ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง - ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง นิยาย ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง : Dek-D.com - Writer

    ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

    ผู้เข้าชมรวม

    4,781

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    37

    ผู้เข้าชมรวม


    4.78K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ก.พ. 50 / 18:18 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ::: ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง :::

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
      ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓ - ๒๕๔๕
      ที่เกี่ยวข้องกับ
      ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

       

      การทำงาน

      ความจริงงานทุกอย่างถ้าทำด้วยน้ำใจรัก ย่อมมีทางสำเร็จได้ผลดี เมื่อพบอุปสรรคใดๆ อย่าเพิ่งท้อแท้จะหมดกำลังใจง่ายๆ จงตั้งใจทำให้ดี คิดหาทางที่จะแก้ไขผ่อนคลายอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชา ไตร่ตองด้วยความสุขุมรอบคอบและเยือกเย็น งานจะลุล่วงไปด้วยดี การทำงานด้วยน้ำใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖)

       

      การทำงาน อย่างใหัมีคุณภาพ ให้ได้ผลบริบูรณ์ จะทำอย่างไรเบื้องต้น ต้องทำความเห็นให้ถูกต้องในงานที่จะทำเสียก่อนโดยใช้ปัญญาไตร่ตรองให้เห็นเหตุที่แท้ ผลที่แท้ ที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่พึงมุ่งหวัง แล้ววางแผนการอันแน่นอนที่จะดำเนินการต่อไป ด้วยหลักวิชา ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน และสำคัญที่สุด ต้องมีความพากเพียร ไม่ย่อหย่อนในอันที่จะกระทำต่อไปจนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๖)

       

      อันการทำงานนั้น กล่าวโดยสรุป ขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือความสามารถในการใช้วิชาการอย่างหนึ่ง กับความ สามารถในการสัมพันธ์ติดต่อและประสานกับผู้อื่น ไม่ว่าจะในวงงานเดียวกันหรือต่างวงงานกัน อีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ ย่อมดำเนินควบคู่ไปด้วยกันและจำเป็นที่จะต้องกระทำด้วยจิตใจที่ใสสะอาดปราศจากอคติ ต้องกระทำด้วยความคิดความเห็นที่อิสระ เป็นกลาง ถูกต้องตามหลักเหตุผล จึงจะมีความกระจ่างแจ่มแจ้งเกิดขึ้น

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒสงขลา : ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๗)

       

      แต่การทำงานใดก็ตาม แต่ละคนควรจะศึกษางานและสภาพทั่วไปให้ทั่วถึงก่อน เพื่อจะได้ทราบว่า จะร่วมงานนั้นๆ อย่างไร เพราะโดยทั่วไป สภาพการณ์และอุปกรณ์ต่างๆ มักไม่เหมือนที่คาดหมายไว้ จะต้อง ทราบว่า สภาพของผู้ทำงานในระยะศึกษากับผู้ทำงานในระยะ ปฏิบัติงานจริงๆ ย่อมแตกต่างกัน จำเป็นต้องใช้ไหวพริบดัดแปลงตัวเอง ให้เข้ากับสภาพในปัจจุบัน

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น : ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙)

       

      ความจริง ๕๐ ปี กว่า ๕๐ ปีนี้ ก็พยายามทำตามที่ มี ความ สามารถที่จะทำ และมานึกดูว่า การทำงานอะไรก็ตาม จะทำคนเดียวไม่ได้ แล้วก็ท่านที่มาในที่นี่ ทั้งข้าง…. ทั้งข้างนอกข้างในตามรายงานมีถึงหมื่นหกพันคน ก็ได้เห็นโดยตรงและคนที่อยู่ข้างนอก ข้างนอกวัง ข้างนอกประตู ก็ยังมีถึงประมาณหกสิบล้าน ทุกคนก็มีความสามารถทั้งนั้น

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓)

      การทำลาย/การสร้างสรรค์

      การล้มเลิกทำลายทุกสิ่งทุกอย่างด้วยวิธีการอันรุนแรงนั้นย่อมทำความปั่นป่วนและแตกร้าวให้เกิดขึ้นทั่วไปซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ ชีวิตของประเทศชาติ กล่าวคือการทำลายนั้น จะทำให้มีความ ต่อเนื่องของโครงงานต่างๆ ขาดตอนลง ความแตกร้าวจะทำให้เสียกำลังคนดีที่จะมาร่วมงานเป็นประโยชน์…………….

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ๑๘ สิงหาคม ๒๕๑๕)

       

      ……ก็เห็นว่าการสร้างสรรค์ที่แท้จริงน่าจะทำด้วยวิธีการอันละมุนละม่อม ทั้งด้วยความรู้ความสุขุมรอบคอบ ประกอบด้วยเหตุผลให้ทุกฝ่ายทุกคนได้ร่วมมือแก้ไขสิ่งที่ควรแก้ไข ส่งเสริมสิ่งที่ควรส่งเสริม พร้อมกับสร้างสิ่งที่ควรสร้างใหม่ให้มีขึ้นสมบูรณ์บริบูรณ์ตามที่ต้องการ ..…

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๕)

      การประกอบอาชีพ

      ขอให้ทุกคนจงรำลึกถึงอุดมคติของวิชาชีพที่มุ่งหวัง จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด และรักษามรรยาทของการประกอบ อาชีพโดยเคร่งครัด จงหมั่นฝึกฝนตนเองให้ทันสมัยในวิทยาการ ประกอบโรคศิลปะอยู่เสมอ

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ : ๑ เมษายน ๒๓๙๘)

      การผลิต/การขาย/ การบริโภค

      การส่งเสริมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่กำลังเร่งกระทำอยู่ขณะนี้ คือ การเพิ่ม ผลผลิต โดยที่ถือว่า ผลผลิตเป็นที่มาของรายได้ การผลิตนั้น ทุกคนคงเห็นได้ไม่ยากว่า มีความเกี่ยวพันถึงความต้องการ ตลาด การจำหน่าย วิธีจัดกิจการ ตลอดจนถึงการนำรายได้ หรือผลประโยชน์จากการผลิตมาใช้สอย บริโภคด้วย ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตที่ถูกต้อง จึงมิใช่การใช้วิชาการทางการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว แต่หากต้องเป็นการใช้วิชาการทางการเกษตรประกอบกับวิชาการด้านอื่นๆ ช่วยให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ตอบแทนแรงงาน ความคิด และทุนของเขาที่ใช้ไปในการผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งให้สามารถนำผลตอบแทนนั้นมาใช้สอยปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ ให้มั่นคงขึ้นได้ด้วย

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๑)

      การลงทุน

      การลงทุนอย่างมากนั้นบอกให้เขาทราบว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะว่า เคยทำโรงงานเล็กๆ ที่ทางภาคเหนือ ใช้เงินสามแสนบาท เพื่อที่จะเอาผลิตผลของชาวบ้านขาวเขามาใส่กระป๋องแล้วขาย ก็ได้ผล เป็นโรงงานเล็กๆ บอกว่าที่เขาลงทุนเป็นล้าน รู้สึกว่าเสี่ยง เขาบอกว่าต้อง ทำอย่างนั้น เขาก็ลงทุน ทำไปทำมา สับปะรดที่อำเภอบ้านบึง ทางชลบุรี ก็มีไม่พอ เมื่อมีไม่พอต้องไปสั่งสับปะรดมาจากปราณบุรี สับปะรดจากปราณบุรีต้องขนส่งมา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ทำไปทำมาโรงงานก็ล้ม อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ทำโครงการอะไร ก็ต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่าอัตภาพ หรือกับสิ่งแวดล้อม

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

      การศึกษา

      ท่านทั้งหลายคงจะตระหนักอยู่แล้วว่า การศึกษาเล่าเรียน เป็นเรื่องที่ไม่มีสิ้นสุด ผู้ปรารถนาความเจริญในการประกอบกิจการงานจะต้องหมั่นเอาใจใส่แสวงหาความรู้ให้เพิ่มพูนอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะกลายเป็นผู้ที่ล้าสมัยสมรรถภาพไป

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔)

      การประกอบกิจการงานหรือการดำเนินชีวิต จะใช้วิชาการที่ได้ศึกษามาแล้วเท่านั้นยังไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ให้ทันกับเหตุการณ์อยู่เสมอ

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๕)

      การให้การศึกษาเป็นงานที่ละเอียด ซับซ้อน และกว้างขวางมาก จะต้องกระทำโดยอาศัยความรู้ ความสังเกตจดจำ และความฉลาดรอบคอบอย่างสูง ทั้งต้องอาศัยความเสียสละอดทน ความเพียรพยายาม ความสุจริต และความเมตตาอันกว้างขวางด้วยพร้อม จึงจะสำเร็จผลที่พึงประสงค์ได้

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม : ๒๕ มิถุนายน ๒๕๑๙)

      ต้องพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอาชีพไม่ใช่เพียง แต่ปลูกผัก ถั่ว งาให้หลานเฝ้า แต่เป็นเรื่องของความอยู่ดีกินดี ความรู้การศึกษาที่กล่าวว่า ต้องช่วยให้การศึกษาดีขึ้น เพราะถ้าการศึกษาไม่ดี คนไม่สามารถทำงาน การศึกษาต้องได้ทุกระดับ ถ้าพูดถึงระดับสูง หมายความว่า นักวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ถ้าไม่มีการเรียนขั้นประถม อนุบาล ไม่มีทางที่จะให้คนไทยขึ้นไปเรียนขั้นสูง หรือเรียนขั้นสูงไม่ดี ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ดี เพราะขั้นสูงนั้นต้องมีรากฐานจากขั้นต่ำ ถ้าไม่มีก็เรียนขั้นสูงไม่รู้เรื่อง

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)

      กู้เงิน

      มีเงินเดือนเท่าไร จะต้องใช้ภายในเงินเดือน .....การทำแชร์นี้เท่ากับเป็นการกู้เงิน การกู้เงินนี้นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงินและทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับ จะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

      กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์ มิใช่กู้สำหรับไปเล่นไปทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐)

      เกษตรกรรม

      เศรษฐกิจของประเทศไทยเราขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นท่านต้องระลึกถึงภาระอันสำคัญยิ่งนี้อยู่เสมอ และช่วยกันฟื้นฟูเกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปโดยรวดเร็ว

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ : ๑๘ เมษายน ๒๕๐๓)

      ท่านจะทำงานอะไรก็ตาม ขอให้ระลึกไว้ว่า งานเกษตรกรรมนี้ กว้างขวางมาก ตั้งแต่การผลิตรวมทั้งการค้นคว้าเพื่อการผลิต การจัดกิจการ จนกระทั่ง การจำหน่ายผลผลิต แต่ละคนจงพยายามทำงานให้สุดความสามารถ ความรู้ความชำนาญของตัว และร่วมมือ กันทุกๆ ฝ่ายการเกษตรจึงจะก้าวหน้าเป็นผลดีถึงส่วนรวมได้ ….

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ : ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๗)

      ความเจริญ/ความเจริญของประเทศ

      สมัยนี้ เป็นสมัยพัฒนาประเทศ เรากำลังร่วมกันดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆ อย่างเร่งรีบ และได้รับผลดีจากโครงการเหล่านั้นแล้ว อย่างน่าพอใจ หลายประการ ความเจริญของประเทศ นั้น หมายถึง ความเจริญของประชาชนเป็นส่วนรวม สม่ำเสมอทั้งประเทศ

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๐)

      ทั่วประเทศ มีสิ่งที่ทำแล้วบกพร่อง ถ้าบกพร่อง จนกระทั่งทำให้ที่ตรงนั้น เจริญขึ้นไม่ได้ แต่ก็ ก็เจริญได้พอสมควร ก็เพราะว่ามีคนไปช่วย แต่ก็ยังไงก็ตาม ก็ได้ให้นักเรียนได้เห็นว่า ในที่ที่แร้นแค้น มันไม่เจริญขึ้นมาได้ อย่างที่ควรจะเกิดเจริญไดเพราะว่าไปทำอะไร ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกหลักวิชา อันนี้ อะไรก็ตาม ทั้งนี้ก็อยากให้ เด็กเขาได้ทราบ ได้เห็น ก็เข้าใจว่า เขารู้ เขาได้เห็น และก็ได้เกิดความรู้ขึ้นมา และเขาจะต้องหาความรู้เองต่อไป ไม่ใช่ว่าจะไปบอก เราต้องทำอย่างนั้นๆ แล้วก็ เขาก็ทำ แล้วก็ได้ผล แต่นี่เขาให้เห็นกับตัว ตัวเขาเองได้เห็นว่า ในภูมิประเทศที่แร้นแค้น มันทำได้ เพิ่มขึ้น เพิ่มความเจริญไดแต่ว่าที่ ที่คนไม่ค่อยอยากทำ มันก็เจริญไม่ได้ หรือเจริญช้า ถ้าเจริญช้า ก็เท่ากับว่าถอยหลัง ทั่วประเทศก็เป็นอย่างนี้

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔)

      เรื่องของความคิดที่ขัดกัน มีคนละมาตรฐาน เขาเรียกภาษาอังกฤษ ว่า double standard double ก็สองอย่าง standard ก็เกณฑ์ เกณฑ์ หรือมาตรฐาน มาตรฐานที่มี ๒ อย่าง คือหมายความว่า เราคิดว่า สำหรับตัวเราอะไรดี แล้วก็บอก แต่ว่าไปพูดกับอีกคน ไปพูดอีกอย่างว่า อันนั้นเป็นดีสำหรับเขา เป็น double standard อย่างสำหรับเราคนไทยถือว่า ทำอะไรอย่างนะดี แต่เราไปบอกว่าของ ของต่างประเทศเขาพูดอย่างนั้น เขาไม่ดี เนี่ยเรามี double standard ไอ้คำว่า double standard เนี่ย มันทำให้ ทำให้ความเจริญไม่เกิดขึ้น แต่ว่าอาจจะนึกว่า ความเจริญเกิดขึ้นได้ เพราะว่าเราไปต้มเขาได้ เราไป เราไปหลอกเขาได้ แต่ความจริง double standard นี้มีทั่ว ทั่วไป ทั่วโลก ไม่ใช่เมืองไทย เมืองไทยไม่เคย ก่อนนี้ไม่ มีเท่าไหร่ double standard ต่างประเทศมีมากกว่า แต่ว่าเดี๋ยวนี้เมื่อ อย่างที่ว่าพูดภาษาฝรั่ง เราก็ต้องมีบ้าง

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔)

      วิธีปลูกข้าวไม่เหมือนของเรา เราเพิ่งพบวิธีปลูกข้าวในพรุ ทำให้นราธิวาสมีกินแล้วขายได้ อันนี้นี้หมายความว่า ต้องสอนให้เด็กๆ มีจินตนาการ ตอนนี้ฝ่ายมลายูเขาก็มีเทคโนโลยีสูง เราก็ชื่นชมรัฐบาลมาเลเซียเขาเก่ง มีความสามารถ ฉลาด แต่ตอนนั้นเขาปลูกข้าวไม่เป็น ต้องเอาคนไทยไปสอน แต่ที่เราสอนได้ จากคนที่มีความรู้แล้วเรียนเกี่ยวกับการเกษตร แล้วมาพลิกแพลงให้สามารถทำให้ดินมีผลิตผลได้ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ สามารถเลี้ยงตัวได้ถึงมาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ก้าวหน้าไม่ใช่เพียงแต่ปลูกพอกินอย่างนั้น มันต้องมีพอที่จะตั้งโรงเรียน แม้แต่ศิลปะเกิดขึ้น ประเทศชาติถือว่าประเทศไทยเจริญในทุกทาง ไม่หิว มีกิน คือไม่จน มีกิน มีอาหารใจ หรืออะไรอื่นๆ ให้มากๆ

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖)

      ยังไงก็ขอบใจท่านทั้งหลายที่มา แล้วก็มาให้พร แล้วมาคึกครื้นกัน ขอให้มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง อย่าเครียดเกินไป คือ ว่าเครียดแล้วก็สุขภาพไม่ดี ก็ให้สุขภาพดี ๆ งานให้เรียบร้อย ได้สามารถที่จะปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ โดยที่ไม่ทะเลาะกันมากเกินไป คือ สังเกตดูหมู่นี้คนหนึ่งพูดอย่าง คนหนึ่งพูดอีกอย่าง มันทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่มีประโยชน์ คิดแต่ดี ๆ แล้วก็บ้านเมืองก็จะเรียบร้อย ถ้าบ้านเมืองเรียบร้อย ทุกคนก็มีความสุข ก็ขอให้ทุกคนทำงาน ทำการ ทำอะไรมีความสำเร็จเรียบร้อย ทุกคนมีความสุข บ้านเมืองเจริญ ก็ขอให้ได้มีความสำเร็จทุกประการ

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕)

      ความซื่อสัตย์สุจริต/ความเพียร

      ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายจงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐาน อันสำคัญที่จะยังความเจริญ และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิด แห่งความสามัคคีกลมเกลียว ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ หมายถึง ความสุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ไม่เอารัดเอาเปรียบ สำหรับท่านที่ใช้วิชากฎหมาย ย่อมกินความถึงการรักษาความเป็นธรรม ไม่บิดเบือน ความหมายของตัวบทกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเองด้วย ความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นเสมือนหนึ่งเกราะคุ้มภัยแก่ท่านตลอดไป ดังบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่าสุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาล ัยธรรมศาสตร์ : ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๖)

      ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาและจะได้ออกไปประกอบการงานเริ่มต้นชีวิตใหม่ของท่านนั้น ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของ มวลชนทั่วไป ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีต่อท่านทั้งหลาย ในเกียรติ ที่ท่านได้รับ ณ ท่ามกลางสันนิบาตนี้และขอให้ท่านจงรำลึกถึงเกียรตินี้ และรักษาไว้ด้วยความสัตย์สุจริต ให้สมกับพุทธภาษิต ว่าคนย่อมได้เกียรติคือชื่อเสียงเพราะความสัตย์

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล ัย : ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗)

      ท่านจะต้องสุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชนและสุจริต ต่อหน้าที่ ..... นอกจากความรู้และความสุจริตประจำตัวแล้วท่านควร มีหรือตั้งจุดหมายให้แน่วแน่ในการงานที่จะกระทำนั้น แล้วใช้ความคิดไตร่ตรองว่าจะทำอย่างไรบ้าง ..... และการใช้ความคิดดังว่านี้จำเป็นต้อง ใช้สติควบคุม มิฉะนั้น ก็จะเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านซึ่งประเทศชาติ ไม่พึงปรารถนา

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล ัย : ๗ กรกฎาคม ๒๔๙๘)

      ก่อนที่แต่ละคนจะออกไปประกอบการงาน ดำเนินชีวิตต่อไป ใคร่ขอให้คิดไตร่ตรองให้เข้าใจโดยแจ้งชัดว่า การที่ศึกษาสำเร็จได้นี้ ตัวท่านเอง ต้องพากเพียรบากบั่นอย่างหนักยิ่งมาโดยตลอด ทั้งได้อาศัย ครูอาจารย์ สถานศึกษาและปัจจัยอื่นๆ อีกมาก ซึ่งนับว่าเป็นการ ช่วยเหลือที่ท่านได้รับจากผู้อื่น คือประชาชนเป็นส่วนรวม เมื่อได้บากบั่นสร้างความสำเร็จในการศึกษาด้วยตนเองมาได้ชั้นหนึ่งแล้ว ขอให้มุ่งมั่นสร้างความสำเร็จในชีวิตต่อไป อย่าให้เสียทีที่ได้ทำความเพียร พยายามมา ในส่วนที่ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้อื่นนั้น ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะได้ตอบแทน

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ๒๙ มกราคม ๒๕๑๓)

      .....ในฐานะที่จะเป็นครูบาอาจารย์หรือหัวหน้างานในวันข้างหน้า จำเป็น ต้องมีวามสุจริตยุติธรรม ทำตัวให้เป็นตัวอย่างและเป็นที่พึ่งของผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ความโลภ ความลืมตัว ความริษยาแตกร้าวกัน ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันยั่งยืนไพศาลของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย จึงจะได้เชื่อว่า จะประสบความสำเร็จและชื่อเสียงเกียรติคุณ ทุกๆประการดังที่ปรารถนา ……

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า : ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๖)

      บัดนี้ได้ข่มขู่ท่านทั้งหลายอย่างรุนแรงแล้ว ว่าท่านต้องตายทุกคน แต่ทำไมท่านหัวเราะ? ก็เพราะว่าทุกคนจะปลอดภัย ถ้ามีความมั่นใจจริงๆ ว่าเราต้องมีความซื่อสัตย์ มีความตั้งใจที่แน่วแน่ ทำอะไร ไม่ใช่ทำสำหรับได้ชื่อเสียงส่วนตัว หรือได้อำนาจ แต่ทำเพื่อรักษา ส่วนรวม คือ ส่วนรวมที่เป็นที่อยู่ของเราเป็นที่อาศัยของเรา ทุกคนต้อง มีความมุ่งมั่น ไม่คิดถึงสิ่งที่มาขมขู่เรา ต้องคิดด้วยเหตุผล

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)

      ในที่นี้ ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า คนเราจะแสวงหาแต่วิชา การฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้มีวิชาการจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติในตัวเอง นอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ ความรู้จักผิดชอบ ชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิด และการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่ มักง่าย หยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ คือความขยัน หมั่นเพียร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทุกอย่างด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้ง คุณสมบัติเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้การศึกษาสมบูรณ์เป็นประโยชน์จริง เป็นสิ่งซึ่งครูจะต้องปลูกฝังให้เจริญขึ้นในตัวนักเรียนให้ครบถ้วน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนเต็มคน เป็นคนที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองและประเทศชาติได้ .......

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาล ัยศรีนครินทรวิโรฒ : ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๐)

      เช่นบอกว่าจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ก็เห็นได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตนี้ คือไม่โกง คือไม่คอรัปชั่น คือไม่ขโมย ไม่ทุจริต นี่ก็พูดได้ง่ายๆแต่ปฏิบัติได้หรือเปล่า เพราะบางอย่างมัน ไม่ใช่ขโมย บางอย่างไม่ใช่คอรัปชั่น บางอย่างไม่ใช่ทุจริตแท้ แต่ว่าเป็นการทำให้คนอื่นเขาทุจริตได้ หรือเป็นการกระทำที่แสดงออกมา ข้างนอกว่าไม่ทุจริต แต่ว่าเป็นการทำให้คนอื่นเขาทุจริตได้ หรือเป็นการกระทำที่แสดงออกมาข้าวนอกว่าไม่ทุจริต แต่ก็ข้างในก็อาจจะทุจริตก็ได้ หรือข้างในไม่ทุจริต แต่ข้างนอกทุจริตได้ การปฏิญาณตนนั้นจึงต้องทราบและซึ้งและซาบซึ้ง ........

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา: ๔ ธันวาคม ๒๕๒๑)

      คุณธรรมทั้งห้าประการนี้ พิจารณาให้ดีแล้ว จะเห็นว่าต่างก็เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องอาศัยกันและเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกันอยู่ทั้งหมด เช่น ศรัทธาความเชื่อถือซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดความพากเพียร ขวนขวายนั้น จะต้องอาศัยความยั้งคิดและปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาวินิจฉัย ปัญญา ความรู้ชัด จะเกิดมีได้ก็ต้องอาศัยความตั้งใจเพิ่งพินิจ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเสริมคุณธรรมทุกๆ ข้อให้ครบ ให้เป็น ฐานอันแผ่กว้าง สำหรับรองรับการงานได้ทั่วถึงมั่นคง จึงจะสามารถทำงานสำเร็จผลเลิศได้โดยสมบูรณ์ บริบูรณ์และเป็นประโยชน์ช่วยตัวช่วยผู้อื่นและส่วนรวมได้ด้วย

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง: ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๒)

      ไม่ทราบว่า ซื้อหนังสือทองแดงได้หรือยัง วันละ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ เล่ม ๗ วัน ก็ ๑๔๐,๐๐๐ เล่ม ก็ทั้งหมดมี ๒๐๐,๐๐๐ ก็ถ้าคอย ต้องมีความเพียรคอย ถึงเวลาก็ซื้อได้ เราจะให้ก็ให้ไม่ได้ ไม่มี

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕)

      ความตั้งใจ

      เมื่อท่านตั้งใจดี มีแผนงานดี มีหลักวิชา มีเหตุผล มีสติรอบคอบในงานที่ทำแล้ว จะเกิดความทราบตระหนักด้วยตนเองขึ้นว่า งานที่ทำนั้น จะได้ผลดีแน่นอน แม้อาจยังไม่ปรากฏผลในปัจจุบัน ทันตาเห็น ก็จะแน่แก่ใจได้ว่าจะสำเร็จลุล่วงด้วยดีในเวลาต่อไป

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๖)

      ประเทศไทยนี่ ทำไมยังอยู่ได้ ก็เพราะพวกเราทุกคนสร้างความดี คือ ปฏิบัติ ในสิ่งที่สุจริต โดยบริสุทธิ์ใจและตั้งใจดี อาจมีผิดพลาดบ้าง แต่ว่าไม่ได้ตั้งใจผิดพลาด ตั้งใจทำดี

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)

      ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ฟังแล้ว อาจจะน่ากลุ้มใจ แต่ถ้าดูอีกแง่หนึ่งก็อาจจะน่าสบายใจ น่าสบายใจ เพราะดูได้ว่า ถ้าเราปฏิบัติอย่างเรียกว่าตรงไปตรงมา ด้วยความตั้งอกตั้งใจสักนิดหนึ่งบอกว่าสักนิด- ก็พอไม่ต้องตั้งอกตั้งใจอย่างเคร่งเครียดมากเกินไป แต่ให้สม่ำเสมอ สม่ำเสมอนี้ก็แบบเดียวกับที่พูดถึงพอเพียง สม่ำเสมอในทุกอย่าง พอเพียงในทุกอย่าง

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

      ความเป็นตัวของตัวเอง

      ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนในบ้านเมือง ของเรา ทำให้เกิดความรู้สึกว่าประเทศไทยและคนไทยกำลังเสื่อมลง กำลังจะถูกกลืนหายไปกับอิทธิพลแห่งความเสื่อมในโลกปัจจุบัน ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ตรงกับความจริงนัก เพราะคนไทยเรามีความเป็น ตัวของตัวเอง มีสมบัติทั้งทางวัตถุและจิตใจอย่างอุดมสมบูรณ์ มาแต่เดิมเป็นการยากที่จะถูกกลืนหรือถูกทำลายอย่างที่คิดกัน

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ๕ สิงหาคม ๒๕๑๔)

      ความพอใจ / ความไม่พอใจ

      คนที่อยู่ข้างหน้า ก็อาจจะอยากไปอยู่ข้างนอกได้ คนที่อยู่ข้างหน้าก็อาจอยากไปอยู่ข้างหลัง คนที่อยู่ข้างหลังก็อาจอยากไปอยู่ข้างหน้า ไม่มีความพอใจสักนิดเดียว แต่ก็ต้องจัดระเบียบอะไรอย่างหนึ่ง อย่างใด เพื่อให้ความปรารถนาของแต่ละคนได้ผลพอสมควร ถึงจัดอย่างนี้

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๙)

      ความไม่พอใจนี้เป็นของไม่ดี มีความไม่พอใจที่ไหน ความเดือดร้อนก็เกิดที่นั่น ...... เป็นข้อสังเกตว่า คนเรา ความพอใจแท้ๆ จะมีไม่ได้ เพราะว่าถ้าคนไหนมีความพอใจแท้ๆ คนนั้น พูดไม่จริง เพราะว่าไม่มีใครที่มีความพอใจแท้ๆ แม้จะเป็นพระ จะเรียกว่าจะมีความพอใจแท้ๆก็ไม่ได้ ....... พระอรหันต์มีความ สำเร็จ ไม่ใช่ความพอใจ มีความสำเร็จว่า ไม่ต้องพอใจแล้ว ฉะนั้นคนที่มีความพอใจไมพอใจนี้ ก็ลำบากที่จะมีความพอใจ จริงๆ แม้แต่คนเดียว ทุกคนก็มีความพอใจลำบาก นี่เป็นความคิด ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ จึงมาคิดว่าถ้าใครในที่นี้ เกิดมีความไม่พอใจขึ้นมา ก็ขอบอกว่าขออภัย แต่ว่าแก้ยาก ....... มีวิธีที่ดีที่สุดสำหรับทำให้พอใจ ก็คือระงับความไม่พอใจ จะระงับความไม่พอใจของแต่ละคน ได้อย่างไร? คิดให้ดีๆ เรามาในวันนี้มาทำอะไร? ก็ได้สำเร็จประโยชน์แล้ว คือได้มาและได้กล่าวให้พรโดยวิธีการมีผู้รับมอบฉันทะเป็นผู้กล่าว อย่างนี้ก็เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่จะทำให้ระงับความไม่พอใจ ถ้าระงับความไม่พอใจแล้ว ก็จะเกิดความพอใจพ อสมควร ข้อนี้เป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่ง

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๑๙)

      เคยตั้งข้อสังเกตไว้ปีที่แล้วว่าคนที่อยู่ข้างนอกเขาบ่น ว่าไม่ได้อยู่ข้างใน ส่วนคนที่อยู่ข้างในนี้ เขาอาจจะไม่บ่น แต่กายเขาบ่น (เสียงหัวเราะ) กายเขาบ่นว่าในนี้แน่น ร้อนจนจะเป็นลมกัน เป็นอันว่าคนที่อยู่ข้างนอก ก็อยากอยู่ข้างใน คนที่อยู่ข้างในก็อยากไปอยู่ข้างนอก (เสียงหัวเราะ) นี้เป็นเรื่องแรก ที่ได้ประสบในวันนี้ในงานนี้ คือ ความพอใจของ แต่ละคนไม่คงทนถาวร

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๒๑)

      ในประเทศชาติ ถ้ากัดกันมาก เกินไป เคย เคยบอก เคยพูดว่าคนกัดกัน คนบอกว่าทารุณพูดอย่างนี้ พูดหนักเกินไป ความจริง หมามันกัดกัน แต่คนก็กัดเหมือนกัน ก็เลยที่เคยบอก คนกัดกันนี่ คนที่มาฟังบอกว่า พูดหยาบคาย ที่จริงมันไม่ได้หยาบคาย ทะเลาะกันหยาบ คายกว่ากัดกัน พอกัดกันแล้ว ทะเลาะมันหยาบคาย กัดกันมันตรงไปตรงมา ก็กัดกันอย่าง ไม่รุนแรงเกินไป แต่ว่าในที่สุดก็เข้าใจกัน ก็มีความสุข มีความสงบ ไม่แก่ตัวนะ เอ๊ะ กี่ปีแล้วที่พูดมา ไม่ทราบใครจำได้ แต่ว่ายังไงก็ตาม ที่พูดถึงกลัวเวลาพูด หลุดปากออกไป หลุดปากออกไปว่า เดี๋ยวจะหาว่า หยาบคาย เดี๋ยว หาว่าพูดแรงเกินไป เดียวหาว่าพูดปิด ถ้าฟังแล้ว มีความสุข แล้วก็มาให้พร เราก็ให้พร กับทุกท่านที่ อยู่ที่นี้ว่า ให้มีความสงบ ความสุข ความเจริญ ความพอใจ พอใจ อย่างที่รู้ว่าคนอื่นเขาพอใจด้วย เหมือนกัน ไม่ใช่พอใจ แล้วคนอื่นไม่พอใจ ขอต่อ ขอติงไว้ ว่าทำให้ตัวเอง มีความพอใจ โดยที่ ให้คนอื่นเขาเสีย คนอื่นเขาไม่พอใจ คนอื่น เขา เขา เสียใจอันนี้ไม่ดี ไม่ให้พร ถ้ามีความพอใจ แล้วก็สามารถ ให้คนอื่นมีความพอใจ อันนี้ดีให้พร แล้วก็ขอ คงพอแล้ว ก็ขอ ให้พร

      (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา : ๔ ธันวาคม ๒๕๔๓)

      ความรับผิดชอบ/รับผิด/รับชอบ

      สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจความหมายของคำว่าความรับผิดชอบให้ถูกต้อง ขอให้เข้าใจว่ารับผิดไม่ใช่การรับโทษหรือถูกลงโทษรับชอบไม่ใช่รางวัลหรือรับคำชมเชย การรู้จักรับผิด หรือยอมรับว่า อะไรผิดพลาดเสียหาย และเสียหายเพราะอะไร เพียงใดนั้น มีประโยชน์ ทำให้บุคคลรู้จักพิจารณาตนเอง ยอมรับความผิดของตนเองโดยใจจริง เป็นทางที่จะช่วยแก้ไขความผิดได้ และให้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติแก้ไขใหม่ ส่วนการรู้จักรับชอบหรือรู้ว่าอะไรถูก อันได้แก่ถูกตามความมุ่งหมาย ถูกตามหลักวิชา ถูกตามวิธีการนั้น มีประโยชน์ทำให้ทราบแจ้งว่า จะทำให้งานเสร็จสมบูรณ์ได้อย่างไร จักได้ถือปฏิบัติต่อไป .…….......... ความรับผิดชอบ คือ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะหลีกเลี่ยง ละเลยไม่ได้

      (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๙)

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×