ลิลิตตะเลงพ่าย ตอนที่ 1-6 - ลิลิตตะเลงพ่าย ตอนที่ 1-6 นิยาย ลิลิตตะเลงพ่าย ตอนที่ 1-6 : Dek-D.com - Writer

    ลิลิตตะเลงพ่าย ตอนที่ 1-6

    เรื่องย่ออ่ะ ของ ม.5

    ผู้เข้าชมรวม

    82,316

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    30

    ผู้เข้าชมรวม


    82.31K

    ความคิดเห็น


    40

    คนติดตาม


    14
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 ส.ค. 49 / 22:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ตอนที่ 1 "เริ่มบทกวี"

      ด้วยพระเดชานุภาพแห่กษัตริย์ไทยอันสะดวก และสง่าผ่าเผยเอาชนะเหล่าศัตรูผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย พระเกรียติยศเป็นที่โจษจันเลื่องลือเหมือนพลิกแผ่นฟ้า โลกสู้ไม่ได้ จึงเลื่องลือถึงชัยชนะอันสำเร็จด้วยพระปรีชาสามารถ ต่างหวั่นกรงในพระเกรียติยศ ต่างท้อใจจนไม่กล้าคิดฮึกเหิม จิตใจคิดแพ้จนไม่คิดจะกล้าสู้อีก ไม่กล้าแม้แต่ปรากฏตัวออกรบ ไม่กล้าสู้หน้าและสำแดงฤทธิ์อำนาจ พระเจ้าแผ่นดิน ทุกหนทุกแห่งกษัตริย์ ทุเขตทุกแคว้นน้อมมงกุฎ ( หมายถึงศีรษะ ) มานนบนอบ นำบ้านเมืองมาน้อมถวาย เป็นเมืองขึ้นแด่กษัตริย์ไทยผู้มีดอกบัวสวยงานรองรับเท้า ผู้มีอานุภาพหาผู้ใดเสมอมิได้ ผู้ปราบข้าศึกจนเป็นที่เกรงกลัวศพถูกบั่นหัวเกลื่อนกลาดมากมายเต็มทุ่ง เต็มเนินพม่ามอญพ่ายแพ้หนีไป กรุงศรอยุธยางดงามน่าพึงพอใจมีความสุขบันเทิงใจเป็นพิเศษ สบายใจทั้งในพระราชฐาน เย็นใจทั้งในพระราชวังที่ประทับประกอบไปด้วย เครื่องสอยต่างๆ เจริญด้วยทรัพย์อันอุดมสมบูรณ์ ทำแผ่นดิน ให้พ้นความลำบากทำบ้านเมืองให้ล้มเย็นเป็นสุขทุกเขตแดนเพลิดเพลินใจ เหล่าทหารช้างทหารม้าเหล่าทหารปืนไฟ พระเกรียติยศกึกก้องทั่วฟ้าเป็นที่ลือเลื่องทั่วแผ่นดินและทั่วโลกต่างสดุดี

      เป็นบุญของพระเจ้าแผ่นดินสยามที่ศัตรูได้ยินพระกรียติยศเข้าก็เกรงกลัว ฤทธานุภาพ ( ของกษัตริย์ไทย ) นั้นเทียบเท่าฤทธิ์ของพระรามผู้ปราบทศกัณฐ์ ผู้ซึ่งสามารถรบข้าศึกให้พ่ายแพ้ได้ทุกเวลา

      ข้าศึกพินาศไปดุจกำลังพลแห่งเทพบุตรมาร กษัตริย์สยามเหมือนพระนารายณ์ลงมาเกิดเมื่อครั้งก่อน ข้าศึกนับแสนไม่กล้าสู้รบกับฤทธิ์ของพระองค์ ต่างตกใจในเดชานุภาพ ต้องหลีกลี้หนีไปทุกแห่งหนของโลก

      ครั้นเสวยราชสมบัติดุจสมบัติสวรรค์แล้ว ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ร่มเย็นดังแสงจันทร์ซึ่งลอยเด่นบฟ้า ส่องความสุขอันสบายใจเป็นที่ชื่นบานแก่มนุษย์โลก ความทุกข์ผ่อนคลายไป กษัตริย์จากทุกแห่งต่างพร้อมใจสรรเสริญ

      เป็นการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่กำลังปกครองบ้านเมืองในสมัยของผู้ทรงนิพนธ์

      ตอนที่ 2 "เหตุการณ์ทางเมืองมอญ"
      ทางมอญ (พม่า) พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่าทรงทราบข่าวว่า การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2133) โอรสของพระองค์คือ สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ เมื่อทราบเช่นนั้นพระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่าจึงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชานำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาด้วยคาดการว่า ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถอาจจะมีการทะเลาะวิวาทเพื่อชิงราชสมบัติกัน เป็นโอกาสเหมาะที่จะทำศึก จึงกองทัพมาคอยท่า ดูว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร ถ้าเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยก็เป็นโอกาสดีที่จะตีเอากรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาเตรียมทัพ ร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ ยกไปเป็นทัพใหญ่ 5 แสน
                 ในตอนแรกเมื่อพระมหาอุปราชาทราบ ทรงบ่ายเบี่ยง จึงตอบกลับด้วยว่าโหรหลวงได้ทำนายว่ากำลังจะมีเคราะห์ถึงแก่ชีวิต แต่เมือพระเจ้านันทบุเรงได้ฟังจึงตรัสตอบ เชิงประชดแดกดันว่า เจ้ากรุงศรีอยุธยามีโอรส ล้วนเชี่ยวชาญการรบ กล้าหาญในการศึกไม่ย่อท้อ ต่อสู้ข้าศึกไม่ต้องให้พระราชบิดาใช้เลย มีแต่จะต้องห้ามปราม ถึงเจ้าหวาดกลัวเคราะห์ร้าย ก็อย่าไปรบเลยให้เอาผ้านุ่งสตรีมานุ่งเสีย จะได้บรรเทาเคราะห์

      เมื่อพระมหาอุปราชาได้ยินเช่นนั้น ก็รู้สึกอับอายขุนนางทั้งหลายเป็นอันมาก จึงกราบแทบพระบาท เกิดขัตติยมานะเสด็จทำสงคราม ทูลลาพระเจ้าหงสาวดี แล้วออกมาป่าวประกาศเกณฑ์รี้พลทหาร เสร็จแล้วก็เสด็จเข้าที่ประทับ ด้วยพระทัยโศกเศร้า จนหมดสง่าราศี
                      พระมหาอุปราชาสั่งลาพระสนมเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปยังที่สรง ชำระพระองค์ในเวลาไม่นาน ทรงน้ำหอมกลิ่นฟุ้ง อบอวลกระจายไปทั่ว แล้วทรงเครื่องแต่งพระองค์ มีสนับเพลา ชายไหวชายแครงลายเถาวัลย์ รัดผ้าคาด สวมภูษาทรงสวยงาม สวมกำไรประดับแก้วลายมังกรผ้าตาบประดับแก้วไพฑูรย์ส่องประกาย สายสะอิ้งทำด้วยพลอย สายสังวาลพาดเฉียงบ่า บนพระเศียรทรงมงกุฎเทริด ตามแบบอย่างกษัตริย์มอญ ประดิษฐ์เป็นรูปพญานาคหัวแผ่พังพานเต็มที่ แสงเพชรสว่างโชติช่วง พระธำมรงค์เปล่งประกายสีรุ้ง เรียงรายด้วยแก้ว ๙ ประการ โอ่อ่าด้วยเครื่องแต่งตัวอันสวยตระการตา งามสง่าสมความเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงดำเนินอย่างผู้ทรงอำนาจ กรายพระหัตถ์กุมอาวุธ เสด็จเยื้องย่างอย่างพญาราชสีห์ ทูลลาพระเจ้าแผ่นดินไปสู้รบศัตรูแห่งสยาม

                      โดยพระเจ้าหงสาวดีฟังราชโอรสทูลลาไปทำศึก และได้พระราชทานพรให้ชนะศึก ให้กรุงศรีอยุธยาอยู่ในเงื้อมมือของพระมหาอุปราชา ขอให้เจริญด้วยเดชานุภาพ ชาวอยุธยาอย่าต้านทานได้ ให้มีชัยชนะสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทในการทำสงคราม 8 ประการ คือ ดังนี้

      1. อย่าโง่เขลา หูเบาใจเบา โดยฟังหรือดูอะไรอย่างผิวเผิน
      2. อย่าทำอะไรตามใจตนเองโดยไม่คิดถึงผู้อื่น
      3. ให้เอาใจทหารให้มีกำลังใจฮึกเหิม กล้าหาญในการสู้รบเสมอ
      4. อย่าไว้ใจคนขลาดและคนเขลา
      5. รอบรู้ในการจัดกระบวนทัพข้าศึก
      และมีความเชี่ยวชาญเก่งกล้าสามารถ
      6. รู้หลักพิชัยสงคราม วิชารบ รู้จักการตั้งค่าย
      7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบ รางวัลแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้าสามารถ
      8. ให้มีความพากเพียรไม่เกียจคร้าน

      เสร็จจากพระราชทานโอวาทแล้ว พระมหาอุปราชากราบบังคมรับพร แล้วอำลาราชบิดา เสด็จมายังเกยชัย เหล่าทหารเตรียมกำลังไว้พร้อมทั้งหมด 50 หมื่น นายช้างรื่นเริงแกล้วกล้า ขับช้างทรงพันธกอมารับพระมหาอุปราชา เสร็จแล้วขับช้างออกเดินทัพ

       

      ตอนที่ 3 "พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี"

      ระหว่างการเดินทาง พระมหาอุปราชาทรงรำพันถึงพระสนมว่า ออกเดินทางมาคนเดียว รู้สึกเปลี่ยวใจยิ่งนัก ทอดพระเนตรเห็นพันธ์ไม้สวยงาม ก็อดรำลึกถึงนางที่รักไม่ได้

      ทางเมืองกาญจนบุรี เหล่ากองระวังด่านได้ไปสอดแนมหาข่าวในเขตแดนมอญ ต่างเห็นหมู่กองทัพมอญ เดินมาแน่นขนัดเต็มป่า หวังมารบกับกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ และเห็นที่กั้นเศวตฉัตรห้าชั้นปักบนหลังช้าง จึงรู้ได้ว่าพระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพยกมา และนำข่าวไปแจ้งแก่เจ้าเมือง

      เมื่อได้ยินข่าวศึก ชาวเมืองกาญฯ ก็กลัวเพราะรู้ว่าไม่สามารถต้านทานกำลังพม่าไว้ได้ จึงพากันทิ้งบ้านเมือง ทำให้กาญจนบุรีเป็นเมืองร้าง แล้วพากันไปซุกซ่อนในป่า เพื่อดูอุบายพม่า และส่งรายงานไปให้กรุงศรีอยุธยาทราบ พระมหาอุปราชาทรงเร่งให้รีบเดินทัพ ยกกองทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นด่านระหว่างพม่ากับไทย ก็ทรงขับทหารให้รุกเข้ามาในแดนไทย เมื่อถึงแม่น้ำกระเพิน พระยาจิดตองเป็นแม่กองการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำ จนถึงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งว่างเปล่าไร้ผู้คน กองทหารสอดแนมพม่าพยายามจับตัวคนไทยเพื่อมาสอบถาม แต่ไม่พบใครเลยพระมหาอุปราชาจึงกรีธาทัพเข้าค้างแรมในเมือง

      เมื่อพระมหาอุปราชายกทัพมาถึงตำบลพนมทวน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ลางร้ายก็ปรากฏขึ้น เกิดลมชื่อเวรัมภา พัดเอาเศวตฉัตรบนหลังช้างหักขาดลงมา พระมหาอุปราชาเมื่อได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ก็เสียวใจเหมือนถูกภูเขาใหญ่มาทับอก พระทัยสั่น พระพักตร์ซีด จนต้องเรียกโหรมาทำนาย

      โหรทั้งหลายต่างรู้ว่าเป็นเหตุร้าย แต่ไม่กล้าทูลตามตรง เพราะกลัวอาญา จึงทูลแต่สิ่งดีๆ เพื่อกลบเกลื่อน ทำนายว่า เรื่องลมนี้ ถ้าเกิดตอนเช้าย่อมไม่ดี แต่ถ้าเกิดในช่วงยามเย็นย่อมจะดี ขอพระองค์อย่าขุ่นเคืองโทมนัสทุกข์ใจไปเลย พระมหาอุปราชาจะทรงมีลาภปราบศัตรูข้าศึก จะได้ชนะไทยได้แน่นอน

      พระมหาอุปราชาทรงฟังแล้วยังไม่เชื่อคำทำนายสนิท ทรงนึกหวั่นวิตกว่าจะแพ้กองทัพไทย  ทรงระลึกคร่ำครวญถึงพระบิดาว่า ถ้าหากพระองค์สิ้นพระชนม์ในการสงครามไปแล้ว พระบิดาจะได้ใครช่วยเหลือ คงเหมือนกับแขนขาดกลิ้งไป คงไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์คู่ปรึกษา พระคุณของบิดาเท่าพื้นแผ่นดิน ตลอดตั้งแต่ฟ้าจรดดิน พระองค์ให้กำเนิดก่อชีวิต กลัวว่าลูกจะกลับไปตอบแทนพระคุณไม่ทันเสียแล้ว

      ทางฝ่ายไทย เจ้าเมืองสิงห์บุรี สรรค์บุรี สุพรรณบุรี ก็ให้ชาวเมืองอพยพครอบครัวหนีไปอยู่ในป่า แล้วทำหนังสือมากราบทูลสมเด็จพระนเรศวรให้ทรงทราบข่าวศึก

       

      ตอนที่ 4 "สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร"

      ทางกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมราษฎรอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทรงประทับอยู่ที่ท้องพระโรง ทรงไตถามทุกข์สุขของมวลพสกนิกร ขุนนางทั้งหลาย ต่างถวายความเห็นแด่สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงตัดสินคดีความให้ลุล่วงไปตามแบบอย่างยุติธรรม เสร็จแล้วทรงปรึกษาขุนนาง พระองค์โปรดฯให้เตรียมทัพเพื่อจะไปตีเขมรว่าควรยกไปเมื่อไรดี โดยให้เกณฑ์กำลังพลมาจากทางใต้

      พระองค์ทรงห่วงแต่ศึกมอญพม่า เกรงว่าจะยกมาตีกรุงศรีอยุธยา จึงมอบหมายให้ พระยาจักรี เป็นผู้ดูแลกรุงศรีอยุธยาในระหว่างที่ทำศึกกับเขมร ให้ตั้งใจรักษาเมืองไว้ พระองค์จะรีบกลับมาปกป้องแผ่นดินสยามโดยไว

      พระองค์ทรงปลอบพระองค์ว่า พม่าเพิ่งแพ้ไทยกลับไปเมื่อต้นปี คงไม่ยกกลับมาภายในปีนี้หรอก เหล่าขุนนางยังไม่ได้ตอบพระราชบรรหาร แต่ทันใดนั้นก็มาถึง ทรงทราบข่าวศึกพม่าจากทูตเมืองกาญจนบุรีจึงทรงระงับเรื่องการไปตีเขมร


      ตอนที่ 5 "สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ"
      สมเด็จพระนเรศวร
      ตรัสว่า เราจะไปตีเมืองกัมพูชา แต่มอญชิงส่งทัพเข้ามารบเสียก่อน ทำให้เราไม่ได้ไปรบกับเขมร ทรงสั่งให้ไปรบกับมอญแทน อันเป็นมหรสพอันยิ่งใหญ่ ว่าแล้ว ทรงประกาศรับสั่งให้เจ้าเมืองราชบุรีเกณฑ์กำลังพล นำทหาร ๕๐๐ คนไปสอดแนมซุ่มดูกำลังของข้าศึก ที่เดินทางผ่านลำน้ำกระเพิน โดยไปคอยตัดสะพานให้ขาดเป็นท่อน ทำลายเชือกสะพานให้ขาดลอยเป็นทุ่น ไปทำลายเสียอย่าให้มอญจับได้

      จากนั้น ทันใดนั้นทูตจากเมืองต่างๆ ก็ส่งรายงานศึกมาให้พระองค์ทราบ เป็นการสนับสนุนข่าวนั้นว่าเป็นจริง พระนเรศวรทรงยินดีที่จะได้ปราบศัตรูบ้านเมือง พระองค์ได้ทรงปรึกษากับเหล่าเสนาอำมาตย์ว่าการศึกครั้งนี้ ควรจะตั้งรบศึกในกรุงหรือสู้นอกกรุงดี เหล่าอำมาตย์ขุนนางทั้งหลายต่างเห็นว่าพระองค์ควรจะเสด็จไปสู้รบกับพม่านอกกรุงจะดีกว่า ซึ่งก็ตรงกับความเห็นของพระองค์

      แล้วมีพระบรมราชโองการ เรียกเกณฑ์พลจากหัวเมือง ตรี จัตวา กับหัวเมืองทางใต้ สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดฯ ให้พระศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า ให้พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้าไปยับยั้งรับข้าศึกก่อน มีกำลังพล ๕ หมื่น ทรงสั่งอีกว่าให้รีบรบโดยเร็ว หากต้านทานไม่ไหว พระองค์จะเสด็จมาช่วยภายหลัง

      แม่ทัพทั้งสองกราบบังคมลา แล้วยกทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย เขตจังหวัดสุพรรณบุรีและตั้งค่ายแบบในชัยภูมิที่เรียกว่า สีหนาม เพื่อคอยรับศึกพม่าและหลอกล่อข้าศึกให้เข้าสู่สถานการณ์ที่ต่อสู้ได้ยากลำบาก

       

      ตอนที่ 6 "สมเด็จพระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ"

      สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้โหรหาฤกษ์ยามดีในการเคลื่อนทัพหลวงไปรบ ญาณโยคโลกทีป โหรหลวงถวายคำพยากรณ์ทูลว่า สมเด็จพระนเรศวรได้จตุรงคโชคคือ 1. โชคดี 2. วัน เดือน ปี แห่งการรบดี 3. กำลังทหารเข็มแข็ง 4. อาหารสมบูรณ์ อาจปราบประเทศต่างๆให้แพ้สงครามได้ และให้เชิญเสด็จเคลื่อนทัพจากกรุงศรีอยุธยาในยามเช้า วันอาทิตย์ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ในเดือนยี่ เวลาย่ำรุ่ง 8 นาฬิกา 30 นาที นับเป็นฤกษ์สิริมงคล สมเด็จพระนเรศวรทรงสดับแล้ว ให้ตรวจทัพเตรียมเคลื่อนพลทางน้ำ เสด็จกรีธาทัพเรือจากอยุธยาไปขึ้นบกที่ตำบลปากโมก จังหวัดอ่างทอง

      สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ สรงน้ำอบหอม แต่งพระองค์ด้วยภูษาทรงอันสวยงาม นับแต่ผ้ารัดบั้นพระองค์ มีชายไหวชายแครงสนับเพลา ทับทรวง สะอิ้ง ล้วนสวยงาม สวมข้อพระกรด้วยกำไลอ่อน พระธำมรงค์ที่สวมนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๘ ประดับเพชรพลอยแพรวพราวเป็นสีรุ้ง ทรงมงกุฎทองประดับเพชร ถือคันธนูเสด็จมาช้าๆ กษัตริย์ ๒ พระองค์ดุจดังพระลักษณ์พระรามราบทศกัณฐ์ และปราบศัตรูทั่วทิศ

      เมื่อได้ฤกษ์ออกศึก โหรตีฆ้องดังกึกก้อง บรรดาสมณชีพราหมณ์ก็ร่ายมนตร์ตามคัทภีร์ พร้อมเป่าสังข์เป่าแตรถวาย เสียประสานกันเซ็งแซ่ จากนั้นเคลื่อนพลผ่านโขลนทวาร พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาให้มีชัย และเคลื่อนทัพจนถึงตำบลปากโมก ทรงปรึกษาเหล่าขุนนางเรื่องการศึก จนล่วงเข้ายามสามก็เสด็จเข้าที่บรรทม เมื่อทรงพักแรมที่ปากโมก ครั้นถึงเวลา ๔ นาฬิกา พระองค์ได้ทรงเสวยสุบินนิมิต เป็นศุภนิมิต เทพสังหรณ์ คือว่า

      ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวดามาบันดาลให้สุบินว่ามีน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูงมาทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดสายพระเนตร ขณะพระองค์เสด็จลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากนั้น ไปปะทะจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง และจะกัดพระองค์ พระองค์ใช้แสงดาบที่ถือในพระหัตถ์ต่อสู้กับจระเข้ พระองค์สามารถฆ่าจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำที่ท่วมป่ามานั้นก็เหือดแห้งไป เมื่อตื่นบรรทม สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที เหล่าโหรพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้ เกิดเพราะเทวดาสังหรณ์ให้ทราบเป็นนัยว่า น้ำซึ่งไหลท่วมป่าทางทิศตะวันตกนั้นคือกองทัพพม่า ส่วนจระเข้นั้นคือพระมหาอุปราชา การสงครามนี้ยิ่งใหญ่ ถึงขนาดพระองค์จะต้องได้กระทำยุทธหัตถี และการลุยกระแสน้ำนั้นหมายความว่าพระองค์จะทรงตะลุยไล่บุกเข้าไปในหมู่ข้าศึก จนข้าศึกแตกพ่าย ชนะศึกครั้งนี้

      เมื่อพระองค์สดับฟังคำพยากรณ์ ก็มีความผ่องแผ้วเป็นสุขใจ และเสด็จมายังเกยช้างที่ประทับ ณ พลับพลาในค่ายหลวง เมื่อจะเสด็จกรีธาทัพบกจากปากโมก ในระหว่างขณะที่คอยพิชัยฤกษ์งามยามดีอยู่ พระองค์ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรืองรองสว่างงดงาม มีขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงลอยมาจากในท้องฟ้าทางทิศใต้ และลอยหมุนเวียนวนขวารอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรต สามรอบแล้วลอยเวียนฉวัดเฉวียนกลางฟ้า ผ่านไปทางทิศเหนือ นับว่าเป็นศุภนิมิตที่ดียิ่ง

      เมื่อได้ฤกษ์ยาม สมเด็จพระพี่น้อง ทรงกราบนมัสการด้วยความปลาบปลื้มปิติยินดียิ่ง สมเด็จพระนเรศวรทรงพระช้างชื่อเจ้าพระยาไชยนุภาพ และส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถทรงช้างชื่อเจ้าพระยาพลายปราบไตรจักร โดยเสด็จกรีธาทัพนำหน้าขบวนสมเด็จพระนเรศวรจากปากโมกถึงหนองสาหร่าย แล้วโปรดฯ ให้ตั้งค่ายทัพหลวงที่หนองสาหร่าย ต่อกับค่ายทัพหน้าในชัยภูมิที่เรียกว่า ครุฑนาม

       

       

      ดอกไม้ในวรรณคดี

      สายหยุด, เสลา, กระเบา, กร่าง, รัก, สลัดได, กุ่ม, กรรณิการ์, กาหลง, เกด, แต้ว, นางแย้ม, ปรู, พนมสวรรค์, ยางพลวงหรือพลวง, ยางกราดหรือกราด, ยางเหียงหรือเหียง, ยางนาหรือยาง, ตะบากหรือกะบาก, พันจำ,

       

       

      เส้นทางการเดินทัพของพระนเรศวร

      1.กรุงศรีอยุธยา ยกทัพวันอาทิตย์ขึ้น 11ค่ำ เดือนยี่ (มกราคม)
      2.ต.ปากโมก จ.อ่างทอง (ป่าโมกข์)
      3.ต.หนองสาหร่าย
      เส้นการเดินทัพของพระมหาอุปราช
      1.กรุงหงสาวดี
      2.ด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
      3.ลำน้ำกระเพิน จ.กาญจนบุรี (สร้างสะพานข้าม)
      4.พัก 1 คืนที่ตัวเมืองกาญจนบุรี (ผู้คนในเมืองหนีหมดแล้ว)
      5.ต.พนมทวน จ.กาญจนบุรี (เกิดลางร้ายลมพัดฉัตรหัก)
      6.ต.โคกเผาเข้า จ.สุพรรณบุรี
      7.ต.หนองสาหร่าย

       

      คำศัพท์ที่แปลว่า"ข้าศึก"

      อรินทร์ ดัสกร เสี้ยน ปัจจามิตร ริปู อมิตร เศิก อธิราช ไพรี ไพรินทร์ อเรนทร์
      คำศัพท์ที่แปลว่า "ช้าง"

      สาร คช คชาธาร หัสดี มาตงค์ ไอยรา คชินทร์ หัสดิน กรี (กะ-รี)
      คำศัพท์ที่แปลว่า "ม้า"

      แสะ สินธพ อาชา หัย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×