายของเจ้าสาวยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องไหว้กับตัว เพื่อบอกกล่าวให้ท่านเหล่านี้ทราบว่าเจ้าสาวกำลังจะจากครอบครัวไปแล้ว จากนั้นจึงทำการคารวะน้ำชาพ่อแม่เจ้าสาว

    เมื่อเสร็จสิ้นพิธีทางบ้านเจ้าสาว ก็มาถึงตอนที่เจ้าสาวจะต้องนั่งรถไปกับเจ้าบ่าว พร้อมด้วยคนถือตะเกียง ซึ่งจะต้องเป็นญาติผู้ชายของฝ่ายหญิง รวมทั้งคนหาบขนม ในการนี้พ่อเจ้าสาวจะต้องเป็นคนจูงเจ้าสาวขึ้นรถ พลางกล่าวอวยพรพร้อมกับพรมน้ำใบทับทิมไปด้วยว่า ขอให้น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้เปลี่ยนคุณหนูให้เป็นคุณหญิง และก่อนที่เจ้าสาวจะเข้าบ้าน ถ้าหากเจ้าสาวมีประจำเดือนก็ต้องก้าวข้ามกระถางที่จุดไฟไว้ จึงจะเข้าบ้านได้ และถ้าหากเจ้าสาวไม่มีประจำเดือนก็ไม่จำเป็น

    ทันทีที่เข้ามาในบ้าน บ่าวสาวจะไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าบ่าว แบบเดียวกับที่ทำในบ้านของเจ้าสาว จากนั้นจึงคารวะน้ำชาพ่อแม่ และยกน้ำชาให้ญาติผู้ใหญ่ พิธีการนี้ถือเป็นการแนะนำให้ญาติ ๆ รู้จักสะใภ้หน้าใหม่ไปด้วยในตัว และท่านก็จะแจกอั่งเปาพร้อมทั้งอวยพรให้เป็นการตอบแทน

    บ่าวสาวจะทานบัวลอยไข่หวานร่วมกัน เพื่อทั้งคู่จะได้รักใคร่ ปรองดอง และหวานชื่นเหมือรสชาติและสีของขนม แล้วพอรุ่งเช้าถัดจากวันแต่งงาน เจ้าสาวจะต้องตื่นขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ลูกสะใภ้ ปรนนิบัติพ่อแม่สามีด้วยการยกน้ำล้างหน้าให้ท่าน บางครอบครัวอาจปฏิบัติตามธรรมเนียมนี้ถึง 3 วัน หรือบางราย 12 วันก็แล้วแต่เลือกกัน

    สามวันให้หลังจากการแต่งงาน น้องชายของภรรยาจะเป็นฝ่ายไปรับคู่สามีภรรยาหน้าใหม่ กลับมาเยี่ยมและรับประทานอาหารที่บ้านเจ้าสาว ซึ่งบัดนี้เจ้าสาวจะได้รับการต้อนรับเยี่ยงแขกคนหนึ่ง



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×