ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    =~คลังความรู้~=

    ลำดับตอนที่ #14 : 5 สถาปัตย์ อัศจรรย์แดนมังกร~

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 191
      0
      7 พ.ค. 50

    5 สถาปัตยกรรมอัศจรรย์ แห่งแดนมังกร┈━═☆

                    นับตั้งแต่ยุคประธานาธิบดีเติ้งเสี่ยผิงยอมให้จีนเปิดตลาดทุนในบางเขต และเริ่มการพัฒนาแบบผสมผสานระหว่างทุนนิยมบนระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์  นับตั้งแต่นั้นมาจีนก็เกิดการพัฒนาและก้าวกระโดดในความเป็นประเทศชั้นนำ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ  ซึ่งประเทศก็มีกำลังขับเคลื่อนด้วยประชากรกว่า 1,306 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2005: จาก http://www.cia.gov/cia/publications/factbook/geos/ch.htmlทำให้จีนมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจเป็นอันมา  และในวันนี้ประเทศจีนก็โครงการก่อสร้างอันนำมาซึ่งรูปลักษณ์ใหม่ผุดขึ้นมามากมายในแดนมังกร  ซึ่งนอกจากจะเป็นส่วนสำคัญในการบริโภคทรัพยากรปริมาณมหาศาลของโลกแล้ว  ยังสะท้อนผลงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่น่าทึ่งด้วย  ขอเชิญร่วมสัมผัสกับ  10  สุดยอดอาคารที่น่าอัศจรรย์ในแดนมังกรกัน

    1.  สนามบินนานาชาติปักกิ่ง

         กำหนดสร้างเสร็จปี 2007

          จีนมีแผนที่จะสร้างสนามบินใหม่ถึง 108 แห่งระหว่างปี 2004-2009  ซึ่งรวมทั้งสนามบินนานาชาติปักกิ่งแห่งนี้  ที่จะเปิดให้บริการปลายปี 2007  เพื่อต้อนรับโอลิมปิก  2008  โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 43 ล้านคนในปีแรก  และเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015


           สนามบินโฉมใหม่ที่มีขนาดกว่า 1 ล้านตารางเมตร  ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริการนี้  เป็นฝีมือของผู้ออกแบบสนามบินเช็กแลพก็อกของฮ่องกงด้วย  นั่นคือ  Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทาง  ที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร  ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด

            ฟอสเตอร์ได้แบ่งอาคารที่กว้างขวางใหญ่โตของสนามบินนานาชาติปักกิ่งออกเป็น 2 ข้าง  ทอดตัวจากทิศใต้ไปสู่ทิศตะวันออกเพื่อช่วยลดไอร้อนจากแสงอาทิตย์  แต่ติดสกายไลท์ให้แสงแดดละมุนละไมได้ฉายส่องเข้ามา  พร้อมทั้งใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร

    2.  เดอะคอมมูน - กรุงปักกิ่ง

          เฟสแรกสร้างเสร็จเมื่อ 2002 และทั้งโครงการจะเสร็จสิ้นในปี  2010

          "เดอะคอมมูน (The Commune)" เกิดขึ้นตามความตั้งใจของผู้รักนักพัฒนาเรียลเอสเตท  จางซัน  และพานซื่ออี๋  ที่ลงทุนควักเงินให้นักสถาปัตย์ชั้นนำชาวเอเชีย 12 คน คนละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ  เพื่อเนรมิตเฮาส์คอมเพล็กซ์หรูที่มมีกลิ่นอายกำแพงเมืองจีนขึ้น

          ปัจจุบัน เดอะคอมมูน  เปิดให้บริการแล้วในส่วนที่เป็นไฮเทลบูติค  ภายใต้การบริหารของเครือโรงแรมเคมปินสกี้  จากเยอรมนี  ซึ่งยังมีโครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก


    3. ศูนย์กลางการเงินของโลกที่เซี่ยงไฮ้

         กำหนดสร้างเสร็จปี  2008

         ศูนย์กลางการเงินแห่งใหม่ของโลก  กำลังจะอุบัติขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้  ที่เขตการเงินหลู่เจียจุ้ย  ในเขตผู่ตง  ในรูปโฉมของตึกกระจกสูงเสียดฟ้า  101  ชั้น

          Kohn  Pedersen Fox Architects  ผู้ออกแบบเล่าว่า  การสร้างให้ตึกด้านทางแรงลมได้  ถือเป็นความท้าทายของงานนี้  ในที่สุด จึงได้ออกแบบให้ยอดตึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  พร้อมเจาะช่องตรงชั้นที่  100 ซึ่งนอกจากจะปรับเป็นจุดชมวิวที่สูงที่สุดในโลกแล้ว  ยังสามารถบรรเทาแรงลม  ลดการแกว่งตัวไปมาของตัวตึกได้ด้วย



    4.  สระว่างน้ำแห่งชาติ - ปักกิ่ง

         กำหนดเสร็จในปี  2008

         สระว่างน้ำแห่งชาตินี้  สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008  โดยมีรูปลักษณ์เหนือจินตนาการคล้าย "ก้อนน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่"  ซึ่ง PTW and Ove Arup ออกแบบโดยใช้วัสดุเทฟลอนทำเป็นโครงร่าง  เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์  โดยจะนำมาใช้เดินเครื่องกรองน้ำเสียของสระ

          น้ำที่ใช้เติมในสระจะถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ฝังไว้ใต้ดิน  นอกจากนั้น  เพื่อให้ดูเหมือนน้ำที่สุด  สถาปนิกยังใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยของนักฟิสิกส์จาก Dublin's Trinity College ที่สามารถทำให้กำแพงอาคารดูเหมือนฟองน้ำที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งนอกจากจะทำสระว่ายน้ำแห่งแดนมังกรนี้ดูดีเป็นเอกลักษณ์แล้ว  ยังสามารถต้านทางกับแรงสั่งสะเทือนอันเกิดจากแผ่นดินไหวได้ด้วย



    5. สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งชาติ (CCTV) - ปักกิ่ง

        กำหนดสร้างเสร็จในปี  2008

        อาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี  มีรูปลักษณ์ที่แหวกแนวไปจากตึกระฟ้าทั่วไป  โดยเกิดจากสองอาคารที่ตั้งมุมฉากต่อเข้าหากัน  มองดูเหมือนอุโมงค์ขนาดใหญ่  ซึ่งช่วยกระจายแรงลมที่ปะทะกับตึกได้เป็นอย่างดี  ตึกใหม่นี้ออกแบบโดย Rem Koolhass และ Ole Scheeren ส่วนวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง  คือ  Ove Arup





    ( ผู้จัดการออนไลน์ 1 มีนาคม 2549)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×